วารสารข่าว Food Facts Asia 35: ความปลอดภัยด้านอาหาร – ความรับผิดชอบร่วมกัน

12 เดือนที่ผ่านมา มีหลายเหตุการณ์ที่น่ากลัวเกี่ยวกับอาหาร ย้ำให้เห็นถึงสภาพปัญหาที่เกิดเพิ่มขึ้นทั่วโลกกรณีความปลอดภัยด้านอาหาร เช่น เมลามีนในนมผง, เชื้อซาลโมเนลลาในเนยถั่ว และสารไดออกซินในเนื้อหมู นี่เป็นเพียงบางปัญหา ที่มีผลกระทบต่อบรรดาอาหารทั่วโลก จากการค้าโลกที่เพิ่มขึ้นและด้วยระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่รวดเร็วย่อมหมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลกสามารถส่งผลต่อมื้อเย็นที่เราจะรับประทานในวันถัดมาได้ทันที
 
องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ความปลอดภัยด้านอาหารนั้นเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน นั่นหมายความว่า คุณภาพและความปลอดภัยของอาหารและเครื่องดื่มขึ้นอยู่กับความพยายามของทุกๆ คนที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่กระบวนการผลิตอาหารที่ซับซ้อน เริ่มตั้งแต่การขนส่ง, การเก็บรักษา, การผลิตอาหาร, การจัดเตรียมและการบริโภค
 
ข่าวดีคือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอาหาร, กลวิธีเฉพาะด้านของกระบวนการและการบรรจุภัณฑ์ช่วยปรับปรุงความปลอดภัยและการส่งเสริมสุขอนามัยให้กับแหล่งผลิตอาหารของเรา อย่างไรก็ตาม ความกลัวเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า การปนเปื้อนอาหารจากแหล่งผลิตยังคงเกิดขึ้น เราสามารถมั่นใจได้อย่างไรว่า อาหารนั้นปลอดภัยที่จะรับประทาน และมีการเคลื่อนไหวใดบ้างเกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มั่นใจว่าอาหารที่ผลิตในประเทศ และอาหารที่นำเข้ามานั้นมีความปลอดภัย
 
ผลกระทบทั่วโลก

ความรับผิดชอบร่วมกันเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารนี้มีขอบเขตมากเกินกว่าความรับผิดชอบของประเทศใดประเทศหนึ่ง เมื่อเดินไปรอบๆ ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าแห่งใดก็ตามในวันนี้ ผู้ซื้อชาวเอเชียสามารถพบผลิตภัณฑ์อาหารเรียงรายจากหลากหลายประเทศ – มะเขือเทศจากอเมริกา, ไก่จากบราซิล, และชอคโกแลตจากสวิตเซอร์แลนด์ มีมาให้เลือกมากมายหลายหลาก มาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นต้องมีในทุกๆขั้นตอนของการผลิตอาหาร ตั้งแต่การเก็บเกี่ยว, ผ่านกระบวนการผลิต และการกระจายผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพของอาหารนั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงประเทศให้กำเนิดสินค้า ที่สุดแล้ว องค์กรที่มีหน้าที่ในการออกกฎระหว่างประเทศและคณะที่ปรึกษานับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างมาก เนื่องจากนานาประเทศต่างมองหามาตรฐานและขั้นตอนที่เหมาะสมนำมาใช้กับความปลอดภัยด้านอาหารและกระบวนการผลิต

สื่อมวลชนยังมีบทบาทความรับผิดชอบที่สำคัญในการสื่อสารเกี่ยวกับกระเด็นด้านความปลอดภัยของอาหาร ปัญหาที่ยุโรปกำลังเผชิญอยู่สามารถกลายเป็นข่าวพาดหัวในเอเชียในวันเดียวกัน ผู้บริโภคเองเพิ่มความสนใจต่อข่าวที่เกี่ยวกับอาหาร ข่าวอาจทำให้สะเทือนอารมณ์ และทำให้มีการตอบสนองต่อความกลัวในความปลอดภัยด้านอาหาร ดังนั้น สื่อมวลชนต้องมั่นใจ และมีความรับผิดชอบอย่างมากว่า การสื่อสารนั้นมีความถูกต้องแม่นยำ, ไม่ทำให้เกิดการเข้าใจผิด, มีการสื่อสารชัดเจนไปถึงกลุ่มผู้อ่าน
 
ความปลอดภัยด้านอาหารจากมุมมองระดับสากล

การค้าโลกที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในหลายๆประเทศ ของนิยามคำว่ามาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร การเฝ้าระวัง, การประเมินค่าความเสี่ยง, การออกกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันในเรื่องของมาตรฐานอาหาร, ฉลากโภชนาการ และความปลอดภัยด้านอาหารสามารถทำให้เกิดความสับสน และการไม่เห็นด้วยในเรื่องการนำเข้าและส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้พัฒนามาตรการอาหารระหว่างประเทศ (Codex Alimentarius) ขึ้นในปี พ.ศ. 2505

มาตรการอาหารระหว่างประเทศ (มีความหมายในภาษาละตินว่า หลักเกณฑ์ด้านอาหาร หรือ กฎหมายอาหาร) คือมาตรฐานอาหาร แนวทาง และข้อมูลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ถูกจัดตั้งขึ้น และนานาประเทศให้การยอมรับ มาตรการอาหารระหว่างประเทศครอบคลุมอาหารทุกชนิด (ทั้งที่เป็นวัตถุดิบและผ่านกระบวนการ) รวมถึงแนวทางการติดฉลากอาหาร, มาตรฐานด้านสุขอนามัย, วัตถุเจือปนอาหาร, วัตถุปนเปื้อนในอาหารและการประเมินความเสี่ยงความปลอดภัยด้านอาหาร มาตรการอาหารระหว่างประเทศได้รับการยอมรับจากองค์การการค้าโลก (WTO) ว่าเป็นจุดอ้างอิงระดับนานาประเทศเมื่อเกิดการโต้แย้งกรณีความปลอดภัยด้านอาหาร
 
ก้าวพัฒนาใหม่ๆ ในเอเชีย

ไม่นานมานี้ เอเชียมีพัฒนาการหลายๆอย่างในการมองหาวิธีพัฒนาความปลอดภัยของอาหารและเครื่องดื่ม และดูแลสัมพันธภาพระหว่างหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหารให้ทำงานใกล้ชิดมากขึ้น

# กฎหมายความปลอดภัยด้านอาหารของจีนมีการทบทวนใหม่ให้สมบูรณ์ขึ้น
คณะรัฐมนตรีของจีนประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ว่าจะทำการจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อสนับสนุนระบบการเฝ้าระวังอาหาร การประกาศนี้เป็นส่วนหนึ่งในร่างกฎหมายความปลอดภัยด้านอาหารซึ่งอยู่ในวาระของคณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) การตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ในระบบความปลอดภัยด้านอาหารของจีนยังโยงใยถึงมาตรฐานและข้อบังคับที่ปรับปรุงใหม่, ความเข้มงวดมากขึ้นในการบังคับใช้กฎหมาย, การเพิ่มบทลงโทษและเพิ่มการเฝ้าระวังตามปกติ
 
# เครือข่ายสถาบันฝึกอบรมพันธมิตรกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน (APEC)
ในเดือนพฤศจิกายน 2551 กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน (APEC) ได้ประกาศโครงการริเริ่มในการพัฒนาความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นระดับภูมิภาคที่น่าตื่นเต้นที่สุด การริเริ่มใหม่นี้เรียกว่า เครือข่ายสถาบันฝึกอบรมพันธมิตรกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน (APEC Partnership Training Institute Network for Food Safety : PTIN) โครงการริเริ่มนี้ทำแบบต่อเนื่องหลายปีเพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียนทำการปรับปรุงความปลอดภัยด้านอาหารด้วยวิธีการปรับปรุงกฎข้อบังคับ และจุดมุ่งหมายของ PTIN คือ การการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้กับภาครัฐและเอกชนและผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ ในการพัฒนาความปลอดภัยด้านอาหารในภูมิภาคอาเซียนให้กว้างขวางขึ้นโดยผ่านทางการศึกษาและการฝึกอบรม โครงการนี้ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกด้วยการออกแบบและให้การฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร, การสร้างหลักสูตรที่ใช้เป็นหลักในการฝึกอบรม และการช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการพัฒนากลยุทธ์ความปลอดภัยด้านอาหาร
 
# เซอละมัด (SELAMAT)
อีกหนึ่งการริเริ่มเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารที่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้ คือเซอละมัด “selamat” มีความหมายว่า “ความปลอดภัย” ในภาษาราชการของมาเลเซีย (Malay Bahasa) เกิดจากกลุ่มเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์และผู้ออกกฎในเอเชียและยุโรป เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาหาร เครือข่ายนี้ประสานงานโดยสถาบันความปลอดภัยด้านอาหาร ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศสมาชิกเอเชียของ SELAMAT ประกอบด้วย สถาบันคุ้มครองพืช (Institute of Plant Protection) ประเทศจีน, สำนักงานควบคุมอาหารแห่งชาติ (The National Agency for Food Control) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย, สถาบันอาหาร (The National Food Institute) และ ห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร (Laboratory Center for Food and Agricultural Products) ประเทศไทย, และสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพนานาชาติ (ILSI) ของกลุ่มประเทศเอเชีย
 
เซอละมัด (SELAMAT) ได้แบ่งหัวข้องานวิจัยออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผลกระทบของอาหารต่อสุขภาพ, ระบบสืบค้นย้อนกลับอาหารตามทางเดินห่วงโซ่การผลิตอาหาร (ระดับจากไร่นาสู่โต๊ะอาหาร: from fark to fork) และวิธีการสืบค้นสารพิษปนเปื้อนในอาหาร วัตถุประสงค์ของกลุ่มคือ ให้การทดสอบ, การรับรองและการสืบค้นย้อนกลับของทั้งเอเชียและยุโรป เป็นไปในทางเดียวกัน และปรับปรุงกฎหมายด้านอาหารให้มีความโปร่งใสมากขึ้น เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่า ความปลอดภัยด้านอาหารจะไม่กลายเป็นอุปสรรคการค้าระหว่างประเทศ
 
เซอละมัด (SELAMAT) ได้เริ่มงานสร้างฐานข้อมูลของกฎข้อบังคับความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อบังคับความปลอดภัยด้านอาหาร และวิธีการทดสอบทั่วโลก
 
# องค์การอาหารและยาในจีน
เป็นการเคลื่อนไหวที่ส่งสัญญาณชัดเจนถึงผลกระทบมหาศาลกรณีความปลอดภัยด้านอาหารที่มีต่อการค้าทั่วโลก องค์การอาหารและยาสหรัฐได้เปิดที่ทำการนอกประเทศเป็นครั้งแรกในจีนเมื่อปลายปีที่ผ่านมา วัตถุประสงค์การเคลื่อนไหวนี้คือส่งเสริมความร่วมมือทางเทคโนโลยีระหว่างหน่วยงานที่กำกับดูแลกฎหมายของจีนและสหรัฐ เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยของอาหาร, ยา และอุปกรณ์การแพทย์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ องค์การอาหารและยาได้ประกาศที่จะเปิดสำนักงานลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ในกรุงเดลี ประเทศอินเดีย และยังแจ้งให้ทราบอีกว่า จะทำการเปิดสำนักงานตัวแทนในละตินอเมริกา, ตะวันออกลาง และยุโรปภายในปีหน้าหรือปีต่อไป

ก้าวไปข้างหน้า

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมากมายในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ช่วยทำให้แหล่งอาหารของเรามีความความปลอดภัยมากขึ้น การฉายรังสีอาหาร, การบรรจุภัณฑ์ที่รวดเร็วและชาญฉลาด, ระบบการติดตามสัตว์และสินค้าที่เหมาะสม และระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม หรือ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) เป็นเพียงไม่กี่วิธีการจากหลายกระบวนการใหม่ๆที่ถูกนำมาใช้ในการส่งสินค้าที่คงประโยชน์ต่อสุขภาพไปยังผู้บริโภคที่มีความวิตกกังวลเรื่องอาหารและสุขภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลาย ๆ รัฐบาล ซึ่งรวมถึงจีนและญี่ปุ่นได้ทบทวนและเพิ่มความเข้มงวดต่อขอบเขตกฎข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความปลอดภัยของแหล่งอาหาร ความคืบหน้าเหล่านี้ก้าวเดินไปพร้อมกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลด้านกฎหมายทั่วโลก, ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยด้านอาหาร และฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตอาหาร ซึ่งล้วนช่วยลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารที่อาจเกิดขึ้นได้
 

เอกสารอ้างอิง
www.apec.org
www.selamat.net
www.codexalimentarius.org
 
 
 ...................................................................

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้ที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลด้านอาหารแห่งเอเชีย www.afic.org ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเชียเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ มีพันธะกิจเพื่อสื่อสารข้อมูลพื้นฐานในแง่มุมวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร, โภชนาการ และสุขภาพไปสู่สื่อมวลชน, ผู้ดูแลมาตรฐาน, ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและอาหาร และผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชีย
 

 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท