Skip to main content
sharethis

วิทยากร บุญเรือง


วิกฤตโลกระลอกล่าสุดนี้ การที่นายจ้าง ผู้ประกอบการ นำเอา "วิกฤต" มาเป็นข้ออ้างในการปลดแรงงาน ซึ่งถึงแม้เราจะเลี่ยงการเลิกจ้างไม่ได้ แต่การเลิกจ้างอย่างเป็นธรรมต่อแรงงาน ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงวิกฤต โดยในรายงานชุด "การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ" จะนำเสนอกรณีศึกษาของการเลิกจ้างแรงงานของบริษัทต่างๆ และมาตรฐานสากลที่ว่าด้วยการเลิกจ้างที่เป็นธรรม






อ่านตอนเก่า:
การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 1) กรณีศึกษาบริษัท Levi Strauss  (ประชาไท 26/3/2552)
การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 2) "แผนการโนอาห์" สร้างแรงงานสู่ผู้ประกอบการ  (ประชาไท 28/3/2552)


 


กรณีศึกษา: ดูพวกเขากระทำกับแรงงาน เมื่อธุรกิจ dotcom ล่มสลาย



คอปกขาวในภาคอุตสาหกรรม
dotcom ยังถูกไล่ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม
ในช่วงที่อุตสาหกรรม
dotcom ล่มสลาย
(ที่มาภาพ: www.inmagine.com)



เมื่อขึ้นต้นทศวรรษใหม่ในปี ค.. 2000 บรรดานักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง และกลุ่มบุคคลรุ่นใหม่ที่ "โปรไอที" ทั้งหลาย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเศรษฐกิจแบบใหม่มาถึงแล้ว ผู้ที่ทำธุรกิจ "dotcom" หรือที่เรียกเทวดาหนุ่มสาวเหล่านั้นว่า "dotcomers" ครองโลก … แต่พอถึงปลายปี เหล่า dotcomers ทั้งหลายก็ต้องสัมผัสกับวลีใหม่ "ตกงาน" ดังที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจ อีริค เฮลเวก (Eric Hellweg) กล่าวไว้ในหนังสือของเขาเมื่อปี ค.. 2001 ว่า


"เป็นเรื่องน่าขันเหมือนกัน ที่อุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ต ซึ่งเคยเป็นอุตสาหกรรมที่บำรุงบำเรอพนักงาน เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างจากทุนและปัญญามนุษย์ อุตสาหกรรมที่สร้างคำขวัญว่า "บริษัทที่ออกไปเที่ยวนอกบ้านทุกคืน" ตอนนี้อุตสาหกรรมนี้ได้ทอดทิ้งพนักงานของเขาอย่างไม่ใยดี"


ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเรื่องหน้าเศร้าที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคม ค.. 2001 ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ปกติของอุตสาหกรรม dotcom ในขณะนั้น และก็เป็นเครื่องเตือนใจว่าทุกคนว่ามีสิทธิตกงานได้เสมอ


ที่ Listen.com ปรากฏว่ามีการขยายงานอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ยิ่งขยายก็ยิ่งมีคนตกงาน อดีตพนักงานของ Listen.com กล่าวว่า "บริษัทจ้างคนเข้ามาทำงานในแผนกกองบรรณาธิการไม่หยุดเลยจนถึงเดือนพฤศจิกายน นอกจากนั้น ผู้จัดการยังไม่ยอมให้ใครหยุดพักช่วงวันหยุดคริสต์มาสด้วยซ้ำ แต่พอขึ้นปีใหม่ พนักงานของ Listen.com ก็ได้รับข้อความผ่านว๊อยซ์เมลล์ ว่าให้ไปที่บริษัทในเวลาสิบโมงตรง เมื่อถึงสิบโมงก็ได้รับอีเมลล์ให้ไปที่ห้องประชุม ในห้องนี้ก็มีข้อความประกาศอย่างไม่อ้อมค้อมว่า "บริษัทได้ปรับโครงสร้างใหม่แล้ว คุณถูกให้ออก คุณมีเวลา 45 นาที ที่จะออกไปจากอาคารนี้ เราได้เตรียมกล่องไว้สำหรับให้คุณเอาใส่ของกลับบ้านไว้ด้วย" พนักงานที่กลับมาจากการหยุดพักหลังวันนั้น พอมาถึงสำนักงานก็พบว่าเข้าไม่ได้เสียแล้ว - บัตรกุญแจใช้ไม่ได้แล้ว แต่พอเข้าไปได้ก็ปรากฏว่าใช้อีเมลล์ของบริษัทไม่ได้อีก"


บริษัท ComedyWorld.com มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก ประกาศปลดพนักงานเกือบครึ่งบริษัทในห้องประชุมที่เริ่มเวลาสิบโมง และใช้เวลาประชุมประมาณ 45 นาที บริษัทให้เวลาพนักงานเก็บข้าวของสัมภาระของตนเองครึ่งชั่วโมง และให้ออกจากอาคารก่อนเวลาสิบเอ็ดโมงสิบห้านาที ซึ่งเป็นเวลาที่จะปิดอาคาร อดีตพนักงานคนหนึ่งออกจากอาคารโดยใช้ลิฟท์ พนักงานรักษาความปลอดภัยขอเปิดกระเป๋าเพื่อตรวจสอบของในกระเป๋า และถามว่านำโน๊ตบุ๊คกับหูฟังของบริษัทออกมาด้วยหรือไม่


ตัวอย่างสองกรณีนี้เป็นสถานการณ์ที่เรียกกันว่าแพ้กันทุกฝ่าย (lose-lose) บริษัทปฏิบัติต่อพนักงานเหมือนสิ่งของที่ใช้แล้วทิ้ง นายจ้างเองก็จะเสียชื่อเสียงเพราะบริษัทไม่มีความน่าเชื่อถือในด้านการปฏิบัติกับแรงงานอย่างเป็นธรรม แต่โชคดีในอุตสาหกรรม dotcom ยังพอมีตัวอย่างที่พอถูไถไปได้สำหรับการเลิกจ้างที่เป็นธรรมระดับหนึ่ง


ในเดือนมกราคม ค.. 2001 บริษัท Amazon (AMZN) ประกาศว่าจะปิดศูนย์บริการลูกค้าในเมืองซีแอตเทิล และแม็คโดนัฟ และจะปลดพักงานกว่า 1,300 คน อย่างไรก็ดี บริษัท Amazon ปฏิบัติกับพนักงานต่างกับสองบริษัทที่กล่าวไปอย่างสิ้นเชิง โดยบริษัทได้จัดตั้งกองทุนในรูปหุ้นมูลค่า 2.5 ล้านดอลลาร์ กำหนดจ่ายให้กับพนักงานที่ถูกปลดในปี ค.. 2003 เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นและบริษัทประกาศหาคนมาทำงาน คาดว่าจะมีพนักงานเก่าหวนกลับมาทำงานอีก



ที่มา
:
Coporates Success Through People: Making International Labours Standards Work For You (Nikolai Rogovsky And Emily Sims, ILO, 2002)
How the ax falls (www.salon.com, 01-25-2001)


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net