Skip to main content
sharethis

องค์การนิรโทษกรรมสากลส่งหนังสือแถลงต่อผู้สื่อข่าววันนี้ระบุว่า รัฐบาลไทยต้องอนุญาตให้มีการพิจารณาที่เปิดเผยต่อสาธารณะแก่ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ซึ่งถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์โดยทันที

องค์การนิรโทษกรรมสากลส่งหนังสือแถลงต่อผู้สื่อข่าววันนี้ระบุว่า รัฐบาลไทยต้องอนุญาตให้มีการพิจารณาที่เปิดเผยต่อสาธารณะแก่ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ซึ่งถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์โดยทันที

ผู้พิพากษา พรหมาศ ภู่แสง ผู้พิพากษาประจำศาลอาญากรุงเทพได้สั่งให้การพิจารณาคดีปิดลับตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นพิจารณาคดีเมื่อวันอังคารถือเป็นสิ่งที่ตอบโต้ดารณีจากกการแสดงความเห็นที่เธอกล่าวในการปราศรัยระหว่างการชุมนุมประท้วงเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2551

"ภายใต้หลักกฎหมายสากล การพิจารณาคดีที่เปิดเผยต่อสาธารณะเป็นหลักสำคัญในการปกป้องสิทธิของปัจเจกบุคคลจากการพิจารณาคดีและกระบวนการเกี่ยวกับการพิจารณคดีที่เป็นธรรม" แซม ซาริฟี ผู้อำนวยการองค์การนิรโทษกรรมสากลภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวและว่า "เมื่อศาลปิดประตูห้องพิจารณานั่นคือสัญญาณเสี่ยงต่อความอยุติธรรม"

ผู้พิพากษาระบุเหตุผลที่มีคำสั่งปิดห้องพิจารณาด้วยเหตุผลเรื่อง "ความมั่นคงของชาติ" แม้ว่าสนธิสัญญาสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองระหว่างประเทศ (ICCPR) และรัฐธรรมนูญจะอนุญาตให้กีดกันสาธารณะออกจากการพิจารณาคดีได้ แต่ก็ต้องเป็นไปอย่างจำกัดอย่างยิ่ง และจะต้องเป็นเพียงมาตรการสำคัญเพียงอย่างเดียวที่เหลืออยู่หลังจากไม่มีมาตรการอื่นใดที่ใช้ได้แล้ว

"รัฐบาลไทยจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ลำบากในการอธิบายว่าทำไมการพิจารณาคดีบุคคลคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าแสดงความเห็นดูหมิ่น จึงต้องประนีประนอมกับความมั่นคงของประเทศไทย" แซม ซาริฟี กล่าว

ผู้พิพากษาพรหมาศยืนยันว่า เขาสามารถให้หลักประกันได้ว่าจำเลยจะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม แม้ว่าจะปิดลับจากสาธารณะและสื่อมวลชน

และนี่คือเหตุผลว่าทำไมกฎหมายทั้งของไทยและระหว่างประเทศเรียกร้องให้มีการพิจารณาอย่างเปิดเผย" "ในการณีนี้ การพิจารณาดีที่เป็นธรรมหมายถึงการที่ประตูห้องพิจารณาเปิดออก"  แถลงการณ์ระบุ

 

 

ข้อมูลประกอบ

ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล เป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยการรัฐประหารเมื่อปี 2006

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยบัญญัติห้ามถ้อยคำหรือการกระทำที่ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการ โทษของความผิดนี้คือจำคุกไม่เกิน 15 ปี

มาตรา 14 สนธิสัญญาสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองระหว่างประเทศ (ICCPR)ซึ่งประเทศไทยร่วมลงนามด้วย ระบุว่าบุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาที่เป็นธรรมและเปิดเผย 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 40 บัญญัติว่า สิทธิพื้นฐานในกระบวนการพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย

 ด้านรอยเตอร์รายงานว่า องค์การนิรโทษกรรมสากลเรียกร้องประเทศไทย วันนี้ (26 มิ.ย.) ให้เปิดเผยกระบวนการพิจารณาคดีที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกฟ้องด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลังจากที่การพิจารณาคดีถูกปิดลับด้วยเหตุผลเรื่อง "ความมั่นคงของชาติ"

องค์การนิรโทษกรรมสากลระบุว่า ศาลสั่งห้ามสื่อมวลชนและสาธารณชนเข้ารับฟังการพิจารณาคดีที่ น.ส. ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ฝ่ายเสื้อแดงซึ่งสนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร อาจเป็นผลร้ายต่อการที่ดารณีจะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม

ดารณี วัย 46 ปี เป็นที่รู้จักกันในนามของ ดา ตอร์ปิโด ถูกจับและดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากได้กล่าวปราศรัยอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการรัฐประหารที่โค่นอำนาจทักษิณ

เมื่อผู้พิพากษาปิดประตูห้องพิจารณาคดี นั่นเป็นสัญญาณว่าเสี่ยงต่อความอยุติธรรม แซม ซาริฟี ผู้อำนวยการนิรโทษกรมสากลภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวในแถลงการณ์

"รัฐบาลไทยจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ลำบากในการอธิบายว่าทำไมการพิจารณาคดีบุคคลคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าแสดงความเห็นดูหมิ่น จึงต้องประนีประนอมกับความมั่นคงของประเทศไทย

"ในกรณีนี้ การพิจารณาคดีที่เป็นธรรมหมายถึงการที่ประตูห้องพิจารณาคดีถูกเปิดออก" ซาริฟีกล่าวเพิ่มเติม

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ผู้พิพากษาพรหมาศ ภู่แสง สั่งให้ผู้สื่อข่าวและผู้สนับสนุนดารณีออกจากห้องพิจารณาคดีของศาลอาญาด้วยเหตุผลว่าคดีนี้กระทบต่อความมั่นคงของชาติ

ดารณีไม่มีหลักประกันเรื่องความยุติธรรมหากสาธารณะถูกกีดกันออกจากการมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดี  ทนายของดารณีทำหนังสืออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว

การพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่น่าตกตะลึงซึ่งจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 28 ก.ค. ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการปิดกั้นผู้ที่ไม่เชื่อฟังและเสรีภาพในการพูด

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือการดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ เป็นกฎหมายที่เข้มงวดของไทย ประเทศซึ่งประชาชนจำนวนมากจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระชนมายุ 81 พรรษา ทรงเป็นสมมติเทพซึ่งอยู่เหนือการเมือง
ความผิดฐานนี้คือการจำคุกไม่เกิน 15 ปี

ผู้พิพากษาพรหมาศ กล่าวตอบผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ว่าไม่มีความเห็นต่อแถลงการณ์ขององค์กรนิรโทษกรรมสากล แต่ยืนยันในการตัดสินให้การพิจารณาคดีปิดลับ "สิ่งหนึ่งที่ผมสามารถพูดได้คือ ผมเป็นกลาง"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net