Skip to main content
sharethis

ชาว คิวบากำลังตรวจเช็คมอเตอร์ไซค์ที่กรุงฮาวานา เมืองหลวงของประเทศคิวบา ขณะที่ด้านหลังของเขาเป็นป้ายรณรงค์ทางการเมือง ป้ายสีฟ้าด้านซ้ายแปลว่า ร้อยละ 70% ของชาวคิวบาเกิดภายใต้การกีดกัน ซึ่งหมายถึงการกล่าวถึงมาตรการคว่ำบาตรและปิดล้อมทางการค้าของสหรัฐอเมริกาที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 1962 ส่วนป้ายสีแดงขวามือเป็นป้ายประณามจอร์จ บุช อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 20 เมษายน ที่ผ่านมา (ที่มา: Getty Image/daylife.com)
 
 
เป็นที่ทราบกันว่าสหรัฐอเมริกากับคิวบามีความไม่ลงรอยกันมาหลังจากที่ ฟีเดล คาสโตร-เช เกวารา นำพลพรรคกองทัพปฏิวัติขับไล่ประธานาธิบดีบาติสต้า เมื่อปี 2502 หลังจากนั้น สหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรทางการค้ากับคิวบา ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้มีทีท่ากระเตื้องขึ้นในสมัยของประธานาธิบดี บิล คลินตัน และประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ จนกระทั่งในสมัยของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช อเมริกาก็กวดขันในด้านการคว่ำบาตรการค้ากับคิวบามากขึ้น รวมถึงเพิ่มมาตรการกีดกันการเดินทางไปยังคิวบา
 
จน กระทั่งในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ลงนามสัญญาในสภาฯ ให้มีการลดหย่อนการคว่ำบาตรด้านการค้ากับคิวบา และลดความเข้มงวดในการเดินทางไปยังคิวบาโดยอนุญาตให้ชาวคิวบัน-อเมริกัน (ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีญาติสืบเชื้อสายไม่เกิน 3 รุ่นอาศัยอยู่) ให้เดินทางไปยังคิวบาได้
 
โอ บามา ระบุในเว็บไซต์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ว่า เขาจะยกเลิกการควบคุมการเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวที่คิวบาของชาวอเมริกัน โดยการออกใบอนุญาตให้ นอกจากนี้ยังมีการยกเลิกการจำกัดจำนวนครั้งที่เดินทางไปเยี่ยม ยกเลิกการจำกัดระยะเวลา ยกเลิกการจำกัดนำหนักของสัมภาระซึ่งเดิมกำหนดไว้ให้ไม่เกิน 44 ปอนด์ โดยในเว็บไซต์ดังกล่าวระบุว่าเพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์และเป็นการแสดงไมตรีของชาวอเมริกัน
 
ทางด้านสำนักข่าว AFP รายงานเมื่อวันที่ 5 พ.ค. ว่า วิกฤติเศรษฐกิจโลกส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในคิวบาน้อยลง นายมานูเอล มาร์เรโร รัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวของคิวบาเปิดเผยว่าปีที่แล้ว (2551) มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้นร้อยละ 9 (จำนวน 2,348,340 คน) ซึ่งกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือนักท่องเที่ยวจากแคนาดา และสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวมากขึ้นกว่าร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปี 2550 ขณะที่ในปีปัจจุบัน (2552) มีจำนวนนักท่องเที่ยว 809,937 คน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2 ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว โดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญอันดับสองของคิวบา
 
ในวันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา อันโตนิโอ ดิอาส เมดินา รองประธานบริษัท Havanatur ซึ่ง เป็นบริษัทจัดการท่องเที่ยวของคิวบาเปิดเผยว่า มีผู้เข้ามาเยือนมากขึ้นหลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ ลดหย่อนการจำกัดการเดินทางของชาวคิวบัน-อเมริกัน ซึ่งแต่เดิมมีโอกาสเดินทางไปคิวบาได้เพียงหนึ่งครั้งในทุก ๆ สามปี รอยเตอร์ยังได้รายงานอีกว่า ทางการคิวบาดูไม่มีความกังวลใด ๆ กับการที่มีชาวอเมริกันเข้าประเทศ ทั้งยังกล่าวอีกว่า ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่ในตอนนี้ พวกเขาจะเข้ามาในอีกสามเดือนหรือสามปีก็ได้
 
ขณะเดียวกันหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลคิวบา Granma พาด หัวว่า "แม้ทั่วโลกจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ธุรกิจการท่องเที่ยวของคิวบาก็ยังคงเติบโต" ในเนื้อความข่าวเดียวกันก็ได้กล่าวถึงการได้เป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมการท่อง เที่ยวนานาชาติของคิวบาครั้งที่ 29 หรือ FITCUBA '09 โดยมีนายมาร์เรโร รัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวของคิวบาทำพิธีเปิด มีผู้ประกอบวิชาชีพเข้าร่วม 900 คนจาก 58 ประเทศ และนักข่าว 180 คนจาก 34 ประเทศ
 
ใน รายงานฉบับเดียวกันยังได้กล่าวถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ทำให้คิวบาเป็นแหล่งที่น่าท่องเที่ยวโดยไม่ได้กล่าวถึงการลดหย่อนมาตรการ ควบคุมการเดินทางมายังคิวบาของสหรัฐฯ เลย
 
สำหรับ รัฐบาลคิวบาแล้ว ท่าทีของพวกเขาที่มีต่อนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันของสหรัฐฯ ก็ดูเหมือนจะออกไปในเชิงแข็งกร้าว และไม่ให้ความสำคัญสักเท่าไหร่ เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยราอูล คาสโตร ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของคิวบา ผู้สืบทอดอำนาจต่อจากพี่ชายคือฟิเดล คาสโตร ออกมาแสดงความเห็นว่า นโยบายของโอบามาในเรื่องคิวบานั้นจะประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย และยังให้ความเห็นอีกว่าการกระชับความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับ รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ใช่คิวบา
 
"ข้อ อ้างทางด้านจริยธรรมหรือการเมืองใด ๆ ก็สร้างความชอบธรรมให้กับนโยบายนี้ไม่ได้หรอก" คาสโตร ผู้น้องกล่าว "คิวบาไม่ได้มีข้อกำหนดอะไรที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกาหรือเหล่าพลเมืองชาว อเมริกันอยู่แล้ว"
 
รา อูล ยังบอกอีกว่าเขาพร้อมจะพูดคุยทุกเรื่องกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในสภาวะที่ทั้งสองประเทศเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ยังมีเงื่อนไขอีกว่าการเจรจาของสหรัฐฯ จะต้องไม่มีการก้าวก่าย อำนาจอธิปไตย, การเมือง, ระบบ สังคม และอำนาจการตัดสินใจเรื่องกิจการภายในประเทศของคิวบา ซึ่งราอูลได้เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่าเขาพร้อมจะเจรจาใน "...ทุกเรื่อง, ทุกเรื่อง และ ทุกเรื่อง" ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน, เสรีภาพในการสื่อสาร และเรื่องนักโทษการเมือง
 
จาก คำประกาศของราอูลทำให้โอบามาออกมากล่าวในที่ประชุมสุดยอดทวีปอเมริกา ที่ตรินิแดด แอน โตเบโก โดยเรียกร้องให้คิวบาปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองและลดหย่อนภาษีการโอนเงิน ข้ามประเทศ
 
แต่ ทางคาสโตรคนพี่ หรือ ฟิเดล คาสโตร อดีตผู้นำคิวบาผู้สละอำนาจให้น้องชายก็ออกมาเขียนโต้ท่าทีของประธานาธิบดี สหรัฐฯ ในบทความของหนังสือพิมพ์ Granma ว่า โอบาม่าเข้าใจสิ่งที่ราอูลประกาศผิดไป โดยคาสโตรระบุว่า "เมื่อประธานาธิบดีคิวบาบอกว่า เขาพร้อมที่จะเจรจาในประเด็นใดก็ได้กับประธานาธิบดีสหรัฐฯ เขาหมายความว่าเขาไม่กลัวที่จะพูดคุยไม่ว่าจะมีการเสนอประเด็นอะไรมาก็ตาม" ฟิเดล ยังได้โต้เถียงในประเด็นที่สหรัฐฯ เรียกร้องให้มีการปรับลดภาษีการโอนเงินข้ามประเทศว่า ไม่ใช่ชาวคิวบาที่มีครอบครัวอยู่นอกประเทศทั้งหมดจะส่งเงินข้ามประเทศ และยังบอกอีกว่าคิวบาใช้ภาษีจากการแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ไปเป็นสวัสดิการ ด้านการดูแลสุขภาพฟรี การศึกษาฟรี และการแจกจ่ายอาหารแก่ประชาชน
 
ถึง แม้ว่าฟิเดล คาสโตร จะสละตำแหล่งประธานาธิบดีให้น้องชายเขาไปแล้ว แต่เขาก็ยังดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์คิวบา และยังคงมีอิทธิพลในประเทศ ส่วนหนึ่งผ่านบทความในหน้าหนังสือพิมพ์ของ Granma ของ พรรคคอมมิวนิสต์ โดยก่อนหน้าฟิเดล คาสโตรดูจะชื่นชมโอบามา แต่ในคราวนี้ฟิเดล กลับหันมาแสดงความเหนือกว่าผู้นำสหรัฐฯ ทั้งยังเรียกร้องให้เลิกคว่ำบาตรการค้าคิวบา
 
ไม่ เพียงคิวบาที่แสดงท่าทีแข็งข้อ เพราะสหรัฐฯ เองถึงแม้ว่าดูจะมีท่าทีเปิดกับคิวบามากขึ้นในเรื่องการยกเลิกการปิดกั้นใน การเดินทางและโอนเงินข้ามประเทศไปยังคิวบา รวมถึงการลดหย่อนการปิดกั้นด้านโทรคมนาคมกับคิวบา แต่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ก็ยังคงบอกว่าพวกเขาอยากจะเห็นคิวบาทำการปฏิรูปเสียก่อน ถึงจะยอมสมานความสัมพันธ์ทางการทูตที่แตกหักไปนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ด้วย
 
ขณะ ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ดูจะเน้นไปที่เรื่องของการลดการกำหนดขอบเขตด้านการเดินทางไปคิวบา ทางคิวบาเองดูจะเน้นย้ำในเรื่องให้สหรัฐฯ เลิกคว่ำบาตรทางการค้ากับประเทศตน และล่าสุดในวันที่ 11 พ.ค. ที่ผ่านมา โฆษกของสมัชชาชาติคิวบาและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์คิวบา ริคาร์โด อลาร์คอน แสดงความเห็นว่า ไม่ใช่คิวบาที่จะต้องเป็นผู้ริเริ่มในการให้สหรัฐฯ ยกเลิกคว่ำบาตร เพราะคิวบาไม่ได้ไปทำอะไรให้สหรัฐฯ เลย ขณะเดียวกันเป็นอเมริกาเองที่ควรจะทำอะไรอีกมากมาย
 
แม้ บารัค โอบามา จะลดหย่อนมาตรการกีดกันด้านการเดินทางกับการถ่ายโอนเงินระหว่างประเทศแล้ว แต่เขาก็ไม่ได้กระตุ้นเรื่องการยกเลิกคว่ำบาตรทางการค้าซึ่งเป็นสิ่งที่ รัฐบาลคิวบาเรียกร้องมากสักเท่าไหร่ และหันมาทวงถามประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับคิวบาแทน
 
 
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
Fact Sheet: U.S. Administration Announcement on U.S. Policy Toward Cuba
Outlines changes in U.S. policy to reach out to Cuban people, 2009-04-13
 
World economic crisis hits Cuban tourism industry, AFP, 2009-05-05
 
Cuban tourism growing despite world crisis, Granma Internacional, 2009-05-08 http://www.granma.cu/ingles/2009/mayo/vier8/19turismo-i.html
 
Cuban American travel to Cuba on the rise, Marc Frank, Reuters, 2009-05-06
 
Raul Castro: Obama's Cuba policy changes 'minimal', 2009-04-29, WILL WEISSERT, Chron.com http://www.chron.com/disp/story.mpl/ap/top/world/6399595.html
 
Fidel Castro says Obama misinterpreted his brother's remarks, 2009-04-22, Los Angeles Times http://www.latimes.com/news/nationworld/world/la-fgw-castro-obama23-2009apr23,0,2952733.story
 
Fidel Castro: Obama 'Misinterpreted' Raul's Words, Ebru news, 2009-04-22 http://news.ebru.tv/en/americas/11180
 
Cuba rejects need for steps to improve US ties, AFP, 2009-05-11 http://news.yahoo.com/s/afp/20090511/wl_afp/cubausdiplomacy_20090511053028

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net