เสวนาวันสตรีสากล “เปิดสถานการณ์แรงงานหญิงข้ามชาติ”

แรงงานข้ามชาติหญิงขอรัฐบาลควรยืดระยะเวลาการต่ออายุบัตรให้นานขึ้น เป็น 2 ปี มีเจ้าหน้าที่ของรัฐแนะนำ ตัดระบบนายหน้าออกจากตลาดแรงงานต่างชาติ และมีบทลงโทษที่จริงจังกับนายหน้าที่เอารัดเอาเปรียบแรงงานต่างชาติ
 
 
 
 
 
เมื่อวันที่ 6 มี.. 54 ที่ผ่านมา เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM), หน่วยพัฒนาและบรรเทาทุกข์แห่งประเทศไทย (ADRA), คณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตยในพม่า, โรงเรียนเดียร์เบอร์ม่า, โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (TLC), มูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า, มูลนิธิตุ้มครองแรงงานด้านเอดส์, มูลนิธิ MAP, มูลนิธิรักษ์ไทย และมูลนิธิเพื่อนหญิง ได้จัดงานเสวนา “100 ปี สตรีสากล 8 มีนา เปิดสถานการณ์แรงงานหญิงข้ามชาติ” ณ ห้องโถงใหญ่ สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน
 
วันทนา บ่อโพธิ์ เลขานุการคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวเปิดงาน รวม ทั้งอธิบายว่าการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมจากลูกจ้างโดยใช้ช่องทางของสื่อใน การการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ทำให้กลุ่มแกนนำของลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกกลั่นแกล้ง ดังนั้นลูกจ้างจึงควรรวมกลุ่มกันสร้างเครือข่ายเพื่อต่อสู้เรียกร้องสิทธิ ของตนเอง
 
บัณฑิต แป้นวิเศษ หัวหน้าฝ่ายป้องกันการค้ามนุษย์และแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวถึงปัญหาที่แรงงานสตรีจำนวนมากกำลังเผชิญปัญหาที่สำคัญหลายประการ คือ 1. ปัญหา เรื่องการห้ามมีผู้ติดตามของรัฐบาล ซึ่งผู้ติดตามของแรงงานเหล่านั้นก็คือบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ ลูก หรือญาติ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้สูงอายุ และเด็ก 2. ปัญหาห้ามแรงงานหญิงท้องในขณะทำงาน 3. ปัญหา แรงงานหญิงถูกคุกคามทางเพศจากนายจ้าง แต่ไม่มีการร้องเรียนใด ๆ เนื่องจากความรู้สึกกังวลเรื่องความไม่ปลอดภัย หรือถูกกลั่นแกล้งจากนายจ้าง และ 4. ปัญหาเรื่องสุขภาพ จากการเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งนายจ้างมักจะไม่ให้แรงงานลาป่วยเพื่อไปรักษาตัว หรือไม่จ่ายค่าชดเชย
 
Hay Mar Hnin หรือ Amy ตัวแทนแรงงานหญิงข้ามชาติพม่า ได้เล่าประสบการณ์ของตัวเอง โดยเริ่มเข้ามาทำงานที่ประเทศไทยโดยผ่านทางนายหน้าเมื่อปี ค..2005 เพื่อ ต้องการหาเงินไปส่งเสียแม่และน้องที่อยู่ประเทศพม่า ทำงานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นแม่บ้าน พนักงานร้านอาหาร และงานก่อสร้าง ก่อนหน้านี้ถูกโกงเงินเดือนที่ฝากไว้กับนายจ้าง และถูกนายจ้างทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บ ปัจจุบันเป็นพนักงานฝ่ายบุคคลของบริษัทแห่งหนึ่ง คอยดูแลช่วยเหลือแรงงานพม่าในบริษัทประมาณ 1,000 คน โดย Amy เสนอว่ารัฐบาล ไทยควรให้สิทธิทางกฎหมายในด้านต่าง ๆ แก่แรงงานหญิงข้ามชาติ เช่น สวัสดิการระหว่างการทำงาน และระบบสวัสดิการสังคมต่าง ๆ ที่ควรได้รับ
 
คุณสุชิน บัวขาว ตัวแทนแรงงานหญิงไทย เล่าว่าเธอเริ่มงานแม่บ้านตั้งแต่อายุ 14 ปี ถูกนายจ้างกดขี่ห้ามลาหยุด/ลาป่วย และใช้งานเกินเวลา (18 ชั่วโมงต่อวัน : ตีสี่ – สี่ทุ่ม) จึงรวมตัวกับกลุ่มเพื่อนไปฟ้องศาลแรงงาน แต่ล้มเหลวเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในสิทธิของตนเอง โดย สุชินเสนอว่ารัฐบาลควรให้สิทธิทางกฎหมายในด้านต่าง ๆ แก่แรงงานหญิงข้ามชาติ เช่น สวัสดิการระหว่างการทำงาน และระบบสวัสดิการสังคมต่าง ๆ ที่ควรได้รับ      
 
ทั้งนี้ในการเสวนายังมีกิจกรรมกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม ร่วมกันคิดและระดมสมองเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาของแรง งานหญิง โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่ม หลังจากนั้นนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กำหนดหัวข้อสภาพปัญหาต่าง ๆ ของแรงงานหญิง และแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสามารถทำการสรุปความคิดเห็นได้ ดังนี้
 
ปัญหา
 
1. นายจ้างเอาเปรียบ/ข่มขู่ แรงงานที่ต้องการลาออก และยึดพาสปอร์ต/บัตรประจำตัวไว้
2. สภาพแวดล้อมในที่ทำงานทำให้รู้สึกไม่มีความสุขในขณะทำงาน
3. นายจ้างไม่อนุญาตให้มีวันหยุด/วันลา
4. นายจ้างยึดพาสปอร์ต และบัตรประจำตัวของแรงงาน โดยไม่ให้แรงานเก็บไว้เอง ทำให้แรงงานมีโอกาสถูก
    รีดไถจากเจ้าหน้าที่ของรัฐสูง
5. เมื่อมีปัญหา นายจ้างไม่ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นใด ๆ แก่แรงงาน เช่น แรงงานถูกตำรวจจับ
6. แรงงานที่ทำงานบ้านสัมผัสกับสารเคมีในบ้านเป็นประจำ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ โดยที่ไมมีอุปกรณ์ต่าง ๆ
    ป้องกัน เช่น ถุงมือยาง   ผ้าปิดจมูก
7. นายจ้างใช้งานเกินเวลา โดยไม่มีเงินล่วงเวลาชดเชย
8. เจ้าหน้าที่ของรัฐข่มขู่/รีดไถ (กรณีที่ไม่มีบัตรแรงงานต่างด้าว)
9. แรงงานถูกกดค่าแรง/จ่ายค่าแรงไม่ครบตามที่ตกลงกันไว้
10. แรงงานหญิงถูกนายจ้างข่มขืนจนตั้งครรภ์ และไล่ออกจากงาน
 
ข้อเสนอแนะ
1. รัฐบาลควรดูแลเรื่องการทำบัตรต่าง ๆ ของแรงงานโดยที่ไม่ให้มีการดำเนินงานผ่านนายหน้า เพื่อป้องกัน
    การเรียกเก็บเงินเป็นจำนวนมาก และการล่วงละเมิดทางเพศเพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยน รวมไปถึงการมี 
    บทลงโทษที่จริงจังกับนายหน้าที่เอารัดเอาเปรียบแรงงานต่างชาติ
2. รัฐบาลควรยืดระยะเวลาการต่ออายุบัตรให้นานขึ้นเป็น 2 ปี
3. รัฐบาลควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำ/ให้คำปรึกษาแก่แรงงาน เมื่อต้องการไปต่อบัตรเอง
4. รัฐบาลควรเปิดจดทะเบียนแรงงานเพิ่มเติมให้กับแรงงานตกค้างที่ยังไม่มีบัตร เพื่อให้แรงงานมีสิทธิต่าง ๆ
    เท่าเทียมกับแรงงานถูกกฎหมาย
5. รัฐบาลควรควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคในท้องตลาดไม่ให้มีราคาสูง เนื่องจากรายรับของแรงงานไม่พอกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท