วิพากษ์ บทความ “Chrysotile” และผลกระทบทางกฎหมายที่อาจจะเกิดขึ้น

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ชื่อบทความเดิม: วิพากษ์ บทความ “Chrysotile” และผลกระทบทางกฎหมายที่อาจจะเกิดขึ้น (ที่เขียนโดย โดย ตรัย สัสตวัฒนา และ ณิชยา สุทธิพันธุ์ นักกฎหมาย )

บทความของ ตรัย สัสตวัฒนา และ ณิชยา สุทธิพันธุ์ ไม่สามารถหักล้างเหตุผลการตัดสินใจของรัฐในการพิทักษ์สิทธิในการคุ้มครองผู้ บริโภคได้ การประกาศว่าเป็นวัตถุอันตรายใช้บังคับกับสินค้าหลังประกาศ ยิ่งไปกว่านั้น การที่ สคบ. ได้มีมาตรการประกาศให้มีคำเตือนบนสินค้าที่บังคับใช้อยู่แล้ว

พ.ร.บ.ความรับผิดจากความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย มีเจตนาที่มุ่งให้มีการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ในการอ้างว่าสินค้าใยหินมีราคาถูก เนื่องจากไม่นำต้นทุนที่จะเกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยมาคิดรวมด้วย เหตุผลที่ยกมา จึงไม่สามารถหักล้างการดำเนินมาตรการยกเลิก แต่ในทางกลับกัน กลับต้องยิ่งเร่งรัดการป้องกันอันตรายให้เร็วยิ่งขึ้น ดังเหตุผลสนับสนุนในรายละเอียดต่อไปนี้

1. สภาพบังคับว่าใยหินไครโซไทล์เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่สี่ จะเกิดภายหลังกฎหมายประกาศใช้ นอกจากนี้การที่ไครโซไทล์เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่สาม ก็มีสภาพที่ผู้ขายต้องระวังเช่นกัน

การที่ไครโซไทล์จะมีสภาพเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่สี่ ก็ต่อเมื่อรัฐประกาศว่าเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่สี่แล้ว สภาพการบังคับใช้กฎหมายจึงมีภายหลังการประกาศ แต่ไม่ได้บังคับใช้กับสินค้าก่อนหน้าที่จะมีการประกาศ การดำเนินการให้ไครโซไทล์เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่สี่ จึงเป็นมาตรการที่จำเป็น เป็นการระมัดระวังสำหรับสินค้าที่มีไครโซไทล์และผู้ใช้มีโอกาสสัมผัสใยหินไค รโซไทล์จากสินค้าดังกล่าว

2. ปัจจุบัน การที่ไครโซไทล์เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่สามก็มีสภาพที่ผู้ผลิต ผู้ขายต้องระวัง ให้มีประกาศคำเตือนอยู่แล้ว

ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผั้บริโภค ก็ได้ออกคำเตือนในสินค้าบางชนิด เช่น กระเบื้อง สคบ ประกาศให้มีคำเตือน ว่า อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด หรือ โรค ปอด สถาพบังคับกับสินค้าที่มีใยหิน ได้เกิดขึ้นแล้ว หากผู้ที่จำหน่ายสินค้าไม่มีการติดฉลากก็ถือได้ว่ามีความผิด ไม่จำเป็นต้องไปถึงการที่จะได้รับอันตราย มาตรการการติดฉลากคำเตือน ก็ดี การยกเลิกไครโซไทล์ ก็ดี จึงเป็น การป้องกันล่วงหน้าสำหรับอันตรายร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อที่จะเป็นการสร้างความปลอดภัยในกลุ่มประชากร จึงไม่เป็นเหตุให้ปฎิเสธการดำเนินการไม่คุ้มครองผู้ใช้สินค้าไม่ ในทางกลับกัน รัฐกลับต้องเร่งคุ้มครองผู้บริโภคด้วยมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าคือ การยกเลิกการใช้

3. พ.ร.บ.ความรับผิดจากความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย เป็นกฎหมายที่มุ่งเน้นการป้องกันอันตรายก่อนเกิด

เจตนารมย์ ของ พ.ร.บ.ความรับผิดจากความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย เป็นกฎหมายที่มุ่งให้มีการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น โดยผู้ผลิตต้องมีความรับผิดชอบเลือกผลิตสินค้าที่ปลอดภัย ประเด็นจึงมืได้อยู่ที่ว่าจะห้ามการจัดใยหินไครโซไทล์เป็นวัตถุอันตราย ประเภทที่สี่ แต่อยู่ที่ผู้ประกอบการจะต้องมีความรับผิดชอบโดยเลิกผลิตสินค้าที่มีใยหินไค รโซไทล์เป็นองค์ประกอบ โดยไม่ต้องรอให้กฎหมายบังคับ ดังเช่น มีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่ง ในกรณีของกระเบื้อง เบรค บ้านและอาคารของบริษัทเอกชน การเคหะ ที่ได้ประกาศไม่ใช้วัสดุใยหินในสินค้า หรือ สิ่งปลูกสร้างของตน

4. สินค้าใยหินไครโซไทล์มีราคาจากความเจ็บป่วย

การที่ในบทความได้มีการกล่าวถึงอันตรายของใยหินไครโซไทล์ ในประเทศต่างๆ จึงเห็นได้ว่าตันทุนในการดูแลประชากรเมื่อรับทราบว่าใยหินไครโซไทล์มี อันตราย จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นข้อสนับสนุนหนึ่งที่จำเป็นต้องเร่งยกเลิก เพราะต้นทุนความเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่ผู้บริโภค ผุ้ใช้แรงงานต้องแบกรับ โดยยากต่อการป้องกัน การที่มักอ้างว่าสินค้าราคาถูก กว่าก็เนื่องจากไม่นำต้นทุนที่จะเกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยมาคิดรวมด้วย

โดยสรุป เหตุผลที่ผู้เขียนกังวลว่าการยกเลิกใยหินไครโซไทล์จะเกิดปัญหาดังที่ยกมา จึงไม่สามารถหักล้างการดำเนินมาตรการยกเลิก แต่ในทางกลับกัน กลับต้องยิ่งเร่งรัดการป้องกันอันตรายให้เร็วยิ่งขึ้น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท