Skip to main content
sharethis

เปิดเสรีแรงงาน คอปกขาวจีน-ทะลัก

นายสุทัศน์ เศรษฐบุญสร้าง ผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) เปิดเผยว่า ผลจากการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 58 นี้เป็นต้นไป จะทำให้ปัญหาแรงงานของไทยเพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากที่ปัจจุบันมีการขาดแคลน แรงงานระดับกลางประมาณ 1 แสนคนแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกไปทำงานในต่างประเทศด้วย เพราะตามข้อตกลงของเออีซีนอกจากจะมีการเปิดเสรีในเรื่องของสินค้า บริการ การลงทุนแล้วยังมีการเคลื่อนย้ายแรงงานได้โดยเสรีด้วย

นอกจากนี้ยังน่าเป็นห่วงว่าจำนวนแรง งานจากจีนและอินเดียที่มีสูงมากจะไหลเข้าสู่อาเซียนที่มีโอกาสที่ดีกว่า และยังเป็นแรงงานที่ได้รับการพัฒนาอย่างมากโดยเฉพาะรัฐบาลจีนได้ใช้งบประมาณ จำนวนมากปรับปรุงมหาวิทยาลัยและรบบการศึกษาพื้นฐาน ขณะที่รัฐบาลอินเดียมีโครงการรื้อฟื้นมหาวิทยาลัยเก่า ๆ และลงทุนในการศึกษาอย่างมหาศาล ซึ่งการรวมกลุ่มเออีซีจะทำให้ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านคน

ทั้งนี้หากประเทศไทยจะรักษาอัตราการ เติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้ 6-7% แรงงานระดับกลางถือเป็นกลุ่มสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวเศรษฐกิจอย่างมาก เช่นในภาคอุตสาหกรรมจะขาดแคลนนักบัญชี เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่ไทยต้องเร่งพัฒนาแรงงานของไทยให้มีประสิทธิภาพเพิ่ม ขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาแรงงานของไทยให้ก้าวไปสู่การเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้จัดการ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่คนงานเท่านั้น

ขณะเดียวกันเมื่อมีแรงงานไหลออกไปทำ งานในพื้นที่ที่มีค่าจ้างที่สูงกว่าแล้ว ก็จะมีแรงงานในระดับล่างที่ไหลเข้ามาทำงานในไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าขณะนี้ส่วนราชการยังขาดเจ้าภาพที่ชัดเจนในการแก้ไขหรือหา มาตรการมารองรับผลที่จะเกิดขึ้นในอีก 4 ปี ข้างหน้า เพราะไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบเฉพาะของกระทรวงแรงงานเท่านั้นแต่เป็นเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยต้องพัฒนาความพร้อมของแรงงานที่จะออกสู่ตลาดในอีก 4-5 ปีข้างหน้า

(เดลินิวส์, 30-1-2554)

แรงงานพะเยาเตือนระวังถูกหลอกทำงาน "เหมืองบ้านปู" ใน "ลาว" 

นายนิพนธ์ ดาวัลย์ ผู้ช่วยจัดหางานจังหวัดพะเยากล่าวที่เวทีชุมชนให้ความรู้เรื่องการเดินทางไป ทำงานต่างประเทศอย่างไรให้ปลอดภัยจากขบวนการค้ามนุษย์ ปี2554 ณ ห้องประชุมที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา เมื่อเร็วๆนี้ ว่า ขณะนี้มีข่าวว่ามีบริษัทเหมืองบ้านปู ที่เข้าไปลงทุน ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
      
ทำให้แรงงานไทยในหลายพื้นที่ต่างต้องการไปทำงานกับบริษัทดังกล่าว และทราบว่ามีนายหน้าเถื่อนเข้ามาหลอกแรงงานในพื้นที่ จ.พะเยา บางอำเภอ โดยชักชวนไปทำงานในประเทศลาวแต่เมื่อแรงงานไปแล้ว ปรากฏว่าถูกหลอกไปลอยแพกันแล้วหลายราย ทำให้แรงงานต้องประสบปัญหาเสียทั้งเงินค่านายหน้าและเสียเวลาด้วย
      
ผช.จัดหางานจังหวัดพะเยา กล่าวต่อว่า จากข้อมูลที่ทางสำนักงานจัดหางานฯได้รับทราบและตรวจสอบแล้ว พบว่า บริษัทเหมืองบ้านปูได้การเข้าไปลงทุนในประเทศลาวนั้นเป็นความจริง แต่สำหรับแรงงานที่จะถูกจ้างในโครงการ ร้อยละ 80 คือแรงงานที่ทางบริษัทได้สงวนตำแหน่งไว้ให้กับแรงงานจากประเทศลาวและประเทศ จีน ที่เหลือร้อยละ 20 จึงจะเป็นแรงงานไทยหรือต่างประเทศอื่น
      
ดังนั้นหากแรงงานไทยที่มีความประสงค์จะไปทำงานกับบริษัทเหมืองบ้าน ปูในประเทศลาว จะต้องติดต่อผ่านทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดแต่ละแห่ง เพื่อสอบถามความชัดเจนและป้องกันการถูกหลอกให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่ถูก หลอกให้ไปลอยแพอีก

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 30-1-2554)     

ปล้นแคมป์คนงานไทยโจรลิเบียเผา-130ชีวิตหนีตาย

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานได้รับการร้องทุกข์จาก น.ส.ประทุม ภูเดช กับพวกรวม 19 คน กรณีสามีและเพื่อคนงานไทยจำนวน 130 คน เดินทางไปทำงานในประเทศลิเบีย โดยการจัดส่งของบริษัทจัดหางานแมน-โปร เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และบริษัท จัดหางาน พี.พี.พี ก่อสร้าง (ไทยแลนด์) จำกัด

โดยเหตุเกิดคืนวันที่ 16 มกราคม 2554 เวลา 02.00 น. ได้ถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ชาวลิเบียประมาณ 100 คน ใช้อาวุธปืนบุกปล้นทรัพย์สินภายในแคมป์ที่พักคนงานไทย บังกลาเทศและเกาหลี ซึ่งมีคนงานพักอาศัยอยู่รวมกันประมาณ 500 คน แคมป์ตั้งอยู่ติดกับสำนักงานสนามโครงการก่อสร้างของบริษัทดับเบิลยูโอเอ็น คอนสตรัคชั่น จำกัด ในประเทศลิเบีย

ชายฉกรรจ์กลุ่มดังกล่าวได้ขู่ทำร้าย และไล่คนงานออกจากแคมป์ จากนั้นได้ยึดเครื่องมือหนักชนิดต่างๆ และรถยนต์รับส่งคนงนซึ่งมีกว่า 10 คันไป พร้อมกับเผาทำลายสำนักงานและแคมป์คนงานทั้ง 3 สัญชาติ ตลอดจนยึดอาคารที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นที่มั่น ทำให้คนงานทั้งหมดต้องหลบหนีไปพักอาศัยอยู่ในโรงอาหารภายในแคมป์คนงาน เวียดนาม และเนปาล ซึ่งตั้งห่างออกไปกว่า 3 กิโลเมตร โดยต้องดำรงชีวิตอยู่อย่างยากลำบากและขาดแคลนอาหาร

ล่าสุดเมื่อวันเสาร์ 29 มกราคม คนงานไทยยังไม่สามารถเข้าทำงานได้ตามปกติ และต้องหยุดงานต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะยุติ ทั้งนี้ทางการลิเบียได้ประกาศเคอร์ฟิวห้ามเข้าออกในบริเวณที่มีกลุ่มชาย ฉกรรจ์บุกรุกเผาทำลาย โดยเริ่มเปิดเจรจากับกลุ่มผู้บุกรุกแล้ว

ในส่วนการให้ความช่วยเหลือคนงานไทย เบื้องต้นกรมการจัดหางานได้ประสานสำนักงานใหญ่ของบริษัทดับเบิลยูโอเอ็น คอนสตรัคชั่น จำกัด ที่ประเทศเกาหลี และสำนักงานสาขาที่เมืองเบนฮาซี เพื่อขอให้ทางการลิเบียส่งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจไปคุ้มครองคนงานและ โครงการก่อสร้างตลอดจนเพิ่มอาหารในแคมป์ที่มีคนงานทั้ง 3 สัญชาติหลบหนีภัยเข้าไปพักอาศัย

ทั้งนี้กรมการจัดหางานจะติดตาม สถานการณ์โดยประสานบริษัทจัดหางานผู้จัดส่งคนงานไปทำงานอย่างใกล้ชิด จนกว่าสถานการณ์จะยุติ คาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

(คม-ชัด-ลึก, 30-1-2554)

ชัยหารือทูตเกาหลีส่งแรงงานไทยไปทำงาน

นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เปิดเผยว่า ในวันนี้ได้ร่วมหารือกับนาย ชอง แฮ มูน เอกอัคราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย เพื่อหาช่องทางในการนำแรงงานชาวไทย ไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลี แต่ปัญหาติดตรงที่ต้องมีการสอบภาษาเกาหลีก่อน จึงมีการหารือให้ส่งล่าม หรือ ครูสอนภาษาเกาหลี มาช่วย เบื้องต้น ในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์ มีผู้สนใจแล้วจังหวัดละ 21 คน สอบผ่านในจังหวัดบุรีรัมย์ ถึง 18 คน จังหวัดสุรินทร์ 7 คน ขณะเดียวกัน สาธารณรัฐเกาหลี ได้มอบตำแหน่งแรงงานไทยให้จำนวน 2,000 ตำแหน่ง

ด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า โครงการนี้เป็นโครงการในระดับความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี จึงเป็นโครงการที่ปราศจากค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น และตั้งแต่ปี 2547-2553 มีแรงงานไทย เข้าร่วมโครงการนี้แล้ว กว่า 28,000 คน

(สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 31-1-2554)

ตุ๋นคนงานไปเมืองนอก 539 รายสูญ 30 ล้านบาท

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงสถิติรับเรื่องร้องทุกข์ของกรมการจัดหางานจาก คนหางานทั่วประเทศ กรณีถูกสาย นายหน้า หรือบริษัทจัดหางานเถื่อนหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2553 พบว่า มีคนหางานถูกหลอกจำนวน 539 คน มูลค่าความเสียหายรวม 30.87 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 พบว่า ผู้ร้องทุกข์มีจำนวนลดลง 130 คน หรือลดลงร้อยละ 19.43 แต่มูลค่าความเสียหายยังอยู่ในระดับสูง โดยคนที่ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่มีฐานะยากจน บางรายไปกู้เงินมาจากบุคคลอื่น ซึ่งหลังจากรู้ตัวว่าถูกหลอกก็ต้องชดใช้เงินที่กู้มาพร้อมแบกภาระดอกเบี้ย อีกด้วย

นายจีรศักดิ์กล่าวว่า ผู้ที่ถูกหลอกลวงส่วนใหญ่ถูกสายหรือนายหน้าเข้ามาตีสนิทแล้วชักชวนให้ไปทำ งานต่างประเทศ โดยอ้างว่ามีตำแหน่งงานที่มีรายได้สูงเกินจริงหรือไม่มีอยู่จริงเพื่อจูงใจ ให้หลงเชื่อ ที่น่าเป็นห่วงคือ คนหางานบางรายแม้จะรู้ว่าต้องลักลอบเดินทางไปทำงานอย่างผิดกฎหมายก็ยัง ยินยอมจ่ายเงินให้ เพราะเกรงว่าจะเสียโอกาส และหวังว่าจะได้ค่าจ้างตามที่นายหน้ากล่าวอ้าง สุดท้ายก็ไม่ได้เดินทางไปทำงานตามที่สัญญาไว้

บางรายต้องไปตกระกำลำบากในต่างแดน โดยถูกนายจ้างต่างชาติเอารัดเอาเปรียบและใช้แรงงานเยี่ยงทาส เพราะเห็นว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซ้ำยังต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ ไม่กล้าไปแจ้งความหรือร้องทุกข์ ที่หนักไปกว่านั้นคือ เมื่อได้รับการช่วยเหลือกลับประเทศมาได้ ก็ไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีหรือเรียกเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากผู้ หลอกลวงได้ เนื่องจากถูกหลอกให้แจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตนเอง

"เพื่อป้องกันมิให้ถูกเอาเปรียบหรือ ต้องไปตกระกำลำบากในต่างแดน จนเป็นเหตุให้หน่วยงานภาครัฐเข้าไปให้ความช่วยเหลือส่งตัวกลับประเทศ ซึ่งในกรณีนี้คนงานที่ได้รับความช่วยเหลือต้องรับภาระชดใช้เงินค่าใช้จ่ายใน การส่งตัวกลับคืนให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภายหลัง จึงขอให้ผู้ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ เดินทางไปทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งสมัครเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ด้วย" อธิบดีกรมการจัดหางานเผย     ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการป้องกันการถูกหลอกแล้ว เมื่อเกิดปัญหาในต่างแดน กรมการจัดหางานจะ สามารถนำเงินกองทุนฯ ไปให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที โดยสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักจัดหางานกรุงเทพฯ เขตพื้นที่ 1-10 สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน โทร. 0-2245-6763 หรือโทร. ศูนย์มิตรไมตรี กรมการจัดหางาน 1694

ส่วนกรณีแรงงานไทยจำนวน 130 คนที่เดินทางไปทำงานในประเทศลิเบีย และได้ถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ชาวลิเบียประมาณ 100 คน ใช้อาวุธปืนบุกปล้นทรัพย์ภายในแคมป์ที่พักคนงานไทย บังกลาเทศ และเกาหลี ซึ่งมีคนงานพักอาศัยอยู่รวมกันประมาณ 500 คน ชายฉกรรจ์กลุ่มดังกล่าวได้ขู่ทำร้ายและไล่คนงานออกจากแคมป์ จากนั้นได้ยึดเครื่องมือหนักชนิดต่างๆ และรถยนต์รับส่งคนงานซึ่งมีกว่า 10 คันไป และได้เผาทำลายสำนักงานและแคมป์คนงาน ทำให้คนงานทั้งหมดต้องหลบหนีไปพักอาศัยอยู่ในโรงอาหารภายในแคมป์คนงาน เวียดนามและเนปาล ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปกว่า 3 กิโลเมตร โดยต้องดำรงชีวิตอยู่อย่างยากลำบากและขาดแคลนอาหาร

ขณะนี้คนงานไทยยังไม่สามารถเข้าทำ งานได้ตามปกติ และต้องหยุดงานต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะยุติ ส่วนการให้ความช่วยเหลือคนงานไทยในเบื้องต้นได้ประสานให้ทางการลิเบียส่ง เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจไปคุ้มครองคนงาน ตลอดจนเพิ่มอาหารในแคมป์ที่มีคนงานทั้ง 3 สัญชาติหลบหนีเข้าไปพักอาศัย ซึ่งกรมการจัดหางานจะติดตามสถานการณ์โดยประสานกับบริษัทจัดหางานผู้จัดส่งคน งานไปทำงานอย่างใกล้ชิดจนกว่าสถานการณ์จะยุติ.

(ไทยโพสต์, 31-1-2554)

พนง.โรยัลโคเปนเฮเกน ประท้วงไม่ได้โบนัส

เวลา 16.00 น.วันนี้ (31 ม.ค.) นายสุรศักดิ์ บุญเหลือ ซึ่งแกนนำพนักงาน ได้นำพนักงานพนักงานบริษัท โรยัลโคเปนเฮเกน จำกัด ตั้งอยู่ในพื้น ต.หนองแค อ.หนองแค จ.สระบุรี ประมาณ 60 คน เดินทางไปที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสระบุรี เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมในการเรียกร้องเงินโบนัสประจำปีจากบริษัท โดยมีพนักงานกลุ่มหนึ่งใช้เครื่องกระจายเสียงกล่าวโจมตีทางผู้บริหาร พร้อมร้องรำทำเพลงที่บริเวณหน้าสำนักงาน
      
ต่อมาทางเจ้าหน้าที่ของสำนักงานได้มาเจรจากับแกนนำ พร้อมให้ส่งตัวแทนขึ้นประชุม โดยตัวแทนชี้แจงว่า ตามที่บริษัทได้จ่ายเงินโบนัสแก่พนักงานนั้น มีพนักงานอีกจำนวนหนึ่งที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ยังไม่ได้รับ เพราะทางบริษัทไม่ยอมจ่ายถือเป็นการเลือกปฏิบัติในการช่วยเหลือเงินพิเศษ ประจำปี 2553 (โบนัส)
      
โดยทางบริษัทจ่ายโบนัสเป็น 2 ส่วน คือ ลูกจ้างที่ทำระบบ KPI (การพัฒนาผลิตภาพโดยการใช้แรงจูงใจ) จ่ายให้ 3-8 เดือน ส่วนลูกจ้างที่ไม่ได้ทำ KPI จ่ายโบนัสให้คนละ 1 เดือน ซึ่งทางกลุ่มลูกจ้างที่ประท้วงเห็นว่า ลูกจ้างที่ไม่ทำ KPI สามารถทำงานได้มากกว่าพนักงานที่ทำ KPI บางคน ซึ่งทางพนักงานเคยเรียกร้องขอเงินโบนัสเพิ่ม แต่ถูกฝ่ายของนายจ้างยืนยันการจ่ายโบนัสให้เท่าเดิม จึงได้รวมตัวกันมาร้องเรียนทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สระบุรี ผลการประชุมยังยุติไม่ได้ โดยทางสำนักงานได้นัดให้มาฟังผลสรุปในวันที่ 3 ก.พ.54

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 31-1-2554)

คนงาน บ.แม็กซิส เดินเท้าเข้ากรุงฯ เรียกร้องความเป็นธรรม

เมื่อเวลา 05.30 น. วันนี้ (1 ก.พ. 54) พนักงาน บ.แม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล(ไทยแลนด์) จำกัด บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ยี่ห้อแม็กซิส ตั้งอยู่เลขที่ 300/1 ม. 1 ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง กว่า 1,000 คน รวมตัวกันบริเวณหน้าบริษัทฯ ก่อนจะเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปยื่นหนังสือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ทำเนียบรัฐบาล และยื่นหนังสือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเหลือ ประท้วงนายจ้างชาวไต้หวัน ที่ประกาศหยุดงาน หลังรวมตัวกันเรียกร้องโบนัส และเงินเดือนเพิ่ม

นายรุ่งสว่าง ดอนสอนยา ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย บอกว่า บริษัทแม็กซิส เป็นผู้ผลิตยางรถยนต์ยี่ห้อ แม็กซิส สัญชาติไต้หวัน มีพนักงานทั้งหมดประมาณ 2,500 คน สภาพปัญหาของพนักงานที่ผ่านมาได้รับค่าจ้างและสวัสดิการต่ำมาก โดยเฉพาะโบนัส และเงินเดือน รวมทั้งไม่ปฎิบัติตามกฏหมายคุ้มครองแรงงานหลายอย่างด้วยกัน เช่น ห้องน้ำไม่เพียงพอ น้ำดื่มไม่สะอาด อุปกรณ์ความปลอดภัยไม่ได้มาตรฐาน และไม่จัดที่ทำงานให้พนักงานที่ตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม เป็นต้น จึงได้มีการยื่นข้อเรียกร้องกับผู้บริหารฯ แต่ข้อเรียกร้องกลับถูกผู้บริหารยื่นข้อเรียกร้องสวนมา ทำให้การเจรจาล้มเหลว และนายจ้างก็ประกาศหยุดงานทันทีตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นมา โดยอ้างว่า เครื่องจักรเสีย พวกตนเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงได้รวมตัวกันโดยจะเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ ไปรวมกับกลุ่มพนักงานของบริษัทอีก 2 บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จำนวน 800 คน เดินเท้าไปพร้อมกัน เพื่อยื่นหนังสือกับผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองให้ช่วยกลับเข้าทำงาน โดยค่ำไหนนอนนั้น โดยมีกำหนดจะใช้เวลาประมาณ 12 วัน จะถึงที่หมาย

(เนชั่นชาแนล, 1-2-2554)

บุรีรัมย์เตือนแรงงานถูกหลอกไปทำงานโปรตุเกส

นายสุวรรณ์ ดวงตา จัดหางานจ.บุรีรัมย์ เตือนแรงงานไปต่างประเทศ ระวังถูกนายหน้าเถื่อนหลอกว่าส่งคนไปทำงานเกษตรที่ประเทศโปรตุเกสได้ถูก กฎหมาย หลังจากมีผู้หลงเชื่อแล้วร่วม 10 ราย บางรายจ่ายเงินมัดจำไปแล้วรายละ 20,000 บาท ปีที่ผ่านมามีแรงงานถูกหลอก 105 คน สูญเงินไปกว่า 8 ล้านบาท ทางจัดหางานบุรีรัมย์ช่วยเหลือแจ้งความจับกุมฟ้องร้องไปแล้ว 59 คดี ได้เงินคืนกว่า 1.8 ล้านบาท

(ข่าวสด, 1-2-2554)

ปิดงานคนงานประจำ สั่ง บ.ผู้รับเหมารับด่วน 500 อัตราเสริมกำลังผลิต

วันที่ 31มกราคม 2554 ริมถนนบนฟุตบาทข้างรั้วบริษัทสยามคอมเพรสเซอร์ จำกัด นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ต.ทุ่งศุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี  บริษัทผู้รับเหมากว่า 7 บริษัท ตั้งโต๊ะเปิดรับสมัครงานและต้องการคนงานจำนวนมาก เพื่อป้อนให้กับบริษัทต่างๆทั้งในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ปิ่นทอง บ่อวิน และ อิสเทิร์นซีบอร์ด
 
หนึ่งในบริษัทที่ต้องการพนักงานเข้าทำงานด่วน อยู่ระหว่าการประกาศปิดงานคนงานประจำตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2553 เหตุจากการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างประจำปีของสหภาพแรง งานและสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 600 คนยังคงอยู่นอกโรงงาน 
 
เจ้าหน้าที่รับสมัครงานของบริษัทผู้รับเหมารายหนึ่งเปิดเผยกับนัก สื่อ สารแรงงานว่า ขณะนี้ (1 กุมภาพันธ์2554) ต้องการคนงานด่วนจำนวน  500 คน เพื่อเข้าทำงานในบริษัทดังกล่าว โดยนอกเหนือจากสวัสดิการที่มีแล้วยังเพิ่มข้อเสนอที่พิเศษกว่าที่อื่นคือ หากสมัครภายในเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน จะได้รับเงินพิเศษเดือนละ 500 บาทต่อเดือน และครบสามเดือนจะได้รับโบนัสพิเศษเพิ่มอีก 1,500 บาท
 
นางสาวเอ (นามสมมุติ) ให้สัมภาษณ์ว่า เพิ่งจบมาต้องการมีงานทำเป็นว่า เป็นโรงงานขนาดใหญ่ผลิตอิเล็กทอนิคส์ จึงสมัครไว้ คิดว่าคงได้งานทำค่าแรงก็ได้ค่าจ้างขั้นต่ำ มีสวัสดิการประกันสังคม ก็คงทำไปก่อน

(นักสื่อสารแรงงาน, 1-2-2554)

ลูกจ้างขึ้นทะเบียนว่างงาน 3 หมื่นรายชี้ส่วนใหญ่ย้ายงาน

นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในเดือนธันวาคม 2553 มีผู้ประกันตนไปขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จำนวน 32,243 คน แบ่งเป็นผู้ถูกเลิกจ้างจำนวน 5,625 คน ลาออกจำนวน 26,618 คน และสามารถหางานทำได้ใหม่จำนวน 15,428 คนคิดเป็นร้อยละ 47.85 ทั้งนี้ มีคนหางานมาสมัครงานที่กรมการจัดหางานจำนวน 66,279 คน และได้รับการบรรจุงาน 30,788 คน ส่วนความต้องการจ้างงานของนายจ้าง ข้อมูลณ วันที่ 1 มกราคม 2554 มีจำนวน294,207 คน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 168,073 คนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาชีพ พนักงานบริการ พนักงานขาย อาชีพงานพื้นฐาน(แรงงานด้านการประกอบหรือบรรจุผลิตภัณฑ์) เสมียน ผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ และผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ขณะที่อาชีพที่คนหางานสมัครทำงานมากที่สุดคือ อาชีพพื้นฐานรองลงมาเป็นอาชีพเสมียน พนักงานบริการ พนักงานขาย และการตลาดตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม วุฒิการศึกษาที่นายจ้างต้องการมากที่สุด คือ ระดับมัธยมศึกษา รองลงมาระดับ ปวส.และปวช.ตามลำดับ ส่วนวุฒิการศึกษาที่คนหางานนำมาสมัครมากที่สุดคือระดับมัธยมศึกษา ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า และระดับปริญญาตรีตามลำดับ

(แนวหน้า, 1-2-2554)

ยงยุทธเผยแรงงานยาตราจากตะวันออกไม่เข้าร่วมม็อบ พธม. 1000%

คนงานสหภาพแรงงานแม็กซิสฯ พร้อมสหภาพแรงงานฟูจึซึฯ และพนักงานบริษัทพีซีบี เริ่มต้นออกเดินเท้าจากระยองเข้ากรุงเทพฯ หวังร้องรัฐแก้ปัญหานายจ้างปิดงาน คาดใช้เวลากว่า 10 วัน ด้านประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์ฯ ออกโรงย้ำแรงงานเคลื่อนไม่เกี่ยวม็อบพันธมิตรฯ พันเปอร์เซ็นต์

วานนี้ (1 ก.พ.54) เมื่อเวลา 05.30 น.พนักงานสหภาพแรงงานบริษัทแม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ผลิตยางรถยนต์ยี่ห้อแม็กซิส ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม อีสต์เทิร์นซีบอร์ด จำนวนกว่า 1,000 คน รวมตัวกันบริเวณหน้าบริษัทฯ ก่อนจะเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ โดยร่วมกับพนักงานสหภาพแรงงานฟูจึซึ เจอร์เนอร์รัล ประเทศไทย และพนักงาน บริษัท พีซีบี เซ็นต์เตอร์ จำกัด เพื่อยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและรัฐบาล เรียกร้องการแก้ปัญหากรณีนายจ้างประกาศปิดงาน ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา หลังคนงานรวมตัวกันเรียกร้องโบนัสและเงินเดือนเพิ่ม

นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อช่วงเย็นวันเดียวกันว่า ขบวนเดินเท้าของกลุ่มแรงงานได้เดินทางถึงวัดหนองค้อ ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แล้ว และจะพักค้างคืนกันที่วัด คาดว่าจะใช้เวลาเดินทางถึงกรุงเทพฯ ราว 10 วัน โดยในวันพรุ่งนี้น่าจะเดินทางไปพักค้างแรมที่ที่ว่าการอำเภอศรีราชา ส่วนเป้าหมายที่จะไปยื่นเรื่องนั้นคาดว่าจะเป็นรัฐสภา เนื่องจากผู้ร่วมขวนมีจำนวนกว่า 2,000 คน การไปที่กระทรวงแรงงานสถานที่อาจไม่เพียงพอ รัฐสภาน่าจะมีสถานที่รองรับคนได้มากกว่า อีกทั้งยังเป็นสถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรีด้วย

ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์ฯ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากลุ่มพนักงานสหภาพแรงงานในบริษัทแม็กซิสฯ ประสบปัญหาค่าจ้างและสวัสดิการแรงงานต่ำ จึงได้มีการยื่นข้อเรียกร้องกับผู้บริหารของบริษัท แต่ข้อเรียกร้องกลับถูกยื่นข้อเรียกร้องสวนกลับมา ทำให้การเจรจาที่ผ่านมาล้มเหลว และนายจ้างก็ประกาศปิดงานโดยอ้างว่าเครื่องจักรเสีย แล้วให้คนชุดดำมาดูแลการเข้าออกโรงงาน แต่ภายในโรงงานกลับยังคงมีการผลิตด้วยการจ้างพนักงานเหมาค่าแรงและแรงงาน ข้ามชาติมาทำงานแทนพนักงานประจำเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในหลายๆ บริษัท ซึ่งเขามองว่าเป็นความต้องการของนายจ้างที่มุ่งเล่นงานเพื่อหวังทำลายสหภาพ แรงงาน

ในส่วนข้อเรียกร้องของทางบริษัทฯ ที่กลุ่มแรงงานมองว่าเป็นปัญหาหลักๆ มี 3 ข้อ คือ 1.การเพิ่มช่วงเวลาการทำงานจาก 2 ช่วง เป็น 3 ช่วง ทำให้พนักงานต้องขาดรายได้จากการทำงานล่วงเวลา (ทำโอที) ซึ่งต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าที่ผ่านมาพนักงานอยู่ได้ด้วยเงินตรงนี้ 2.การยกเลิกเบี้ยผลิต ซึ่งงานในอุตสาหกรรมนี้เป็นงานหนัก การมีเบี้ยผลิตเพื่อให้พนักงานพยายามทำงานตามเป้าที่วางไว้ ที่ผ่านมาพนักงานบางคนก็ยินดีทำงานตรงนี้โดยไม่ยอมพักผ่อน เพื่อที่จะมีรายได้ตรงนี้ เพราะเงินเดือนพนักงานแค่เดือนละ 6-7 พันบาทนั้นไปไม่พอกับการใช้จ่าย และ3.การลดค่าครองชีพ ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้กระทบกับรายได้และคุณภาพชีวิตซึ่งพนักงานไม่สามารถยอม ให้ได้

นายยงยุทธ กล่าวด้วยว่า การเดินเท้าของแรงงานในครั้งนี้หวังผลที่จะประกาศรายทางถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะพวกเขาถอยไม่ได้อีกแล้ว และต้องการเรียกร้องขอความเห็นใจจากรัฐบาลและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบให้เข้ามา ช่วยเหลือแก้ปัญหา เพื่อให้แรงงานได้กลับเข้าทำงาน และอาจมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อการแก้ปัญหาโดยเฉพาะ ไม่ใช่วางเชิงไม่ยอมทำอะไร ทั้งที่มีกฎหมายอยู่ในมือ ปล่อยให้แรงงานและนายจ้างเคลียร์ปัญหากันเอง ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลเมินเฉยในการแก้ปัญหา เพราะห่วงการลงทุน แต่จริงๆ แล้วปัญหาการลงทุนอยู่ที่การเมือง หากบ้านเมืองไม่สงบคนก็ไม่กล้ามาลงทุน

หากรัฐบาลและรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานไม่คุ้มครองแรงงาน เอาใจแต่ระบบทุน อย่างนั้นไม่มีเสียจะดีกว่านายยงยุทธกล่าว

ต่อคำถามถึงกระแสข่าวที่ว่าทางกลุ่ม จะเดินทางเพื่อมาเข้าร่วมกับกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ชุมนุมอยู่ที่บริเวณสะพานมัฆวาน นายยงยุทธ กล่าวว่า เรื่องนี้ยืนยันพันเปอร์เซ็นต์ว่าการเคลื่อนของกลุ่มแรงงานครั้งนี้ไม่ เกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ แต่ยอมรับว่าที่ผ่านมาเรื่องสีเหลือง-แดงเป็นปัญหาของกลุ่มขบวนการเคลื่อน ไหวแทบทุกกลุ่ม รวมทั้งขบวนการแรงงานที่มีทั้งคนสีเหลืองและสีแดง อย่างไรก็ตามทางสหพันธ์แรงงานยานยนต์ฯ และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้คุยกันในเรื่องนี้อย่างชัดเจนแล้วว่าจะ ไม่เอาเรื่องสีมาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของแรงงาน  

ทั้งนี้ สหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทแม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีพนักงานกว่า 2,500 คน เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2553 จำนวน 20 ข้อ โดยมีการนัดเจรจาครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 พ.ย.2553 และเช้าตรู่วันเดียวกันบริษัทได้ประกาศปิดงาน 7 วัน โดยอ้างเครื่องจักรเสียจำเป็นต้องหยุดการผลิตชั่วคราว จากนั้น มีการประกาศปิดงานเนื่องจากข้อเรียกร้องไม่สามารถตกลงกันได้ ในวันที่ 25 ม.ค. 2554

ในวันที่ 25 พ.ย.2553 นายจ้างได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานจำนวน 3 ข้อ และวันที่ 18 ม.ค.2554 เวลาประมาณ 14.00 น.ตัวแทนนายจ้างได้แจ้งข้อเรียกร้องฉบับใหม่แทนฉบับเก่าที่ถอนข้อเรียกร้อง ให้กับสหภาพแรงงาน โดยยื่นข้อเรียกร้องเพิ่มเป็น 5 ข้อ ขณะที่การชุมนุมของสหภาพแรงงานแม็กซิสฯ เริ่มตั้งแต่เช้าของวันที่ 22 ม.ค.2554

สำหรับ สหภาพแรงงาน ฟูจึซึ เจอร์เนอร์รัล ประเทศไทย ถูกนายจ้างประกาศปิดงานไม่จ่ายค่าจ้างเนื่องข้อเรียกร้องไม่สามารถตกลงกัน ได้ ตั้งแต่ 24 ธ.ค.2553 ที่ผ่านมาสหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้อง จำนวน 13 ข้อ แต่จนถึงปัจจุบันการเจรจายังไม่เป็นผลสำเร็จ

ส่วนบริษัท พีซีบี เซ็นต์เตอร์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีผลิตแผงวงจรอิเลคทรอนิกส์ ส่งขายให้ต่างประเทศ มีพนักงานทั้งหมด 500 กว่าคน ถูกนายจ้างประกาศปิดงาน ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค.2554 ที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากและ เสียชีวิต 3 ราย เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ทำให้นายจ้างอ้างประกาศปิดกิจการ โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและเงินเดือนค้างจ่าย

(ประชาไท, 1-2-2554)

กรมการจัดหางานยันแรงงานไทยในอียิปต์ปลอดภัย

2 ก.พ. 54 - นายสุเมธ  มโหสถ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยถึงการให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยที่ทำงานในประเทศอียิปต์จำนวน 630 คน ว่า ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามีแรงงานได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แรงงาน เป็นชาย 200 คน หญิง 430 คน ส่วนใหญ่ทำงานในตำแหน่งพนักงานนวดสปา พ่อครัว ช่างไม้  ช่างปูน ช่างเครื่องยนต์ ช่างเชื่อม

เบื้องต้นได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ ประสานครอบครัวแรงงานในเมืองไทยเพื่อยืน ยันความปลอดภัย ขณะนี้ประสานได้ 118 ครอบครัว อยู่ในจังหวัดนครราชสีมามากที่สุด  รองลงมา คือ พะเยา นครพนม กรุงเทพฯ และบุรีรัมย์  ซึ่งแรงงานไทยที่เป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ไปทำงานต่างประเทศจะได้ รับสิทธิประโยชน์กรณีปัญหาความไม่สงบเบื้องต้นคนละ 15,000 คน หากสถานการณ์ยืดเยื้อจะได้รับชดเชยการสูญเสียการขาดรายได้จากการทำงานด้วย

นอกจากนี้ได้ประสานบริษัทที่จะนำแรง งานไทยเดินทางไปทำงานที่ประเทศลิเบีย 16 คนที่ตกค้างในสนามบินนานาชาติกรุงไคโร ให้บินไปลงที่ประเทศจอร์แดน และขณะนี้ได้เดินทางถึงลิเบียแล้ว รวมทั้งได้ทำหนังสือไปยังบริษัทจัดหางานต่าง ๆ ให้ระงับการจัดแรงงานไปประเทศอียิปต์หรือประเทศใกล้เคียงจนกว่าสถานการณ์จะ สงบ ซึ่งกระทรวงแรงงานจะติดตามช่วยเหลือแรงงานด้านความปลอดภัยและการชดเชยอย่าง เต็มที่ต่อไป

(สำนักข่าวไทย, 2-2-2554)

แรงงานเต้น!สั่งยกเครื่องประกันสังคม

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า สิทธิรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ด้อยกว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ว่า ระบบประกันสังคม ถ้ามองในระยะยาวน่าจะยั่งยืนกว่า เพราะประกันสังคมมีการสมทบจ่ายจากผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล ซึ่งเป็นระบบเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข โดยได้รับสิทธิประโยชน์นอกเหนือจากการรักษาพยาบาล เช่น เงินกรณีทุพพลภาพเงินบำนาญชราภาพ เป็นต้น  ขณะที่ระบบสปสช.นั้น ได้รับสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียว โดยต้องพึ่งพาภาษีจากภาครัฐ ซึ่งอาจทำให้ในระยะยาวรัฐบาลไม่สามารถแบกรับภาระไม่ได้ทั้งหมด
        
"หาก สปส.มีระบบรองรับที่ดีก็เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพในอนาคต ที่ผ่านมายอมรับว่า มีปัญหาเกี่ยวกับการบริการสุขภาพอยู่บ้าง เช่นเรื่องมาตรฐานที่ไม่ดีพอ หรือสิทธิการรักษาพยาบาลบางอย่างที่ยังไม่ครอบคลุม ซึ่งมีผู้ร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทางสปส.เองจะต้องรับฟังเรื่องเหล่านี้ และตอบปัญหากับผู้ประกันตนให้ได้ เพราะรูปแบบการจัดการภายในสำนักงานประกันสังคมทุกวันนี้ ค่อนข้างล่าช้า และไม่ทันกับปัญหาทำให้ถูกวิจารณ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงถูกนำไปเปรียบเทียบกับสปสช.ที่มีการพัฒนาระบบและขยายสิทธิต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมได้กำชับกับผู้บริหาร  รวมถึงคณะกรรมการการแพทย์ของสปส.แล้วว่า จะต้องปรับการทำงานให้เป็นการทำงานเชิงรุกมากขึ้น"นายสมเกียรติ กล่าว

(โพสต์ทูเดย์, 2-2-2554)

5 โรงพยาบาล ขอออกจากประกันสังคม ทั้งที่ สมุทรสาคร กาญจน์ เชียงใหม่ โคราช

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ว่า มีโรงพยาบาล 5 แห่งขอออกจากระบบประกันสังคมประกอบด้วยโรงพยาบาลเอกชัย จังหวัดสมุทรสาคร,โรงพยาบาลกาญจนบุรีเมโมเรียล จังหวัดกาญจนบุรี,โรงพยาบาลรวมแพทย์ จังหวัดเชียงใหม่,รพ.โคราชเมโทเรียลและโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ จังหวัดนครราชสีมา
 
สำหรับสาเหตุเพราะโรงพยาบาลดังกล่าวมีแผนในการทำงานหากลุ่มเป้าหมาย ที่ต่าง กันออกไป อาจมีการจัดกลุ่มรักษาที่เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางจับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรืออาจไม่พอใจในอัตราการจ่ายเงินของสำนักงานประกันสังคม อย่างไรก็ตามยืนยันว่าค่าตอบแทนที่ผ่านมาไม่ได้น้อยเกินไป

(ประชาชาติธุรกิจ, 3-2-2554)

ก.แรงงาน ระบุ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ป.ตรี ปีนี้ เสี่ยงต่อการว่างงานสูง

ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีปีนี้อาจเสี่ยงต่อการว่างงานสูง เพราะนายจ้างมีความต้องการจ้างงานน้อย พร้อมแนะนักเรียนเปลี่ยนไปเรียนสายอาชีพให้มากขึ้น เพื่อโอกาสมีงานทำ

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปีนี้มีแนวโน้มที่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะประสบปัญหาว่างงานสูง โดยจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาปีนี้พบว่ากว่าร้อยละ 90 ประสงค์จะทำงาน แต่ความต้องการแรงงานของนายจ้างที่แจ้งเข้ามายังกรมการจัดหางานมีกว่า 2.1 แสนอัตรา แต่ในจำนวนนี้ต้องการวุฒิปริญญาตรีเพียง 3.1 หมื่นอัตรา เท่านั้น ซึ่งแต่ละปีมีผู้จบปริญญาตรีประมาณ 3 แสนคน เท่ากับว่าอัตราการแข่งขันเพื่อให้ได้งานทำอยู่ที่ 10 ต่อ 1 ดังนั้น คนที่หางานไม่ได้อาจหันไปทำธุรกิจอิสระ ทำงานที่ความต้องการต่ำกว่าวุฒิที่จบ หรือไปเรียนต่อแทน ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงแรงงาน แนะนำให้นักเรียนทบทวนความคิด หันมาเรียนสายอาชีพแทนสายสามัญให้มากขึ้นเพราะจะตรงกับความต้องการของตลาด แรงงาน ขณะที่กระทรวงแรงงานจะดูแลเรื่องค่าแรงงานตามมาตรฐานฝีมือ รวมทั้งวางแนวทางความก้าวหน้าในอาชีพให้สามารถขึ้นไปถึงขั้นผู้บริหารได้ใน อนาคต

สำหรับความต้องจ้างงานของนายจ้างที่ แจ้งเข้ามายังกรมการจัดหางานในปีนี้ มีจำนวนกว่า 2.1 แสนอัตรา แบ่งเป็นวุฒิ ม.3 กว่า 6.1 หมื่นคน ปวช.3.4 หมื่นคน ปวส. 5.2 หมื่นคน แต่ผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.3 มีเพียงร้อยละ 3.8 ที่ต้องการทำงาน ส่วนวุฒิ ปวช.มีร้อยละ 23.7 และ ปวส.ร้อยละ 46.4 ที่ต้องการทำงาน

(สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, 3-2-2554)

ต่างด้าวต่อใบอนุญาต 58,201 คน

ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงาน ต่างด้าว เปิดเผย แรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในสิ้นเดือนนี้ มาต่อใบอนุญาตเพียง 58,201 คน แนะให้นายจ้างรีบพาแรงงานต่างด้าวมาต่อใบอนุญาตก่อนครบกำหนด ป้องกันการถูกดำเนินคดี

นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ที่ใบอนุญาตการทำงานจะหมดอายุในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 892,875 คน แบ่งเป็น สัญชาติพม่า 775,875 คน ลาว 61,362 คน และกัมพูชา 55,746 คน และตั้งแต่เปิดให้มาต่อใบอนุญาตล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2553 – 31 มกราคม ที่ผ่านมา มีแรงงานต่างด้าวมาต่อใบอนุญาตเพียง 58,201 คน ยังไม่มาต่อใบอนุญาตทำงานจำนวน 834,674 คน จึงขอให้นายจ้างรีบพาแรงงานต่างด้าวมาต่อใบอนุญาตโดยเร็ว ไม่จำเป็นต้องรอให้เป็นสัปดาห์สุดท้ายค่อยมาต่อใบอนุญาต เพราะจะส่งผลให้ล่าช้า และอาจต้องมาต่อใบอนุญาตภายหลัง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่อาจทำได้เพียงการรับคำขอการต่อใบอนุญาตไว้ก่อน

สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตการ ทำงานหมดอายุในวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งหมด 39, 272 คน ตัวเลขล่าสุดหลังจากปิดรับคำขอและต่อใบอนุญาตแล้วมีผู้มาต่อใบอนุญาตทั้งหมด 12,953 คน ซึ่งบางส่วนได้รับการพิสูจน์สัญชาติไปแล้วและได้ใบอนุญาตทำงานอีกประเภท หนึ่งและบางส่วนกลับประเทศ จึงทำให้ยอดหายไปกว่าร้อยละ 60 ซึ่งแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่เหลือขอให้รีบมาต่อใบอนุญาตการทำงานภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ หากตรวจพบการขาดต่อใบอนุญาตจะมีโทษทั้งจำและปรับตามกฎหมาย

(สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, 3-2-2554)

ทหารปิดล้อมวัดตรวจสอบแรงงานพม่า
      
ร.อ.เอกพจน์ กีรติวิทยายุต รองผู้บังคับกองร้อยทหารราบที่ 2521 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25 (ฉก.ร.25) กองกำลังเทพสตรี นำกำลังทหารประมาณ 50 นาย เข้าตรวจสอบแรงงานชาวพม่าประมาณ 1,500 คน ที่เข้าร่วมรับฟังการเทศนาธรรมของพระอาจารย์คันธมาลาลังการ พระนักเทศน์ชื่อดังจากประเทศพม่า ที่ศาลาการเปรียญวัดสุวรรณคีรีวิหาร หรือวัดหน้าเมือง ต.เขานิเวศน์ อ.เมือง จ.ระนอง
      
ในโอกาสที่ได้รับการถวายปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อจัดหารายได้สนับสนุนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตระนองธานี ซึ่งเป็นศูนย์ที่ให้การจัดการศึกษาของลูกหลานแรงงานชาวพม่าที่เข้ามาอยู่ใน จังหวัดระนอง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าแรงงานต่างด้าวเกือบทั้งหมดมีบัตรอนุญาตทำงาน แต่มีจำนวน 18 คน ไม่มีเอกสารใด ๆ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวส่งด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระนองดำเนิน การตามกฎหมายต่อไป
      
พ.อ.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25 (ผบ.ฉก.ร.25) กองกำลังเทพสตรี กล่าวว่า ทางฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดระนอง ได้มีการหารือกับคณะผู้จัดกิจกรรมแล้วว่าไม่เหมาะสม และไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าว เนื่องจากเป็นการระดมคนเพื่อหาเงิน มีการจัดทำกันเป็นขบวนการ มีรถรับส่งผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งก่อนจึงวันจัดกิจกรรมมีการทุ่มทุนโฆษณาประชาสัมพันธ์กันอย่างเต็มที่ ทั้งรถแห่ป้ายคัตเอาต์ และใบปลิว ซึ่งการรวมกลุ่มบ่อยครั้งของแรงงานต่างด้าวอาจจะนำไปสู่การจัดตั้งเป็น องค์กรต่างๆ ในอนาคตเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ ได้ ทำให้ยากต่อการควบคุมดูแล และอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงได้ แต่ผู้จัดก็ไม่ยอมเชื่อฟังจึงจำเป็นต้องเข้าตรวจสอบดังกล่าว
      
ผบ.ฉก.ร.25 กล่าวด้วยว่า ปกติหากมีพระพม่ามาเทศนาแสดงธรรมใน วันปกติ หรือจัดงานตามประเพณีต่างๆ รวมทั้งวันสำคัญทางศาสนา ทางฝ่ายทหารไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่หากมีการนัดรวมกลุ่มกันเป็นการเฉพาะกิจ เช่น จัดคอนเสิร์ต หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามวิถีธรรมชาติทางผู้บังคับบัญชาระดับสูงได้กำชับและสั่งการ ให้เข้าตรวจสอบเพื่อป้องปราม เพื่อไม่ให้มีการรวมตัวกันอย่างเสรีโดยที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปดูแล ซึ่งไม่มีเจตนาไปลิดรอนสิทธิทางศาสนาแต่อย่างใด
      
มีรายงานว่า พระอาจารย์คันธมาลาลังการ เคยเดินทางมาเทศนาแสดงธรรมที่จังหวัดระนองแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งมีแรงงานชาวพม่าเข้าร่วมฟังประมาณ 2,000-3,000 คน ได้รับเงินบริจาคหลายล้านบาท ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 กำหนดไว้ 3 วัน คือ ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 54 แต่หลังจากทางฝ่ายทหารเข้าตรวจสอบและมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับพระนักเทศน์ รูปดังกล่าวแล้ว ในช่วง 2 วันที่เหลือต้องยกเลิกกำหนดการ
      
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่พระรูปดังกล่าวเดินทางมาระนองได้มีการไปเทศนาให้ชาวพม่าที่จังหวัด สมุทรสาคร และภูเก็ตมาแล้ว สำหรับศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตชายแดนจังหวัดระนอง ปัจจุบันมีองค์กรพัฒนาเอกชนจัดตั้งกระจายอยู่ในเขต อ.เมืองระนอง จำนวน 13 ศูนย์ มีเด็กต่างด้าวเข้ารับการศึกษาประมาณ 2,000 คน แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปควบคุมดูแลอย่างชัดเจน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 3-2-2554)

ทหารปิดล้อมวัดตรวจสอบแรงงานพม่า
      
ร.อ.เอกพจน์ กีรติวิทยายุต รองผู้บังคับกองร้อยทหารราบที่ 2521 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25 (ฉก.ร.25) กองกำลังเทพสตรี นำกำลังทหารประมาณ 50 นาย เข้าตรวจสอบแรงงานชาวพม่าประมาณ 1,500 คน ที่เข้าร่วมรับฟังการเทศนาธรรมของพระอาจารย์คันธมาลาลังการ พระนักเทศน์ชื่อดังจากประเทศพม่า ที่ศาลาการเปรียญวัดสุวรรณคีรีวิหาร หรือวัดหน้าเมือง ต.เขานิเวศน์ อ.เมือง จ.ระนอง
      
ในโอกาสที่ได้รับการถวายปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อจัดหารายได้สนับสนุนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตระนองธานี ซึ่งเป็นศูนย์ที่ให้การจัดการศึกษาของลูกหลานแรงงานชาวพม่าที่เข้ามาอยู่ใน จังหวัดระนอง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าแรงงานต่างด้าวเกือบทั้งหมดมีบัตรอนุญาตทำงาน แต่มีจำนวน 18 คน ไม่มีเอกสารใด ๆ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวส่งด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระนองดำเนิน การตามกฎหมายต่อไป
      
พ.อ.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25 (ผบ.ฉก.ร.25) กองกำลังเทพสตรี กล่าวว่า ทางฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดระนอง ได้มีการหารือกับคณะผู้จัดกิจกรรมแล้วว่าไม่เหมาะสม และไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าว เนื่องจากเป็นการระดมคนเพื่อหาเงิน มีการจัดทำกันเป็นขบวนการ มีรถรับส่งผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งก่อนจึงวันจัดกิจกรรมมีการทุ่มทุนโฆษณาประชาสัมพันธ์กันอย่างเต็มที่ ทั้งรถแห่ป้ายคัตเอาต์ และใบปลิว ซึ่งการรวมกลุ่มบ่อยครั้งของแรงงานต่างด้าวอาจจะนำไปสู่การจัดตั้งเป็น องค์กรต่างๆ ในอนาคตเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ ได้ ทำให้ยากต่อการควบคุมดูแล และอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงได้ แต่ผู้จัดก็ไม่ยอมเชื่อฟังจึงจำเป็นต้องเข้าตรวจสอบดังกล่าว
      
ผบ.ฉก.ร.25 กล่าวด้วยว่า ปกติหากมีพระพม่ามาเทศนาแสดงธรรมใน วันปกติ หรือจัดงานตามประเพณีต่างๆ รวมทั้งวันสำคัญทางศาสนา ทางฝ่ายทหารไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่หากมีการนัดรวมกลุ่มกันเป็นการเฉพาะกิจ เช่น จัดคอนเสิร์ต หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามวิถีธรรมชาติทางผู้บังคับบัญชาระดับสูงได้กำชับและสั่งการ ให้เข้าตรวจสอบเพื่อป้องปราม เพื่อไม่ให้มีการรวมตัวกันอย่างเสรีโดยที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปดูแล ซึ่งไม่มีเจตนาไปลิดรอนสิทธิทางศาสนาแต่อย่างใด
      
มีรายงานว่า พระอาจารย์คันธมาลาลังการ เคยเดินทางมาเทศนาแสดงธรรมที่จังหวัดระนองแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งมีแรงงานชาวพม่าเข้าร่วมฟังประมาณ 2,000-3,000 คน ได้รับเงินบริจาคหลายล้านบาท ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 กำหนดไว้ 3 วัน คือ ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 54 แต่หลังจากทางฝ่ายทหารเข้าตรวจสอบและมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับพระนักเทศน์ รูปดังกล่าวแล้ว ในช่วง 2 วันที่เหลือต้องยกเลิกกำหนดการ
      
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่พระรูปดังกล่าวเดินทางมาระนองได้มีการไปเทศนาให้ชาวพม่าที่จังหวัด สมุทรสาคร และภูเก็ตมาแล้ว สำหรับศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตชายแดนจังหวัดระนอง ปัจจุบันมีองค์กรพัฒนาเอกชนจัดตั้งกระจายอยู่ในเขต อ.เมืองระนอง จำนวน 13 ศูนย์ มีเด็กต่างด้าวเข้ารับการศึกษาประมาณ 2,000 คน แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปควบคุมดูแลอย่างชัดเจน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 3-2-2554)

ร้องเรียน ผบ.ตร. รพ.ตำรวจใช้โซ่ล่ามแรงงานข้ามชาติที่ป่วยหนัก

น.ส.ปรียาภร ขันกำเหนิด  ผู้ประสานงานโครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยมี พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับหนังสือเรียกร้องให้ปลดโซ่ล่าม นายชาลี ดียู แรงงานชาวพม่า ที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานจนได้รับบาดเจ็บสาหัส และอยู่ในระหว่างพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ

น.ส.ปรียาภร ระบุว่ากรณีของ นายชาลี ไม่ได้กระทำผิดร้ายแรง ที่สำคัญยังอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถหลบหนีได้ การล่ามโซ่ผู้ป่วย ถือเป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และปริญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ จึงขอเรียกร้องให้รีบปลดโซ่ล่าม นายชาลี เพราะไม่ใช่อาชญากร แต่เป็นเรื่องของระบบรัฐ
 
ด้าน พล.ต.อ.ประวุฒิ กล่าวว่า จะไปตรวจสอบว่า การควบคุมตัว นายชาลี ขณะรักษาตัว เป็นเรื่องที่เกินความจำเป็นหรือไม่ ส่วนการดำเนินคดีหลบหนีเข้าเมืองก็จะประสานกับกระทรวงแรงงาน เพื่อตรวจสอบว่า นายชาลี เป็นแรงงานที่ถูกกฎหมายตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ด้วย
 
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ นายชาลี เป็นแรงงานที่ได้รับใบอนุญาตทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และใบอนุญาตจะหมดอายุ ในวันที่ 20 มกราคม 2554  แต่ประสบอุบัติเหตุขณะทำงานก่อสร้างจนลำไส้แตก และขาหัก เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2554 ต้องพักรักษาตัวต่อเนื่องในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.ปทุมธานี จนไม่ได้ไปต่อใบอนุญาตโดยนายจ้างหลบหนีไป  กระทั่งวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา รพ.แจ้งตำรวจให้มาจับกุมและถูกส่งไปควบคุมที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อรอการส่งกลับ จนมูลนิธิไปประสานงานและถูกส่งมารักษาที่ รพ.ตำรวจในที่สุด

(สำนักข่าวไทย, 3-2-2554)

คนงานพีซีบีฯ เดินเท้าสมทบคนงานแม็กซิสแล้ว

จากสภาพปัญหาแรงงานที่ต่างคนต่างโรง งานต่างที่ และต่างเวลา นัดรวมพลร่วมกันขับเคลื่อน มุ่งสู่ใจกลางศูนย์อำนาจรัฐกรุงเทพมหานคร เนื่องอำนาจรัฐพื้นที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ผู้ใช้แรงงานประมาณ 1,500 คน นำโดยกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก คนงานจากบริษัทแม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง ที่ถูกนายจ้างประกาศปิดงาน กับคนงานบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด เครือสหพัฒน์ ศรีราชา เลขที่ 684-685 ถนนสุขาภิบาล 8 หมู่ 11 ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี การที่ถูกนายจ้างเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ตามกฎหมาย โดยอ้างเหตุไฟไหม้โรงงาน พากันเดินเท้าปรับเปลี่ยนวิธีการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานในมุมมองใหม่ เพื่อบอกให้สังคมได้รับรู้สภาพคนงานที่เดือดร้อนจากการจ้างงานที่ไม่เป็น ธรรม จากการละเมิดสิทธิต่างๆที่นายจ้างกระทำต่อลูกจ้าง คนงานที่มีครอบครัวต่างจูงมือพากันเดินเท้าชี้แจง แจกเอกสารให้ประชาชนที่ผ่านไปมาตามข้างทาง ได้รับรู้ถึงสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานทั้งสองบริษัทถูกกระทำ ซึ่งมีผู้คนสองข้างทางร่วมบริจาคน้ำท่าให้ดื่มกิน
 
ก้าวแรกของคนงานแม็กซิส เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 เวลา 05.00 น. จากป่ายาง มุ่งหน้าตามถนนสู่ที่พักแรกวัดหนองฆ้อ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาพคนงานกว่าพันคนสาวเท้าเดินหน้าอย่างมุ่งมั่นด้วยความหวังที่จะได้รับการ แก้ไขจากอำนาจรัฐในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
 
ปัญหาคนงานแม็กซิสนั้นคือ นายจ้างได้ใช้สิทธิตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ในการยื่นข้อเรียกร้อง 1.ขอเปลี่ยนเวลาทำงานจากเดิม 2 กะเป็น 3 กะ 2.เปลี่ยนแปลงระบบการจ่ายเบี้ยการผลิต โดยยกเลิกมาเป็นรูปแบบมาตรฐานการทำงาน ตามวิธีการมาตรฐานทั่วไป 3.ขอให้มีอายุขอตกลงเป็นเวลา 3 ปี จึงทำให้ยังไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ ทางนายจ้างจึงได้ทำการปิดงาน ปัจจุบันนายจ้างหันไปจ้างแรงงานเหมาค่าแรงเข้าทำงานแทน ทำให้นายจ้างยังสามารถผลิตชิ้นงานออกสู่ตลาดได้ คนงานแม็กซิส ถูกปิดงานตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 จนถึงปัจจุบัน
 
ปัญหาคนงานพีซีบี หลังจากเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2553 ได้เกิดเหตุเพลิงไม้อย่างรุนแรงภายในโรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแผงวงจรอิเลคทรอนิคส์ ทำให้มีพนักงานเสียชีวิต 3 รายและผู้บาดเจ็บสาหัสทั้งหมด 7 ราย ขณะนี้อยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟู จ.ระยอง ซึ่งหลังเกิดเหตุทางโรงงานจึงจำเป็นต้องแจ้งปิดกิจการชั่วคราว และต่อมาตัวแทนบริษัทฯบอกว่าจะปิดกิจการในวันที 27 มกราคม 2554 แต่มีเงินจ่ายเพียง 6.5 ล้านบาท และห้ามฟ้องร้องใดๆอีก ทำให้ตัวแทนพนักงานรับไม่ได้ ซึ่งหากเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดต้องจ่ายเงินทั้งหมดรวมเป็นเงิน 60 ล้านกว่าบาท ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้
 
ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 16.30 น. คนงานบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำนวนกว่า 150 คน พร้อมใจกันเดินเท้าจากสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ระยะทางกว่า 15 กิโลเมตร เพื่อสมทบกับคนงานบริษัทแม็กซิส ฯเพื่อเดินทางร่วมกันเข้ากรุงเทพมหานคร ให้นายกรัฐมนตรีช่วยแก้ปัญหาให้ หลังการเจรจาไกล่เกลี่ยในพื้นที่ยังหาข้อยุติไม่ได้
 
หนึ่งในคนงานพีซีบี กล่าวว่าตลอดระยะทางที่ร่วมกันเดินทางมาตามถนน 9 กิโล นั้นขบวนของคนงานได้ผ่านชุมชนต่างๆและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและได้รับ กำลังใจจากชาวบ้านตลอดระยะการเดินทาง บางคนต้องหาซื้อรองเท้าเพื่อนำมาเปลี่ยนใหม่ เพาะเท้าเจ็บ บางคนเป็นลมแต่พวกเขาก็ไม่ได้หวั่นใจหรือท้อกับระยะทาง คนงานต้องการเดินเท้าเพื่อให้ไปถึงจุดหมายให้เร็วที่สุดพวกเค้าอยากรู้ว่า เมื่อวันหนึ่งที่เค้าเดินทางถึงเป้าหมายที่วางไว้เค้าจะได้พึ่งเจ้าหน้าที่ ของรัฐได้มากน้อยเพียงใด
คนงานแม็กซิสคนหนึ่ง กล่าวกับนักสื่อสารแรงงานว่า เธอรู้สึกปวดขาและเจ็บเท้ามาก เธอไม่เคยเดินเท้าเป็นทางไกลมาก่อนเลย เธอกล่าวว่า หนูยอมไม่ได้หรอกขนาดคนท้องแก่เค้ายังเดินไปกับพวกหนู ยังมีคนท้องอ่อนๆอีก 2 คนที่เค้าเดินมากับพวกหนูทั้งที่เค้าท้องเค้ายังเดินโดยที่ไม่ยอมขึ้นรถแล้ว หนูมีร่างกายที่แข็งแรงกว่าจะยอมได้ยังไง พวกหนูอยากสู้ให้ถึงที่สุด เดี๋ยวพวกหนูก็จะตามมาสมทบอีกเยอะค่ะ
 
ถึงแม้การต่อสู้ของพวกเธอจะอีกยาวไกลเพียงใด ระยะทางที่เดินจะพบเจอเรื่องราวอีกมากมาย แต่พวกเธอมีรอยยิ้มของการดูแลกันและกันมิตรภาพที่เกิดขึ้นบนปัญหาทำให้คนงาน เหล่านี้มีความรัก ความห่วงใย เอาใจใส่ดูแลกันเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
 
เมื่อเวลาประมาณ 19 30 น.ขบวนของคนงานบริษัท พีซีบีฯ ได้เดินเท้ามาถึงที่ว่าการอำเภอศรีราชา เมื่อเห็นขบวนของพีซีบีฯเดินมาถึงคนงานแม็กซิสต่างปรบมือต้อนรับและส่งเสียง โห่ร้องด้วยความดีใจ ให้การต้อนรับหาข้าวหาปลาไว้คอยกัน สอบถามความเป็นอยู่ซึ่งกันและกันอย่างอบอุ่น ชวนกันกินข้าว บ้างก็นั่งพักขาพักเท้า บ้างก็นอนเพื่อเอาแรงไว้ในวันพรุ่งนี้
 
นางชรินทร์  สายโคกสูง พนักงาน พีซีบี อายุ 40 ปี กล่าวว่า วันนี้น้าออกเดินทางมากับเพื่อนคนงาน กล่าวว่า รวมตัวกันที่หน้าบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ารู้สึกใจหาย ไม่คิดว่านายจ้างที่น้าทำงานมาด้วยเป็นเวลา 20 กว่า จะไม่ช่วยเหลืออะไรน้าเลยทั้งที่น้าก็ทุ่มเทให้กับการทำงานมาโดยตลอดระยะ เวลาที่น้าทำอยู่
 
น้าชรินทร์ กล่าวอีกว่า มีลูก 2 คน คนหนึ่งเรียนหนังสือต้องไปโรงเรียนวันหนึ่งก็ 50 บาท ส่วนคนเล็กก็อยู่กับพ่อ สามีน้าเป็นโรคปอด เป็นมาหลายปีแล้วไม่ได้ทำงาน อยู่บ้านเลี้ยงลูก น้าต้องรับภาระเป็นเสาหลักในการดูแลครอบครัวค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นภาระน้าคน เดียว ทั้งต้องส่งเงินไปให้พ่อกับแม่น้าด้วย น้าไปรับจ้างเค้าซักรีดผ้าได้วันละ 170 บาทก็ต้องทำเราอายุเยอะแล้ว จะไปหางานที่ไหนได้เค้าไม่รับหรอก
 
นายสมบัติ นางศศิประภา  พลหาญ และลูกชายวัย 3 ขวบที่ร่วมเดินเท้ามาด้วย เล่าว่าวันนี้ผมอยากให้นายจ้างเข้ามารับผิดชอบในการจ่ายค่าชดเชยให้ผมกับภรรยาผม ตามที่กฎหมายแรงงานได้กำหนดไว้ ไม่ใช่ไม่รับผิดชอบเพราะเราทำงานกันมานาน ใช้ชีวิตทำงานเกือบเสียชีวิต พอเกิดเพลิงไหม้ นายจ้างก็ได้ประกันภัย แล้วชีวิตคนงานจะไม่ได้แม้แต่ค่าชดเชยตามกฎหมายกำหนดไว้อีกหรือ
 
นาย ยุติศักดิ์ เอกอัคร นายอำเภอศรีราชา ได้เดินทางมาเยี่ยมเยือนผู้ชุมนุมและกล่าวว่าที่อำเภอศรีราชานั้นในอดีตมีคนงานเดินทางมาทำงานจำนวนมากมีส่วนช่วยพัฒนา อำเภอแห่งนี้ วันนี้พี่น้องผู้ใช้แรงงานเดือดร้อนมาพึ่งพา ผมจะดูแลความปลอดภัยให้ทุกท่านเป็นอย่างดี และจะประสานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาให้พวกท่าน
 
ตลอดการทำกิจกรรมบนเวทีของที่ชุมนุมมีสหภาพแรงงานต่างๆเดินทางมา พบปะ และบริจาคเงิน,อาหาร เป็นจำนวนมาก และในวันพรุ่งนี้คนงานทั้งสองบริษัทจะเดินเท้าต่อไป ตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้
 
ต่อมาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 แสงสุดท้ายของการเดินเท้าทั้งสองบริษัทฯได้เข้าพักที่วัดราษฎร์ศัทธาธรรม อรุณแรกพรุ่งนี้(4 ก.พ. 54) เริ่มเดินหน้าตามถนนสุขุมวิทย์ หาความเป็นธรรมต่อโดยมีเป้าหมายหยุดพักที่เทศบาลคลองตำหรุ ชลบุรี โดยพรุ่งนี้นายจ้างบริษัทแม็กซิส ได้นัดเจรจาอีกครั้ง ซึ่งได้เจรจาไกล่เกลี่ยมามากกว่า 10 ครั้งแล้ว

(นักสื่อสารแรงงาน, 4-2-2554)

คนงาน บ.อริยะการทอ จี้ ก.แรงงานเก็บหนี้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย

4 ก.พ. 54 - ที่กระทรวงแรงงาน นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึง กรณีที่คนงานจากบริษัท อริยะการทอ จำกัด จังหวัดปทุมธานี ประมาณ 150 คน ได้เดินทางมาปักหลักชุมนุมอยู่บริเวณหน้ากระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคม(สปส.)ปทุมธานี ดำเนินการให้บริษัท อริยะการทอ จำกัด ชำระหนี้กองทุนประกันสังคม ซึ่งเดิมผ่อนชำระเดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ขอให้สปส.เรียกเก็บเงินจากบริษัทฯ เพื่อชำระหนี้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 500,000 บาท หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ ขอให้สปส.ยึดอายัดทรัพย์สินของบริษัทเพื่อออกขายทอดตลาด ว่า เป็นการมุ่งหวังกดดันให้บริษัทฯ ประสบปัญหาไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ส่งผลให้มีการเลิกจ้างและจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้าง
      
โดยก่อนหน้านี้ได้มีการขอให้ใช้อำนาจตามกฎหมายสั่งปิดกิจการโรงงาน ดังกล่าว และจ่ายเงินชดเชยให้กับแรงงานทั้งหมด แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ยังดำเนินการอยู่ และยังไม่ได้จ่ายเงินชดเชยแก่แรงงานทั้ง 283 คน คิดเป็นจำนวนเงิน 18 ล้านบาท
      
นางอัมพร กล่าวว่า ขณะ นี้บริษัทฯ ยังขาดสภาพคล่อง และยังจ่ายเงินให้กับคนงานยังไม่ครบ ทางลูกจ้างจึงอยากให้นายจ้างบอกเลิกจ้างเลย เพื่อจะได้เงินชดเชย แล้วจะได้ออกไปทำงานที่อื่น แต่ในขณะนี้ก็ยังไม่ได้มีการเลิกจ้าง ทางกลุ่มลูกจ้างที่มาชุมนุมจึงอยากให้สปส.เรียกเก็บสมทบที่ทางบริษัทฯ ติดหนี้อยู่ให้มากขึ้น เพื่อกดดันให้บริษัทประสบปัญหาจะได้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ แล้วจึงจ่ายเงินชดเชยให้ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง
      
จากปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย โดยการจ่ายค่าแรงไม่ตรงเวลาเพื่อให้ลูกจ้างรำคาญและลาออกไปเองซึ่งก็จะไม่ ได้เงินชดเชย ทำให้ทางกลุ่มลูกจ้างออกมาเรียกร้องซึ่งในขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ของทางกรม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่จากสปส.เข้าไปไกล่เกลี่ยปัญหาดังกล่าวแล้วนางอัมพร กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 4-2-2554)

แรงงานปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้ายหวังกองทุนเงินทดแทนเพิ่มสิทธิช่วยเหลือ

5 ก.พ.-เครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงาน เผย บทเรียน 15 ปี การต่อสู้กรณีปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้าย สังคมเข้าใจและระวังมากขึ้น แต่ควรทบทวน เพิ่มสิทธิเงินทดแทน เร่งเวลาในกระบวนการยุติธรรม ชี้ ยังมีผู้ป่วยในเครือข่ายฯอีกกว่า 3,000 ราย และโทรปรึกษาอีกปีละกว่า 1,000 ราย

ในงานเสวนาเรื่อง บทเรียน 15 ปี คดีกลุ่มผู้ป่วยปอดอักเสบจากโรงงานทอผ้า สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรกับสิทธิทดแทนที่เป็นธรรมจัดโดย สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน มีตัวแทนเครือข่ายแรงงานจากกลุ่มย่านต่างๆเข้าร่วมกว่า 100 คน นางสมบุญ ศรีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ กล่าวว่า บทเรียนที่ได้รับคือคนงานต้องรวมตัวกันต่อสู้ และเคารพสิทธิของตัวเอง คำพิพากษาที่ออกมา พิสูจน์ความจริงให้สังคมรับรู้ และเข้าใจคำว่าผู้ป่วยหรือโรคจากการทำงานว่าเป็นโรคที่มีอยู่จริง ไม่ใช่อุปาทาน รวมถึงทำให้คนงานรู้จักระมัดระวังตัวเองมากขึ้น อย่างไรก็ตามอยากให้มีการทบทวนสิทธิที่จะได้รับจากกองทุนเงินทดแทน เพื่อให้คนป่วยพอมีชีวิตอยู่ได้ในสังคม เพราะสิ่งที่ได้รับจากปอดที่ต้องสูญเสียสมรรถภาพการทำงานไปร้อยละ 50 ตลอดชีวิต แต่กลับได้รับเงินชดเชยร้อยละ 60 ของค่าจ้างเพียง 5 ปีเท่านั้น และควรคำนึงถึงความสูญเสียโอกาส และสภาพจิตใจด้วยนอกจากนี้ ยังอยากให้กระบวนการยุติธรรมมีความรวดเร็วมากขึ้น เพราะคดีที่ล่าช้าก็คือความไม่เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สำหรับปัจจุบันเครือข่ายฯมีผู้ป่วยจากการทำงานอยู่ประมาณ 3,000 คน และยังมีผู้โทรมาปรึกษาอีกปีละกว่า 1,000 ราย

ด้าน นายจะเด็จ เชาวน์วิไล มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า กรณีผู้ป่วยฝุ่นฝ้าย สะท้อนให้เห็นว่ามาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานในอดีตต่ำกว่ามาตรฐาน โดยเฉพาะในโรงงงานทอผ้า ที่ส่วนใหญ่ใช้แรงงานหญิงราคาถูก เห็นปัญหาชัดเจนในช่วงปี 2533-2536 ที่สำคัญสังคมโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่มีความเข้าใจและมองว่าโรคนี้ไม่ มีอยู่จริง เพราะทิศทางการพัฒนาของประเทศยังไม่ยอมรับการเจ็บป่วยจากการทำงาน ส่งผลให้จนถึงวันนี้คนงานยังต้องใช้วิธีการฟ้องศาลต่อสู้หากเจ็บป่วยจากการ ทำงาน

(สำนักข่าวไทย, 5-2-2554)

เตือนนายจ้างรีบด่วนยื่นต่ออายุต่างด้าวภายใน 28 กุมภาพันธ์นี้

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า แรงงานต่างด้าว กลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นสุดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 นี้ ขอให้นายจ้างเจ้าของสถานประกอบการ รีบนำแรงงานต่างด้าวไปยื่นเรื่องขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานโดยด่วน เพราะเหลืออีกไม่กี่วันก็จะครบกำหนดแล้ว

ทั้งนี้นายจ้างจะต้องนำแรงงาน ต่างด้าวไปยื่นเรื่องตรวจสุขภาพ และทำประกันสุขภาพให้เรียบร้อย โดยแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในเขตกรุงเทพฯ ให้ไปตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลตามรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดส่วนแรงงาน ต่างด้าวที่ทำงานในต่างจังหวัด ให้ตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนั้นๆ

ในส่วนของการยื่นเรื่องทำใบอนุญาตทำ งานนั้น นายจีรศักดิ์กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในเขตกรุงเทพฯ ให้ไปดำเนินการที่สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 ส่วนที่ทำงานกับนายจ้างในต่างจังหวัด สามารถดำเนินการได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดตามที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้

"แรงงานต่างด้าวที่ได้ขอใบอนุญาตทำ งาน จะสามารถทำงานต่อไปได้อีก 1 ปีและจะต้องเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติภายในต้นปีหน้า คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 หากพ้นกำหนดจะกลายเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองทันที" นายจีรศักดิ์ กล่าวและว่า หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบแรงงานต่างด้าวระหว่างการทำงานกับนายจ้าง หรือสถานประกอบการ ใดก็ตามนายจ้างจะมีความผิด และมีโทษปรับตั้งแต่ 1 หมื่นถึง 1 แสนบาท ต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวหนึ่งคนขณะที่ลูกจ้างแรงงานต่างด้าวเองก็จะมีความ ผิดด้วย โดยจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 พัน ถึง 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(แนวหน้า, 5-2-2554)

วางกรอบดึงแรงงานเข้าประกันสังคม

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์หลังประชุมชี้แจงผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน ในการสร้างความเข้าใจการขยายสิทธิประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบตามมาตรา 40 พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะระดมข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครแรงงาน(อสร.) กว่า 7,000 คนทั่วประเทศ เป็นเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลกับผู้ใช้แรงงานนอกระบบที่จะ สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 โดยวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ จะหารือร่วมกับบริษัทประกันชีวิต ธนาคารพาณิชย์ ให้เป็นศูนย์กลางให้ความรู้และรับลงทะเบียน ปีนี้ตั้งเป้าจะดึงแรงงานนอกระบบที่มีกว่า 24 ล้านคน เข้าสู่ระบบประกันสังคมให้ได้ 2.4 ล้านคนซึ่งคาดว่าจะเปิดให้แรงงานนอกระบบลงทะเบียนในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้

ด้านนายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการ สปส.กล่าวว่า ขั้นตอนปฏิบัติโน้มน้าวให้แรงงานนอกระบบเข้าประกันสังคมมี 10 ขั้นตอน อาทิ ขอข้อมูลจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด (พช.) สำนักงานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) กองทุนหมู่บ้าน รวมทั้งกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ประมาณการตัวเลขผู้สนใจแยกเป็นรายอำเภอและจังหวัด จากนั้นประชุมชี้แจงภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ ทำประชาสัมพันธ์และชี้แจงทุกรูปแบบตั้งแต่วันที่1 มีนาคม ก่อนสรุปจำนวนผู้สนใจสมัคร ขณะเดียวกันคาดว่าร่างพระราชกฤษฎีกาที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มีนาคม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ใน45 วัน หรือวันที่ 1 พฤษภาคมเป็นต้นไป

"สำหรับรูปแบบการจ่ายเงินสมทบ 2 รูปแบบ คือ จ่ายสมทบเดือนละ 100 บาท ได้สิทธิประโยชน์ 3 กรณี ได้แก่ เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วยเกิน 2 วัน วันละ 200 บาท"เงินชดเชยทุพพลภาพ และเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต โดยรัฐจะอุดหนุนให้ 30 บาท และอัตราสมทบเดือนละ 150 บาท ได้สิทธิประโยชน์บำเหน็จชราภาพเพิ่มเติม โดยอัตรานี้รัฐจะจ่ายสมทบให้ 50 บาท" นายปั้นกล่าว

(มติชน, 5-2-2554)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net