Skip to main content
sharethis

ในรายการ Intelligence ทาง Voice TV เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2553 จอม เพชรประดับผู้ดำเนินรายการได้สัมภาษณ์ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด แสดงทัศนะหลังพล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด แสดงทัศนะหลังเกิดเหตุจลาจล 19 พฤษภา 53

เหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ที่ทหารเข้ากระชับวงล้อมกดดัน การชุมนุมของคนเสื้อแดง จนนำไปสู่การยุติการชุมนุมและเกิดเหตุการณ์จลาจลในหลายพื้นที่ มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตนับสิบ บาดเจ็บนับร้อย มีการก่อวินาศกรรม จุดไฟเผาอาคารห้างร้านตามสถานที่ต่างๆ มีการปะทะกันระหว่างทหารกับผู้ชุมนุม ในพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง-สยาม-สามย่าน-ราชประสงค์-ศาลาแดง-สารสิน-บ่อนไก่ กรุงเทพมหานครกลางเป็นสมรภูมิรบ หรือเกิดสงครามกลางเมือง เพียงเพราะความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน

พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานมูลนิธิเพื่อนสันติภาพ ได้ให้ทัศนะในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ “เหตุการณ์ในครั้งนี้จะเป็นบทเรียน ที่ทำให้รัฐบาลต้องทำงานเหมือนวิ่งร้อยเมตร และต้องเร็วกว่าร้อยเมตรไม่ใช่วิ่งทน เพื่อจะทำให้เกดความสมานฉันท์ในสังคม และประชาชนต้องใช้สติปัญญาแยกแยะในการรับรู้ข่าวสารในยุคสื่อสารไร้พรมแดน”
 
ในประเด็นการดำเนินการสลายการชุมนุมของ ศอฉ. พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่าครั้งนี้แตกต่างกับปฏิบัติการครั้งเก่าๆ ของทหาร คือถ้าเป็นยุคเก่ามันคงไม่นานขนาดนี้ แต่จะจบอีกแบบที่สังคมไทยไม่ต้องการ การปฏิบัติการของ ศอฉ. ก็มีข้อวิจารณ์อยู่บ้างที่ผมฟังมา ขั้นต้นขอแสดงความชื่นชม โดยเฉพาะทหารชั้นผู้น้อย ปกติทหารระดับนี้ในการรักษาวินัยแบบนี้หาได้ยาก มีวินัยสูงมีความอดทนอดกลั้นสูงแสดงว่าได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี และต้องชื่นชมผู้บังคับบัญชาเขาด้วย เพราะเมื่อทหารเสียชี

ส่วนการปฏิบัติในส่วนรวมนั้น พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า เรื่องแผนงานต่างๆ ของ ศอแ. นั้นตนเองก็ไม่ทราบ และไม่อยากจะก้าวล่วงไปส่วนนั้น แต่โดยส่วนรวมผลที่ออกมาตนคิดว่าดี โดยเฉพาะการสุญเสีย เราไม่ยากให้มีการสูญเสียเลย แต่เมื่อมีการสูญเสียในสถานการณ์ที่เป็นอยู่แบบนี้ตนคิดว่าสูญเสียไม่มากนัก บางคนบอกว่าถ้าเป็นที่อื่นสูญเสียมากกว่านี้อีกมาก คนไทยเขามีความอดกลั้นไม่อยากทำร้ายกันเอง รัฐบาลมีความจำเป็นต้องทำ

ในประเด็นเยียวยาความแตกแยก พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่าต้องนำเหตุการณ์ครั้งนี้ไปเป็นบทเรียน และมีความจริงจังในการป้องกันเหตุการณ์แบบนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีก ทั้งนี้ประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ สูญเสียมากว่านี้มาก ของเราต้องยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยใหม่อยู่ แต่จำเป็นหรือไม่ที่เราต้องสูญเสียเท่าเขา ก่อนหน้าที่จะมีเหตุการณ์ ประชาชนของประเทศตะวันตกที่มีประชาธิปไตยยังมาเที่ยวในประเทศไทยมากบอกว่าประเทศไทยมีความสุข การปกครองของพวกเรายังไม่ผ่านการตายมามากเท่าพวกเขาและไม่มีความจำเป็น

ในประเด็นที่รัฐมองว่าจะมีขบวนการใต้ดิน หรือผู้ก่อการร้ายนั้น พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ผู้มีอำนาจทั้งหลายจะต้องตั้งใจว่าเราก้คนไทยด้วยกันเดินผิดเดินถูกบ้าง ตกลงท่านจะเอายังไง อยากให้ประเทศไทยเป็นยังไง จะต้องสู้กันจนคนที่เป็นคนละฝ่ายต้องตาย หรือให้เขามีสิทธิ์มีเสียงและก็ดูเขาเพราะเขาเป็นคนไทย ถ้าอันนี้ทำให้เกิดภาพชัดเจนแล้วว่าเราหวังดีกับทุกคน นอกจากคนที่เป็นอาชญากรเพราะโดยกฎหมายมันไม่ได้อยู่แล้ว ที่เหลือต้องมองกันในแง่ดีแล้วดึงกันมาร่วมทำงาน ต้องใช้ภาวะผู้นำแสดงความบริสุทธิ์ใจ แสดงความตั้งใจดี แสดงการให้อภัย และต้องทำงานขยันขันแข็งจริงจังในเรื่องนี้ สร้างชาติของเราให้จงได้

"วันก่อนผมประทับใจ มีท่านหนึ่งออกรายการช่องไหนผมจำไม่ได้ เขาบอกว่าต้องทำงานเหมือนนักวิ่งร้อยเมตรนะครับรัฐบาล ไม่ใช่ทำงานเหมือนนักวิ่งทน ทำงานเหมือนวิ่งร้อยเมตรแต่ต้องวิ่งเกินร้อยเมตรมาก ต้องวิ่งหลายร้อยกิโล แต่ต้องวิ่งด้วยความเร็วร้อยเมตรอยู่ตลอดเวลา ไม่งั้นจะเอาไม่อยู่" พล.อ.บุญสร้าง กล่าว

คลิ๊กชมทั้งหมดได้ที่ : รัฐบาลต้องทำงานเหมือนวิ่งร้อยเมตรไม่ใช่วิ่งทน  

 

เกี่ยวกับ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ (จาก th.wikipedia.org)

พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2491 ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทยคนแรกที่เกิดภายใต้พระบรมโพธิสมภารในรัชกาลปัจจุบัน และเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)

บทบาทในช่วงวิกฤตการเมืองไทยหลัง 2549 - ปัจจุบัน
ในช่วงเหตุการณ์รัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะนั้น พล.อ.บุญสร้าง ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และร่วมอยู่ในกองบัญชาการต่อต้านการปฏิวัติ ของ พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ที่กองบัญชาการทหารสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ ด้วย และมีบทบาทในการเกลี้ยกล่อม พล.อ.เรืองโรจน์ ไม่ให้ตัดสินใจสู้รบกับฝ่าย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งนำอาจนำไปสู่ความเสียหาย เสียชีวิตเลือดเนื้อของทหารไทยด้วยกันเอง

ซึ่งจากบทบาทนี้ทำให้ พล.อ.บุญสร้างได้รับฉายาว่าเป็น "วีรบุรุษ 19 กันยา" และหลังจากที่ พล.อ.เรืองโรจน์ ได้เกษียณอายุราชการไปแล้วในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ภายหลังการรัฐประหารได้ไม่นาน พล.อ.บุญสร้างก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นคนต่อไป และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ด้วย

พล.อ.บุญสร้าง นับได้ว่าเป็นนายทหารในกองทัพบกไทยเพียงไม่กี่คนในระดับสูงที่จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยเวสปอยต์ จากสหรัฐอเมริกา

ขีวิตส่วนตัว สมรสกับ พันเอกหญิง แพทย์หญิง นุชา เนียมประดิษฐ์

การศึกษา
การศึกษาโรงเรียนสามัญ
โรงเรียนสองพี่น้องวิทยา
การศึกษาโรงเรียนทหาร
โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17
Norwich University (U.S.A.)
โรงเรียนนายร้อยสหรัฐฯ (ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์)
MIT. (ปริญญาโทวิศวกรรมเครื่องกล)
AIT. (ปริญญาเอกวิศวกรรมโครงสร้าง)
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 60
หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 36

ตำแหน่งสำคัญทางทหาร
อาจารย์ประจำกองวิศวกรรมเครื่องกล โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2516
นายทหารคนสนิท รองผู้บัญชาการทหารบก 2521
ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 31 รักษาพระองค์ 2526
ฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก 2529
ฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด 2532
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์ 2534
รองเจ้ากรมยุทธการทหาร 2539
ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
ช่วยราชการ ฝสธ.ผบ.ทหารสูงสุด 2539 - 2540
ผู้บัญชาการวิทยาลัยเสนาธิการทหาร 2540 - 2542
ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 2542 - 2543
เจ้ากรมยุทธการทหาร 2544 - 2545
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม 2545 - 2546
เสนาธิการทหาร 2546 – 2548

ราชการพิเศษ
ผู้บัญชาการ กองกำลังรักษาสันติภาพติมอร์ตะวันออก (UNTAET) 2543 – 2544

ตำแหน่งสูงสุด
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด 1 ตุลาคม 2549 - 30 กันยายน 2551 (เกษียณอายุราชการ)

หมายเหตุ : ปัจจุบัน พล.อ บุญสร้าง ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิเพื่อนสันติภาพ http://www.thaipeacenetwork.org ที่เขาก่อตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ..

๑. มุ่งมั่นที่จะดำเนินการบนหลักการแห่งความรัก ความเมตตา ความยุติธรรม ความหวังดีต่อเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ และสิ่งแวดล้อมทั้งมวล ยึดถือความเสียสละ การช่วยเหลือ แบ่งปัน สร้างสรรค์สังคม เป็นเป้าหมายในการดำเนินการ
๒. เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลและองค์กรด้านสันติภาพทั้งภายใน และนอกประเทศ
๓. ส่งเสริม ช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้มีการประสานงานระหว่างบุคคล และองค์กรด้านสันติภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศ
๔. ดำเนินกิจกรรมด้านสันติภาพและสาธารณประโยชน์
๕. เพื่อดำเนินการหรอร่วมมือกับองค์กรการกุลศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
๖. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net