ศาลปกครองพิพากษา "คุณหญิงจารุวรรณ" พ้นผู้ว่าฯ สตง. ชี้อายุเกิน 65 ปี

ศาลปกครองกลางพิพากษาให้ “คุณหญิงจารุวรรณ” ไม่มีอำนาจ และพ้นวาระผู้ว่าฯ สตง.ถาวร ฟันธงอายุเกิน 65 ปี ให้พิศิฐ์นั่งตำแหน่งรักษาการฯ โดยชอบ 

 
วานนี้ (19 ต.ค.53) ศาลปกครองกลางพิพากษาคดีที่ นายปราโมทย์ โชติมงคล ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ฟ้อง) ยื่นฟ้อง คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าฯ สตง. (ผู้ถูกฟ้อง) และมีนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รักษาการผู้ว่าฯ สตง.เป็นผู้ร้องสอด ออกคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้ศาลขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่ง สตง.ที่ 184/2553 ลงวันที่ 18 ส.ค.53 เรื่องยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งนายพิศิษฐ์ เป็นรักษาการผู้ว่าฯ สตง.
 
ทั้งนี้ ศาลปกครองพิพากษาว่า คำสั่งที่ให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งนายพิศิษฐ์เป็นรักษาการ ผู้ว่าฯ สตง. ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจาก เป็นคำสั่งที่ออกในช่วงที่คุณหญิงได้เกษียณอายุราชการแล้ว โดยมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ดังนั้น คำสั่งดังกล่าวจึงออกโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ 
 
อย่างไรก็ตาม ข้ออ้างที่คุณหญิงจารุวรรณ ระบุว่าหากไม่ดำรงตำแหน่งต่อไป จะทำให้เกิดความขัดข้องในการบริหารงานบุคคลของ สตง.นั้น ศาลเห็นว่า เมื่อมีคำสั่งตั้งรองผู้ว่าฯ สตง.เป็นรักษาการผู้ว่าฯ สตง.แล้ว ตามกฎหมายย่อมมีอำนาจหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นผู้ว่าฯ สตง.โดยสมบูรณ์ จึงไม่เกิดความขัดข้องในการบริหารงาน 
 
ดังนั้น จึงให้คงคำสั่งรักษาการผู้ว่าฯ สตง.ต่อไป นอกจากนี้ ศาลยังมีคำสั่งให้คงคำสั่งทุเลาการบังคับคำสั่ง สตง.เรื่องแต่งตั้งรองผู้ว่าฯ สตง.ให้รักษาราชการแทนจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา
 
ทั้งนี้ มติชนออนไลน์ ได้เผยแพร่ คำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางเฉพาะประเด็นเนื้อหาแห่งคดี เรื่อง คำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ 184/2553 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 ของคุณหญิงจารวรรณ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ ดังนี้
 
----------------------------
 
 
color:#404040;">พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จากคำฟ้อง คำให้การ และคำให้การชั้นไต่สวนของผู้ถูกฟ้องคดี (คุณหญิงจารุวรรณ) ได้ข้อเท็จจริงตรงกันว่าผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ color:#404040;">184/2553 ขณะที่มีอายุเกินกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว จึงมีประเด็นต้องพิจารณาว่า ขณะที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งดังกล่าวผู้ถูกฟ้องคดีเป็นผู้มีอำนาจออกคำสั่งหรือไม่
 
color:#404040;">เห็นว่า ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ color:#404040;">12 ลงวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 29 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 เรื่อง แก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 ได้มีประกาศความว่า
 
color:#404040;">ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมิให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ยังคงใช้บังคับต่อไป เว้นแต่บทบัญญัติในส่วนที่ 1 หมวด 1 จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก และให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2549 พ้นจากตำแหน่ง
 
color:#404040;">ข้อ 2 ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2549 คงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2550
 
color:#404040;">ข้อ 3 ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินใหม่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามข้อ 2 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับที่ 29 พ้นจากตำแหน่ง
 
color:#404040;">และวรรคท้ายความว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งยังคงปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปพลางก่อน
 
color:#404040;">พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. color:#404040;">2542 มาตรา 33 บัญญัติว่า ผู้ว่าการต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเป็นอิสระและเป็นกลางและให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละห้าปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
 
color:#404040;">วรรคสอง ผู้ว่าการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าผู้ว่าการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
 
color:#404040;">มาตรา 34 บัญญัติว่านอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 33 ผู้ว่าการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) ตาย (2) มีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ (3) ลาออก (4) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 28 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 29 (5) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 32 (6) คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ออก เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง หรือบกพร่องในหน้าที่อย่างร้ายแรง และวุฒิสภามีมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
 
color:#404040;">จากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวเห็นได้ว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. color:#404040;">2542 ยังคงใช้บังคับต่อไป เว้นแต่บทบัญญัติในส่วนที่ 1 หมวดที่ 1 โดยที่บทบัญญัติให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี และดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว บัญญัติอยู่ในหมวด 2 มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่
 
color:#404040;">ดังนั้น หากไม่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ color:#404040;">12 ลงวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 29 ลงวันที่ 30 กันยาย พุทธศักราช 2549 เรื่อง แก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 แล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีย่อมดำรงตำแหน่งได้เพียงห้าปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
 
color:#404040;">แต่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทั้งสองฉบับดังกล่าวกำหนดขยายระยะเวลาการอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของผู้ถูกฟ้องคดีออกไปจนถึงวันที่ color:#404040;">30 กันยายน 2550 และเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งไปภายหลังวันที่ 30 กันยายน 2550 ผู้ถูกฟ้องคดียังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ทั้งนี้ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 29 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 และมาตรา 33 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542
 
color:#404040;">แต่นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้วพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. color:#404040;">2542 มาตรา 34 ยังบัญญัติเหตุอื่นที่ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินพ้นจากตำแหน่งด้วย กล่าวคือ เมื่อตายมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ ลาออก ขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดในมาตรา 28 มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดในมาตรา 7 เช่น ไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือติดยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น
color:#404040;">หรือไปดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท ไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ฯลฯ
 
color:#404040;">โดยที่การพ้นจากตำแหน่งตามบทบัญญัติในมาตรา color:#404040;">34 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มิได้มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
 
color:#404040;">ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่อยู่ในวาระการดำรงตำแหน่ง หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่มารับหน้าที่ก็คงเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งต้องอยู่ภายใต้เหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่งทั้งสิ้นตามมาตรา color:#404040;">34 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542
 
color:#404040;">การที่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างว่า ตนได้พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปแล้วขณะนี้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อรอให้มีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่มารับหน้าที่จึงไม่อาจจะพ้นจากตำแหน่งได้อีก
 
color:#404040;">หากตีความกฎหมายเช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่า ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่มารับหน้าที่แทน แม้จะตาย ลาออก มีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ติดยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น ก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินต่อไปได้จนกว่าจะมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่มารับหน้าที่แทน ซึ่งจะทำให้คุรสมบัติ ลักษณะต้องห้าม หรือการที่กฎหมายห้ามกระทำการ หรือการตรวจสอบของวุฒิสภาไม่อาจกระทำได้โดยครบถ้วน
color:#404040;">ข้ออ้างดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีในการตีความกฎหมายดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้
 
color:#404040;">ดังนั้น เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้ถูกฟ้องคดีจึงพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามมาตรา 34 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปพลางก่อนจนกว่าจะมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่เข้ารับหน้าที่ได้
 
color:#404040;">ดังนั้น เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งผุ้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเมื่ออายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ออกมาในภายหลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งแล้วจึงเป็นการที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งโดยไม่มีอำนาจ
color:#404040;"> 
color:#404040;">คำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ color:#404040;">184/2553 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่าการตำรวจเงินแผ่นดินลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
color:#404040;">ในส่วนประเด็นที่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างว่า หากผู้ถูกฟ้องคดีมิได้ปฏิบัติหน้าที่ว่าการตรวจเงินแผ่นดินต่อไปจะก่อให้เกิดข้อขัดข้องในการบริหารราชการแผ่นดินการดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. color:#404040;">2542 การบริหารงานบุคคลภายในสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งต้องกระทำการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนั้น
 
color:#404040;">เห็นว่า มาตรา 301 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ผูว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 75/2552 เรื่อง แต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 9 เมษายน 2552 ไว้แล้ว
 
color:#404040;">ผู้ร้องสอดเป็นรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งรักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินย่อมมีอำนาจหน้าที่ทุกอย่างเสมือนหนึ่งตนเองเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้รักษาราชการแทนย่อมเข้าไปใช้อำนาจหน้าที่ทั้งหมดแทนตำแหน่งที่ตนรักษาราชการแทน
 
color:#404040;">ดังนั้น เมื่อรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินรักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจึงมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทุกอย่างที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจอยู่ในขณะนั้น
color:#404040;">ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจึงเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตามมาตรา color:#404040;">301 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
color:#404040;">ดังนั้น จึงไม่เกิดข้อขัดข้องในการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 การบริหารงานบุคคลภายในสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้างแต่อย่างใด
 
color:#404040;">พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ color:#404040;">184/2553 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553
color:#404040;"> 
color:#404040;">และให้คำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ color:#404040;">184/2553 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
 
 
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท