Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

การออกแบบเพื่อคนทั้งมว (Universal Design) ดูจะเป็นแนวคิดที่ได้รับการพูดถึงกันอย่างมากและหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทยปัจจุบัน ทั้งในภาคส่วนของรัฐ แวดวงสถาปัตยกรรมและการออกแบบ องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุและคนพิการ และภาคบริการของไทย

แนว คิดดังกล่าวนี้ดูจะมีหลักตั้งอยู่บนฐานคิดเกี่ยวกับการสร้างลักษณะพื้นที่ ทางกายภาพและเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันและพื้นที่สาธารณะที่เอื้อ ต่อการให้ทุกกลุ่มคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยไม่ต้องดัดแปลงเฉพาะหรือ เป็นพิเศษสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

หรือพูดอย่างง่ายๆ ก็คือการออกแบบพื้นที่และข้าวของเครื่องใช้ที่ทำให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ กลุ่มคนชรา กลุ่มคนพิการประเภทต่างๆ สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ โดยการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลนี้ดูจะเชื่อมโยง กับแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสังคมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนทุกกลุ่มอย่าง มีสิทธิและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน (Inclusive Society)

ในสังคมไทยแนว คิด การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) ได้รับการกล่าวถึงมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 2520 ที่เริ่มมีการกล่าวถึงแนวทางการสร้างความตระหนักแก่สังคมเกี่ยวกับสิทธิและ ความเสมอภาคของคนพิการโดยสหประชาชาติและองค์การเกี่ยวกับคนพิการระดับนานา ชาติ ซึ่งต่อมาในช่วงทศวรรษ 2530 การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล ดูจะได้รับการเน้นย้ำอย่างจริงจังมากจากกลุ่มคนพิการและองค์กรที่ทำงาน เกี่ยวกับประเด็นความพิการในฐานะส่วนหนึ่งของการรณรงค์ด้านสิทธิและความเสมอ ภาคของคนพิการ อันนำไปสู่การออกพระราชบัญญัติพื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2537 ที่นอกจากจะมีเนื้อหากล่าวถึงสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการในการใช้ ชีวิตทางสังคมและการประกอบอาชีพแล้ว ยังได้ระบุถึงการที่ต้องมีการออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะอาคาร สถานที่ พื้นที่และบริการสาธารณะต่างๆ ที่ต้องเอื้อแก่การใช้ชีวิตของคนพิการ

หลัก การที่วางไว้ในพระราชบัญญัติพื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ดูจะได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจังมากขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา ที่มีการออกกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรมหลายฉบับ (อาทิ การประกาศกฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมในปี พ.ศ. 2542 ที่กำหนดลักษณะอาคารสถานที่ ยานพาหนะและบริการสาธารณะที่ต้องอำนวยความสะดวกกับคนพิการ)ที่กล่าวถึงการ สร้างพื้นที่สาธารณะและระบบขนส่งมวลชนที่ต้องเอื้อแก่การใช้ชีวิตของคนพิการ ที่ต่อมาได้ผูกโยงและขยายไปสู่กลุ่มคนอื่นๆ ในสังคมโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และนำมาสู่การใช้แนวคิด “การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล” อย่างจริงจังในพื้นที่สาธารณะของสังคมไทย

ในแง่นี้ หากใครแวะเวียนไปตามสถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะต่างๆ หรือแม้แต่การเดินตามทางเท้าบนถนนในช่วงเวลาประมาณ 6 – 7 ปีที่ผ่านมาก็จะสังเกตเห็นได้ถึงการปรับเปลี่ยนสภาพทางกายภาพของพื้นที่ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงทางลาดและวัสดุปูทางเท้าของถนนหลายสายในเขตกรุงเทพ และเมืองใหญ่บางเมือง การสร้างสัญญาณไฟจราจรสำหรับคนข้ามถนน และการก่อสร้างต่อเติมทางลาดและระบบลิฟต์ที่มีเสียงในอาคารของสถานที่ราชการ ส่วนใหญ่ เป็นต้น

แม้จะดูเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ภาครัฐและสังคมไทย มีความตระหนักที่จะ “ปฏิบัติ” ตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศใช้ตามกฎหมายเกี่ยวกับการออกแบบอาคารให้เอื้อกับคนทาง มวลอันอาจสะท้อนภาพในเชิงปฏิบัติให้เห็นถึงความพยายามในการสร้างสภาพทาง สังคมที่เหมาะแก่การอยู่ร่วมกันของคนทุกกลุ่ม

หากแต่ในทางกลับกันก็ ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่น่ายินดีหรือค่อนข้างจะเศร้าใจด้วยซ้ำที่การออกแบบและ ก่อสร้างเหล่านี้ส่วนใหญ่แทบจะไม่สามารถทำหน้าที่เพื่อคนทั้งมวลได้อย่างมี ประสิทธิภาพเท่าใดนัก เพราะหากเราลองสังเกตดูพื้นที่ที่มีความมุ่งหวังในการ “เอื้อให้กับคนกับคนทั้งมวล” แล้วจะพบว่าบรรดาพื้นที่และสิ่งก่อสร้างเหล่านี้เกือบทั้งหมดดูจะมีสภาพที่ พร้อมใช้งานตามจุดมุ่งหมายของมันในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนหลังการก่อสร้างเสร็จสิ้นเท่านั้น นี่ไม่รวมการก่อสร้างจำนวนมากที่ “สักแต่ว่าทำ สักแต่ว่าสร้าง” ที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วแทบไม่สามารถใช้งานสำหรับคนทั้งมวลได้

ไม่ ต้องสังเกตไปไกลแค่ลองดูบรรดาทางเท้าที่มีทางลาดและอิฐปูพื้นที่เหมาะแก่การ ใช้ชีวิตของคนทั้งมวลแล้วจะพบว่าในเวลาไม่นานหลังสร้างเสร็จไม่เพียงแต่จะมี ผู้คนนำสิ่งของต่างๆ ไปวางกีดขวางทางเดิน หากแต่ในบางครั้งยังมีการก่อสร้างที่นอกจากทำการกีดขวางเวลาดำเนินการแล้ว เมื่อเสร็จสิ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นจำนวนหนึ่งกีดขวางการเดินใช้ชีวีตของคน ทั้งมวลด้วย ในทางเดียวกับสัญญาณไฟข้ามถนนที่ “อินเทรน” สร้างกันอย่างมากมาย แต่แล้วไม่นานก็ต้องพบกับสภาพชำรุดอย่างไม่มีการซ่อมแซม นี่ยังไม่นับรวมบรรดารถยนต์ที่ไม่จอดให้คนเดินข้ามในห้วงเวลาที่สัญญาณยัง ไม่ชำรุด หรือแม้แต่ทางลาดขึ้นอาคารที่พอสร้างเสร็จก็มีสิ่งของกีดขวางไม่สะดวกแก่การ ใช้

การก่อสร้างและปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อความหวังแก่คนทั้งมวลส่วน ใหญ่ที่ดำเนินกันอยู่ในสังคมไทยเวลานี้นอกจากจะทำให้เห็นการ “สักแต่ว่าทำ สักแต่ว่าสร้าง” ดังที่กล่าวมา หรือการมีปัญหาด้านการบริหารจัดการดังที่งานสำรวจและศึกษาจำนวนหนึ่งได้ชี้ ให้เห็นแล้ว ในอีกมุมหนึ่งดูจะฉายให้เห็นภาพในระดับของทัศนคติ ความคิด และสำนึกของสังคมหรือคนจำนวนมากในสังคมที่ยังมิได้ปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับ การใช้ชีวิตร่วมกับ “กลุ่มคนอื่น” อย่างเท่าเทียม

สำหรับผู้เขียน แล้วทัศนคติ ความคิดและสำนึกของสังคมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ไม่แพ้กฎเกณฑ์ กฎหมาย หรือการบริหารจัดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล เพราะอย่าลืมนะครับว่าในการปฏิบัติหรือการรับเอาแบบแผนอย่างใดอย่างหนึ่งไป ใช้มันต้องผ่านตัว “มนุษย์” แทบทั้งสิ้น และในเมื่อคนที่นำไปใช้หรือเกี่ยวข้องยังมีความคิดหรือสำนึกที่ “ไม่เปิด” หรือ “เอื้อ” ต่อการใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนอื่นแล้วก็ยากที่ความมุ่งหวังซึ่งถูกใส่ไว้ใน กฎเกณฑ์ โครงการ และแผนงานต่างๆ จะสามารถบรรลุผลได้อย่างเต็มที่ตรงกับเป้าประสงค์ที่วางไว้

มีงาน ศึกษาจำนวนหนึ่งพยายามเสนอว่าการปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือทัศนคติเป็นสิ่งที่ทำ ได้ไม่ยาก โดยมีเครื่องมือสำคัญอยู่ที่การจัดอบรมหรือทำ Work Shop ให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้เกี่ยวกับสามารถบริหารจัดการและดูแลพื้นที่ที่ออก แบบสำหรับคนทั้งมวล

สำหรับผู้เขียนแล้วคิดว่าวิธีดำเนินงานดังกล่าว แม้วิธีดำเนินการดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญอยู่บ้าง หากแต่อย่าลืมนะครับว่าการปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติหรือสำนึกของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในเวลาเพียงชั่ว ข้ามคืนหรือการอบรมสัมมนาไม่กี่ครั้ง เพราะทัศนคติและสำนึกต่อเรื่องต่างๆ ของมนุษย์ได้ถูกปลูกฝังและบ่มเพาะผ่านปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมา ตั้งแต่เด็ก ในแง่นี้การที่จะปรับเปลี่ยนความคิดของสังคมหรือกลุ่มคนจึงควรที่จะต้องใช้ วิธีการที่ค่อยๆ ทำให้เกิดความตระหนัก ระลึกหรือเข้าใจการดำรงอยู่ของคนอื่นในสังคมด้วย นอกจากนี้กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลดูจะมิได้มีแต่ เพียงผู้ปฏิบัติการหรือบริหารจัดการเท่านั้น หากแต่รวมไปถึงกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมด้วย หากกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ตระหนักถึงการดำรงอยู่และชัวิตของ “คนอื่น” ตัวอย่างเช่น ของคนขับรถที่ไม่ตระหนักถึงการดำรงอยู่ของคนข้ามถนนหรือคนเดินเท้า ก็ยากที่จะบรรลุผลของการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลได้

ในส่วนของวิธีการ ที่จะเซาะปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติและสำนึกของสังคม ผู้เขียนดูจะยังไม่สามารถหาคำตอบได้ในบทความชิ้นนี้ หากแต่คิดว่าควรเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการผ่านหลายส่วนของสังคม ตั้งแต่การสื่อสารมวลชน การศึกษา และภาพเสนอต่างๆ ที่จะทำให้ระลึกว่า “นอกจากฉันและยังมีเธออยู่อีกหลายคน”

 

 

.................................................

ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ คอลัมน์มุมมองบ้านสามย่าน หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2554

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net