Skip to main content
sharethis

 

ก.แรงงาน เตรียมบังคับใช้ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐ ทั้งนี้ หลังจากมีการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างร้อยละ 6.7 ซึ่งอยู่ระหว่าง 8-17 บาท เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก็ยังไม่เพียงพอกับการใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ทำให้รัฐบาลมีนโยบายที่จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 25 ภายในเวลา ปี ซึ่งหากปรับขึ้นครั้งเดียว ก็จะไม่เป็นธรรมกับนายจ้าง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องมีมาตรการต่างๆ รองรับผู้ที่อาจจะได้รับผลกระทบในภาคธุรกิจ เช่น การลดภาษีเครื่องจักร ภาษีนิติบุคคล การลดต้นทุนด้านพลังงาน

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด กำลังรวบรวมข้อมูลความเป็นอยู่ รวมถึงค่าใช้จ่ายในแต่ละวันของผู้ใช้แรงงาน คาดว่าจะทราบผลในต้นเดือนหน้า (พฤษภาคม) ด้านนายสมเกียรติ์ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จะนำเสนอค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป เพื่อประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป สำหรับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ระดับ จำนวน 11 สาขาอาชีพ เช่น สาขาช่างสีรถยนต์ ช่างเคาะตัวถังรถยนต์ ช่างซ่อมรถยนต์ ผู้ประกอบอาหารไทย พนักงานนวดไทย เป็นต้น

(สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, 18-4-2554)

จุรินทร์” เล็งปรับบัตรประกันสังคมใบเดียวใช้ได้ทุก รพ.สังกัด สธ.

วันนี้ (18 เม.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ทำหนังสือถึงผม เพื่อขอให้ สธ.ได้ช่วยดูว่าสำหรับระบบประกันสังคม ในส่วนความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขสามารถที่จะปรับระบบในการที่จะทำให้ ผู้ประกันตนสามารถใช้บริการได้สะดวกขึ้น ได้มอบเป็นนโยบายไป เราจะหาลู่ทางเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ที่ขึ้นทะเบียนใช้บริการกับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สามารถที่จะใช้บัตรใบเดียวเข้ารับบริการที่หน่วยบริการใดก็ได้ในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข ที่ไหนก็ได้ตามความต้องการของผู้ประกันตน ส่วนในรายละเอียดของระบบบริหารจัดการในกระทรวงนั้น ได้มีการเจรจากับสำนักงานประกันสังคมมาแล้วระยะหนึ่ง คาดว่าสัปดาห์หน้าก็จะมีรายละเอียดครบถ้วนทั้งหมดในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข และจะแถลงให้ทราบอีกครั้ง 
       
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพทั้งหมด ระบบ ได้แก่ ระบบสวัสดิการข้าราชการ ร้อยละ 6.5 ระบบประกันสังคมร้อยละ 16 และระบบรักษาฟรีร้อยละ 77.5 โดยในร้อยละ 16 ของระบบประกันสังคม มีผู้ประกันตนมาขึ้นทะเบียนใช้บริการในสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประมาณร้อยละ 40 เพราฉะนั้นถือว่าโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขก็เป็นผู้บริการรายใหญ่ รายหนึ่งของระบบประกันสังคม

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 18-4-2554)

กบร.มีมติขึ้นทะเบียนต่างด้าวครั้งใหม่

เมื่อวันที่ 19 เมษายน ที่กระทรวงแรงงาน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) โดยมี พล.ต.สนั่น ขจรประสาสน์ เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 22 หน่วยงาน ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการเปิดจดทะเบียนต่างด้าวที่ไม่มีใบ ทร.38/1 รอบใหม่ โดยจะสามารถดำเนินการได้หลังจากที่ พล.ต.สนั่น นำเรื่องเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาเพื่อให้มีการอนุมัติ จึงจะดำเนินการประชาสัมพันธ์แก่ผู้ประกอบการและลูกจ้างทั่วประเทศ ทั้งนี้การจดทะเบียนดังกล่าว ทางกรมจัดหางานจะจัดให้มีหน่วยงานในการรับจดทะเบียนในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการเป็นหัวหน้าศูนย์ประจำจังหวัด อย่างไรก็ตามระบบการรับจดทะเบียนจะมีการจัดเก็บข้อมูลโดยการทำไบโอดาต้า จัดเก็บลายนิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว และโครงสร้างใบหน้า จากนั้นจึงจะออกใบอนุญาติทำงาน (เวิร์คเพอร์มิต) เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้

 นายเฉลิมชัยกล่าวต่อว่า ในส่วนของการจดทะเบียนครั้งนี้ มั่นใจว่าจะมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาจดทะเบียนประมาณร้อยละ 90 ซึ่งช่วงเวลาในการลงทะเบียนเปิดครั้งนี้แค่ครั้งเดียว หากผู้ประกอบการไม่นำลูกจ้างมาจดทะเบียนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งนี้ในส่วนแรงงานต่างด้าวที่ประกอบอาชีพประมงจะขยายเวลาให้เป็นพิเศษ ซึ่งใช้วิธีจัดเก็บข้อมูลต่างจากแรงงานปกติ เนื่องจากแรงงานส่วนนี้ทำงานในทะเลเป็นส่วนใหญ่ และอยู่ไม่เป็นที่ โดยจะจัดทำเป็นรูปแบบสมาคม เพื่อแก้ปัญหาการย้ายข้ามเรือที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

 “การจดทะเบียนครั้งนี้มีมาตรการที่ ชัดเจนและเป็นหัวใจคือการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งผู้ประกอบการที่ไม่มาจดทะเบียนหรือละเมิดก็จะถูกดำเนินคดี ซึ่งโทษที่รุนแรงที่สุดคือข้อหาการค้ามนุษย์ ที่สำคัญการเปิดโอกาสให้จดทะเบียนในครั้งนี้ถือเป็นมาตรการจูงใจที่ดีที่สุด เพราะปัจจุบันแรงงานส่วนนี้ก็ทำผิดกฎหมายอยู่แล้ว” นายเฉลิมชัยกล่าว

(คม ชัด ลึก, 19-4-2554)

ค้านเอาเงิน สปส.จ่าย สปสช.หากโอนผู้ประกันตนไปบัตรทอง

วันนี้ (19 เม.ย.) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน กล่าวถึงมติของบอร์ดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่มีมติให้ตั้งทีมเจราจากับตัวแทนของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เรื่อง การโยกผู้ประกันตนเข้าระบบ สปสช.ว่า เป็นเรื่องของบอร์ดทั้ง ทีม ที่จะต้องไปเจรจากัน ซึ่งตนก็ให้นโยบายไปแล้วว่า จะต้องทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ที่ดีที่สุด แต่ทั้งนี้ ก็ยอมรับความคิดเห็นของผู้ประกันตน 
       
ส่วนกรณีที่มีบอร์ด สปสช.ระบุว่า หากจะให้ผู้ประกันตนโยกไปอยู่ในระบบ จะต้องจ่ายเงินให้กับ สปสช.ประมาณ หมื่นล้านบาทนั้น ซึ่งในเรื่องดังกล่าวเป็นเงินของผู้ประกันตน ส่วนตัวจึงคิดว่าควรที่จะมีสิทธิ์ในการเลือกว่าจะเข้าสู่การรักษาพยาบาลใน ระบบใด แต่เชื่อว่า ไม่ได้มีผู้ประกันตนทั้ง 100% ที่ต้องการโยกไปอยู่ในระบบ สปสช. 
       
ด้านนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า บอร์ด สปส.ได้ตั้งตัวแทน เพื่อไปดำเนินการเจรจากับบอร์ด สปสช.จำนวน คน ประกอบด้วย ตัวแทนจาก สปส.ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง ตัวแทนภาครัฐ ซึ่งการพูดคุยคงต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร เนื่องจากตอนนี้ยังมีรายละเอียดที่ไม่ชัดเจนว่ามีเหตุผลว่าทำไมต้องย้ายไป อยู่ในระบบ สปสช.และต้องทำอย่างไรให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิและบริการเหมือนที่เป็นอยู่ 
       
ส่วนกรณีที่มีการออกมาระบุว่าหากมีการโอนย้ายผู้ประกันตนมาอยู่กับ สปสช.โดย สปส.ต้องจ่ายเงินไปให้ สปสช.ราว 20,000 ล้านบาทนั้น ถามว่า มีเหตุผลอะไรที่จะต้องจ่ายเงินในส่วนนี้ เพราะหากเป็นเช่นนั้น สปส.สามารถจัดการเองได้ ไม่ต้องให้เขาจัดการแทน 
       
อย่ามาฉวยโอกาสเอาเงินส่วนนี้ไป เพราะเป็นเงินของผู้ประกันตน ก่อนหน้านี้ มีการพูดถึงอีกประเด็นหนึ่ง แต่พอมาถึงตอนนี้กลับมาพูดคนละประเด็น” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว 
       
ขณะที่น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ชมรมผู้พิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน กล่าวว่า หาก สปส.จะต้องเอาเงินในส่วนของการรักษาสุขภาพ มาจ่ายให้กับทาง สปสช.อีก ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง เพราะทาง สปสช.น่าจะรู้ดีและเข้าใจถึงการรักษาที่รัฐต้องเข้ามาจัดการให้มากกว่านี้ จึงขอเรียกร้องให้ทบทวนเรื่องนี้ เพราะทาง สปสช.จะมองตามมาตรา 10พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างเดียวไม่ได้ แต่ สปสช.ต้องคำนึงถึงการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องจัด ให้ โดยไม่ได้กำหนดให้ประชาชนต้องร่วมจ่าย

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 19-4-2554)

เผยไทยขาดแคลนแรงงานหนักใน 10 ปี

นายกำพล อดิเรกสมบัติ เศรษฐกรอาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า ลักษณะตลาดแรงงานไทยซึ่งมีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ ไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยจากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่าตลาดแรงงานมีลักษณะเด่น 5ลักษณะซึ่งเป็นความท้าทายและโอกาสสำหรับภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนา เศรษฐกิจให้เติบโตต่อไป

ลักษณะเด่นแรก คือ จำนวนประชากรวัยทำงานไทยจะเติบโตด้วยอัตราที่ลดลงจาก1% ต่อปี ระหว่างปี 2000-2010 เหลือเพียง 0.2% ต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเติบโตของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ฟิลิปปินส์ (2.1%) มาเลเซีย (1.6%) และเวียดนาม (0.9%) โดยอัตราการเติบโตของประชากรวัยทำงานที่ลดลงนี้จะทำให้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน รุนแรงขึ้น” นาย กำพล กล่าว

ลักษณะที่สองคือจำนวนแรงงานนอกระบบ ของไทยอยู่ในระดับที่สูง จากแรงงาน 38ล้านคน มีเพียง 17 ล้านคนที่เป็นลูกจ้าง และในจำนวนนี้มีเพียง ล้านคนที่เป็นแรงงานในระบบ คือได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน โดยส่วนที่เหลือ ล้านคนได้รับค่าจ้างในลักษณะอื่นๆ ที่แตกต่างกันไป เช่น ค่าจ้างรายวัน รายชั่วโมง และค่าจ้างต่อชิ้นงาน สัดส่วนของแรงงานในระบบที่ต่ำนี้บ่งชี้ว่าบริษัทต่างๆ มีแนวโน้มที่จะไม่ลงทุนในการฝึกอบรมและจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อพัฒนาผลิตภาพแรงงาน ส่งผลให้เกิดลักษณะเด่นที่สามและสี่ ได้แก่ ผลิตภาพแรงงานไทยที่เติบโตช้า และ ผลตอบแทนแรงงานที่ลดต่ำลงในทุกระดับการศึกษา

ทั้งนี้ในระหว่างปี 2000-2007 ผลิตภาพแรงงานไทยเพิ่มขึ้นเพียง 3.0% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น จีน (9.2%) เวียดนาม (5.3%) และอินเดีย (5.1%)นอกจากนั้นผลตอบแทนแรงงานยังลดลงทุกระดับการศึกษา เช่น เมื่อปี 2001  กลุ่มแรงงานที่มีการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยได้รับค่าจ้างมากกว่ากลุ่มแรงงาน ที่ไม่ได้รับการศึกษา ประมาณ  2.0 เท่า แต่ในปี 2010 ส่วนต่างของค่าจ้างที่มากกว่านี้กลับลดลงเหลือเพียง 1.9 เท่า

สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่ผู้ จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังขาดคุณภาพซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่าสัดส่วนของผู้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอายุ 20-25 ปีที่ได้รับการจ้างงานในตำแหน่งผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะทางได้ลดลงจาก 40% ในปี 2001 เป็นเพียง 28% ในปี 2009 ในขณะเดียวกัน จำนวนผู้ที่ทำงานในตำแหน่งเสมียนหรือพนักงานบริการกลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ลักษณะเด่นที่ห้าของตลาดแรงงานไทยสามารถช่วยบรรเทาปัญหาในตลาดแรงงานได้ ซึ่งก็คือการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน (labor force participation)ของผู้หญิงไทยที่มีค่อนข้างสูง โดยผู้หญิงไทยมีแนวโน้มที่จะทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้อัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานของผู้หญิงไทยสูงถึงเกือบ 70% ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ (54%) เกาหลี (50%) และมาเลเซีย (44%) นอกจากนั้นผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทในการเป็นผู้นำมากขึ้นด้วย ดังเห็นได้จากสัดส่วนของผู้บริหารระดับสูงที่เป็นผู้หญิงของไทยนั้นอยู่ใน ระดับที่สูงถึง 45% ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในโลก

(โพสต์ทูเดย์, 20-4-2554)

จับหัวโจกแก๊งตุ๋นแรงงานหนีประกันศาลทำผิดซ้ำ

เจ้าหน้าที่จับกุม นายเมธิชัย ธรรมคุตต์ หรือ อภิชัย ขันเพชร อายุ 59 ปี และนายถิรายุ อัฑฒ์ หรือ ยุ อัฑฒ์ อายุ 36 ปี พร้อมของกลาง หนังสือเดินทางแรงงานไทย 19 เล่ม คำร้องขอเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา 17 ฉบับ เอกสารการสมัครงานไปทำงานต่างประเทศ ได้ที่ หจก.ฟาร์มแซงค์ทัวรี่ ตึกแถว ชั้น เลขที่ 51/029 หมู่บ้านเมืองเอก โครงการ หมู่ ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี สืบเนื่องรับการประสานจากกระทรวงแรงงานว่ามีกลุ่มแรงงานไทยซึ่งส่วนใหญ่เคย ไปทำงานต่างประเทศมาแล้ว จำนวน 22คน ถูกบริษัทจัดหางานเถื่อนในชื่อ หจก.อิงซิน ออล โดยมีนายเมธิชัย หรืออภิชัย เป็นตัวการใหญ่ ส่วนนายถิรายุ ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทั่วไป หลอกว่ามีงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ที่ประเทศญี่ปุ่น ค่าใช้จ่ายคนละ 3.5 แสนบาท มัดจำ หมื่นบาท ส่วนที่เหลือให้โอนเข้าบัญชีธนาคารก่อนวันเดินทาง แต่เมื่อโอนเงินให้แล้วนายเมธิชัยก็ปิดบริษัทและปิดมือถือหนีไป

ต่อมาชุดสืบสวนได้ทำการสืบสวนพบว่า นายเมธิชัย และนายถิรายุ ได้มาเปิดบริษัทจัดหางานเถื่อนในลักษณะเดียวกันนี้อีก แต่เปลี่ยนชื่อเป็น หจก.ฟาร์มแซงค์ทัวรี่ อ้างจัดหาแรงงานไปสหรัฐอเมริกา มีเหยื่อหลงเชื่อ กว่า 20 ราย วางมัดจำล่วงหน้า หมื่นบาท ตำรวจจึงซ้อนแผนบุกเข้าตรวจค้นและจับกุมตัวทั้งสองมาได้ สอบสวนทราบว่ามีแรงงานไทยที่ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ประมาณ 40 ราย โดยกลุ่มผู้เสียหายชุดแรก จำนวน 22 คนที่ถูกหลอกไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นได้จ่ายเงินให้ไปรายละ 3.5 แสนบาท รวมมูลค่าความเสียหาย 7.7 ล้านบาท แต่กลุ่มผู้เสียหายชุดหลัง ประมาณ 16-20คนซึ่งถูกหลอกไปทำงานที่สหรัฐอเมริกานั้นได้จ่ายเงินมัดจำไปแล้วคนละ หมื่นบาท สาเหตุที่หลงเชื่อเพราะต้องการงาน ประกอบกับผู้ต้องหาอ้างว่ารู้จักผู้ใหญ่ระดับสูงซึ่งมีวิธีทำให้สามารถเดิน ทางเข้าประเทศนั้นๆได้หรือที่ผู้ต้องหาใช้คำว่า วีซ่านักเลง

ตรวจสอบประวัติพบว่า นายเมธิชัย มีหมายจับตาม พ.ร.บ.แรงงานฯ และร่วมกันฉ้อโกงประชาชน จำนวน หมายของศาลอาญา ศาลแขวงพระนครเหนือ และศาลแขวงนนทบุรี ครั้งสุดท้ายถูกตำรวจ บก.ปคม.หน่วยงานเดียวกันนี้จับกุมตัวได้เมื่อปี 2552แต่หลังจากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวและหนีประกันชั้นศาลก็มากระทำผิดซ้ำ

(เนชั่นทันข่าว, 20-4-2554)

ขบวนการแรงงานแนะรัฐ วางโครงสร้างค่าจ้าง-ออก กม.ปรับเงินเดือนทุกปี

วันนี้ (20 เม.ย.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และมูลนิธิฟรีดริก เอแบร็ท จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายค่าจ้างที่เป็นธรรม” ที่ โรงแรมอิสติน มักกะสัน โดยนายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท.กล่าวว่า ปัจจุบันแรงงานในกรุงเทพฯ มีค่าจ้างเพียง 215 บาท ซึ่งไม่พอต่อค่าครองชีพ และไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้  เพราะราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อถีบตัวสูงขึ้นมาก ลูกจ้างหลายส่วนเดือดร้อน ต้องทำงานนอกเวลาวันละ 2-3 ชั่วโมง ทำให้มีปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยตามมา ทั้งนี้ คสรท.เคยทำการสำรวจค่าจ้างขั้นต่ำควรจะอยู่ที่ 421 บาท จึงจะพอต่อค่าครองชีพของลูกจ้างและสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ คน 
       
นายชาลี กล่าวต่อว่า รัฐบาลต้องทำโครงสร้างอัตราค่าจ้าง เพื่อให้มีค่าจ้างที่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง โดยอาจทำเป็นพระราชบัญญัติกำหนดให้มีกฎหมายปรับขึ้นเงินเดือนของแรงงานใน ทุกๆ ปี เพราะปัจจุบันยังมีแรงงานหลายส่วนที่ไม่เคยได้รับการขึ้นค่าจ้างประจำปี ได้แต่รอการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในส่วนของค่าจ้างขึ้นต่ำควรเปลี่ยนเป็นค่าจ้างแรกเข้าแทน เพราะจะทำให้ลูกจ้างมีความเป็นอยู่ที่ดี 
       
แนวโน้มของรัฐบาลที่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่รัฐบาลต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะการออกมาประกาศแต่ละครั้ง ทำให้พ่อค้าในตลาดถือโอกาสขึ้นราคาสินค้า ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้ประกาศขึ้นค่าจ้างให้กับพนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการแล้ว แต่ยังไม่ประกาศขึ้นค่าจ้างให้กับลูกจ้างเอกชนเสียที” นายชาลี กล่าว 
       
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวว่า คณะรัฐบาลโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีไม่เข้าใจการกำหนดอัตราค่าจ้าง ทำให้การประกาศแต่ละครั้งไม่แน่นอนในเรื่องตัวเลข และการขึ้นอัตราค่างจ้างขั้นต่ำร้อยละ 25 ภายใน 2ปีนั้น เชื่อว่า ทำไม่ได้ เพราะตัวเลขที่ประกาศออกมาแต่ละครั้ง ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม 
       
ขณะเดียวกัน ขบวนการแรงงานเองต้องชัดเจนในเรื่องการขึ้นค่าจ้างมากกว่านี้ ตัวเลข421 บาท ที่ทำการสำรวจกันไว้ ยังไม่เคยมีการยืนยันที่แน่นอน ค่าจ้างจึงขึ้นไปไม่ถึงซักที ทั้งนี้แนวโน้มของการขึ้นอัตราค่าข้างขั้นต่ำคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกนานใน การพัฒนาให้ขึ้นไปถึงตัวเลขที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งขบวนการแรงงานต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้ลูกจ้างได้ค่าจ้างที่เป็นธรรม 
       
หากไม่มีหน่วยงานใดจะเข้ามารับผิดชอบเรื่องโครงสร้างอัตราค่าจ้าง ขบวนการแรงงานต้องทำเองคิดเอง และผลักดันโครงสร้างดังกล่าว เพราะถ้าเราไม่ทำก็คงไม่มีหน่วยงานใดมาทำให้ และคงต้องรอไปอย่างนี้ ทั้งนี้ ควรรีบออกแบบโครงสร้างและกำหนดให้แน่นอนว่าต้องการค่าจ้างขั้นต่ำเท่าไร จากนั้นจึงใช้เป็นฐานในการพัฒนาโครงสร้างต่อไป” นายสาวิทย์ กล่าว 
       
นายอุดมศักดิ์ บุพนิมิตร ประธานสภาองค์การลูกจ้างองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่าเราต้องพยายามผลักดันให้มีโครงสร้างอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรม โดยมีอยู่ ช่องทางที่สามารถทำได้ คือ จัดทำเป็น พ.ร.บ.โครงสร้างค่าจ้างแห่งชาติ หรือแทรกในส่วนของมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.) เพื่อให้มีโครงสร้างอัตราค่าจ้างที่ตายตัว เป็นหลักประกันค่าจ้างให้กับแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในอนาคต 
       
นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทุกครั้งที่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ มักจะมาจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้เกิดความแน่นอนในค่าครองชีพของแรงงาน เพราะบางทีก็ไม่ได้รับการขึ้นค่าจ้าง  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละสหภาพในการต่อรองขึ้นค่าจ้างกับนายจ้าง ในส่วนของลูกจ้างอุตสาหกรรมรถยนต์ไม่มีเงินเดือนที่สูง เพียงแต่ใช้ระบบจ้างเหมาค่าแรงเป็นส่วนใหญ่ มีค่าเฉลี่ยเงินเดือนประมาณ 12,000 บาท ที่คนอื่นเห็นว่าแรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์มีรายได้สูงนั้น สาเหตุเพราะทำงานนอกเวลากันเยอะ และทำให้แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว เป็นปัญหาสังคมตามมา ทั้งนี้ หากแนวโน้มการทำงานนอกเวลาของแรงงานยังมากเหมือนปัจจุบัน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 20-4-2554)

สหรัฐฟ้องร้องบริษัท แห่งใช้แรงงานชาวไทยและอินเดียเยี่ยงทาส

คณะกรรมาธิการเพื่อโอกาสที่เสมอภาค การใช้แรงงานในสหรัฐเปิดเผยว่า นี่คือกรณีการค้ามนุษย์ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในภาคเกษตรกรรม โดยบริษัท โกลบอล ฮอไรซัน ได้นำแรงงานเพศชายชาวไทยประมาณ 200 คนเข้ามาทำงานในสหรัฐ โดยให้สัญญาว่าจะได้รับเงินค่าจ้างสูง คนงานไทยเหล่านี้ถูกส่งมายังสหรัฐตั้งแต่ปี 2546-2550 ให้มาทำงานในฟาร์มหลายแห่งที่รัฐฮาวายและรัฐวอชิงตัน พวกเขาต้องใช้ชีวิตที่แออัดกระจุกอยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยหนูและแมลง นอกจากนี้ ยังถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจ

แรงงานชายเหล่านี้ต้องจ่ายค่า ธรรมเนียมจำนวนมากเพื่อเข้าสหรัฐ พวกเขาถูกยึดหนังสือเดินทางและถูกแยกต่างหากจากแรงงานอื่นที่ไม่ใช่คนไทย ซึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า

นอกจากนี้ หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐได้ฟ้องร้องบริษัทที่ดำเนินกิจการฟาร์ม 8แห่ง ซึ่งมีแรงงานชาวไทยทำงานอยู่ โดยระบุว่านอกจากบริษัทเหล่านี้ไม่ใส่ใจการเอาเปรียบแรงงาน ยังมีส่วนร่วมในการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ข่มขู่ และจ่ายค่าจ้างไม่เป็นธรรมแก่แรงงานไทยด้วย

สำหรับรายชื่อ บริษัทที่ถูกฟ้องดำเนินคดี ประกอบด้วย Captain Cook Coffee Co., Del Monte Fresh Produce, Kauai Coffee Co., Kelena Farms, MacFarms of Hawaii, Maui Pineapple Farms, Green Acre Farms and Valley Fruit Orchards.

รัฐบาลกลางสหรัฐยังได้ฟ้องร้องบริษัท ซิกแนล อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ให้บริการขนส่งทางทะเลในรัฐแอละแบมาด้วยข้อหาใช้แรงงานชาวอินเดีย 500 คนเยี่ยงทาส

(สำนักข่าวไทย, 21-4-2554)

ปธ.จัดงานวันแรงงาน เตรียม ข้อ ร้องรัฐบาล เน้นปฏิรูป สปส.

วันนี้ (22 เม.ย.) ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน มีการประชุมคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2554  โดยนายชินโชติ  แสงสังข์  ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ เป็นประธานในการประชุม โดยมีข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาล ถึงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของแรงงานที่ยังไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องของค่าจ้าง สวัสดิการ และความมั่นคงในการทำงานที่ยังไม่เป็นธรรม ในวันที่ พ.ค.นี้ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า และบริเวณท้องสนามหลวง 
       
นายชินโชติ เผยว่า ประเทศไทยได้แปรสภาพจากประเทศเกษตรกรรม มาเป็นอุตสาหกรรม พึ่งพาการผลิตและการส่งออก โดยอาศัยหยาดเหงื่อของพวกเรา แตกต่างจากสถาบัน หรือองค์กรเอกชนทั้งหลาย ที่เขามีอำนาจในการต่อรองกับภาครัฐสูง จึงนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่ไม่สมดุลระหว่างกำไรกับต้นทุนแรงงาน ในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ ผมถือโอกาสเรียกร้องมายังรัฐบาลให้คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของแรงงานทั้งประเทศ โดยยึดหลักความเสมอภาค และเป็นธรรม ทั้งผู้ผลิตและผู้ประกอบการ 
       
โดยข้อเรียกร้องในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ มีทั้งหมด ข้อ ดังนี้ 1.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 2.ให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้าง ในกรณีที่สถานประกอบการปิดกิจการ เลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน 3.ให้รัฐบาลปรับค่าจ้างที่เป็นธรรมกับลูกจ้าง พร้อมกำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และรายได้แห่งชาติทุกสาขาอาชีพ 3.1 ให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้า เข้มงวด และเอาผิดกับผู้ทำผิดกฎหมาย 
       
4.ให้รัฐบาลปฏิรูประบบประกันสังคม 4.1 ให้รัฐบาลแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม 2533ม.39 กรณีการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน ควรจ่ายเพียงเท่าเดียว 4.2 ให้รัฐบาลนิรโทษกรรมให้กับผู้ประกันตน ม.39 กลับมาเป็นผู้ประกันตนได้ 4.3 ให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตน ม.40 ในอัตรา 50% ทุกกรณี 4.4 ให้รัฐบาลแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม 2533 โดยขยายสิทธิให้ผู้ประกันตนสามารถรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล ในเครือประกันสังคม 4.5ให้รัฐบาลแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม 2533 ม.33โดยให้ขยายสิทธิผู้รับงานไปทำที่บ้าน เข้าเป็นผู้ประกันตน ม.33 ได้ โดยให้ถือว่าผู้ว่าจ้างเป็นนายจ้าง 4.6 ให้รัฐบาลยกระดับสำนักงานประกันสังคม เป็นองค์กรอิสระ 
       
5.ให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 และยกเลิกการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกกิจการ 6.ให้รัฐบาลยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้ของลูกจ้าง ในกรณีเงินค่าชดเชยและเงินรายได้อื่นๆ ซึ่งเป็นเงินงวดสุดท้าย 7.ให้รัฐบาลแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541ม.118 ให้กับลูกจ้าง จากเดิม 10 ปีขึ้นไป เพิ่มอีกปีละ 30 วัน 8.ให้รัฐบาลจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กและศูนย์เก็บน้ำนมแม่ 9.ให้รัฐบาลรวมกฎหมายแรงงานทุกประเภทเป็นประมวลกฎหมายแรงงานฉบับเดียว และบังคับใช้ทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ 
       
ทั้งนี้ อีก องค์กร คือ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ไม่ได้เข้าร่วมในงานเดียวกัน โดยจะจัด “โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขบวนการแรงงานเพื่อคุ้มครองสุขภาพและ สวัสดิการแรงงาน (สสร.)”  โดย  รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ  คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กำหนดการจัดงานร่วมกับชมรมผู้ประกันตน เป็นงานเคาตน์ดาวน์ต้อนรับวันกรรมกร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ปทุมธานี ในวันที่ 30 เมษายน2554 นี้ ภายในงานจะมีกิจกรรมดีๆ ให้ความรู้สร้างจิตสำนึกความเป็นกรรมกร และมีสินค้าจากเครือข่ายเศรษฐกิจมาจำหน่าย

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 22-4-2554)

สรส.ยกพลบุก ปชป.เรียกร้องขึ้นเงินเดือนลูกจ้างรัฐวิสาหกิจทุกตำแหน่ง

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 22 เมษายน ผู้ชุมนุมจากสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการ สรส. ประมาณ 300 คน เดินทางมาชุมนุมที่หน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เพื่อยื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่านนายธราดล เปี่ยมพงษ์สานต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขอให้เร่งรัดพิจารณาปรับเงินเดือนขึ้นให้แก่ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจในอัตราร้อย ละ ทุกตำแหน่ง เช่นเดียวกับข้าราชการอื่น เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 มีนาคม ที่ออกมามีการกำหนดว่าลูกจ้างที่จะได้รับปรับต้องมีเงินเดือนไม่เกิน 50,000 บาท หรือเมื่อปรับแล้วต้องมีเงินเดือนไม่เกิน 50,000 บาท ไม่เป็นไปตามมติของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) ที่ให้ขึ้นเงินเดือนร้อยละ เป็นเหตุให้ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจรู้สึกผิดหวัง ขาดขวัญกำลังใจ เกิดความแตกแยกในองค์กร และมีผลกระทบต่อโครงสร้างเงินเดือน

(มติชนออนไลน์, 22-4-2554)

ปลัด ก.อุตสาหกรรม เผย เหตุภัยพิบัติที่ญี่ปุ่นส่งผลกระทบต่อการผลิตของบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นในไทย

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังประชุมประเมินสถานการณ์ผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น ที่มีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและจักรยานยนต์ ร่วมกับค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น อาทิ โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน อีซูซุ ว่า จากการหารือดังกล่าวได้ข้อสรุปว่า ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน จนถึงเดือนมิถุนายนนี้ บริษัทรถยนต์ทุกยี่ห้อ จะลดกำลังการผลิตลงเฉลี่ยร้อยละ 50 ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละค่ายว่าค่ายใดใช้ชิ้นส่วนในประเทศ หรือ Local Content จำนวนมากน้อยเพียงใด โดยการลดกำลังการผลิตลงจะทำให้มีรถยนต์หายไป 1.5 แสนคันในช่วงกลางเดือนเมษายน-ต้นเดือนมิถุนายน สร้างความเสียหายรวมกว่า 7.5 หมื่นล้านบาท และยังทำให้การส่งมอบรถยนต์บางรุ่นล่าช้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งอาจจำเป็นต้องคืนเงินค่าจองรถยนต์ให้ลูกค้าบางส่วน สำหรับการผลิตรถยนต์ในช่วงลดกำลังการผลิตนี้ ค่ายรถยนต์ต่างๆ จะใช้ชิ้นส่วนสำรอง หรือ Safty Stock ขณะที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ สมอ. จะพิจารณาช่วยเหลือ ผ่อนคลายกฎระเบียบในการตรวจสอบมาตรฐานชิ้นส่วนมาตรฐานบังคับกรณีโรงงานใน ญี่ปุ่นที่ป้อนชิ้นส่วนให้ ที่ได้รับความเสียหายจนจำเป็นต้องเปลี่ยนผู้ผลิตรายใหม่ นอกจากนี้ แต่ละค่ายรถยนต์ต่างยืนยันว่า จะไม่มีการปลดคนงาน แต่จะใช้ช่วงเวลานี้พัฒนาฝีมือแรงงานให้ดีขึ้น พร้อมกันนี้ ยังรับปากจะนำแรงงานของผู้ผลิตชิ้นส่วนรายย่อยมาพัฒนาทักษะการทำงานให้ด้วย ส่วนการผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก ยืนยันไม่ได้รับผลกระทบ เพราะใช้ชิ้นส่วนในประเทศเป็นหลัก

นายวิฑูรย์ กล่าวด้วยว่า ส่วนผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์รายย่อยนั้น จะมีความชัดเจนในวันพฤหัสบดีหน้า (28 เม.ย.54) ว่า จะได้รับผลกระทบกี่ราย โดยผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินและกระทบต่อการชำระสินเชื่อ ซึ่งเรื่องนี้จะขอความช่วยเหลือจากธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ต่อไป

(สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, 22-4-2554)

"พิษสึนามิ" อุตฯรถยนต์ลดผลิต 50% สูญ 7.5 หมื่นล้าน-ลูกจ้างชิ้นส่วน 4.25แสนคนเคว้ง

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับค่ายรถยนต์ประมาณ 15 บริษัท ถึงผลกระทบจากการส่งชิ้นส่วนรถยนต์จากญี่ปุ่นมาไทยหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว และสึนามิ ว่าขณะนี้การส่งชิ้นส่วนมาไทยยังอยู่ในระดับที่น้อยมาก ดังนั้น ค่ายรถยนต์ต้องลดกำลังการผลิตลงตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.-สิ้นเดือนมิ.ย. เฉลี่ยแล้วประมาณ 50% คาดว่าจะส่งผลให้กำลังการผลิตในช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย.หายไปประมาณ 1.5 แสนคัน จากเป้าหมายการผลิตใน เดือนที่ 4.4 แสนคัน คาดว่าหลังจากเดือนมิ.ย.ที่การจัดส่งชิ้นส่วนกลับมาเป็นปกติ จะเร่งผลิตชดเชยส่วนที่หายไปได้

นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า คงต้องติดตามดูว่าหลังจากเดือนมิ.ย. สถานการณ์ชิ้นส่วนรถยนต์กลับมาสู่ภาวะปกติหรือไม่ โดยสถานการณ์ในขณะนี้เลวร้ายกว่าช่วงก่อนสงกรานต์เพราะช่วงนั้นยังมี สต๊อกชิ้นส่วนเหลืออยู่ แต่ขณะนี้สต๊อกไม่มีแล้ว ขณะนี้บริษัทแม่ในญี่ปุ่นกำลังหาแหล่งผลิตชิ้นส่วนมาทดแทนชิ้นส่วนจาก ญี่ปุ่นที่หายไป คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนสถานการณ์ชิ้นส่วนจะกลับมาดีขึ้น

"การผลิตชิ้นส่วนของญี่ปุ่นลดลงไป 50% บริษัทแม่จึงมีนโยบายให้โรงงานรถยนต์ทั่วโลกลดกำลังการผลิตลง คาดว่ากำลังการผลิตของไทยที่ลดลง 1.5 แสนคัน คิดง่ายๆ ว่ารถคันละ แสนบาท ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีมูลค่าถึง 7.5 หมื่นล้านบาท อาจส่งผลให้การส่งมอบรถยนต์ล่าช้าออกไปอีกจากขณะนี้บางรุ่นต้องรอรถยนต์นาน 2-4 เดือน ผู้ที่จะซื้อรถแนะนำให้รีบซื้อในขณะนี้ เพราะถ้ารถยนต์ผลิตได้น้อยลง การแข่งขันด้านโปรโมชั่นจะน้อยลง" นายวัลลภกล่าว

ทั้งนี้ มีความเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อลูกจ้างรายวันที่อยู่ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถ ยนต์ของไทย ซึ่งแรงงานในอุตสาหกรรมมีทั้งหมด 5.25 แสนคน แบ่งเป็นของโรงงานประกอบรถยนต์ แสนคน ในส่วนนี้บริษัทรถยนต์รับปากที่จะดูแลและรักษาแรงงานตรงนี้ไว้เพราะเห็นว่า เป็นวิกฤตระยะสั้น หากกำลังการผลิตกลับคืนมาจะหาแรงงานลำบาก แต่แรงงานในภาคชิ้นส่วน 4.25 แสนคนนั้นคงต้องมาพูดคุยกับผู้ประกอบการชิ้นส่วนว่าจะช่วยเหลืออย่างไร โดยเฉพาะแรงงานที่รับค่าจ้างเป็นรายวัน ซึ่งในช่วงสัปดาห์หน้าทางกระทรวงจะนัดผู้ประกอบการชิ้นส่วนรถยนต์มาหารือกัน อีกครั้ง

ด้านนายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงและสึนามิในญี่ปุ่น ส่งผลให้บริษัทต้องปรับลดปริมาณการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณชิ้นส่วน ที่มีจำนวนจำกัด ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.-มิ.ย.54 โดยงดผลิตรถยนต์ในวันจันทร์และวันศุกร์ ส่วนการผลิตระหว่างวันอังคาร-วันพฤหัสบดีจะเป็นการผลิตในสัดส่วน 50%ของปริมาณการผลิตปกติต่อวัน

(ข่าวสด, 23-4-2554)

LCC เสนอปฎิรูป กม.แรงงานและกระบวนการยุติธรรม – คนงาน

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2554 ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงาน (LCC.) ได้จัดประชุมทางวิชาการ เรื่อง การขับเคลื่อนประเด็นกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน เกี่ยวเนื่องกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ณ ห้องประชุมชั้น 4  ศูนย์ช่วยเหลือฯ ซอยวัดบัวขวัญ จ.นนทบุรี สนับสนุนโดยมูลนิธิเอเชีย ซึ่งมีนักวิชาการ ทนายความ อาสาสมัครรับเรื่องร้องทุกข์จากศูนย์พื้นที่ต่างๆ ผู้นำแรงงาน กว่า  25 คน เข้าร่วมประชุม ซึ่งมีการอภิปรายสภาพปัญหาและอุปสรรค์ของการใช้สิทธิของลูกจ้างในกระบวนการ ยุติธรรม ตั้งแต่ชั้นพนักงานตรวจแรงงาน พนักงานแรงงานสัมพันธ์ การใช้สิทธิและวินิจฉัยของประกันสังคม,เงินทดแทน และการใช้สิทธิศาลแรงงาน 
  
นายชฤทธิ์ มีสิทธิ์ ผู้จัดการโครงการฯและทนายความ กล่าวว่า ปัจจุบันการเข้าถึงสิทธิของคนงานค่อนข้างยากเนื่องจากกระบวนการที่ซับซ้อน ทางกฎหมาย และที่สำคัญคนงานเองไม่ค่อยรู้สิทธิหรือช่องทางการใช้สิทธิ ขบวนการยุติธรรม ยังมีปัญหา เช่น พนักงานตรวจแรงงานไม่ดำเนินการตามหน้าที่ พนักงานไกล่เกลี่ยของศาลไม่ชำนาญด้านปัญหาแรงงาน และศาลแรงงานเองก็ไม่ดำเนินขบวนการพิจารณาคดีอย่างก้าวหน้า เนื่องจากคดีแรงงานไม่ใช่คดีทางแพ่งปกติ แต่เป็นคดีที่เกี่ยวข้องไม่เฉพาะกับตัวลูกจ้างเท่านั้นแต่กระทบไปถึงครอบ ครัวหากต้องถูกเลิกจ้าง 
  
นางสาวจุริสุมัย ณ หนองคาย ผู้ประสานงานฝ่ายสิทธิฯและทนายความประจำศูนย์ช่วยเหลือฯ กล่าวว่า สภาพปัญหากระบวนการยุติธรรมที่พบจากคดีที่ศูนย์ฯให้ความช่วยเหลือฯ พบว่า กรณีนายจ้างใช้เงื่อนไขการดำเนินคดีอาญาเอากับลูกจ้าง เพื่อต่อรองในคดีแรงงาน หรือการขับเคลื่อนของผู้นำแรงงาน เช่น ข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง หน่วงเหนี่ยวกักขัง ซึ่งต้องมีการประกันตัวแต่ลูกจ้างไม่มีหลักทรัพย์ประกันตัว และในการต่อสู้คดีต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก หรือ กรณีนายจ้างอ้างเหตุขาดทุนโดยเลิกจ้างไม่จ่ายตามกฎหมายและไม่มีทรัพย์พอที่ ยึดเพื่อมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ขบวนการบังคับคดีมีขั้นตอนกระบวนการยุ่งยาก และลูกจ้างต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบังคับขายทอดตลาดเอง และกระบวนการของศาลแรงงานล่าช้า และใช้ระยะเวลานาน โดยศาลชั้นต้นใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 1-2 ปี และในชั้นอุทธรณ์ฎีกาจะใช้เวลาอีกประมาณ ปี รวมระยะเวลาที่กว่าจะได้คำพิพากษามาใช้เวลาถึงประมาณ ปี ทำให้นายจ้างอาศัยเงื่อนไขความล่าช้าดังกล่าวเป็นเงื่อนไขในการไกล่เกลี่ย หรือกดดันให้ลูกจ้างรับเงินน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ควรจะได้รับหากได้ ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ 
  
นายตุลา ปัจฉิมเวช ผู้ประสานงานทั่วไปศูนย์ช่วยเหลือฯ กล่าวว่า ในการร้องพนักงานตรวจแรงงานนั้น ลูกจ้างหรือผู้นำแรงงานควรจะต้องทำ “ข้อเท็จจริง” แนบไปพร้อมกับคำร้องที่ร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (คร.7) ด้วยและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องนั้น ก็จะทำให้พนักงานตรวจแรงงานได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และจะมีสิทธิหยิบยกเข้า สู้ในชั้นศาลต่อไปได้ 
  
นางสุนีย์ ไชยรส ที่ปรึกษาโครงการศูนย์ช่วยเหลือฯ กล่าว “ในการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือการไกล่เกลี่ยศาลแรงงาน ควรจะต้องให้ที่ปรึกษาเข้าร่วมไกล่เกลี่ยด้วยเพื่อรักษาสิทธิของคนงาน และศาลเองต้องวางหลักเกณฑ์ได้ด้วยว่าคดีอย่างไรที่ไกล่เกลี่ยได้ หากเป็นการละเมิดกฎหมายแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำที่คุ้ม ครองคนงานก็ไม่ควรใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย” 
  
ซึ่งหลังจากที่ประชุมได้ร่วมกันอภิปรายแล้วมีความเห็นว่าควรจะมีคณะ ทำงานในการปฎิรูปกฎหมายแรงงานและขบวนการยุติธรรมทั้งระบบเพื่อให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของการจัดตั้งศาลแรงงาน ซึ่งยึดหลัก ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม  และช่องทางหนึ่งที่จะผลักดันคือคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย โดยตั้งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอยู่ในระหว่างการสรรหาเพื่อโปรดเกล้าให้ทำหน้าที่ต่อไปอาจจะเป็นความ หวังหนึ่งของขบวนการแรงงานที่จะได้รับสิทธิหรือเข้าถึงสิทธิได้ง่ายขึ้น

(นักสื่อสารแรงงาน, 22-4-2554)

 
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net