Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 04 เมษายน พ.ศ. 2554 มติชนออนไลน์ เผยแพร่รายงานข่าวจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า นายกรัฐมนตรีได้นำร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .. ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อลงพระปรมาภิไธยไปตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม ซึ่งตามปกติจะใช้เวลาราว 10 วัน ถึงจะมีการโปรดเกล้าฯ จึงคาดว่าน่าจะประกาศใช้ไม่เกินกลางเดือนเมษายนนี้ โดยร่างกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ มีเนื้อหาหลายส่วนน่าสนใจ อาทิ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจสอบธุรกรรมการเงินผู้ถูกกล่าวหาได้ สั่งให้แสดงบัญชีทรัพย์สินในต่างประเทศและที่อยู่ในการครอบครองของผู้อื่น กำหนดให้การมีผลประโยชน์ทับซ้อนถือเป็นความผิดฐานทุจริต ให้หยุดนับอายุความในคดีที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนี ฯลฯ มติชนออนไลน์ รายงานว่า เนื้อหาในร่างกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ได้ปิดจุดอ่อนจากการปฏิบัติงานของ ป.ป.ช.ในอดีตทั้งกรณีคดีของ นายศักดาพินิจ ณรงค์ชาติโสภณ อดีตผู้ช่วยและรองกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ปล่อยให้เจ้าตัวหลบหนีจนคดีขาดอายุความ นอกจากนี้ ยังได้รับอิทธิพลจากคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ฐานร่ำรวยผิดปกติ รวมถึงคำพิพากษาคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินรัชดาฯ จึงมีการเพิ่มอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไว้หลายประการ เริ่มตั้งแต่แก้ไขนิยามคำว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองŽ ให้ครอบคลุมถึงผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) \มีการให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (มาตรา 19) เข้าถึงข้อมูลทางการเงินของผู้ถูกกล่าวหา (มาตรา 25/1) ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.โดยให้รวมถึงทรัพย์สินและหนี้สินที่อยู่ในต่างประเทศ และมอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (มาตรา 32) ให้ตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินหรือการได้มาซึ่งทรัพย์สินและหนี้สินที่ปรากฏพฤติการณ์ว่ามีการถือครองทรัพย์สินแทน (มาตรา 37/2) มีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติไว้ชั่วคราวได้ (มาตรา 38) หยุดนับอายุความหากผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีระหว่างถูกดำเนินคดี (มาตรา 74/1) ขยายเวลายื่นคำร้องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัฐร่ำรวยผิดปกติ จากเดิมพ้นจากตำแหน่งไม่เกิน 2 ปีเพิ่มเป็น 5 ปี (มาตรา 75) กำหนดให้การฝ่าฝืนบทบัญญัติในหมวด 9 การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม เป็นความผิดฐานทุจริต (มาตรา 103/1) นอกจากนี้ ยังเพิ่มบทกำหนดโทษ กรณีเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับไม่เกิน 20

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net