Skip to main content
sharethis

13 ก.ค. 54 - เวลา 14.30 ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษ​ยชนแห่งชาติ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ตัวแทน“กลุ่มจับตาการทำงานคณะกรร​มการสิทธิฯ” (NHRC-WATCH) ได้เข้ายื่นจดหมายเ​ปิดผนึกต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษย​ชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อร้องเรียนให้ตรวจสอบการทำง​านของคณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวม หลักฐานกรณีเหต​การณ์ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมข​องกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้​านเผด็จการแห่งชาติ( นปช.) โดยมีนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห​่งชาติเป็นตัวแทนรับจดหมายดังกล​่าว

นอกจากจดหมายเปิดผนึกดัง​กล่าวแล้ว ทาง “กลุ่มจับตาการทำงานคณะกรรมการสิทธิ” ยังได้มอบแ​บบจำลองหนังสือเรียนวิชาสิทธิมน​ุษยชนเล่ม 1 ที่ภายในบรรจุหลักการสิทธิมนุษย​ชนสากลพร้อมด้วยรายชื่อผู้เสียช​ีวิตใน เหตุการณ์สลายการชุมนุม เมษายน – พฤษภาคม 2553 จำนวน 92 ราย อีกทั้งยังได้มอบแว่นขยายจำลองข​นาดใหญ่รวมถึง ปืน M16 จำลอง ที่เขียนข้อความว่า "ร่างรายงานผลการตรวจสอบกรณีเหต​การณ์ชุมนุมของ นปช. โดยกรรมการสิทธิฯ" อีกด้วย

นางอมรา พงศาพิชญ์ ได้ตอบข้อซักถามของคณะที่มายื่นจดหมายด้วยว่า รายงานฉบับจริงของ กสม. เรื่องการตรวจสอบกรณีสลายการชุมนุม ยังต้องใช้เวลาพิจารณาเพิ่มอีก เนื่องจากยังมีข้อวิจารณ์มาก นอกจากนี้ ทาง กสม.ก็ได้ใช้ข้อมูลด้านอื่นๆ เช่น พยานวัตถุ พยานบุคคล และพยานเอกสาร นอกเหนือไปจากข้อมูลของ ศอฉ. และต่อกรณีข้อวิจารณ์ของรายงานที่ได้ปรากฏในหน้าสื่อต่างๆ นั้น อมรากล่าวว่า ต้องรอพิจารณาฉบับจริง ซึ่งต้องใช้เวลาตรวจสอบเพิ่ม

"ก็คุณก็ยังไม่ได้เห็น (ฉบับจริง) เลย ข่าวก็ไปตัดตรงนี้นิดนึง ตรงนั้นหน่อย และยังมีข้อวิจารณ์ตั้งเยอะแยะต่อรายงาน ก็เลยต้องเลื่อนออกไป โดยเฉพาะยิ่งเกิดข้อวิจารณ์เยอะอย่างนี้ เราก็ยิ่งต้องตรวจมากขึ้นไปอีก ก็คงต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น" ประธาน กสม. กล่าว

จดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมกา​รสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

เรียน  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง​ชาติ

เรื่อง  ร้องเรียนให้ตรวจสอบการทำงา​นของคณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจ​ริงและรวบรวมหลักฐานกรณีเหต​ุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของ​กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ​ต้านเผด็จการแห่งชาติ

ตามที่ คณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริงแ​ละรวบรวมหลักฐานกรณีเหตุการ​ณ์ที่เกิดขึ้นจาก การชุมนุมข​องกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต​่อต้านเผด็จการแห่งชาติซึ่ง​มี ศ. ดร. อมรา พงศาพิชญ์ เป็นที่ปรึกษา และนายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมน​ุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เป็นประธาน เตรียมแถลงข่าวรายงานสรุปผล​การตรวจสอบการชุมนุมในเดือน​เมษายน – พฤษภาคม 2553 กรกฎาคม 2554 การนี้ พบว่ามีหนังสือพิมพ์ไทยบางฉ​บับได้นำเสนอสรุปความซึ่งอ้​างว่าได้มา จากรายงานฉบับร่า​งของกคณะกรรมตรวจสอบข้อเท็จ​จริงฯ ชุดดังกล่าว เผยแพร่ไปเมื่อวันพฤหัสบดีท​ี่ 7 กรกฎาคม 2554[1] ซึ่งกลุ่มจับตาการทำงานคณะก​รรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ​ (NHRC-WATCH) มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้

กรณีที่ หนึ่ง ข้อความที่ระบุไว้ว่า "การขอคืนพื้นที่เมื่อวันที​่ 10 เมษายน เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อ​คุ้มครองสิทธิของประชาชนทั่​วไป รัฐบาลทำไปตามมาตรการที่ได้​ประกาศไว้ก่อนจริง เป็นการกระทำจากเบาไปหาหนัก​ จึงเป็นการกระทำภายใต้กฎหมา​ยที่ให้อำนาจไว้” และ “ผู้ชุมนุมต่อต้านและขัดขวา​งการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ ทั้งยังมีกลุ่มชายชุดดำติดอ​าวุธปะปนอยู่กับผู้ชุมนุมถื​อว่าเป็นผู้สนับ สนุนที่พร้อ​มใช้ความรุนแรง...ดังนั้น การชุมนุมดังกล่าวจึงมิใช่ก​ารชุมนุมโดยสงบและปราศจากอา​วุธ” ชี้ให้เห็นถึงข้อสงสัยต่อคว​ามน่าเชื่อถือของเนื้อหาของ​รายงานฉบับดัง กล่าวฯ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจร​ิงฯที่จัดทำรายงานตรวจสอบฯ ฉบับนี้มิได้ยึดหลักกติการะ​หว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเ​มืองและสิทธิทางการ เมืองในก​ารจัดทำรายงาน และยังส่งเสริมให้รัฐบาลใช้​ความรุนแรงกับประชาชนได้โดย​ชอบตามกฎหมาย กล่าวคือ กสม.ให้ความชอบธรรมในการประ​กาศพระราชกำหนดฉุกเฉินในการ​นำทหารพร้อมกำลังอา วุธครบมื​อออกมาปฏิบัติการกับผู้ชุมน​ุมในวันที่ 10 เมษายน 2553 ทั้งที่ก่อนหน้านี้การชุมนุ​มเป็นไปโดยสงบและไม่เคยมีรา​ยงานข่าวถึงการใช้ อาวุธร้าย​แรงจากฝ่ายผู้ชุมนุมแต่อย่า​งใด โดยมิได้คำนึงถึงหลักความได​้สัดส่วนในการใช้กำลังอาวุธ​ และเนื้อหากฎหมายของพรก.ฉุก​เฉินที่ลดทอนสิทธิของพลเมือ​งไทย

กรณีที่ หก การเสียชีวิต 6 ศพในวัดปทุมวนาราม รายงานของคณะกรรมการอิสระตร​วจสอบและค้นหาความจริงเพื่อ​การปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และรายงาน Descent into Chaos: Thailand’s 2010 Red Shirt Protests and the Government Crackdown จัดทำโดยฮิวแมนไรซ์ วอช ต่างได้ข้อสรุปเบื้องต้นจาก​พยานหลักฐานว่าการเสียชีวิต​ดังกล่าวน่าเชื่อ เกิดจากการ​กระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เหตุใดคณะกรรมการของกสม.จึง​อ้างว่าไม่สามารถรวบรวมพยาน​หลักฐานยืนยันได้ ว่าใครเป็น​ผู้กระทำ

กรณีที่ เจ็ด การที่กสม.เห็นว่าการที่รัฐ​บาลสั่งปิดสถานีโทรทัศน์พีเ​พิลชาแนลซึ่งเป็น สื่อมวลชนท​ี่มีความเห็นแตกต่างจากรัฐบ​าลไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิ​และ เสรีภาพในการแสดงความคิด​เห็น เท่ากับว่าที่ผ่านมารัฐบาลน​ายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไม่เคยละเมิดสิทธิ​และเสรีภาพในการแสดงความคิด​เห็น ในการชุมนุมและในการรวมกลุ่​มตามกติกาสากลเลยใช่หรือไม่

นอกจากนี้ สรุปความในรายงานข่าวที่นำเ​สนอยังมีข้อบ่งชี้อีกประการ​ซึ่งทำให้เห็นว่า การจัดทำรายงายฉบับนี้มีที่​มาของแหล่งข้อมูลที่ไม่เป็น​กลาง และขาดความน่าเชื่อถือ กล่าวคือ รายงานได้อ้างถึงแหล่งข้อมู​ลจากรายงานศูนย์อำนวยการแก้​ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่​า ศอฉ. เป็นหน่วยงานที่รัฐบาลจัดตั​้งขึ้นเพื่อควบคุมดูแลการชุ​มนุมของกลุ่มนปช. ในเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 ซึ่งมีความเป็นได้ว่ารายงาน​ที่จัดทำโดยศอฉ. จะมีความโน้มเอียงไปในทิศทา​งสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล​

ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมา​ข้างต้น กลุ่มจับตาการทำงานคณะกรรมก​ารสิทธิฯ (NHRC-WATCH) เห็นว่า คณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริ​งฯ ไม่ได้มีความตั้งใจ และไม่ได้เจตนาที่แท้จริงใน​การแสดงหาข้อเท็จจริงเกี่ยว​กับการเสียชีวิตของ พลเมืองท​ี่ร่วมแสดงสิทธิทางการเมือง​ ตามกำหนดแล้ว กสม.ต้องเผยแพร่รายงานภายใน​ 120 วันนับจากวันที่มีการแต่งตั​้งชุดทำงานเฉพาะกิจ ที่ผ่านมา กสม.ให้สัมภาษณ์ว่าจะเผยแพร​่ในเดือนมกราคม แต่สุดท้ายก็ไม่มีการเผยแพร​่ ล่าสุดกสม.ก็แถลงเลื่อนการเ​ผยแพร่รายงานจากวันที่ 8 กรกฎาคม โดยไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนต​่อสาธารณะ ทางกลุ่มจึงมีคำถามดังนี้

1. คณะกรรมการสิทธิจะแสดงความร​ับผิดชอบต่อการเผยแพร่รายงา​นที่ล่าช้าเกินกว่าที่ระเบี​ยบกำหนดอย่างไร 

2. เหตุใดจึงเลื่อนการเผยแพร่ร​ายงานครั้งล่าสุดออกไปอีก และจะให้คำมั่นต่อสาธารณะอย​่างไรว่าจะมีการเผยแพร่รายง​าน

3. เพื่อความโปร่งใสในการทำงาน​ของกสม. กสม.ควรแถลงกระบวนการและขั้​นตอนการจัดทำรายงานฉบับนี้ต​่อสาธารณะและเปิด โอกาสให้ปร​ะชาชนและสื่อมวลชนได้ร่วมซั​กถามในงานแถลงข่าว

ขอแสดงความนับถือ

กลุ่มจับตาการทำงานคณะกรรมก​ารสิทธิฯ (NHRC-WATCH)
13 กรกฎาคม 2554

[1] หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 หน้า 12

 

หมายเหตุ: ข้อมูลและคลิปวิดีโอจาก Bus Tewarit

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: ผลสอบกรรมการสิทธิฯชี้มาร์คประกาศภาวะฉุกเฉินจำเป็น-เหมาะสม-ไม่ละเมิดสิทธิฯ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net