Skip to main content
sharethis
 
5 ม.ค. 53 - หลังจากที่สหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 โดยมีการเจรจาทั้งหมด 12 ครั้ง แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ นายจ้างจึงได้ใช้สิทธิปิดงาน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป โดยจากข้อมูลของสหภาพแรงงานระบุว่า นายจ้างได้ปิดงานทั้งๆ ที่เคยประกาศว่าเป็นวันหยุด ซึ่งสหภาพแรงงานฯได้ใช้ความพยายามในการเจรจารูปแบบทวิภาคี เพื่อคงไว้ซึ่งระบบแรงงานสัมพันธ์ แต่สิงที่สหภาพแรงงานได้รับคือการถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทำลายทรัพย์สินของบริษัท
 
โดยข้อตกลงที่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากบริษัทฯ ยังยืนยันที่จะจ่ายโบนัสตามที่เสนอครั้งแรกคือ 5 เดือน + 10,000 บาท และปรับเงินเดือน 4.5% + 100 บาท ในขณะที่สหภาพแรงงานฯ ได้ลดตัวเลขลงจากที่เคยขอไว้ 6.5 เดือน + 18,000 บาท เหลือเป็น 5.6 เดือน + 20,000 บาท และปรับเงินเดือน 5.5% + 400 บาท ในส่วนสวัสดิการอื่นๆ เช่น ค่าเช่าบ้าน, ค่าเบี้ยขยัน, ค่ากะ, ค่าอาหาร, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าเล่าเรียนบุตร รวมทั้งการสนับสนุนกิจกรรมของสหภาพแรงงานฯ ก็มีการยื่นเสนอตามปกติ
 
นอกจากนี้จากข้อมูลของสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย ได้ระบุอีกว่าการทำข้อตกลงสภาพการจ้างนั้นจะต้องทำโดยสหภาพแรงงานฯ กับบริษัทฯ แต่บริษัทฯ กลับพยายามให้พนักงานเซ็นชื่อเป็นรายบุคคลเพราะต้องการให้สมาชิกสหภาพแรงงานฯ สละข้อเรียกร้องและไม่ต้องการให้สมาชิกสหภาพแรงงานฯ มาเกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงาน
 
โดยสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย จะมีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม โดยจะมีการชุมนุมอยู่ที่ หน้าบริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2553 เวลา 07.30 น.เป็นต้นไป
 
ทั้งนี้ทางสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย ได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้กับสหภาพแรงงานต่างๆ เพื่อร่วมสนับสนุนการต่อสู้ สหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย และเชิญชวนพี่น้องพันธมิตรแรงงาน ร่วมให้กำลังใจในการต่อสู้ ตามวันเวลาดังกล่าว
 
จากข้อมูลของสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย ระบุว่า บริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท ฟอร์ดมอเตอร์ คอมปานี ประเทศสหรัฐอเมริกา กับบริษัท มาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น โดยถือหุ้นรายละ 50 % บริษัทลงทุนครั้งแรกเมื่อปี 2538 ด้วยเงินลงทุน 5,000 ล้านบาท ผลิตรถยนต์บรรทุกขนาด 1 ตัน ภายใต้ชื่อ Ford และ Mazda ส่งออก 70 % ขายในประเทศไทย 30 % บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นในปี 2552 โดยมีการเพิ่มการลงทุนอีก 17,000 ล้านบาท สร้างโรงงานใหม่เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็ก B CAR ซึ่งขณะนี้กำลังผลิตรถยนต์ มาสด้า 2 หลังจากที่เคลงทุนมาแล้วเมื่อปี 2538 จำนวน 5,000 ล้านบาท บริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนจาก BOI
 
รายได้และการจ่ายโบนัสของบริษัท
 
 
ข้อมูลจาก: สหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย
 
 
เปรียบเทียบงบดุล บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (โดยย่อ)
 
จำนวนเงิน (บาท)

 
ปีงบ 2550
ปีงบ 2549
ปีงบ 2548
สินทรัพย์
ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับสุทธิ
7,126,171,284
5,522,055,236
6,576,776,403
สินค้าคงเหลือ
2,348,009,887
2,106,560,070
3,756,101,390
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
13,031,032,468
9,939,910,252
13,661,075,540
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์(สุทธิ)
8,222,843,648
8,846,666,119
7,365,474,738
รวมสินทรัพย์
21,261,470,285
18,795,078,962
21,039,278,384
 
หนี้สินและทุน
รวมหนี้สินหมุนเวียน
7,076,855,229
6,033,212,137
8,583,098,273
 รวมหนี้สิน
7,076,855,229
6,033,212,137
8,583,098,273
  รวมส่วนของผู้ถือหุ้น
14,184,615,056
12,761,866,825
12,456,180,111
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
21,261,470,285
18,795,078,962
21,039,278,384
ทุนจดทะเบียน
5,000,000,000
5,000,000,000
5,000,000,000
ทุนชำระแล้ว
5,000,000,000
5,000,000,000
5,000,000,000
จำนวนหุ้น
50,000,000
50,000,000
0
ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 
 
เปรียบเทียบงบกำไรขาดทุนบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (โดยย่อ)
 
จำนวนเงิน (บาท)

 
ปีงบ 2550
ปีงบ 2549
ปีงบ 2548
รายได้หลัก
70,833,120,913
60,373,928,594
60,550,699,815
รวมรายได้
71,275,486,498
60,878,686,704
60,815,298,713
ต้นทุนขาย
66,671,954,268
58,353,666,790
53,330,988,632
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
2,964,653,232
1,875,054,136
4,521,267,771
ดอกเบี้ยจ่าย
0
81,776,377
161,410,143
ภาษีเงินได้
216,130,767
262,502,687
110,301,127
รวมรายจ่าย
69,852,738,267
60,572,999,990
0
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ
1,422,748,231
305,686,714
2,691,331,040
กำไรต่อหุ้น (บาท)
52
7
0
 
ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 
ปัจจุบันบริษัทฯ มีพนักงานประจำจำนวน 2,637 คน พนักงานเหมาค่าแรงจำนวน 1,200 คน ในปี 2553 บริษัทมีเป้าหมายในการผลิตรถยนต์ จำนวน 209,756 คัน โดยบริษัทฯ จะต้องรับพนักงานเพิ่มขึ้นหลายร้อยอัตรา ทั้งนี้ในบริษัทฯ มีสหภาพแรงงานอยู่ 3 แห่งคือ สหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชา ออโต้ อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย, สหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย และ สหภาพแรงงานยานยนต์คนรับเหมา แห่งประเทศไทย โดยทั้ง 3 สหภาพมีการยื่นข้อเรียกร้อง โดยมี 2 สหภาพแรงงานที่เป็นข้อพิพาทอยู่ คือ สหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย และ สหภาพแรงงานยานยนต์คนรับเหมา แห่งประเทศไทย
 
อนึ่งทางบริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย ได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับกรณีการปิดงานทางเวบไซต์ของบริษัทฯ ดังนี้ แถลงการณ์จาก ออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย ฉบับวันที่ 26 ธันวาคม 2552 และ คำถามคำตอบเกี่ยวกับการปิดงาน

 

 

 
มาสด้าเตรียมเจรจาเพิ่มกำลังผลิต– ฟอร์ด เตรียมลงทุนล๊อตใหญ่ 1.7 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ กรุงเทพธุรกิจได้รายงานเมื่อวันที่ 4 ม.ค. ว่า มาสด้า ซึ่งปีที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งจากรถยนต์รุ่นเก่า อย่างมาสด้า 3 และรถรุ่นใหม่ อย่างมาสด้า 2 ที่มียอดจองเกือบ 3,000 คัน หลังการเปิดตัว 2 สัปดาห์ และกวาดยอดได้อีก 1,400 คัน ในงานมหกรรมยานยนต์ ทำให้ปี 2553 จอห์น เรย์ กรรมการผู้จัดการ มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) ประกาศเปิดเกมรุกทันที แน่นอนสิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ การเจรจากับ ออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) หรือ เอเอที โรงงานผลิตรถยนต์ฟอร์ดและมาสด้าที่ระยองเพื่อให้เพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าจากปกติ 2,000 คัน/เดือน อีก 500 คัน ในเดือน ม.ค.นี้ และ 700 คัน ในเดือนหน้า ขณะที่เอเอทีเองก็อยู่ระหว่างการเตรียมการเปิดบุคลากร และเพิ่มการจัดซื้อชิ้นส่วนมากขึ้น
ส่วน ฐานเศรษฐกิจรายงานว่าค่ายรถอย่างฟอร์ด เตรียมเปิดตัวเก๋งเล็กสุดหรู เฟียสต้าใหม่ ในประเทศไทย หลังจากที่ปล่อยให้คู่แฝด อย่างมาสด้า 2 ที่คลอดปลายปี 2552 ออกตัวนำหน้าโกยยอดขายไปก่อน โดยโรงงานออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) เริ่มผลิตเฟียสต้ารุ่น 5 ประตู และ 4 ประตู ในไตรมาส 2 ของปี 2553 ซึ่งลูกค้าหลายๆคนกำลังเฝ้าคอยด้วยใจระทึก เพราะ ดีกรีของฟอร์ด เฟียสต้า เป็นรถที่ถล่มยอดขายทั่วโลกมาแล้วกว่า 5 แสนคัน ขายระเบิดระเบ้อมาตั้งแต่ตลาดประเทศอเมริกาและประเทศสำคัญๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ฟอร์ด เฟียสต้าใหม่จะผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่โรงงานร่วมทุนแห่งใหม่ของฟอร์ด ภายใต้การลงทุนมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท) ณ โรงงานออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) (เอเอที) ในจังหวัดระยอง และจะพร้อมวางจำหน่ายในโชว์รูมฟอร์ดทั่วภูมิภาคอาเซียนในปี 2553
 
 
 
ข้อมูลประกอบข่าว:
 

 

 

 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net