สะท้อนการแก้ปัญหาเอดส์ในชุมชนชายแดนใต้

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนามุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ในวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์ร่วมใจต้านภัยเอดส์ โดยกระทรวงสาธารณสุข เน้นการกระตุ้นให้สังคมตระหนักต่อปัญหาโรคเอดส์ ตลอดจนมีจิตสำนึกในการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ โดยมีแนวคิดการรณรงค์ตามคำขวัญ คือ เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา (stop aids keep the promise)

โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอดส์ รายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 25 ล้านคน และติดเชื้อไวรัสเอชไอวี-เอดส์เกือบ 60 ล้านคนทั่วโลกนับตั้งแต่ที่พบการแพร่ระบาด

แม้ว่าจะมีโครงการ ป้องกันโรคเอดส์ซึ่งลดอัตราการติดเชื้อลงได้ร้อยละ 17 ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อโดยรวมพุ่งขึ้นเมื่อปีที่แล้ว และนับจนถึงปลายปี 2551 มีผู้ติดเชื้อรวม 33.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2543 รายงานประจำปีของยูเอ็นเอดส์ระบุว่า พื้นที่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในแอฟริกามีจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดถึง 22.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 67 ส่วนที่ยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางมีจำนวน 1.5 ล้านคน โดยกลุ่มเสี่ยงติดเอดส์ประกอบด้วย ผู้ค้าประเวณี ผู้เสพยาเสพติด และพวกรักร่วมเพศ นอกจากนี้ยังขยายมาถึงกลุ่มประชากรที่เป็นคนรักหรือมีเพศสัมพันธ์กับพวกที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้วย

สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้นประมาณมากว่า 1 ล้านคน เสียชีวิตมากว่าจำนวน 300,000 คน และมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 30,000 คนต่อปี

ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ต้องประสบกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตในทุกด้าน อาทิ ทางสังคม ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ การทำงาน การถูกกีดกันและเลือกปฎิบัติตามสิทธิพี้นฐานที่ควรจะได้รับจากภาครัฐและสังคม นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ อาทิ เด็กและผู้สูงอายุอีกจำนวนมาก

ทุกตำบลของประเทศไทยรวมทั้งตำบลต่างๆ ในจังหวัดสงขลาซึ่งผู้เขียนและคณะทำงาน ทำงานในโครงการป้องกันและดูแลผู้ป่วยในชุมชนจังหวัดสงขลา (เริ่มตั้งแต่ปี 2548) พบว่ามีผู้ติดเชื้อ เอชไอวี หรือผู้ป่วยเอดส์ทุกตำบลเพียงแต่ไม่ได้รับเปิดเผยอย่างโจ๋งแจ้งเท่านั้นเอง

ปัญหาโรคเอดสเป็นปัญหาซับซ้อนหลายมิติ มิได้เกี่ยวโยงเพียงแต่ทางร่างกาย ทางการแพทย์ สาธารณสุข และด้านเศรษฐกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นวิกฤติของการดำเนินชีวิตทั้งหมด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานความเข้าใจเรื่องชีวิต ทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัฒน์ ความหลงใหลกับการบริโภคนิยม ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การทำงานของพวกเราได้บูรณาการกับหลักศาสนธรรมแล้วแต่พื้นที่ทำงาน ทั้งพื้นที่ของชุมชนมุสลิมหรือพุทธศาสนาในขณะเดียวกันการทำงานยังโยงเครื่อข่ายคริสตศาสนิกชนกับภาคกลางและเหนือ

ผู้นำศาสนาทั้งสามรวมทั้งคนทำงานของแต่ละศาสนาให้ทัศนะตรงกันว่า เอดส์เป็นปัญหาทางโครงสร้างของสังคมที่หักเหไปจากหลักธรรมแห่งศาสนา จากคุณค่าวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของบรรพชนชาวไทยในอดีต ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องศึกษาสภาพสังคมในทุกส่วน ทุกมิติ ให้เข้าใจและนำหลักธรรมทางศาสนาเข้ามาแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

การทำงานจะประกอบไปด้วยกิจกรรมต่างๆ ทั้งป้องกันและดูแลเริ่มด้วยการพัฒนาศักยภาพและสร้างกลไก โดยการการสรรหาคณะทำงานตำบล ตำบลละ 30 คน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และกระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ ภายใต้ปรัชญาการทำงาน พัฒนาคน พัฒนางาน เพื่อให้คณะทำงานระดับต่างๆ นำไปใช้ในการจัดกิจกรรม ระดับชุมชนต่อไป หลังจากนั้นคณะทำงานจะมีการสรรหาวิทยากรชุมชน หมู่ละ 10 คน เพื่อให้พวกเขาได้ทำกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนของตนเองเช่นสร้างองค์ความรู้ให้เยาวชน การสร้างกระแสในชุมชน การจัดตั้งศูนย์ข้อมูล ทุกหมู่บ้าน จัดทำรายการวิทยุในคลื่นวิทยุชุมชน ที่สำคัญเมื่อทำงานครบแต่ละไตรมาศ และรอบปี ทางโครงการได้จัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนบทเรียน การทำงาน การถอดบทเรียน การกำหนดรูปแบบ การศึกษาความก้าวหน้าปัญหาอุปสรรคในระหว่างองค์กรและภาคีที่เข้าร่วมโครงการ

การทำงานของชุมชน โดยชุมชนเพื่อชุมชนดังกล่าว สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศและการ ใช้ชีวิตตามหลักศาสนา ความเชื่อและวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อการป้องกันเอดส์ และสามารถเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่สามารถลดปัจจัยเอื้อทางสังคมที่กระตุ้นให้เยาวชนเสี่ยงต่อการผิดพฤติกรรทางเพศได้เข้าถึงมากกว่าองค์กรของรัฐโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข เพราะการทำงานด้านนี้ใช้การขับเคลื่อนของคนในพื้นที่ทุกภาคส่วนจาก กลุ่มแม่บ้าน/องค์กรของรัฐ/ หน่วยงานท้องถิ่น/สภาบันทางศาสนา สถาบันการศึกษาและเยาวชน

เพราะการสรรหาแกนนำที่หลากหลายจากภาคีต่างๆ ได้แก่ ผู้นำศาสนา ครู เยาวชน อสม. สมาชิก อบต.ประชาชนทั่วไป ที่มีจิตอาสาในชุมชนมาทำงานและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน

ชุมชนมีการวิเคราะห์กิจกรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal: PRA) ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ของสถานีอนามัย สาธารณสุขอำเภอ และสาธารณสุขจังหวัด เช่นวิเคราะห์แผนที่แหล่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มเสี่ยงต่อเอดส์ จำแนกตามกลุ่มอายุ ได้แก่ เด็กแรกเกิด เด็กวัยเรียน เด็กวัยรุ่น วัยทำงาน และวัยชรา การวิเคราะห์ความตระหนักต่อการแพร่เชื้อโรคเอดส์ การวิเคราะห์สถานการณ์โรคเอดส์ของชุมชน การวิเคราะห์แนวโน้มโรคเอดส์ที่ผ่านมา

การวิเคราะห์ชุมชนโดยชุมชนอย่างมีแบบแผนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าว (PRA) ทำให้ชุมชนมองเห็นศักยภาพของบุคคลและองค์กรที่จะร่วมกันทำงานด้านเอดส์ให้สำเร็จ และสามารถวางแผนสร้างทีมขยายออกไป ซี่งการวิเคราะห์ชุมชนในการทำงานด้านเอดส์สามารถเป็นรูปแบบที่ประยุกต์ไปใช้ในการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคไข้หวัดนก โรคไข้เลือดออก โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ

การจะสามารถแก้ปัญหาเอดส์ได้อย่างยั่งยืนจะต้องช่วยกันทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิดการปรับเปลี่นพฤติกรรมและภายใต้กรอบดังนี้
 

ด้วยบทเรียนของผู้เขียนและคณะทำงานข้างต้นหวังว่าทุกหน่วยงานที่ทำงานด้านนี้ไม่ว่าภาครัฐและเอกชนควรสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นน่าจะเป็น ทิศทางความร่วมมือในอนาคตของทุกภาคส่วน ดังนี้

1. การจัดตั้งเครือข่ายองค์กรภาคีกับการทำงานด้านเอดส์
2. การพัฒนาช่องทางการสื่อสารเพื่อการสร้างสำนึก ให้เข้าถึงเด็ก สตรีและเยาวชน
3. การจัดทำหลักสูตที่สามารถบูรณาการ หลักศาสนธรรมกับการสื่อสารเพื่อการเข้าใจเอดส์

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท