Skip to main content
sharethis

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการอภิปรายหัวข้อ เวที “ประสบการณ์ประชาธิปไตยของชาวบ้านเชียงใหม่” โดยมีการนำเสนอบทความจากงานวิจัย “พัฒนาการจิตสำนึกและขบวนการทางการเมืองของชาวเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่” โดยคณะผู้วิจัยซึ่งเป็นอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษย วิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, ดร.อรัญญา ศิริผล, นพพล อาชามาส และสืบสกุล กิจนุกร และผู้วิจารณ์ ประกอบด้วย ศ.ทามาดะ โยชิฟูมิ มหาวิทยาลัยเกียวโต, รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ โดยผู้อภิปรายคนแรกคือ ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสนอว่าขบวนการคนเสื้อแดง มีลักษณะที่ต่างไปจากขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมก่อนหน้านี้ทั้ง สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (กทส.) และสมัชชาคนจน ในแง่ที่คนเสื้อแดงมีลักษณะของสมาชิกในขบวนการที่ “ข้ามชนชั้น” มีอัตลักษณ์ร่วมกันคือ “ความเป็นแดง/ความเป็นไพร่” ปิ่นแก้วอภิปรายด้วยว่า การอธิบายการรวมตัวของคนเสื้อแดงแบบสำนักคิดเศรษฐกิจกำหนด จะไม่ช่วยให้เข้าใจว่า ความคิดทางการเมืองของชาวบ้านเปลี่ยนไปอย่างไร ขณะที่อุดมการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดง ก็มีการเปลี่ยนผ่าน คือไม่ได้เริ่มจากฐานความคิด หรือความเชื่อเดียวกัน ในตอนแรกอาจเสนอให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่อุดมการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดงก็เปลี่ยนผ่าน หรือในศัพท์ที่คนเสื้อแดงใช้ว่า “ตาสว่าง” ก็เกิดหลายระลอก โดยการอภิปรายของปิ่นแก้ว มีรายละเอียดดังต่อนี้ ส่วนเนื้อหาจากการประชุมทั้งหมด “ประชาไท” จะทยอยนำเสนอต่อไป (หมายเหตุ: 1. ถอดเทปและขัดเกลาเพิ่มเติมจาก รายงานที่ตีพิมพ์โดยสำนักข่าวประชาธรรม วันที่ 5 ก.ย. 54 2. ข้อความในวงเล็บ เป็นการอธิบายเพิ่มเติมโดยประชาไท) วิดีโอคลิปการอภิปรายของปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เมื่อ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ในการประชุม \ประสบการณ์ประชาธิปไตยของชาวบ้านเชียงใหม่\" ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มีทั้งหมด 2 ตอน) ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี \"งานวิจัยยังพบอีกว่า สิ่งที่เรียกว่า อุดมการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดงนั้น มีการเปลี่ยนผ่าน คือมันไม่ได้เริ่มจากฐานความคิด หรือความเชื่อเดียวกันในตอนแรก ในตอนแรกเขาอาจจะคิดง่ายๆ ว่า เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่อุดมการณ์ทางการเมืองมันเปลี่ยนผ่านอย่างน้อย 2 ระลอก คือก่อนและหลังเดือนพฤษภาคม (2553) จริงๆ เปลี่ยนผ่านหลายระลอก ในศัพท์ที่คนเสื้อแดงเรียกว่า “ตาสว่าง” เกิดหลายระลอก แต่ว่าจุดที่เป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่มีผลอย่างยิ่งต่อวิธีคิดของคนเสื้อแดงในการมองความสัมพันธ์ของตนเอง กับสถาบันต่างๆ ในสังคมไทย รวมทั้งสถาบันสูงสุด ดิฉันคิดว่าเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 เป็นเงื่อนไขที่สำคัญ\" ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net