Skip to main content
sharethis

สุนทรพจน์จากนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 .ในประชุมวิชาการเวทีฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผมรู้สึกยินดีที่ได้มาร่วมประชุมวิชาการหัวข้อฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่น ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติได้ประสานให้มีการร่วม มือขององค์กรท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องโดยเฉพาะท่านประธาน คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รวมทั้งได้สะท้อนปัญหาและอุปสรรคที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เผชิญอนู่นำ มาสู่การแก้ไขปัญหาและแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคตเช่นเดียวกัน

ที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้เครือข่ายชุมชนและท้องถิ่นในการผลักดันการแก้ปัญหา และนโยบายหลายด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย เช่น โครงการบ้านมั่นคงซึ่งไม่อาจจจะก้าวหน้าได้หากไม่มีความร่วมมือของท้องถิ่น นั้นๆ หรือกรณีของสวัสดิการซึ่งรัฐบาลได้มีการสนับสนุนเรื่องกองทุนสวัสดิการชุมชน ท้องถิ่นทั้งหลายทั่วประเทศ นับพันกองทุนในขณะนี้ และมีการเจริญเติบโตขึ้นเป็นการสร้างคุณูปการกับพี่น้องในชุมชนท้องถิ่นมาก ขึ้น

นอกจากนี้มีอีกหลายมาตรการที่เราได้ใช้กระบวนการกฎหมายและสะท้อนข้อมูล ต่างๆ และผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น

อย่างไรก็ตามยอมรับว่าถึงวันนี้เป็นความท้าทายต่อท้องถิ่นในการผลักดัน แนวคิดชุมชนเข้มแข็งในการพัฒนาชาติ ก็มีอยูมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา 4 ประการสำคัญคือ

ปัญหาแรก คือโครงสร้างและกฎหมาย ซึ่งทำให้เกิดข้อจำกัดมากมายเพราะแม้รัฐธรรมนูญและกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับ กระบวนการกระจายอำนาจจะส่งเสริมความเข้มแข็งวชุมชน แต่ก็ยอมรับว่ายังมีกฎหมายและกฎระเบียบมากมายที่ทำให้ส่วนราชการยังมีอำนาจ และเป็นอุปสรรคต่อการที่องค์กรท้องถิ่นจะสามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้เต็ม ที่ ซึ่งเรื่องนี้ก็มีความพยายามแก้ไขมาตลอด แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้ก็ตอกย้ำความคิดของผู้บริหารราชการส่วนภูมิภาคว่า ยังมีอำนาจ และกังวลว่าหากมีการถ่ายโอนอำนาจแล้วจะมีปัญหาในการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งการปฏิรูปกกฎหมายก็มีหลายฝ่ายพยายามผลักดัน รวมถึงสมัชชาปฏิรูปแห่งชาติด้วย

ประการที่สอง การบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คือการที่ให้ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทในการสร้างความยุติธรรมทางเลือก แม้จะมีการดำเนินบ้างแล้วในรูปยุติธรรมชุมชน ที่ส่วนเสริมเรื่องการไกล่เกลี่ย แต่ขอบเขตก็ยังจำกัด ซึ่งนี่เป็นอีกส่วนหนึ่งของงานการปฏิรูปที่เราจะผลักดันเพื่อให้ชุมชนมีส่วน อย่างแท้จริงของกระบวนการยุติธรรม
ประการที่สาม เป็นประเด็นที่ท้าทายอย่างมากคือ การปฏิรูประบบการเรียนรู้และการศึกษา ซึ่งต้องเชื่อมโยงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญของชาติ คือโอกาสและคุณภาพทางการศึกษาให้เท่าเทียม ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดให้ท้องถิ่นมีความอิสระในการจัดการการศึกษาให้สอด คล้องกับพื้นที่

รัฐบาลเน้นเป็นพิเศษในเรื่องการเชื่อมโยง คือ โครงการหนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัด เพื่อให้สถาบันการศึกษาเชื่อมโยงชัดเจนกับท้องถิ่น

การตั้ง สสส. ทางด้านการศึกษาก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เปิดให้ภาคประชาชนได้รับการสนับ สนุนโดยเฉพาะการสร้างดอกาสให้เด็กที่อยู่นอกสถาบันการศึกษาได้รับโอกาส และเกิดการกระตุ้นการเรียนรู้ที่ดีที่สอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่น
สุดท้ายคือ เรื่องการจัดการระบบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเห็นความขัดแย้งในหลายพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ที่ทำกิน การบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานซึ่งถือว่าตนเองมีความรับผิดชอบในการดูแล ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ยังมีงานที่ปรากฏว่าหากไม่ดำเนินการตามกฎหมายก็จะถูกหาว่าละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ นำไปสู่การเผชิญหน้าและความขัดแย่งกับประชาชน ซึ่งเป็นความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด มีการตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานมาติดตามแล้วแต่ก็พบว่ายังมีความขัดแย้งทั่ว ประเทศ

สิ่งเหล่านี้ผมอยากเน้นย้ำว่าเป็นปัญหาอุปสรรคและท้าทาย ซึ่งในอนาคตเราต้องเผชิญความท้าทายอีกมาก โดยเฉพาะเรื่อง สิ่งแวดล้อม ล้วนต้องพึ่งพาความเข้มแข็งของชุมชนและขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยความเข้าใจและ ความร่วมมือของชุมชนในการเดินไปในทิศทางเดียวกัน นี่เป็นกรอบคิดที่จะกำหนดว่าการทำงานท้องถิ่นจะประสบความสำเร็จมากเพียงใด
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องงบประมาณและระบบบริหารจัดการ ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องการได้ทรัพยากรไปใช้จ่ายและดูและได้อย่างทั่ว ถึง มีประเด็นเรื่องธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนที่ต้องทำงานร่วมกับท้องถิ่น และมีความจำเป็นที่ต้องให้องค์กรท้องถิ่นมีศักยภาพในการบริหารมากขึ้น

ทุกท่านที่ได้มาร่วมกระบวนการนี้ได้ตระหนักดีและสามารถรสะท้อนปัญหาและ อุปสรรคได้อย่างดี แต่ความสำเร็จจะมากน้อยแค่ไหนอยู่ที่ควาสามารถในการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างรัฐ ท้องถิ่น ประชาชน ซึ่งขอยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี่ยึดมั่นในแนวทางที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อ ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น บางครั้งอาจจะเป็นการใช้เครือข่ายที่มีอยู่เช่น สหกรณ์ หรือการรวมตัวเฉพาะเรื่อง ซึ่งสามรรถใช้เป็นพลังในการขับเคลื่อนต่อไปในอนาคต

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านในการผลักดันด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ด้วยความยั่งยืนและพอเพียง ขอแสดงความชื่นชมอีกครั้งครับ ขอบคุณครับ
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net