Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

อีกครั้งที่ประเด็นทางการเมืองกลับสะท้อนอย่างอื่นออกมาให้แจ้งคาตา แล้วบอกว่ามันอาจไม่ใช่ปัญหาการเมืองในความหมายที่พวกผู้ใหญ่เชยๆมักกล่าวเตือนในความสกปรกของมัน จนเด็กดีๆ อย่างเราควรไปสนใจทำอย่างอื่นเสียดีกว่า ซึ่งข้าพเจ้าก็เชื่อฟังมาจนทุกวันนี้ ยิ่งนานวันก็ยิ่งพบว่าสิ่งนั้นมิได้ทั้งสกปรกหรือสะอาด ชะรอยว่ามันอาจมิใช่ปัญหาหรือปริศนาทางการเมืองเสียทีเดียวอีกตะหาก ข้อเสนอของนิติราษฎร์มิใช่การประกาศข้อโต้แย้งทางการเมืองของความคิดฟากฝั่งใด (ในความหมายที่ว่ามันมีอยู่แค่ 2 ฟากในแบบปัจจุบัน) แต่มันเป็นผลงานการออกแบบโดยนักกฎหมาย ที่productของมันคือกฎเกณฑ์ข้อตกลงทางสังคม ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตว่า เหตุหนึ่งที่มันเขย่าการถกเถียงได้อย่างอึกทึก ก็อาจเพราะตัววิธีการคิดแบบใช้ creativity นำหน้าเข้าไปทลายกฏเกณฑ์ และบางอย่างที่คล้ายกระบวนการออกแบบนั้นเอง ที่อาจเป็นสิ่งใหม่สำหรับระเบียบวิธีก่อร่างสร้างกฎของวงการกฎหมายแบบไทยๆ ที่คงจะยังมี pattern ตามจารีตบางอย่างกำหนดไว้ กฏหมายอีกนัยหนึ่งก็คือจารีตที่แข็งตัว ว่ากฎก็คือกฎ จะเปลี่ยนอะไรต้องอยู่ในกรอบของกฎเดิมที่ใหญ่กว่า, ศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่กว่า นิติศาสตร์ดูเป็นอาชีพที่น่าเบื่อ ที่เข้าไปเรียนท่องกฎหมาย และไม่เคยมีหนังไทยเรื่องไหนมีบทสนทนามันส์ๆ บนฉากการโต้กันระหว่างทนาย-อัยการ-ศาลเท่าหนังอเมริกันอย่าง JFK หรือ A few good men เป็นต้น ผู้เขียนจะลองไล่ทีละประเด็นโดยเปรียบเทียบวิธีคิดที่แสดงออกมาในข้อเสนอของนิติราษฎร์ กับกระบวนการออกแบบ เท่าที่สมองมนุษย์เคยคิดค้นวิธีการหรือจดบันทึกกันเอาไว้ โดยละเนื้อหาของข้อเสนอไว้ในฐานที่เข้าใจว่าได้อ่านและฟังกันมาแล้ว (และเข้าใจเท่าที่ประชาชนเข้าใจ ไม่ใช่อย่างนักเทคนิคทางกฏหมาย) หนึ่ง เมื่อสิ่งใดๆ เริ่มใช้การได้ไม่ดี ไม่สะดวก ไปจนถึงเป็นอันตราย มนุษย์ก็จะเริ่มออกแบบสิ่งนั้นๆ ใหม่ ไม่ว่าจะโดยผู้ออกแบบผู้มีชื่อเสียงหรือนิรนามก็ตาม อันนี้ท่านคงพอเข้าใจได้เอง ว่าการใช้การได้ของกฏหมาย หรือกระบวนการยุติธรรมไทยในช่วง 5ปีที่ผ่านมานั้น ไม่ได้ผลิตอะไรเพิ่มให้แก่สังคมนอกจากจำนวนมาตรฐานและคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นั่นหมายความว่ามันมีสิ่งผิดปกติที่สมควรเปลี่ยนแปลงหรือได้รับการออกแบบเสียใหม่ นักออกแบบอาจมองเห็นอะไรแบบนี้ในระดับการโค้งงอของแปรงสีฟันในปาก แต่เหล่าท่าน อ.นิติราษฎร์เห็นขี้ฟันที่ตกค้างอยู่ในซอกหนึ่งหรือหลายซอกของกฏหมายรัฐธรรมนูญ เนื่องเพราะรูปร่างของแปรงสีฟันและยาสีฟันที่ใช้ หรือแม้กระทั่งท่าทีและนิสัยของตัวผู้ใช้ เป็นต้น ข้อนี้มีทั้งผู้ที่ตระหนักว่ารัฐประหารนั้นเป็นขี้ฟัน ส่วนบางท่านยังคิดว่ามันเป็นทองที่เลี่ยมฟัน (ปกปิดฟันผุ ฟันหลอ) จึงมิควรต้องทำการออกแบบใดๆ เลยไม่อ่านผลงานออกแบบให้เข้าใจ เขวี้ยงแบบทิ้งแล้วปากไวด่าเลย (เสียหมาปลาหมอไปหลายท่าน) สอง ในกระบวนการออกแบบ หลังการค้นพบในข้อที่หนึ่ง สิ่งที่ทำต่อไปคือการสร้างทางเลือกหรือทำ alternative design เพราะเราอยู่ในยุคสมัยที่รู้ว่าพระเจ้าหรือกษัตริย์จะไม่ส่งนิมิตหรือคำตอบจากสวรรค์เพียงคำตอบเดียวมาสู่ศิลปินอีกต่อไปแล้ว เราก็จะร่าง sketch รูปแบบทางเลือก แล้วทำการวิเคราะห์แจกแจงข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกจนมันเหลือน้อยที่สุด จนประกอบร่างใหม่เป็นแบบที่ต้องการนำเสนอที่คิดว่าเข้าท่าที่สุด อาจกล่าวได้ว่าเราทุกคนเหมือนติดกับดักกันอยู่ในข้อที่หนึ่ง เราพูดถึงภาวะไม่น่าสบาย แล้วก็มีเพียงคำ”ปรองดอง”เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ ราวกับว่าสวดคำนี้ออกมาบ่อยๆแล้วมันจะบรรเทาทุกสิ่ง ทำให้ขี้ฟันหายไปฟันไม่ผุโดยไม่ต้องทำการแปรงฟัน ยิ่งสวดก็ยิ่งเหม็นขี้ฟัน...แล้วคนที่คิดออกว่าจะเริ่มทำอะไรก็อาจเป็นเพราะเลิกหมกมุ่นวิเคราะห์กับคำนี้ แต่สำรวจจ้องมองเรื่อง “รัฐประหาร”และสิ่งที่รายรอบมัน ข้อเสนอนิติราษฎร์เป็นเหมือนการทำ alternative design sketch ที่ยังมิได้ทำการผลิตออกมาเป็น product (และก็เสนอกระบวนการเพื่อที่จะผลิตมันออกมาในขั้นต่อไป) เขาออกมาเสนอแนวความคิดหลักแต่สังคมคุณพ่อรู้ดีก็รีบตอบรับความแหลมคมทางความคิดด้วยการทิ่มมันกลับไปหาคนคิด หรือวิธีการเก่าๆที่ว่าแค่เพียงความคิดก็เป็นภัยต่อความมั่นคง (ทางใจ) บางอย่างไปต่างๆนานาเสียแล้ว เช่น เสนอมาแล้วสังคมจะแตกแยก, ทักษิณกำลังจะคืนชีพ, อ. ฉลาดๆ อย่าง อ.วรเจตน์จะได้เป็น สสร. (มันน่ากลัวตรงไหน(ฟระ)?) สาม การพบว่าโจทย์ในการออกแบบนั่นแหละคือปัญหา และกฏที่มีอยู่ต่างหากที่เป็นอุปสรรค แล้วนำไปสู่แนวความคิดหลักในการออกแบบหรือข้อเสนอของเขา อาการ panic ดังกล่าวยืนยันว่าเรามีปัญหาในข้อที่หนึ่ง ซึ่งมันคือตัวโจทย์เองกำลังบอกเราว่า...เรามีปัญหาใหญ่หลวงให้แก้ แต่ห้ามคิดหรือทำอะไรใหม่ๆ (ที่ไปแตะ 1 2 3 4....) มาร่วมแก้โจทย์กันเถิด?.... หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการตั้งโจทย์ลักษณะนี้ขึ้นมานี่แหละที่ทำให้การแก้ปัญหานั้นๆ เป็นไปไม่ได้ และนั่นก็หมายความว่าต้องทลายโจทย์แบบนี้ทิ้งเสียก่อน! ... นิติราษฎร์เลือกเสนอ alternative ที่ทลายกฎเดิม (ที่เป็นกฏหมายจริงๆ! ) หรือที่จริงแล้วมันลวง เพราะมันคือกฎหมายที่อุปโลกน์ตัวเอง ประกาศว่าตัวฉันเองคือกฎหมายจริงนะ เสนอลบทิ้งกฎหมายลวง(ประกาศนิรโทษกรรมตัวเองคณะปฏิวัติ) ที่ล็อคกฎหมายตัวที่ลวงต่อๆ กันมาทิ้งเสียก่อน (บนการมีฐานคิดที่ว่ารัฐประหารเป็นตัวปัญหา ไม่ใช่แก้ปัญหาเสียก่อน แล้วไล่ตรรกะเชื่อมโยงกันมา) มันทลายกฎเดิมและขยายจินตนาการความเป็นไปได้ออกไปได้อย่างไร?...อ่านรายละเอียดแถลงการณ์ ในประเด็นเช่น ความไม่เป็นรัฐาธิปัตย์ของรัฐประหารนั้น หลายคนไม่อาจทลายความคิดนี้ด้วยเหตุที่รู้ว่าใครสนับสนุนรัฐประหาร ไม่ใช่เพราะไม่เชื่อว่าอำนาจประชาชนนั้นสูงสุด (เหตุผลแบบนี้อาจเป็นคุณสมบัติแปลกๆ แต่ดำรงอยู่จริงและมีความงามอย่างไทย!), ประเด็นที่ว่าโดย logic ของข้อเสนอนี้เองควรปรับใช้กลับไปเยียวยาผลกระทบของรัฐประหารที่ผ่านมาทุกครั้ง เช่น กรณี 6ตุลา ที่คนผู้ยังไม่เคยได้รับการเยียวยาพูดกันอยู่เงียบๆ อย่างสิ้นหวังมาตลอด 35 ปี ว่าคดีหมดอายุความ และได้รับ (แผลเป็น) นิรโทษกรรมกันไปหมดแล้ว เป็นต้น สี่ แกเป็นใครจึงมาเสนอแบบร่างในการออกแบบ? ต้องมีผู้ว่าจ้างแกมาแน่ๆ ผู้เขียนไม่มีความรู้ทางกฎหมายแต่จับใจความได้ว่า วงการนิติศาสตร์ไทยไม่ต้อนรับ \การคิดค้น\" หรือข้อเสนอแก้ไขกฎหมายใดๆ ที่ไม่ได้มาตามลำดับขั้นตอน เช่น ความคิดสร้างสรรค์ทางกฎหมายนั้นอาจจะควรไหลมาจากทิศทางมาตรฐาน เช่นองค์กรสมาคมทนายความที่มีอยู่

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net