Skip to main content
sharethis

(29 เม.ย.54) อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต เขียนบล็อกเรื่อง "พ.ร.บ.คอม คณะกรรมการ และอย่าปล่อยให้ไอติมละลาย" ว่าด้วยข้อสังเกต 4 ประเด็นใหญ่เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ เนื้อหาโดยสรุปมีดังนี้

(1)ที่มาและสัดส่วนของคณะกรรมการฯ ที่จะตั้งขึ้นตามกฎหมายใหม่นี้: ตาม ร่างฉบับล่าสุด 20 เม.ย. 2554 มาจาก “ตำรวจ” และ “ทหาร” เกินครึ่ง ขณะที่มีการระบุว่าเจตนารมณ์ของการแก้ไขกฎหมายนี้ก็เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ ใช้อินเทอร์เน็ต

"แล้ว เราเอาคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, สำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, องค์กรสิทธิต่างๆ หรือตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่จะได้รับผลกระทบไปอยู่ตรงไหน และจะให้มีบทบาทหน้าที่อย่างไรกับกฎหมายอินเทอร์เน็ตและคณะกรรมการที่ พ.ร.บ.คอมฉบับใหม่จะตั้งนี้ ?"

(2)อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดใหม่: ทาง ทีมผู้ร่างกฎหมายเคยอธิบายว่า คณะกรรมการชุดนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่มากมาย โดยหลักมีไว้เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำด้านนโยบายเท่านั้น ตั้งคำถามว่าถ้าเป็นเช่นนั้นจริง มีความจำเป็นแค่ไหน ที่จะต้องให้คณะกรรมการและอนุกรรมการทั้งหมด ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาโดยอัตโนมัติ

(3)ฐานความผิดเกี่ยวกับเนื้อหา: ฐาน ความผิดใน พ.ร.บ.คอม (ทั้งฉบับที่ใช้อยู่ปัจจุบันและร่างใหม่ของไอซีที) แบ่งได้เป็น 2 หมวดกว้างๆ คือ 1) ความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ 2) ความผิดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมถึงเรื่องเนื้อหา, หมิ่นประมาท

ถ้า ร่าง พ.ร.บ.คอมฉบับใหม่ ยังยืนยันจะให้มีส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาอยู่ แล้วคณะกรรมการนี้จะมีบทบาทสัมพันธ์อย่างไร กับ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลเนื้อหาเช่นกัน

ทั้ง นี้ เขาตั้งคำถามว่า หรือตัว พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวมถึงคณะกรรมการตามพ.ร.บ.ดังกล่าว ควรจะกำหนดขอบเขตให้ไม่รวมถึงเนื้อหา โดยไปเน้นความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลัก แล้วปล่อยให้การกำกับดูแลเนื้อหาเป็นเรื่อง กสทช. ไปเสีย เพื่อความชัดเจนแบ่งอำนาจหน้าที่กันทำอย่างประสานกัน

เพราะ ถ้าจะให้มีหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่มาดูแลเรื่องเนื้อหา ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะเกี่ยวข้องและกระทบกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของพลเมืองและได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยที่มา สัดส่วน และกระบวนการสรรหาของหน่วยงานหรือคณะกรรมการดังกล่าว ก็ควรจะมีความหลากหลาย และเป็นตัวแทนของประชาชนในกลุ่มต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเขามองว่าสัดส่วนที่มาของ กสทช. หลากหลายกว่าตัวคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามฯ ของร่าง พ.ร.บ.คอมฉบับใหม่อยู่มาก สามารถพูดได้ถนัดปากกว่า ว่าเป็นตัวแทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกกลุ่ม(กว่า)

(4)วาทกรรม “ถ้าไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร ?”: เป็น ข้ออ้างที่ไม่มีความรับผิดชอบที่สุดเท่าที่คณะร่างกฎหมายจะกล่าวอ้างได้ โดยเฉพาะในระบบยุติธรรมที่ประเทศไทยใช้ ซึ่งเป็นระบบกล่าวโทษ ภาระในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ตกเป็นของจำเลย กล่าวคือ จำเลยเป็นผู้รับภาระในการพิสูจน์ว่าตัวเองไม่ผิด ไม่ใช่ว่า โจทก์เป็นผู้รับภาระในการพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้ผิด (เช่นคำพิพากษาของคดีหนึ่งเร็วๆ นี้ ที่ระบุว่า จำเลยไม่ได้พิสูจน์ว่าไอพีที่มีปัญหาไม่ได้เป็นของตัวเอง โดยที่โจทก์ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์แต่อย่างใดว่าไอพีนั้นเป็นของจำเลยจริง แค่กล่าวโทษก็พอแล้ว)

แม้ สุดท้ายแล้ว จำเลยจะสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ทุกอย่างได้ ศาลตัดสินว่าไม่ผิด แต่แรง เวลา เงินทอง ชื่อเสียง และโอกาสต่างๆ ที่เสียไประหว่างกระบวนการยุติธรรม นั้นเป็นจำนวนเท่าใด แม้กฎหมายจะเปิดช่องให้ฟ้องกลับ แต่ก็นั่นล่ะ แรง เวลา ฯลฯ ที่ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ อีกรอบ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net