Skip to main content
sharethis

ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี

ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับ อุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้ ทำให้ต้องนำเข้าเหล็กจากต่าง ประเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไปสู่อุตสาหกรรมเหล็กต้น น้ำอย่างครบวงจร

พื้นที่เป้าหมายของโครงการ

1. อำเภอบางสะพาน และอีก 4 พื้นที่ทางเลือกอยู่ในพื้นที่อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

2. บริเวณแหลมช่องพระ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร (เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด)

3. บริเวณบ้านแหลมทวด อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

4. บริเวณบ้านบางปอ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

 เป้าหมายของการพัฒนา

มีการวางแผนจะพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ โดยการก่อสร้างโรงถลุงเหล็กซึ่งใช้พื้นที่สำหรับก่อสร้างโรงงานประมาณ 5,000-10,000 ไร่ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรม ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกระวางขนาด 200,000 ตัน เพื่อนำเข้าและขนถ่ายสินแร่เหล็ก และวัตถุดิบอื่นๆ ที่ใช้ในการถลุงเหล็กเช่น รวมถึงการพัฒนาระบบน้ำสำหรับใช้ในการผลิต (ประมาณ 30-50 ลบ.ม./ปี) ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ ระบบสาธารณูปโภค และระบบกำจัดของเสีย เป็นต้น

ทรัพยากรและปัจจัยที่จำเป็นในการพัฒนาโครงการ

ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นจำเป็นต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบอย่างสินแร่เหล็ก และถ่านหินเพื่อ นำมาผลิตถ่านโค้กใช้ในกระบวนการถลุงเหล็ก นอกจากนี้ยังต้องมีจัดหาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างท่าเทียบเรือเพื่อนำเข้าและขนถ่ายวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ในการกระบวนการผลิต การพัฒนาระบบแหล่งน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้ในโครงการ เช่น การก่อสร้างเขื่อนท่าแซะ เขื่อนท่าทน รวมถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อการใช้ไฟฟ้าในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างโรงถลุงเหล็ก

 
ข้อห่วงกังวลของพื้น

ชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับโครงการพัฒนาเหล็กต้นน้ำ ไม่เห็นด้วยกับโครงการลงทุนเหล็กต้นน้ำที่นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการลงทุนใน พื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เกษตรและก็ประมง จึงไม่เหมาะกับการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

โครงการขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยเม็ดเงินลงทุนเป็นแสนๆ ล้าน ย่อมที่ส่งผลกระทบให้กับคนในพื้นที่อย่างมหาศาล กรณี เกิดการแย้งชิงทรัพยากรในพื้นที่  เช่น แหล่งน้ำดิบ ที่อยู่อาศัย เงินลงทุนเป็นแสนล้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็สะลายไปในที่สุด การประมงก็จะสูญหาย การเกษตรผลผลิตน้อยลง ซึ่งเหล่านี้ชาวบ้านได้เห็นผลกระทบจากภาคตะวันออก จึงมีการค้านการสร้างโรงงานถลุงเหล็กและอุตสาหกรรมอื่นๆ มาอย่างต่อเนื่อง

ถ้าหากมีหน่วยงานใดที่คิดจะมาลงทุนอุตสาหกรรมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จำเป็นอย่างมากที่ต้องคำนึงถึงชุมชนก่อนอื่นใด ก่อนที่คิดผลกำไรและเม็ดเงินที่คาดฝันว่าประเทศจะได้ 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net