Skip to main content
sharethis

กลุ่มอาสาสมัครร่วมเดินขบวนรณรงค์ ชูป้ายให้ความรู้ “ผู้ลี้ภัยคือใคร” กลางสยามฯ เนื่องในโอกาสวันผู้ลี้ภัยสากล 54 และวาระครบรอบ 60 ปี อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยปี 2494 ขณะสภาความมั่นคงแห่งชาติเผยแผนปิดพื้นที่พักพิงทั้ง 9 แห่ง ส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศ 20 มิ.ย.54 – เนื่องในโอกาส “20 มิถุนายน วันผู้ลี้ภัยสากล” ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า ประเทศไทย (AIPMC) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และกลุ่มเพื่อนพม่า จัดงานเดินขบวนรณรงค์เพื่อคุ้มครองผู้ลี้ภัย เพื่อกระตุ้นการรับรู้ของสังคมไทยถึงการมีอยู่ของผู้ลี้ภัยในประเทศไทย พร้อมกับนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยโดยทั่วไป และในประเทศไทย เช่น จำนวน สาเหตุหรือที่มาของผู้ลี้ภัย และนโยบายรัฐไทยที่มีต่อผู้ลี้ภัย กฎหมายระหว่างประเทศ และหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ลี้ภัย ให้แก่ประชาชนไทย ถ่ายรูปร่วมกันที่ทางเชื่อมรถไฟฟ้า หน้าอาคารหอศิลป์ กทม. \ผู้ลี้ภัย\" คือคนเหมือนเรา ต้องการบ้านเหมือนเรา และพวกเขามีศักดิ์ศรีเท่าเรา ขบวนอาสาสมัครไทย-ต่างชาติร่วมเดินรณรงค์ ชูป้ายให้ความรู้ “ผู้ลี้ภัยคือใคร” ละครเพื่อผู้ลี้ภัย โดย กลุ่มละครใบไม้ไหว กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา ให้ความสนใจกับแบบสอบถามและเอกสารความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย กิจกรรมเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายของวัน โดยกลุ่มอาสาสมัครประมาณ 20 คน ร่วมเดินขบวนรณรงค์ ด้วยการชูป้าย แจกแบบสอบถามและเอกสารความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยแก่ประชาชนทั่วไปที่สัญจรไปมาบริเวณสยามสแควร์ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรม ประกอบด้วย นิทรรศการภาพถ่ายข้อมูลผู้ลี้ภัยในประเทศไทย และละครเพื่อผู้ลี้ภัย โดย กลุ่มละครใบไม้ไหว ซึ่งเปิดการแสดง 3 รอบ คือ ที่ลานอเนกประสงค์ระหว่างคณะเศรษฐศาสตร์และโรงอาหาร ลานอเนกประสงค์หน้าอาคารซีพี สีสม และลานด้านหน้าอาคารหอศิลป์ กทม. นอกจากนั้นยังมีการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องไปถึงงานเสวนาวิชาการเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย เรื่อง “ผู้คนในความขัดแย้ง การแสวงหาที่ปลอดภัย และการบังคับโยกย้ายถิ่น : บทบาทของรัฐไทยและกลไกของอาเซียน” เนื่องในโอกาสวันผู้ลี้ภัยสากลประจำปี 2554 และ วาระครบรอบ 60 ปี อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยปี 2494 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 29 มิถุนายน 2554 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้องประชุมสารนิเทศน์ ชั้น 2 โดยในวันดังกล่าวจะมีการนำเสนอ ผลการศึกษา เรื่อง “การนำเสนอภาพผู้ลี้ภัยโดยสื่อมวลชนไทย ระหว่าง 1 เมษายน 2553-31 มีนาคม 2554” และเสวนาเรื่อง “จากโรฮิงยาถึงอาเซียน: อาเซียนจะแก้ปัญหาผู้หนีภัยความตายและการบังคับโยกย้ายถิ่นในเงื่อนไขการย้ายถิ่นใหม่อย่างไร?” ด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลจาก มูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานบุคคล ระบุว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยที่ลงทะเบียนแล้วเกือบ 102

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net