Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

เห็นข่าวรายวันในสื่อกระแสหลักต่อเนื่องมา 3 สัปดาห์ว่าด้วยการกดดันของชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมอ อกมาเรียกร้องให้เปิดโอกาสให้มีสิทธิเลือกรับบริการสุขภาพ บริการสาธารณสุขจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ อันเนื่องจากพบว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมที่ต้องเป็นผู้ร่วมจ่ายเพียงกลุ่ม เดียว ในขณะที่ประชาชนทั่วไปและข้าราชการไม่ต้องร่วมจ่ายเพราะรัฐได้จัดให้เป็น สวัสดิการที่เสมอภาค เป็นธรรม และทั่วถึง คือใช้ระบบภาษีมาจัดการให้ ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังแปรญัตติกฎหมายประกันสังคมในคณะกรรมาธิการ ของสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยการเปิดช่องให้กองทุนประกันสังคมรับสมาชิกที่เป็น คู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตนให้เข้ามาอยู่ในกองทุนประกันสังคมได้

โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ 3 ประการคือ 1) รักษาพยาบาล 2) ทุพพลภาพ 3) ฌาปนกิจ โดยจำนวนคนทีคาดว่าจะรับเข้ามากลุ่มนี้อยู่ที่ประมาณ 4 - 5 ล้านคน โดยไม่มีการพูดว่าผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบรายเดือนเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ เมื่อต้องจัดสวัสดิการเพิ่มให้ครอบครัว 3 ประการนี้ นอกจากบอกว่ารัฐบาลต้องนำเงินที่จ่ายให้คนเหล่านี้ในบัตรทองมาให้กองทุน ประกันสังคมแทน ก็ต้องพิจารณาว่าจะต้องนำเงินมาเท่าไรเพราะรัฐบาลเป็น 1 ใน 3 ของหุ้นส่วนจ่ายเงินสมทบในกองทุนประกันสังคมอยู่แล้ว หากมาอยู่ภายใต้ประกันสังคมก็จำเป็นต้องคำนวณแบบหาร 3 และผู้ประกันตนต้องร่วมจ่ายให้ครอบครัวด้วย ใครมีลูกหลายคนก็ต้องจ่ายมากขึ้น

จังหวะนี้ ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ก็ออกมาเรียกร้องเรื่องความไม่เป็นธรรมในการต้องจ่ายซ้ำซ้อนเพื่อรับสิทธิ ประโยชน์เดียวกันกับประชาชนทั่วไป โดยไม่ต้องร่วมจ่ายในเรื่องรักษาพยาบาลจะขอไปใช้ระบบบัตรทองแทน ส่วนเงินสมทบรายเดือนตามกฎหมายประกันสังคมจะขอจ่ายเท่าเดิมไม่ลดลงแต่ให้นำ ไปเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านชราภาพ (บำนาญ) เมื่อออกจากงาน หยุดทำงาน เมื่ออายุครบ 55 ปี ซึ่งจะทำให้ได้รับบำนาญรายเดือนในจำนวนเงินที่มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อการดำรง ชีวิตอย่างมีคุณภาพเมื่อชรา

สิ่งเหล่านี้ทำให้มีข่าวรายวันในสื่อกระแสหลักทั้งเห็นด้วยและไม่เห็น ด้วยต่อข้อเรียกร้องของชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน โดยให้เหตุผลว่าการประกันสุขภาพไม่ว่าจะจัดให้โดยประกันสังคม ประกันสุขภาพ หรือข้าราชการ ต้องยืนอยู่บนหลักการ “ เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” และการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้อาจมีการแปรความคลาดเคลื่อนกันไปในเรื่อง “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” ว่าหมายถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นไม่ถูกต้อง ในที่นี้คือการทำระบบหลักประกันสุขภาพเป็นระบบซื้อประกัน คนที่ไม่ป่วยก็ไม่ต้องใช้เงิน คนที่ป่วยก็ได้ใช้เงิน บนความเป็นจริงที่ว่าทุกคนไม่ป่วยในเวลาเดียวกัน มีบางคนป่วยหนัก บางคนป่วยเล็กน้อย บางคนไม่ป่วยเลย กองทุนประกันสุขภาพก็เฉลี่ยค่าใช้จ่ายไป แต่มีหลักประกันว่าทุกคนเมื่อป่วยต้องได้รับการรักษา การเฉลี่ยทุกข์สุขในระบบประกันสุขภาพมีปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือเรื่อง “อายุ”ของคนในกองทุน เพราะคนที่ป่วยมากต้องรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานานคือเด็กและผู้สูงอายุ ดังนั้นกองทุนประกันสุขภาพจึงต้องมีการเฉลี่ยอายุคนในกองทุนให้เหมาะสม เพื่อให้กองทุนไม่ต้องยากลำบากเกินไปในการบริหาร

กองทุนสุขภาพจึงจำเป็นต้องมีสมาชิกเป็นคนที่มีอายุมากน้อยเฉลี่ยกันอย่าง เหมาะสม ไม่ใช่เลือกเอาเฉพาะคนวัยแรงงานไปไว้ในกองทุนหนึ่ง เหลือคนที่มีโอกาสป่วยมากกว่าไปไว้อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบทั้งหมดต้องพิจารณาในเรื่องเหล่านี้อย่าง ลึกซึ้งและเกลี่ยให้เหมาะสมหรือจัดการรวมกองทุน ในขณะที่เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ได้หมายถึง ร่วมจ่ายแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงร่วมกำหนดนโยบาย กำหนดแนวทางปฏิบัติ ร่วมปกป้องคุ้มครองระบบ และร่วมพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการ ซึ่งควรมีส่วนร่วมในทุกระดับตั้งแต่ในระดับตำบล จังหวัด และระดับชาติ ทั้งนี้ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับดังกล่าวมาแล้ว ส่วนการร่วมจ่ายนั้น ในระบบภาษีที่เอามาใช้กับกองทุนคือการร่วมจ่ายของประชาชนอยู่แล้ว นั่นคือประชาชนทั้งหมดจ่ายภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อม รัฐมีหน้าที่จัดสวัสดิการรักษาพยาบาลเป็นหลักประกันให้ทุกคนอย่างทั่วถึง ถ้วนหน้า และได้มาตรฐานคุณภาพเดียวกันโดยการใช้ภาษีนั้นอย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและ รับประกันสิทธิด้านสุขภาพของประชาชน

การร่วมจ่ายของผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมในส่วนที่เกี่ยวกับการ รักษาพยาบาลจึงเป็นการจ่ายซ้ำซ้อน ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกันตน ข้อเรียกร้องของชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนจึงมีมูล และแสดงให้เห็นว่าช่องทางการสื่อสารไปยังกองทุนประกันสังคมผ่านตัวแทน ลูกจ้างที่เข้าไปเป็นคณะกรรมการประกันสังคมไม่เป็นที่พึ่งได้

นอกจากนี้สื่อกระแสหลักยังมีข่าวของกองทุนประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลให้ผู้ ประกันตนเพื่อให้ทัดเทียมกับคนในระบบบัตรทองที่ได้รับมากกว่าดังข้อมูลที่มี นักวิชาการได้ออกมานำเสนอเปรียบเทียบชุดสิทธิประโยชน์ระหว่างประกันสังคมกับ ประกันสุขภาพ ในอีกด้านหนึ่งก็แสดงให้เห็นว่าการเรียกร้องของชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ส่งผลให้กองทุนประกันสังคมขยับตัวลุกขึ้นมาเพิ่มสิทธิประโยชน์ หลังจากทำตัวเป็นผู้ปกป้องกองทุนแบบไม่ลืมหูลืมตาไม่ยอมเพิ่มสิทธิประโยชน์ ใดใดรวมถึงการจำกัดสิทธิประโยชน์ด้วย เช่น กรณีการตั้งครรภ์การคลอด ที่ต้องรอให้ส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ต่ำกว่า 7 เดือน การจำกัดการรักษาไตวายเรื้อรัง สำหรับคนที่เป็นก่อนเข้ามาสู่ระบบประกันสังคม การจำกัดค่าใช้จ่ายดูแลเรื่องฟัน สายตา มาตลอด เป็นต้น

ในเรื่องนี้อยากเสนอให้ประชาชน และคนงานที่เป็นผู้ประกันตนพิจารณากันให้ดี เรื่องนี้มีกฎหมาย 2 ฉบับรับรองและบังคับใช้ คือกฎหมายประกันสังคม และกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กฎหมายประกันสังคมบังคับใช้ก่อนในสมัยที่ไม่มีระบบประกันสุขภาพใดใด แต่กฎหมายหลักประกันสุขภาพบังคับใช้ภายหลังแต่มุ่งเน้นชัดเจนเรื่องเดียวคือ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมและป้องกันโรค จึงควรพิจารณาว่าคนงานผู้ประกันตนสมควรมาใช้กองทุนประกันสุขภาพนี้หรือไม่ ส่วนกองทุนประกันสังคม ควรประกันในเรื่องอื่นๆ และใช้หลักการร่วมจ่าย 3 ฝ่าย เหมือนเดิม

นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการบางส่วนก็เสนอว่าน่าจะแยกเรื่อง บำนาญชราภาพ ออกมาจากกองทุนประกันสังคมไปด้วยเลยเนื่องจากรัฐไม่ได้ร่วมจ่ายเข้าในส่วน นี้อยู่แล้ว เมื่อเวลาเปลี่ยนไป บทบาทหน้าที่ของรัฐได้รับการดำเนินการมากขึ้น สิทธิประโยชน์ของประชาชนมีความซ้ำซ้อนกัน ก็เป็นเหตุที่ประชาชนและรัฐจะทบทวนได้ว่าจะจัดระบบอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ที่สุด และคุ้มครองสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญได้รอบด้านอย่างแท้จริง

เรื่องโรงพยาบาลเอกชนที่ผู้ประกันตนบางส่วนรู้สึกว่าจะไม่ได้ไปใช้บริการ หากย้ายมาอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพนั้น ก็ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงคือโรงพยาบาลเอกชนอยู่ได้ด้วยเงินจากการซื้อ ประกันสุขภาพของกองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพ ขึ้นอยู่กับว่ากองทุนจะต่อรองกับโรงพยาบาลเอกชนได้เพียงใดในฐานะผู้ซื้อ บริการ ไม่ใช่ให้โรงพยาบาลเอกชนผู้ขายบริการมาต่อรองว่าจะขายบริการให้ใคร ราคาเท่าไร เพราะโรงพยาบาลเหล่านี้เป็นธุรกิจเต็มตัว บริหารเพื่อให้มีผลกำไรต่อผู้ถือหุ้น อย่างไรต้องพร้อมจะเจรจากับกองทุนประกันสุขภาพทุกกองทุนอยู่แล้ว โดยเฉพาะกองทุนขนาดใหญ่ ขอให้ประชาชนได้แสดงความเห็นว่าจะขอรับประโยชน์ด้านสุขภาพแบบใดกันออกมาให้ มากๆ ด้วยโดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในระบบบัตรทองควรต้องตระหนักว่าจะให้คนในครอบ ครัวที่เป็นผู้ประกันตนได้รับสิทธิอย่างไร ต้องร่วมจ่ายหรือไม่ อย่างไรน่าจะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันด้วยในบรรยากาศเช่นนี้
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net