Skip to main content
sharethis

 

 

Greg Grandin อาจารย์วิชาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เขียนบทความในอัลจาซีราห์ กล่าวถึงท่าทีของบราซิลที่มีต่อนโยบายสหรัฐฯ โดยเฉพาะนโยบายตะวันออกกลาง การบุกโจมตีลิเบีย หลังจากที่ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของบราซิลให้การต้อนรับการมาเยือนประเทศของ โอบามาอย่างดี

เนื้อหาบทความมีดังนี้

หลังจากที่บารัค โอบามา เพิ่งเสร็จสิ้นการเดินทางเยือนละตินอเมริกา ซึ่งรวมถึงการไปเยือนบราซิล ชิลี และเอล ซัลวาดอร์ สื่อของสหรัฐฯ นำเสนอข่าวการเดินทางเยือนประเทศต่างๆ ในครั้งนี้โดยเน้นไปที่ ดิลมา รุสเซฟฟ์ ประธานาธิบดีของบราซิล

วอชิงตันโพสต์ นิวยอร์กไทมส์ สถานีวิทยุของรัฐบาล รวมถึงหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆ นักวิจารณ์สถานการณ์ตามช่องเคเบิลทีวี และเว็บล็อก ต่างทำนายว่าโอบามาซึ่งเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก และ รุสเซฟฟ์ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของบราซิล ต่างก็มีความเห็นที่ลงรอยกันได้ ซึ่งเป็นการพลิกโฉมความสัมพันธ์ทางการทูตตั้งแต่สมัยของ ลูอิซ อิกนาซิโอ ลุลา ดา ซิลวา

ความไม่ลงรอยกันเกิดขึ้นเมื่อลุลาปฏิเสธที่จะรับฟังรัฐบาลของจอร์จ ดับเบิลยู บุช และโดดเดี่ยวฮูโก้ ชาเวซ ผู้นำประชานิยมของเวเนซุเอล่า ไม่นานนัก บราซิลแสดงท่าทีต่อต้าน หรือเลวร้ายกว่านั้นคือเสนอทางเลือกให้สหรัฐฯ ในจุดยืนประเด็นต่างๆ ทั้งเรื่องโลกร้อน การต่อต้านการทำรัฐประหารในฮอนดูรัส เรื่องคิวบา การค้า และเรื่องภาษี

ลุลา ไม่ยอมวิพากษ์วิจารณ์อิหร่าน และเปิดช่องทางในการเจรจาแยกออกมา ซึ่งเป็นช่องทางที่อยู่ห่างไกลจากอิทธิพลของสหรัฐฯ และทำให้พวกเขาไม่ชอบใจ ในการเปิดช่องเจรจากับอิหร่านในเรื่องนิวเคลียร์


ต่างความเห็นเรื่องตะวันออกกลาง

อดีตประธานาธิบดีบราซิลยังได้ให้การต้อนรับมาห์มูห์ อับบาส์ ผู้นำทางการปาเลสไตน์มาเยือนบราซิล โน้มนำให้ละตินอเมริกาทั้งหมดยอมรับรัฐปาเลสไตน์และเรียกร้องให้มีการเจรจา ระหว่างกลุ่มฮามาส กับเฮซโบลาห์

สื่อสหรัฐฯ ให้คำอธิบายมากมายเกี่ยวกับพฤติกรรมของลุลา ซึ่งสำหรับผู้นำละตินอเมริกาแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์ที่ละตินอเม ริกามีบทบาทเป็นผู้รับใช้รัฐบาลสหรัฐฯ ในช่วงที่ลุลาแข็งข้อต่อสหรัฐฯ นั้นมีการอธิบายว่าเป็นอาการโรคบุคลิกภาพบกพร่อง มีอาการชอบเรียกร้องความสนใจในเวทีโลก แต่ในเวลาต่อมาก็มีการอธิบายว่าลุลาจำเป็นต้องเล่นบทบาทผู้นำของพรรคซึ่งมัก จะคอยดึงจมูกสหรัฐฯ เล่นมาโดยเสมอ

ไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตามการที่โอบามาไปเยือนบราซิลภายหลังการเลือกตั้งของ ดิลมาทันทีนั้นเป็นโอกาสในการคืนบทบาทเดิม จากรายงานเปิดเผยว่ารุสเซฟฟ์ก็ต้องการใช้การมาเยือนครั้งนี้ในการผลักตัว เองออกห่างจากผู้อุปถัมภ์ทางการเมืองอย่างลุลา แม้ในช่วงทศวรรษ 1970 ที่เธอยังเป็นคนหนุ่มสาว เธอจะเคยเป็นสมาชิกองค์กรมาร์กซิสท์-เลนินนิสท์ ที่ต่อต้านเผด็จการซึ่งมีสหรัฐฯหนุนหลังอยู่ก็ตาม

ประธานบริษัทอสังหาริมทรัพย์โกลด์แมน แซส บอกว่าดิลมามีบุคลิกและสไตล์ที่แตกต่างออกไป

เธอเป็นคนที่ "อบอุ่น" และจะต้อนรับโอบามาอย่างเป็นมิตร (หรือว่านี่จะถึงระดับที่สหรัฐฯ ซึ่งเมื่อก่อนเคยทำตัวเป็นผู้ครอบงำประชาสังคมนานาชาติ แต่ในตอนนี้แค่ผู้นำต่างชาติไม่หยาบคายใส่เมื่อประธานาธิบดีไปเยี่ยมก็ดีใจ แล้ว) สื่อใหญ่และแหล่งความเห็นหลายแหล่งคาดว่าเธอจะเล่นบทตามสหรัฐฯ มากกว่าผู้นำก่อนหน้านี้ในละตินอเมริกา โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องตะวันออกกลาง

เป็นที่น่าเสียดายสำหรับสหรัฐฯ ที่ความจริงไปเป็นไปตามเนื้อเรื่องแบบที่คาดไว้ บราซิลภายใต้การนำของรุสเซฟฟ์ยังคงเดินตามหลักการเดิมในด้านการต่างประเทศ
 

 

ลิเบีย และสหประชาชาติ
แม้กระทั่งก่อนหน้าที่โอบามาจะมาถึงบราซิลในฐานะสมาชิกชั่วคราวของคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บราซิลได้ร่วมกับจีนและเยอรมนีงดลงคะแนนเสียงในการลงมติ "การใช้มาตรการทุกอย่างที่เป็นไปได้" กับมุมมาร์ กัดดาฟี ของลิเบีย

ตั้งแต่นั้นมา การต่อต้านการทิ้งระเบิดก็เข้มข้นขึ้น จากการรายงานของสำนักข่าวไอพีเอส รัฐมนตรีต่างประเทศของบราซิลโดยส่วนใหญ่แล้วยังเป็นนักการทูตจากยุคของลุลา ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ก็ออกแถลงการณ์ประณามการสูญเสียชีวิตของพลเรือนและ เรียกร้องให้มีการเจรจาสองฝ่าย

ตัวลุลาเองก็สนับสนุนจุดยืนของดิลมาในกรณีของลิเบีย โดยการกล่าวประณามการแทรกแซงของสหรัฐฯ "การรุกรานเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงเพราะสหประชาชาติอ่อนแอ" เขากล่าว "ถ้าหากพวกเรามีตัวแทนของศตวรรษที่ 21 (ในคณะมนตรีความมั่นคง) แทนการส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิด ทางสหประชาชาติก็จะส่งเลขาธิการไปเจรจาแทน"

การประกาศกร้าวนี้ถูกตีความว่าหากบราซิลเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความ มั่นคงซึ่งเป็นตำแหน่งที่บราซิลอยากได้มานานแล้ว บราซิลก็คงโหวตคัดค้านการสั่งทิ้งระเบิดแทนที่จะเพียงแค่งดเว้นการออกเสียง

ความเห็นเหล่านี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าอดีตประธานาธิบดีผู้ยังคงมี อิทธิพลและความนิยมสูงในบราซิล จะเดินหน้าชี้นำนโยบายต่างประเทศให้กับประธานาธิบดีชุดปัจจุบันต่อไป

ทั้งอาร์เจนตินาและอุรุกวัยเองก็แข็งขันแสดงความไม่เห็นด้วยกับการแทรก แซงของสหรัฐฯ ในระดับหนึ่ง การโต้แย้งนี้สะท้อนถึงของแนวคิดยึดมั่นของละตินอเมริกาในเรื่องการไม่แทรก แซงและเอกาธิปไตย แต่ในอีกระดับหนึ่งซึ่งเป็นระดับที่ดูใกล้กับสามัญสำนึกทั่วไปมากกว่า คือมันได้สะท้อนความเชื่อว่ากลุ่มการทูตควรจะกลับไปสู่มาตรฐานว่าสงครามควร เป็นมาตรการสุดท้ายแทนที่จะเป็นวิธีการจัดการปัญหาเป็นอย่างแรก

"การโจมตี (ลิเบีย) แสดงให้เห็นการเสื่อมถอยของระเบียบนานาชาติ" ประธานาธิบดีอุรุกวัย โฮเซ มูจิกา กล่าว "การเยียวยากลายเป็นสิ่งที่เลวร้ายกว่าตัวโรคภัยเองเสียแล้ว การปฏิบัติการช่วยชีวิตคนด้วยการทิ้งระเบิดช่างฟังดูขัดแย้งกันในตัว เองอย่างบอกไม่ถูก"


รับมือ "เจ้าพ่อเงินกู้"

ไม่เพียงแค่เรื่องตะวันออกกลางเท่านั้น บราซิลยังได้ผลักไสสหรัฐฯ ในประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่นประเด็นด้านการเงิน ซึ่งแม้ไอเอ็มเอฟจะพยายามให้บราซิลรักษา "วินัยทางการเงิน" แต่บราซิลซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเจริญเติบโตมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก็แสดงความเป็นอิสระจากสหรัฐฯ มาก อีกทั้งบราซิลยังเรียกร้องให้สหรัฐฯ และยุโรปลดภาษีสินค้าจากประเทศที่เจริญแล้ว และแม้รุสเซฟฟ์จะต้อนรับประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นอย่างดี แต่ก็วิจารณ์รัฐบาลสหรัฐฯ อย่างหนักว่าแม้จะพร่ำพูดถึงเรื่องการค้าเสรี แต่ก็ทำตัวเป็นลัทธิกีดกันการค้า (Protectionism) เสียเอง และเรียกร้องให้สหรัฐฯ เปิดตลาดสินค้านำเข้าของบราซิลเช่น เอธานอล เหล็ก และน้ำส้ม

แม้ดิลมาจะ "อบอุ่น" "ปฏิบัตินิยม" และ "นอบน้อม" แต่ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของบราซิล ก็ไม่ใช่ใครที่จะกินกันได้ง่ายๆ หากเป็นเรื่องของสงคราม สันติภาพ และเศรษฐกิจ

 

ที่มา:
Brazil stares down the US on Libya
, Greg Grandin, 30-3-2554
http://english.aljazeera.net/indepth/opinion/2011/03/201133014435832732.html

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net