Skip to main content
sharethis

ตามที่ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อ่านบทกวี \เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้งฯ\" ผิดไปจากต้นฉบับหลายท่อน และจำคนแต่งผิดจาก \"นเรศ นโรปกรณ์\" กลายเป็นรัชกาลที่ 6 นั้น ล่าสุดเจ้าตัวชี้แจงรู้ที่มาของกลอนแล้ว เผยเคยเห็นกลอนดังกล่าวแปะข้างฝาสมัยเรียนเตรียมทหาร ยันนำมากล่าวเพื่อสื่อสารว่าการทำหน้าที่ทหารไม่มีเจตนาอื่นใด นอกจากเพื่อชาติและประชาชน ตามที่ มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบกอ่านบทกวีรูปแบบกาพย์ยานี 11 \"เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้งฯ\" ระหว่างการแถลงข่าวโดยระบุว่าเป็นพระราชนิพนธ์ ร.6 แต่มติชนออนไลน์รายงานว่าแท้จริงบทกวีดังกล่าวเป็นบทกวีของ \"นเรศ นโรปกรณ์\" ซึ่งแต่งในปี พ.ศ. 2495 และ พ.อ.สรรเสริญ อ่านผิดไปจากต้นฉบับหลายท่อนนั้น (อ่านข่าวย้อนหลัง) ล่าสุดวันนี้ (18 มิ.ย.) มติชนออนไลน์ เผยแพร่คำชี้แจงของ พ.อ.สรรเสริญ ซึ่งระบุว่า ตอนที่กล่าวถึงบทกลอนในครั้งแรกนั้น ตนไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ประพันธ์ จึงกล่าวว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 หรือเปล่า คาดว่าคงสื่อสารผิดพลาดจึงออกมาเป็นเช่นที่เป็นข่าว แต่ต่อมามีผู้ชี้แจงให้ตนทราบแล้วว่าบทกลอนดังกล่าวเป็นผลงานของใคร และมีที่มาอย่างไร พ.อ.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า สำหรับบทกลอนที่นำมากล่าวถึงนั้น ตนเห็นมาตั้งแต่สมัยยังเรียนอยู่โรงเรียนเตรียมทหาร โดยบทกลอนนั้นแปะอยู่ข้างฝา ซึ่งการนำมากล่าวก็เพื่อสื่อว่าการทำหน้าที่ของทหารไม่ได้มีเจตนาอื่นใด เพียงแต่ทำเพื่อชาติและประชาชนเท่านั้น"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net