"พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย" สัญจรพบแรงงานนอกระบบที่เชียงใหม่

"พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย" จัดเวทีสัญจรเชียงใหม่ "วรวิทย์ เจริญเลิศ" ชี้ยังมีแรงงานนอกระบบจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงระบบประกันสังคม เรียกร้องให้รัฐขยายสิทธิให้แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครอง ด้านผู้แทนจากเครือข่ายแรงงานนอกระบบเชียงใหม่เรียกร้องให้แรงงานสังคมได้ รับสิทธิเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 พ.ร.บ.ประกันสังคม

เมื่อเวลา 17.00 น. วานนี้ (20 ก.พ. 54) ที่ลานประตูท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้จัดกิจกรรมสัญจรที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีกิจกรรมแสดงดนตรีของวงภราดร และเวทีเสวนาประชาธิปไตยกับผู้ใช้แรงงาน ในงานมีการฉายภาพยนตร์เรื่องแรงงาน เพื่อให้ประชาชนรับรู้สิทธิประชาธิปไตย และสร้างความเข้าใจในแรงงานนอกระบบ ต่อผู้ค้าถนนคนเดิน จ.เชียงใหม่ด้วย

โดยในช่วงเวทีเสวนาประชาธิปไตยกับผู้ใช้แรงงาน มีวิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายดนัย สารพฤกษ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นางคะนึงนิตย์ อายุมั่น สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองจังหวัดเชียงใหม่ นางสาวดวงเดือน คำไชย ที่ปรึกษาเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ นางไพรินทร์ เจนตระกูล เครือข่ายแรงงานนอกระบบจังหวัดเชียงใหม่ และนางสาวรัชนี นิลจันทร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ อภิปราย ว่า แรงงานในระบบ คือ มีนายจ้าง กับลูกจ้าง ในสถานประกอบการ มีจำนวน 7 ล้านคน ส่วนแรงงานนอกระบบซึ่งประกอบอาชีพอิสระ ค้าขาย การเกษตร และค้าปลีก ซึ่งไม่ได้อยู่ในโรงงาน โดยคนทำงานถนนคนเดิน ก็เป็นแรงงานนอกระบบ เป็นคนที่ทำงานในครอบครัว และทำอาชีพอิสระค้าขาย มีราว 24 ล้านคน และคนส่วนใหญ่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากประกันสังคม และรัฐต้องขยายประกันสังคมให้แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครอง ซึ่งแรงงานร่วมผลักดันให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงสิทธิ

โดยแรงงานอยู่ในระบบที่สภาออกกฎหมายคุ้มครอง สร้างอำนาจต่อรอง โดยแรงงานต้องมีสิทธิเลือกตั้งในที่ทำงาน ไม่ต้องกลับไปภูมิลำเนา ทำให้พวกพรรคการเมืองสนใจทำนโยบายสอดคล้องปัญหาแรงงาน แล้วยอมหาข้อมูลเพื่อออกนโยบายด้านแรงงาน

นายดนัย สารพฤกษ์ กล่าวว่า เคยทำงานเทศบาลตำบลบ้านกลาง ใกล้นิคมอุตสาหกรรมลำพูน ซึ่งพบว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าแรงงานนอกระบบไม่ใช่แรงงานต่างด้าว และเทศบาลตำบล ก็เกี่ยวกับ อสม. ภาคชนบท อาชีพจักสานสินค้า OTOP ก็เกี่ยวกับแรงงานนอกระบบทั้งนั้น ซึ่งแรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มทางสังคม ทั้งอาชีพอิสระ เปิดร้านอาหาร อู่ซ่อมรถ

โดยองค์กรท้องถิ่น หรือเทศบาลก็เปิดให้แรงงานนอกระบบมีส่วนร่วมทั้งในชุมชนของแผนงานเทศบาล และแผนงานร่วม 2 ด้าน หนึ่ง เลี้ยงวัว รวมกลุ่มสามารถหาทุน อบป.ได้ สอง เงินกิจกรรมร่วมจากระเบียบกลุ่มทางสังคม โดยจดทะเบียนก่อนกับ อบจ. และกิจกรรมกลุ่มในชุมชน ก็มีส่วนร่วม ทั้งสิทธิทางสุขภาพ กับองค์กรการปกครองท้องถิ่น

นางคะนึงนิตย์ อายุมั่น ชี้แจงว่า การทำงานของสภาพัฒนาการเมือง ทำให้ชุมชนรู้ปัญหาเสนอแนวทงแก้ไขปัญหาท้องถิ่น โดยสภาองค์กรท้องถิ่น ร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองช่วยแก้ไขปัญหาระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ซึ่งคนส่วนใหญ่ต้องรู้ว่าขยับพัฒนาองค์กรชุมชน และแรงงานนอกระบบเป็นเจ้าของประเทศ ทำขั้นตอนเสนอชี้แจงข้อกฎหมาย ที่ติดขัด เพราะส่วนมากชาวไร่ ชาวนา ก็ไม่รู้ว่าตนเองเป็นแรงงานนอกระบบ โดยสภาองค์กรชุมชน ก็ต้องร่วมมือกับชาวบ้าน และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ต่อปัญหาสู่รัฐสภา

นางสาวดวงเดือน คำไชย กล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชนเพื่อประชาชน โดยแรงงานต่อรองการเมืองยาก คือ เรื่องประกันสังคม ซึ่งแรงงานนอกระบบ ไม่ได้รับการสนใจ ถ้าชาวบ้านสนใจสิทธิประกันสังคม ไม่ใช่แค่แค่บัตรทองรักษาทุกโรค และเราต่อสู้เรียกร้องสิทธิฟาดฟันมาตลอด ชวนคนมาให้มีสิทธิได้ ตามมาตรา 40 โดยแรงงานนอกระบบ คือ แม่ค้า ชาวนา จะเข้าถึงแหล่งทุนของประกันสังคม

นางไพรินทร์ เจนตระกูล กล่าวว่า แรงงานนอกระบบต้องรู้ตัวเองว่า เราเป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งมีสิทธิประชาธิปไตย และแรงงานนอกระบบต้องรู้เรื่องสิทธิ การรักษาพยาบาล ในสาธารณสุขจังหวัด ดูแลสุขภาพแรงงานนอกระบบ เหมือนการพัฒนาของบัตรทอง ซึ่งประกันสังคมออกมา จะต้องทำการประกันตนเอง โดยเรื่องสิทธิของการประกันสังคม ในกรณีเจ็บป่วย มีค่าชดเชยรายวัน ค่าคลอดบุตร ค่าทุพลภาพพิการ ค่าเสียชีวิต ค่าบำนาญชราภาพ และสิทธิประกันต้องรณรงค์ช่วยกันดำเนินการให้ประกันสังคมตามมาตรา 40 พ.ร.บ.ประกันสังคม สำหรับแรงงานนอกระบบ

ทั้งนี้ ผู้ค้าถนนคนเดิน ช่วงข่วงประตูท่าแพ ได้ร่วมรับฟังเวทีเสวนาดังกล่าว และได้ร่วมแลกเปลี่ยน ในประเด็นเรื่องแรงงานนอกระบบด้วย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท