Skip to main content
sharethis

*หมายเหตุ: ขอขอบคุณข้อมูลสรุปการประชุมจาก บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ และ ปารย์พิรัชย์ จันเทศ 


 


 


เมื่อวันที่ 5 - 7 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ที่นนท์นทีรีสอร์ท จ.นนทบุรี มีการจัดการสัมมนา "เหลียวหลัง แลหน้า แสวงหาทางร่วมกัน เพื่อการพัฒนาการทำงานเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านประชากรข้ามชาติ" จัดโดยกลุ่มเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานด้านแรงงานข้ามชาติ (Migrant Working Group : MWG)


โดยในวันที่ 6 .. 51 - ในหัวข้อ "สถานการณ์การย้ายถิ่นและความก้าวหน้าของนโยบายและการจัดการประชากรข้ามชาติ" รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอดังนี้


0 0 0


 



รศ
.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล


"คนต่างด้าว" และ "คนต่างชาติ"


รศ.ดร.กฤตยา เริ่มด้วยการให้ความหมายระหว่าง "aliens" กับ "foreigners" โดยคำว่า "คนต่างด้าว" (aliens) นั้นเป็นภาษาใช้ในกฎหมายและเอกสารราชการ มีความหมายว่า ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย ในความหมายนี้จึงรวมผู้ที่เกิดในประเทศไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทย และคนที่ถูกถอนสัญชาติไทยด้วย ส่วนในมิติทางวิชาการ ทางประชากรศาสตร์ จะใช้คำว่า "คนต่างชาติ" (foreigners) แทนคำว่าคนต่างด้าว ซึ่งในแง่นี้ คำว่า "คนต่างชาติ" จะหมายถึงคนที่ย้ายถิ่นหรือเดินทางจากประเทศอื่นเข้ามาในประเทศไทยทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายทั้งหมด แต่ทั้งนี้ถ้าเป็นนักท่องเที่ยว จะไม่นับว่าอยู่ในกลุ่มผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติกลุ่มนี้ เพราะพวกเขาเดินทางมาท่องเที่ยว ซึ่งไม่นานจะเดินทางกลับ อย่างไรก็ตามในกลุ่มนี้ก็พบเช่นกันว่า มีคนจำนวนมากที่มาอยู่แล้ว ไม่ยอมกลับไป กลายเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายในประเทศนั้น ๆ


นอกจากนี้อีกหนึ่งความหมายของชาวต่างชาติ ก็คือประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนานแล้ว แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย รวมถึงประชากรที่หลบหนีเข้าเมืองมา และมีแนวโน้มว่าจะคงค้างอยู่ในประเทศไทยอีกนานนับหลายสิบปี แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม 1.ประชากรบนพื้นที่สูง ชนกลุ่มน้อย คนไร้รัฐ/ไร้ รากเหง้า และบุตรหลานที่เกิดในประเทศไทย 2. ผู้ลี้ภัยทางการเมืองจากประเทศพม่า และ 3. แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามจากประเทศพม่า, กัมพูชา และ ลาว







 


ในประเทศไทย ใครบ้างที่เป็นคนต่างชาติ ?


(1)   คนที่มี ทร. 14 คือ คนต่างชาติที่มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว มีสิทธิอยู่อาศัยในประเทศไทยอย่างถาวร


(2)   ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มคนบนพื้นที่สูง คือ ชาวเขา 19 กลุ่ม ที่ถือบัตรสีที่กรมการปกครองออกให้ ในปัจจุบันมีจำนวนหลายแสนคนที่ไม่ได้สัญชาติไทย ถูกจดทะเบียนใน ทร.13


(3)   คนเข้าเมืองถูกกฎหมาย มีพาสปอร์ต


(4)   แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามจากประเทศเพื่อนบ้าน พม่า ลาว กัมพูชา นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา กลุ่มนี้ถ้าอยากทำงานจะต้องมารายงานตัวเพื่อขอ ทร.38/1


(5)   ผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่า (ส่วนผู้ลี้ภัยจากประเทศแถบอินโดจีน ตอนนี้เหลือแค่ 1,000 กว่าคนเท่านั้น ทำให้ไม่ถูกนับ) ที่ต้องรวมผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าเป็นคนต่างชาติ เพราะประเทศไทยไม่ได้รับอนุสัญญาผู้ลี้ภัย พ.ศ. 1951 ทำให้รัฐไทยเรียกผู้ลี้ภัยว่า ผู้พลัดถิ่นชั่วคราว และเรียกค่ายผู้ลี้ภัยกว่า พื้นที่พักพิง ปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยที่เป็นทางการประมาณ 130,000 กว่าคน และมีผู้ลี้ภัยอีกจำนวนมากที่ออกมาเป็นแรงงานข้ามชาติ เพราะเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยที่ไม่ถูกนับในสาระบบรัฐไทย คือ ไทใหญ่ โรฮิงญา


(6)   กลุ่มนักเรียนต่างชาติ หมายรวมถึงลูกหลานของกลุ่มที่ 1-6 ด้วย


(7)   กลุ่มอื่นๆ


 


บางครั้งจะหมายถึง คนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนานแล้ว แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย รวมถึงคนที่หลบหนีเข้าเมืองมา และมีแนวโน้มว่าจะคงค้างอยู่ในประเทศไทยอีกนานนับหลายสิบปี แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ประชากรบนพื้นที่สูง ชนกลุ่มน้อย คนไร้รัฐ/ไร้รากเหง้า และบุตรหลานที่เกิดในประเทศไทย  2. ผู้ลี้ภัยทางการเมืองจากประเทศพม่า และ 3. แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามจากประเทศพม่า กัมพูชา และ ลาว


 


นโยบายที่จัดระบบแรงงานข้ามชาติ


รศ.ดร.กฤตยา ได้อธิบายต่อไปอีกว่า รัฐบาลไทยไม่เคยมีนโยบายเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติระดับล่าง (unskills-migrant workers) โดยสิ่งที่รัฐบาลไทยทำมาโดยตลอดนั้นเป็นการใช้นโยบายการจัดการกับคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยเครื่องมือหลักที่รัฐบาลไทยใช้ก็คือการใช้ พ..บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยไปผ่อนผันตามมาตรา 17 ที่ทำให้คนเข้าเมืองผิดกฎหมายสามารถทำงานได้ชั่วคราวตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด โดยการออกเป็นมติคณะรัฐมนตรีประกาศการผ่อนผันเป็นครั้งๆ ไป ซึ่งไม่ใช่ระบบการจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างแน่นอน


นอกจากนี้ แนวนโยบายการจัดการกับแรงงานต่างชาติในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ต่อประเด็นนี้ รศ.ดร.กฤตยา เห็นว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์และฝ่ายอนุรักษ์นิยมมักจะใช้มุมมอง "ความมั่นคง" และมีการเข้มงวดกับแรงงานข้ามชาติมากขึ้น


"หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาเป็นพรรครัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้มงวดกับแรงงานข้ามชาติมากยิ่งขึ้นแน่นอน รวมถึงในกลุ่มทหารก็ยังมีมุมมองในเรื่อง "ภัยความมั่นคงแห่งชาติ" อยู่ ทำให้นโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย เป็นนโยบายด้านความมั่นคงแทน" รศ.ดร.กฤตยา กล่าว


รศ.ดร.กฤตยา อธิบายต่อไปว่า ประเทศไทยใช้วิธีการผ่อนผันการจ้างงาน โดยใช้มติคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งๆ ซึ่งไม่ใช่กฎหมาย หลังจากนั้นกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะไปดูว่าตนเองรับผิดชอบเรื่องใด และไปทำประกาศออกมาเพื่อบังคับใช้ต่อไปทุกๆ ปี ส่วนวิธีการนั้นรัฐไทยมักจะใช้วิธีการคุมยอดจำนวนแรงงานต่างชาติไว้ โดย รศ.ดร.กฤตยา เห็นว่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาจะพบการแบ่งระบบการจัดระบบแรงงานข้ามชาติ จัดได้เป็น 2 ช่วง ก็คือ


ช่วงแรก (พ.ศ. 2539-46) โดยในปี พ.ศ. 2539 ในสมัยรัฐบาลบรรหาร อนุญาตทำงานได้ใน 37 จังหวัด 18 กิจการ มีแรงงานมารับใบอนุญาตทำงาน 300,000 คน ในปี พ.ศ. 2540-43 ให้แรงงานกลุ่มเดิมเท่านั้นมาต่อบัตร เหลือแรงงานประมาณ 1 แสนคน ในปี พ.ศ. 2544 เปิดให้จดทะเบียนทั่วประเทศ ให้แรงงานที่ไม่มีนายจ้างสามารถขึ้นทะเบียนได้ มีแรงงานมาขึ้นทะเบียน 5 แสนกว่าคน แต่ก็พบการคอร์รัปชั่นในระบบจำนวนมาก และในปี พ.ศ. 2545-46 เหลือผู้มาต่อใบอนุญาตทำงานเพียง 400,000 กว่าคน


ทั้งนี้โดยสรุป พ.ศ. 2539-46 เป็นการจัดระบบแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือเรียกว่า มาตรการในการแก้ไขปัญหาคนหลบหนีเข้าเมือง เน้นการจดทะเบียนเฉพาะตัวแรงงานเท่านั้น


ช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2547-50) โดยใน พ.ศ. 2547 ได้เปิดให้จดทะเบียนทั่วประเทศ รวมถึงผู้ติดตามด้วย โดยให้แรงงานมารับเลข 13 หลักก่อน และใครอยากทำงานค่อยขออนุญาตทำงานต่อไป อนุญาตเฉพาะอาชีพกรรมกรและคนรับใช้ในบ้านเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2548 มีแรงงานมาต่อใบอนุญาตทำงานแค่ 700,000 คน ในปี พ.ศ. 2549 มีการใช้ระบบประกันตนในการจดทะเบียน (10,000 , 50,000 บาท) และ พ.ศ.2550        เหลือตัวเลขผู้มาขอใบอนุญาตทำงานประมาณ 5 แสนกว่าคน


โดยสรุป 2547- 50 เป็นการให้แรงงานและผู้ติดตามจดทะเบียนรับรหัสเลขประจำตัว 13 หลักขึ้นต้นด้วย 00 (มีการขึ้นทะเบียนทั้งในส่วนแรงงานและนายจ้างรวมทั้งผู้ติดตาม มีการกำหนดยุทธศาสตร์ชัดเจนในการปรับสถานะแรงงานที่เข้าเมืองไม่ถูกกฎหมายนี้ให้กลายเป็นแรงงานที่เข้าเมืองและทำงานอย่างถูกกฎหมาย โดยการทำข้อตกลงสัญญาทวิภาคี ระหว่างประเทศไทย-พม่า ไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา ในการให้ประเทศต้นทางมาพิสูจน์สัญชาติและรับรองว่าแรงงานมาจากประเทศต้นทางจริงๆ)


 


 


นอกจากนี้สำหรับวิธีการจดทะเบียน ในช่วง พ.ศ.2539-46 นั้นเน้นเฉพาะตัวแรงงาน ส่วนช่วง พ.ศ.2547-2551 มีการจดทะเบียนได้ทั้งแรงงานข้ามชาติ + (ผู้ติดตาม) มีการขอโควตาจากนายจ้าง มีกำหนดยุทธศาสตร์การจ้างงานชัดเจน มีการเริ่มทำ MOU ระหว่างประเทศ เพื่อมาพิสูจน์สัญชาติ แต่ระบบนี้ทำได้จริงเพียง ลาว (พาสปอร์ตชั่วคราว) กับ เขมร (CI ออกโดยกระทรวงแรงงาน พบว่า มีการขายให้กันหรือไม่ใช่ชาวเขมรก็สามารถซื้อ CI ได้) เท่านั้น ส่วนรัฐบาลพม่าจนบัดนี้ถึงมี MOU แล้ว ก็ยังไม่เกิดกระบวนการจริง เพราะแรงงานต้องเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติที่เมืองชายแดนของพม่า คือ เกาะสอง เมียวดี ท่าขี้เหล็ก จึงทำให้แรงงานจากพม่าจำนวนมากไม่ยอมไปพิสูจน์สัญชาติ เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย โดยหลักฐานที่รัฐบาลไทยออกให้แรงงานข้ามชาติ คือ


(1)     ใบ ทร.38/1 เป็นเอกสารที่แรงงานจะได้รับเมื่อแรงงานไปขึ้นทะเบียน จะได้รับเลขประจำตัว 13 หลักที่ขึ้นด้วยเลข 00 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้รายงานตัวทุกคนต้องถ่ายรูปและพิมพ์ลายนิ้วมือและได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทยได้ 1 ปี


(2)     บัตรประกันสุขภาพ คือ เอกสารประเภทหนึ่ง โดยแรงงานที่ต้องการทำงานต้องไปตรวจร่างกาย ค่าใช้จ่ายในการตรวจ 600 บาท และต้องซื้อบัตรประกันสุขภาพ 1,300 บาท หากผ่านการตรวจร่างกาย จะได้หลักฐานชนิดนี้


(3)     ใบอนุญาตทำงาน แรงงานต้องไปขอใบอนุญาตทำงานที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียม 100 บาท และค่าใบอนุญาตทำงาน 1,800 บาท รวมเป็นเงิน 1,900 บาท หลักฐานคือบัตรอนุญาตทำงาน


 


สำหรับการคาดการณ์เรื่องการจดทะเบียนใหม่ในปี 2551 รศ.ดร.กฤตยา กล่าวว่า "จากการเดินสายไปทำวิจัยใน 10 จังหวัด พบว่า แทบทุกคนต้องการให้จดทะเบียนใหม่ทั้งนั้น รวมถึงยังเป็นการสร้างระบบการจดทะเบียนใหม่ขึ้นมา เพื่อรองรับกฎหมายใหม่ด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นรัฐบาลเก่าอาจจะไม่มีปัญหา แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลใหม่เป็นไปได้ยากขึ้น แม้ว่ารมต.แรงงานจะมีความประสงค์ก็ตาม ดิฉันคิดว่าปีนี้ไม่น่าจะมีการเปิดจดทะเบียนแน่นอน เพราะเป็นทิศทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนั้นจากเนื้อหา พ..บ. ความมั่นคงภายใน บอกว่า คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ถือเป็นความคุกคามความมั่นคงของชาติ ทำให้มีการจัดตั้ง กอ.รมน.มารับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ จึงเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นการมองว่าความมั่นคงของชาติ คือ ความเกี่ยวข้องกับอธิปไตยของรัฐ ดิฉันเห็นว่า กฎหมายเหล่านี้ไม่เป็นผลดีต่อคนด้อยโอกาสในประเทศไทยแม้แต่น้อย"


รู้จักกฎหมายฉบับใหม่ : ..บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 


ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายฉบับใหม่ที่ใช้กับแรงงานข้ามชาติ คือ พ..บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 พบว่า พ..บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 มีความแตกต่างจาก พ..บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หลายประการ โดยใน พ..บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตราต่างๆจะเป็นไปเพื่อแรงงานที่ถูกกฎหมาย มีมาตราที่ใช้กับแรงงานผิดกฎหมายไม่กี่มาตรา และมีการระบุอาชีพที่แรงงานข้ามชาติห้ามทำ


แต่ใน พ..บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 พบว่า


·         มาตราต่างๆ จะเป็นไปเพื่อแรงงานที่ผิดกฎหมาย มีมาตราที่ใช้กับแรงงานถูกกฎหมายไม่กี่มาตรา


·         จะทำบัญชีอาชีพที่อนุญาตให้แรงงานข้ามชาติทำได้


·         เอาใจคนต่างชาติที่มาลงทุนตามหลัก BOI


·         มาตรา 9 นิยามแรงงานเข้าเมืองที่ถูกกฎหมาย ออกเป็น 4 กลุ่ม


(1)   คนต่างชาติที่มีสิทธิอาศัยอยู่ถาวร ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ตลอดชีพ


(2)   คนต่างชาติที่เข้ามาทำงานโดยได้รับใบอนุญาตชั่วคราว


(3)   แรงงานระดับล่างที่นำเข้าจากประเทศกัมพูชาและลาวตามบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศ (MOU)


(4)   แรงงานจากประเทศกัมพูชาและลาวที่เคยเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ได้พิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทางแล้ว


·         มาตรา 12 พูดถึงแรงงานต่างชาติที่อยู่ในกลุ่ม BOI ที่เข้ามาทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายอื่นๆ  จะได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ เช่น ต้องมีการจัดทำใบอนุญาตให้ภายใน 7 วัน และการต่อ work permit ไม่เสียค่าใช้จ่าย


·         มาตรา 13 อนุญาตให้คนต่างชาติทำงานได้ (รอการเนรเทศ, แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ ที่ได้ขึ้นทะเบียนรับเลขประจำตัว 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข "00" มีประมาณ 1 ล้าน 6 แสนคน , บุคคลที่ถูกถอนสัญชาติ แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ หรือกฎหมายอื่น ส่วนใหญ่คือชนกลุ่มน้อย ขึ้นทะเบียนรับเลขประจำตัว 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข "6" มีประมาณ 4 แสนเก้า , บุคคลที่เกิดในประเทศไทย แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติหรือกฎหมายอื่น ส่วนใหญ่คือลูกชนกลุ่มน้อยขึ้นทะเบียนได้เลขประจำตัว 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข "7" , บุคคลที่เกิดในประเทศไทย แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย ส่วนใหญ่คือ คนไร้รัฐ/ไร้ สัญชาติ/ไร้รากเหง้า  ขึ้นทะเบียนรับเลขประจำตัว 13 หลักขึ้นต้นด้วยเลข "0"  ฉะนั้นสรุปได้ว่าคนกลุ่มนี้รวมทั้งหมดที่สามารถทำงานได้มีประมาณ 2 ล้าน 2 แสนคน (ก.ค. 51)


·         มาตรา 14 อนุญาตให้จ้างแรงงานข้ามชาติชายแดน (จังหวัดที่ติดชายแดนโดยตรง และจังหวัดที่ติดกับจังหวัดที่ติดชายแดน) ทำงานได้ รวม  52 จังหวัด (เช่น เชียงใหม่ (หลัก) ลำพูน ลำปาง ก็สามารถจ้างได้ด้วยเช่นกัน) แต่ปัจจุบันลักษณะการจ้างงานยังไม่มีกฎหมายลูกมารองรับ อยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่ เป็นการรองรับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน


·         จ้างได้ใน 2 อาชีพ คือ กรรมกรและคนรับใช้ในบ้าน ในกิจการ 10 ประเภท คือ ประมง ต่อเนื่องประมง เกษตรและปศุสัตว์ โรงอิฐ โรงสีข้าว โรงน้ำแข็ง ขนถ่ายสินค้าทางน้ำ ก่อสร้าง เหมืองแร่และเหมืองหิน ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล และ อื่นๆ ซึ่งพบว่าอาชีพที่ถูกจ้างมากที่สุด คือ อื่นๆ (2549 พบว่า อื่นๆ คือ ทำงานในกิจการค้าปลีกค้าส่ง การบริการ ครัวเรือนชุมชน+งานมูลนิธิ เกษตรและประมง)


·         ปัจจุบันพบว่า จำนวนแรงงานข้ามชาติ ณ เดือนกันยายน 2551 ที่ได้รับใบอนุญาตทำงานจากกรมการจัดหางาน โดยจำนวนที่เข้าเมืองผิดกฎหมายแต่ได้รับการผ่อนผันได้เลข 13 หลักและได้รับใบอนุญาตทำงานมี 71% (รวมชนกลุ่มน้อย) จำนวนที่เข้าเมืองถูกกฎหมายและได้รับใบอนุญาตทำงาน 29%


 







 


มีหน่วยงานรัฐใดบ้างที่ทำงานเรื่องการเดินทางเข้ามาทำงานของคนต่างชาติ


(1) สำนักบริหารการทะเบียน


เป็นศูนย์กลางทะเบียนบุคคลระดับชาติ  จัดทำทะเบียนบุคคลโดยกำหนดเลขประจำตัว 13 หลัก ให้กับคนทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยทั้งที่มีสัญชาติไทยและไม่มีสัญชาติไทย โดยตัวเลขในคอลัมน์แรกของ 13 หลัก คือการแบ่งประเภทสถานะบุคคล ดังนี้


[]-[][][][]-[][][][][]-[][]-[]


ประเภทที่ 1 คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทย โดยแจ้งการเกิดภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด (15 วัน) เริ่มใช้เลขประจำตัวประชาชนสำหรับเด็กที่เกิดตั้งแต่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2526


ประเภทที่ 2 คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทย แต่แจ้งการเกิดเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด (แจ้งเกิดเกิน 15 วัน)


ประเภทที่ 3 คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527


ประเภทที่ 4  คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และได้มีการย้ายเข้าในทะเบียนบ้านขณะที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน (ระหว่าง 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527)


ประเภทที่ 5  คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวอยู่แล้วได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้าน


ประเภทที่ 6  คือคนต่างด้าวที่เข้าเมืองเข้าเมืองไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่มีมติคณะรัฐมนตรีให้เป็นบุคคลเข้าเมืองชอบด้วยกฎหมาย และได้สิทธิอยู่อาศัยชั่วคราว และคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย


ประเภทที่ 7  คือบุตรของบุคคลประเภทที่ 6  ซึ่งเกิดในประเทศไทย


ประเภทที่ 8  คือคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยหรือคนต่างด้าวที่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย


ประเภทที่ 0 คือบุคคลไม่มีสถานะบุคคล/ไร้รัฐ/ไร้รากเหง้า (เริ่มนับจดปี 2548)


ประเภทที่ 00 คือแรงงานและผู้ติดตามจากประเทศพม่า เขมร และลาว ที่มารายงานตัวจดทะเบียนในทร. 38/1 (เริ่มปี 2547)


โดยสรุปแล้วคือ


(1)   คนไทย/คนมีสัญชาติไทย/คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยใช้ระบบเลข 13 หลักๆ แรกขึ้นต้นเลข 1 ถึง 5


(2)   คนไม่มีสัญชาติไทย/ชนกลุ่มน้อย ใช้ระบบเลข 13 หลักๆแรกขึ้นต้นเลข 6  บุตรของคนกลุ่มนี้ เลขหลักแรกคือ 7


(3)   คนไม่มีสถานะบุคคล/ไร้รัฐ/ไร้รากเหง้า เลขหลักแรกคือ 0


(4)   แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามจากประเทศพม่า กัมพูชา และลาว ตั้งแต่อายุหนึ่งปีขึ้นไปเมื่อ 1-31 ก.ค. 2547  ที่มาทำทะเบียนประวัติถ่ายรูป พิมพ์ลายนิ้วมือ รับเลข 13 หลักขึ้นต้นด้วยเลข 00


(5)   ผู้หนีภัยจากการสู้รบ กำลังจะจัดเก็บทะเบียนประวัติทั้งระดับบุคลและครอบครัวโดยจะมีการติดรูปพิมพ์ประวัติและลายนิ้วมือ


 


(2) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง


จัดเก็บข้อมูล 3 กลุ่ม คือ


·         ข้อมูลคนเดินทางเข้าออก มีระบบบันทึกข้อมูลบุคคลเดินทางเข้าออกตามด่านทุกแห่งทั้ง  ทางบก เรือ อากาศ เกือบทุกด่านมีเครื่องบันทึกข้อมูลที่เชื่อมโยงกันได้ สามารถนำมาประเมินจำนวนคนต่างชาติอยู่ชั่วคราวที่มาขออยู่ต่อแยกประเภทตามลักษณะการตรวจลงตรา (visa) และจำนวนผู้คงค้างในแต่ละปีงบประมาณได้


·         ข้อมูลทะเบียนคนต้องกัก เริ่มระบบใหม่ใน พ.ศ. 2544 จัดเก็บภาพและชื่อ-นามสกุล อายุ เพศ สัญชาติ ฯลฯ เฉพาะผู้ต้องกักจากพม่า ลาว และกัมพูชา จะจัดเก็บทั้งภาพและลายนิ้วมือสิบนิ้ว


·         ข้อมูลคนต่างด้าวขอมีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2537 จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์แบบไม่เชื่อมโยง (stand alone) ระบบเก่าเป็นแบบเเอกสารบันทึกประวัติของแต่ละคน ซึ่งเก็บย้อนหลังไปถึงอย่างต่ำคือปี 2485


 


(3) สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ


มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูล


·         คนต่างชาติที่เข้าเมืองถูกกฎหมายและได้รับใบอนุญาตทำงานตลอดชีพ คือ   ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ถาวรและทำงานอยู่ก่อนวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2513 และเข้ามาก่อนที่จะมีการประกาศใช้คำสั่งคณะปฏิวัติ 322 ที่เกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นการจัดเก็บโดยใช้แบบเอกสารบันทึก


·         คนต่างชาติที่เข้าเมืองถูกกฎหมายและได้รับใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตาม พ..บ. การทำงานของคนต่างด้าว 2521 และ พ..บ. อื่นๆ จัดเก็บด้วยระบบเอกสารและบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์แบบไม่เชื่อมโยง


·         คนต่างชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและอยู่ระหว่างรอการส่งกลับ ได้รับใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามพ..บ. การทำงานคนต่างด้าว 2522 มาตรา 12  จัดเก็บระบบเอกสาร


·         คนต่างชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมายจากประเทศพม่า กัมพูชา และลาว อยู่ระหว่างรอการส่งกลับ ผ่อนผันให้ได้รับใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามมติคณะรัฐมนตรี  นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จัดเก็บระบบเอกสารและบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมโยงได้โดย สบท. เป็นหน่วยงานจัดเก็บให้ และสบต.สามารถเรียกใช้ข้อมูลชุดนี้ได้ 


 


(4) กระทรวงสาธารณสุข


มีหน้าที่ดูแล


·         ผลการตรวจสุขภาพประจำปีของแรงงานจาก 3 ประเทศ


·         ระเบียนผู้ป่วยต่างชาติที่มาใช้บริการ แยกได้เป็นกลุ่มมีบัตรประกันสุขภาพ กลุ่มไม่มีบัตรประกันสุขภาพ และกลุ่มที่ข้ามมาจากประเทศเพื่อนบ้าน


·         ข้อมูลจำนวนการเกิดของเด็กต่างชาติ จากแบบบันทึกใบรับรองการเกิด และข้อมูลผู้หญิงต่างชาติวัยเจริญพันธุ์ในด้านอนามัยและเด็ก และการวางแผนครอบครัว


·         ข้อมูลค่าใช้จ่ายในการให้บริการต่อคนต่างชาติ


·         ข้อมูลการป่วยของคนต่างชาติแยกประเภทของโรค ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่สามารถนำมาแสดง อัตราความชุกของภาวการณ์เจ็บป่วยของคนต่างชาติ และมีโรคอะไรบ้างที่ต้องเฝ้าระวัง


·         ข้อมูลการเฝ้าระวังในกลุ่มโรคติดต่อ เช่น เอดส์ กามโรค เท้าช้าง


 


แบ่งผลการตรวจออกเป็น 4 กลุ่ม คือ


ประเภท 1 พบผลปกติ ประมาณ 95%


ประเภท 2 พบโรคที่ต้องติดตามรักษา


ประเภท 3 พบโรคที่ต้องห้ามมิให้ทำงาน ได้รับการรักษาและผลักดันกลับประเทศ


ประเภท 4 พบว่าตั้งครรภ์ ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานหญิง มีข้อเสนอให้ไม่มีการแจ้งผลการตรวจครรภ์ โดยให้ระบุอยู่ในเกณฑ์และมาตรฐานในการตรวจร่างกาย ว่าการตรวจการตั้งครรภ์นั้นเป็นไปเพื่อเหตุผลทางการแพทย์ ไม่ต้องแจ้งผลต่อกระทรวงแรงงาน ซึ่งในปี 2550 กระทรวงได้ยกเลิกการตรวจประเภท 4 แล้ว


(5) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ


จัดเก็บข้อมูลที่คาบเกี่ยวกับคนต่างด้าว ในกิจกรรมที่มีลักษณะการส่งเสริมหรือให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มที่ตกทุกข์ได้ยาก ด้อยโอกาสซึ่งต้องบริการทั้งคนไทยและต่างชาติ  โดยทุกกลุ่มยังใช้ระบบการจัดเก็บเป็นแบบเอกสารข้อมูลชาวเขาจากแบบการสำรวจบัญชีบุคคลในบ้านบนพื้นที่สูง ปีล่าสุดที่สำรวจคือ 2545 ข้อมูลผู้รับการสงเคราะห์ (คนขอทาน/คนไร้ที่พึ่ง) ต่างชาติ ข้อมูลผู้หญิงและเด็กต่างชาติในบ้านพัก


(6) กระทรวงศึกษาธิการ


มีหน้าที่ดูแลเรื่องแนวนโยบายการรับนักเรียนนักศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะรับเด็กทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยให้เข้าเรียนในสถานศึกษาอย่างกว้างขวางทั่วถึงด้วยความเสมอภาค โดยคำว่า เด็กทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย  หมายรวมถึง เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นบุตรของแรงงานคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วย  แต่ยังไม่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนนักศึกษาที่ไม่สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะ  มีแต่ข้อมูลเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยที่มาจากการสำรวจเป็นการเฉพาะกิจของส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัด ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะมอบให้สำนักงานกิจการพิเศษ   สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ


 


 


สถานะของประเทศไทย "HUB" ของการค้ามนุษย์


รศ.ดร.กฤตยา กล่าวว่าประเทศไทยนั้นมีสถานะเป็น HUB ของการค้ามนุษย์ คือ เป็นทั้ง ประเทศที่ส่งออกแรงงาน (sending country), ประเทศที่รับแรงงาน (receiving country), ประเทศที่เป็นจุดพักรอ/ทางผ่าน (transit center) โดยประเทศไทยเป็นประเทศพิเศษที่เป็นประเทศต้นทาง (ส่งออกแรงงาน) กลางทาง (พักรอ เพื่อเดินทางต่อ) และปลายทาง (รับแรงงาน) ทั้งการย้ายถิ่นและการค้ามนุษย์ โดยเมืองชายแดนหลักที่เป็นจุดขนส่งแรงงานจากพม่าสู่ไทย คือ ท่าขี้เหล็ก - แม่สาย, เมียวดี - แม่สอด, เกาะสอง - ระนอง, รัฐมอญ - สังขละบุรี


สำหรับเส้นทางสำคัญในการขนส่งแรงงานจากลาวสู่ไทย คือ เวียงจันทร์ - หนองคาย , สะหวันนะเขด - มุกดาหาร , สะหวันนะเขด - อ.เขมราฐ อุบลฯ , สะหวันนะเขด - นครพนม , คำม่วน - นครพนม , สาละวัน - บ้านโคราช , จำปาศักดิ์ - ด่านช่องเม็ก อุบลฯ , ซะนะคาม - อ.เชียงคาน เลย บ่อแก้ว - ด่านเชียงแสน เชียงราย


สำหรับเส้นทางสำคัญในการขนส่งแรงงานจากเขมรสู่ไทย คือ เกาะกง - ตราด , ไพลิน - สระแก้ว ปอยเป็ต - อรัญประเทศ , เสียมเรียบ - สุรินทร์ , เวียดนามสู่เขมร , ฮาเตียน - กัมโปต , แองเกียน - พนมเปญ , ต้าหนิง - กัมปงจาม,  ดักลัก - มณฑลคีรี


และเส้นทางสายหลักการเคลื่อนย้ายเข้าและออกจากยูนนาน คือ พม่า - ยูนนาน, เวียดนาม - ยูนนาน, สิบสองปันนา - เชียงตุง - ท่าขี้เหล็ก พม่า - แม่สาย เชียงราย


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net