ต่อรองกับปีศาจ : เมื่อการปฏิวัติโลกอาหรับส่งผลดีต่อการต้านการก่อการร้าย

อดีต CIA เขียนบทความลงอัลจาซีร่าในชื่อ "การต่อต้านการก่อการร้ายกับการปฏิวัติในโลกอาหรับ" ถึงการลุกฮือในประเทศโลกอาหรับ ว่าเหตุใดมันถึงเป็นข่าวร้ายของกลุ่มก่อการร้าย

 
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2554 มีบทความในอัลจาซีร่าเผยแพร่บทความ "การต่อต้านการก่อการร้ายกับการ ปฏิวัติในโลกอาหรับ" ของอดีต CIA โรเบิร์ท แอล เกรเนียร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้จัดการกลุ่ม ERG Partners เขียนถึงปรากฏการณ์การลุกฮือในประเทศโลกอาหรับ ว่าเหตุใดมันถึงเป็นข่าวร้ายของกลุ่มก่อการร้าย ...
 
 
ในตอนนั้นเปลวเพลิงในตูนีเซียยังคงคุกรุ่น การปะทะกันในอิยิปต์ยังเพิ่งเริ่มต้น ผมก็ได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนนักข่าว เป็นหนึ่งในโทรศัพท์จากพวกนักข่าวที่รายงานเรื่อง "ความมั่นคงของชาติ" ในสหรัฐฯ เขาบอกว่า "ตอนนี้คุณคงท้องไส้บิดมวนแน่"
 
ในวินาทีนั้น ผมไม่เข้าใจว่าเขาหมายถึงอะไร และแทนที่จะรู้สึกไม่พอใจ ผมกลับรู้สึกตื่นเต้นเช่นเดียวกับคนอื่นที่ได้เห็นภาพชาวอาหรับแอฟริกาเหนือ ซึ่งหลายคนผมใช้ชีวิตอยู่ด้วยมาหลายปีได้ลุกฮือขึ้นมาปลดปล่อยตัวเองจาก พันธนาการของอำนาจนิยมที่กดขี่พวกเขามาเป็นเวลานาน
 
นี่เป็นสิ่งที่ผมเคยร่วมพัฒนามันมามากกว่า 20 ปีก่อนหน้านี้ และเคยรู้สึกสิ้นหวังว่าผมจะได้เห็นมันในช่วงที่ผมยังมีชีวิตอยู่ แต่ในที่สุดมันก็เริ่มต้นขึ้นแล้วในตอนนี้
 
ช่างเป็นความกล้าหาญ ความมีวินัย ความน่ายกย่อง ที่ประช่าชนคนธรรมดาแสดงออกมาในประเทศที่ผมสะสมความรู้สึกหลงใหลในตัวมันมา หลายปี ซึ่งผมคงอธิบายได้ว่าเหมือนได้สะท้อนความรู้สึกภาคภูมิใจออกมา
 
แต่ไม่นานนักผมก็ฉุกคิดถึงบางอย่าง แน่นอนว่าในฐานะของนักปฏิบัติการและรณรงค์ต่อต้านการก่อการร้ายจากประเทศ สหรัฐฯ ไม่ใช่ว่าผมควรจะรู้สึกผิดหวังกับการสูญเสียพันธมิตรและผู้ให้ความร่วมมือ ที่เราต้องพึ่งพาพวกเขามาหลายปีหรอกหรือ? มันเป็นคำถามที่มีเหตุผล เป็นข้อสันนิษฐานที่เข้าใจได้ และคำตอบก็เรียบง่ายคือ "ไม่"
 
ความพึงพอใจที่ผมได้เห็นการริเริ่มลุกฮือขึ้นประท้วงตามกระบวนการ ประชาธิปไตยแพร่กระจายไปทั่วโลกอาหรับอย่างรวดเร็วเกิดคาดเดา ไม่ได้เป็นเพียงเพราะผมมีใจให้กับชาวอาหรับ แต่ยังมาจากประโยชน์ที่ประชาชนในประเทศผมเองจะได้รับด้วย 
 
 
ต่อรองกับปีศาจ*
 
ในความเป็นจริงสำหรับผู้ที่ต่อกรกับปัญหาการก่อการร้ายในโลกอิสลามมา อย่างยาวนาน "การปฏิวัติอาหรับ" ถือเป็นข่าวที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และสำหรับกลุ่มผู้ก่อการร้ายแล้ว มันเป็นสิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้
 
หากจะเริ่มทำความเข้าใจกับชาวอเมริกัน มันจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจเสียก่อนในเรื่องความย้อนแย้งอย่างเป็นปกติ วิสัยในการใช้วิธี "ทำสัญญาต่อรองกับปีศาจ" ที่เป็นหัวใจของนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ ในประเทศโลกอาหรับ-มุสลิม จำนวนมาก
 
มันเป็นการต่อรองกับปีศาจที่ตัวผมเองต้องแบกรับไว้ สำหรับผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตของผู้ที่เขาสัญญาว่าจะปกป้องอย่างแท้ จริงแล้ว ควรจะคำนึงถึงโลกอย่างที่มันเป็น ไม่ใช่โลกที่พวกเขาอยากให้มันเป็น
 
ในสงคราม คนเราก็ต้องแสวงหาความช่วยเหลือจากพันธมิตรที่เราหามาได้ ทำให้เกิดความจริงที่ว่าในสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มอำนาจในโลกตะวันตกก็ต้องร่วมมือกับสตาลินโดยไม่ได้ทำให้เขาหรือรัฐบาล ของเขาน่าเกลียดน้อยลงกว่าเดิม และเป็นความจริงที่กลุ่มประเทศประชาธิปไตยมีทางเลือกน้อยมากจนต้องยอมให้ พันธมิตรโลกตะวันออกยึดครองยุโรปตะวันออกซึ่งไม่ได้ทำให้ผู้ถูกยึดครอง รู้สึกดีเท่าใด
 
และอย่างน้อย ใครก็ตามที่ทำสัญญาต่อรองกับปีศาจ ใครคนนั้นย่อมต้องยอมสูญเสียความเชื่อมั่นทางจริยธรรมไป
 
 
การแก้ปัญหาในวงกว้าง
 
ในกรณีของสิ่งที่เรียกว่าสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ความย้อนแย้งเลยไปไกลกว่านั้น คนที่ร่วมต่อสู้เข้าใจแล้วว่าความสำเร็จในเชิงยุทธวิธีอย่างการจับตัวผู้ก่อ การร้ายและสังหาร ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
 
ทางออกสำหรับปัญหาการก่อการร้ายโดยอ้างศาสนาอิสลามจะเป็นไปได้หากมาจาก ชาวมุสลิมเองเท่านั้น ความท้าทายในระยะยาวไม่ได้มาจากตัวผู้ก่อการร้ายเอง มีทางจัดการพวกเขาได้ตลอดเวลา และความบ้าระห่ำที่มีแรงหนุนจากการกล่าวหาผู้อื่นว่าเสื่อมศรัทธาในศาสนา (Takifi) ก็เป็นเมล็ดพันธุ์ที่บ่อนทำลายพวกเขาเอง
 
ความท้าทายที่แท้จริงอยู่ที่ความรู้สึกเห็นใจกันในหมู่ชาวมุสลิมที่ เห็นว่าอย่างน้อยก็มีคนที่ลุกขึ้นสู้กับการกดขี่ การถูกละเมิดความเป็นมนุษย์ และความยากแค้น แม้ว่าในเชิงวิธีการหรือเป้าหมายสูงสุดไม่ค่อยน่าดึงดูดใจเท่าไหร่
 
สำหรับบางคนแล้วมันเป็นความเห็นใจในแบบกว้างๆ ขณะที่บางคนก็เป็นความรู้สึกในเชิงบวกและลบปนๆ กัน ซึ่งเป็นการยากในการแยกตัวและขจัดคนที่บ้าคลั่งบูชาความชิงชังและการทำลาย ล้าง และมีการตระเตรียมพื้นที่ไว้เรียบร้อยในการรับสมัครคนหน้าใหม่ๆ
 
หากจะมีการต่อต้านความรู้สึกชื่นชมการก่อการร้ายอยู่ลึกๆ แล้ว มันก็คือการสร้างทางเลือกใหม่ในการสร้างความชอบธรรมให้กับความเจ็บแค้น ซึ่งผู้ก่อการร้ายมักจะใช้ประโยชน์จากความชอบธรรมจากความเจ็บแค้นนี้อยู่ เสมอ หากความเจ็บแค้นนั้นหมายถึงเรื่องความอยุติธรรม, การละเมิดศักดิ์ศรี และการกดขี่ทารุณ จากรัฐบาลที่มีโลกตะวันตกหนุนหลัง วิธีการที่ดีที่สุดในการแยกแยะและต่อต้านพวกหัวรุนแรง คือการดึงดูดด้วยวิธีการในเชิงความยุติธรรมสากล, การเสริมพลังการเคลื่อนไหวทางสังคม และการปฏิรูปประชาธิปไตย
 
หากชาวตะวันตกต้องการเข้าร่วมสงครามในเชิงอุดมการณ์ความคิด ในการบรรเทาปัญหาลัทธิก่อการร้าย พวกเขาก็ต้องเริ่มต้นใช้นโยบายในพื้นที่นี้
 
 
นโยบายเหนือการประชาสัมพันธ์
 
ผมจำภาพตอนที่ผมเข้าร่วมประชุมที่ทำเนียบขาวในปี 2005 ได้เป็นอย่างดี ซึ่งในครั้งนั้นจัดขึ้นเพื่อถกกันถึงเรื่อง "สงครามเชิงอุดมการณ์" และวิธีการต่อต้าน "เรื่องเล่าจากผู้ก่อการร้าย" โดยเฉพาะ
 
ในฐานะที่ในตอนนั้นผมเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสในคณะทำงานต่อต้านการก่อการ ร้ายข้ามชาติ ผมจำได้ว่าผมกล่าวถึงความสำคัญในเรื่องการดำเนินนโยบายเหนือการประชา สัมพันธ์ บอกว่ากรณีที่พวกเรามีปัญหากับโลกมุสลิมไม่ใช่แค่เป็นเพราะความเข้าใจผิด ใหญ่โตบางอย่างแล้วจะสามารถแก้ไขได้ด้วยการทำการประชาสัมพันธ์อย่างชาญฉลาด
 
ผมชี้ให้เห็นหนทางหลักๆ คือการปฏิรูปประชาธิปไตยซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราพยายามทำ และอ้างถึงความตึงเครียดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราต้อง รับรู้ไว้และต้องผลักดันให้ไกลกว่า "วาระเรื่องเสรีภาพ" (freedom agenda) ของประธานาธิบดีบุช ขณะที่พวกเราพยายามคงความสัมพันธ์ในเชิงความร่วมมืออย่างชาญฉลาดกับรัฐบาล ที่กดขี่ประชาชน แต่ในขณะเดียวกันนโยบายการทำให้เป็นประชาธิปไตยก็จะต้องมีการออกแบบมาเพื่อ บ่อนทำลายรัฐบาลชุดเดียวกันนี้
 
ผมจำได้เป้นอย่างดีเช่นเดียวกันว่ามีแต่คนมองด้วยสายตาว่างเปล่ากับข้อ เสนอเหล่านี้ ลองนึกย้อนไปแล้วเห็นได้ชัดว่าการจับจ้องในตอนนั้นไม่ใช่สัญญาณของความไม่ เข้าใจ แต่มันแสดงความเป็นปฏิปักษ์โดยตรง
 
ในทำเนียบขาวสมัยรัฐบาลบุช เป็นข้อห้ามหากจะพูดถึง "รากฐานสาเหตุ" ของปัญหาการก่อการร้าย เพราะมันจะเป็นการเพิ่มความชอบธรรมในระดับหนึ่งให้กับคนที่ควรจะถูกมองว่า เป็นฆาตกรไร้หัวใจ
 
และในเชิงการต่อรองกับปีศาจ ไม่มีใครยอมรับว่าพวกเราได้ทำมันขึ้นมาแล้ว และมีความพยายามน้อยกว่าในการจัดการมัน ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวอย่างอะไรมากในการแสดงให้เห็นว่าการใช้ "สงครามเชิงอุดมการณ์" ของสหรัฐฯ ต่อโลกมุสลิมนั้น มันไม่มีทางได้ผลแต่แรก
 
 
สงครามเชิงอุดมการณ์
 
หากจะมีความพยายามบ้างละก็ พวกเขาก็พยายามอย่างแกนๆ ในการใช้วิธีประชาสัมพันธ์ โดยเน้นการใช้ข้อความที่ไม่ได้ตรงกับเป้าหมาย จากภาพถ่ายของชาวมุสลิมอเมริกันแสดงท่าทีสดุดีต่อความใจกว้างในการให้นับถือ ศาสนาของประเทศสหรัฐฯ ที่รับพวกเขาเป้นผู้อพยพ
 
และไม่ว่าในสมัยของรัฐบาล จอร์จ บุช จะเลวร้ายเพียงใดในแง่นี้ ในสมัยของรัฐบาลโอบามา ประธานาธิบดีผู้มีสำนวนโวหารนุ่มนวล แต่ก็ทำได้เลวร้ายกว่าเดิม
 
ความจริงแล้ว แม้อเมริกันจะพยายามทำ "สงครามเชิงอุดมการณ์" อย่างแข็งขันในโลกมุสลิม แต่ก็จะสร้างความแตกต่างได้ในระดับชายขอบเท่านั้น
 
การต่อต้านอุดมการณ์ของผู้ก่อการร้ายที่แท้จริงในตอนนี้อยู่บนท้องถนน ของเมือง Sfax, Kasserine, Alexandria, Port Said, Benghazi และ Zawiyah
 
ณ ที่เหล่านี้และทั่วทั้งตะวันออกกลาง ประชาชนเดินดินกำลังเผยให้เห็นสิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ในจิตใจของผู้ก่อการร้าย เรื่องราวของพวกเขาบอกว่าชาวมุสลิมถูกสาปให้มีชีวิตอยู่ภายใต้ความอยุติธรรม และการถูกมะเมิดศักดิ์ศรีของมนุษย์ ชะตากรรมของพวกเขาถูกควบคุมด้วยพลังที่มองไม่เห็น และหนึ่งในนั้นคือรัฐบาลเผด็จการซึ่งไม่สามารถอยู่ได้เลยหากไม่มีการสนับ สนุนของผู้กดขี่ชาวตะวันตก
 
 
บิน ลาเดน ตกกระป๋อง
 
สิ่งที่ชาวอาหรับกำลังแสดงให้เห็นในตอนนี้คือพวกเขาสามารถเป็นเจ้า ชีวิตของตัวเองได้ พวกเขาสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการต่อกรกับความอยุติธรรมและการถูกย่ำยี ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
 
การเสริมกำลังทางด้านประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งไม่มีการต้องพึ่งยุทธวิธีแบบ Takifiris และที่น่าสนใจที่สุดคือชาวอาหรับและมุสลิมไม่ได้พึ่งหาพลังจากที่อื่น พวกเขาเสริมพลังกันเอง
 
การต่อสู้ยังไม่ถือว่าจบลง จริงๆ แล้วมันเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น ตรรกะของมันยังทำหน้าที่ในส่วนอื่นๆ ของภูมิภาคนี้
 
ขณะเดียวกันคำมั่นสัญญาของพวกเขายังไม่ถูกทรยศ การปฏิวัติมักจะถูกปล้น (hijack) และความตั้งใจที่น่าชื่นชมของพวกเขามักจะถูกลากพาไปโดยกลุ่มฉวยโอกาสผู้ที่ ไม่ได้มีคุณค่าความตั้งใจอย่างเดียวกัน
 
อย่างไรก็ตาม โลกอาหรับในเช้าวันนี้หอมหวนไปด้วยคำสัญญาไม่เพียงแค่จากอนาคตที่เป็น ประชาธิปไตย แต่จากการหลุดพ้นไปจากภูติผีความกลัวลัทธิการก่อการร้ายด้วย
 
ทั้งโอซามา บิน ลาเดน และ อัยมาน ซาวาฮิรี ควรจะต้องกลัวกระแสในครั้งนี้พวกเขากำลังถูกขับไล่ไสส่งไปลงถังขยะของ ประวัติศาสตร์โดยกลุ่มคนที่แสร้งทำเป็นว่ามีเขาเป็นผู้นำ
 
 
ที่มา
Counter-terrorism and Arab revolt, Aljazeera, 27-02-2011
 
 
* ต้นฉบับใช้คำว่า Faustian Bargains

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท