สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์พกพา กับความสำคัญในระบบการศึกษาอังกฤษ

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต่างรบเร้าให้โรงเรียนในอังกฤษเลิกแบนเครื่องมือสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟน แทบเล็ทหรือคอมพิวเตอร์พกพาอื่นๆ เพราะมีผลวิจัยว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยพัฒนาการศึกษาของเด็ก แต่บางส่วนก็กลัวว่าอาจทำให้เด็กนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ทางรัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยมของอังกฤษก็ยังรีรอออกนโยบาย จนมีคนกลัวว่าอังกฤษจะล้าหลังตามไม่ทันฝรั่งเศสและอินเดีย 30 ต.ค. 2554 - ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกล่าวในรายงานข่าวของสำนักข่าวเดอะ การ์เดียน ของอังกฤษว่า นักเรียนทั้งหมดจะสามารถพัฒนาศักยภาพได้อย่างมากหากมีการนำสมาร์ทโฟนมาใช้ในห้องเรียน แต่ขณะเดียวกันอังกฤษที่มีทีท่าว่าจะตามหลังประเทศอื่นเนื่องจากรัฐบาลอังกฤษไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าในหลายพื้นที่นักเรียนส่วนใหญ่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนใช้ แต่ทางโรงเรียนสั่งห้ามเครื่องมือชนิดนี้และทางสมาคมครูใหญ่ของประเทศอังกฤษก็บอกว่าสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กขาดวินัยและหันเหความสนใจจากการเรียน ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โรงเรียนลองฟิลด์ ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในเคนท์ เป็นแห่งแรกในประเทศอังกฤษที่มีการนำแอปเปิ้ลไอแพดแทบเล็ทมาให้กับนักเรียยนทั้งหมด 1,400 ได้ใช้ ทางโรงเรียนบอกว่าไอแพดจะช่วยส่งเสริมด้านการเรียนรู้กับนักเรียน โรงเรียนฮอนนีวูดในคอกเกสชาลยังได้จัดหาไอแพดสำหรับนักเรียน 1,200 คน บางโรงเรียนเช่นโรงเรียนโอลด์เดอร์ชอว์ก็ได้สร้างโปรแกรมขึ้นมาเองเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถใช้โทรศัพท์มือถือตรวจสอบว่าเด็กๆ ได้รับการบ้านอะไรมาบ้าง ไมล์ เบอร์รี่ อาจารย์สอนด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโรแฮมตันกล่าวว่า โรงเรียนต่างๆ ต้องการ จับข้อมูลการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการจำนวนมากที่เกิดนอกห้องเรียน \ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของโลก ผ่านทางเครื่องมือพกพาถือเป็นการพลิกโฉมการเรียนรู้และจะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากแก่เด็กในโรงเรียนตั้งแต่ระดับสูงกว่าประถมศึกษาขึ้นไป\" ไมล์กล่าว \"เป็นเรื่องผิดที่จะปฏิเสธสิ่งนี้กับเด็กในห้องเรียน เนื่องจากเด็กจำนวนมากมีโอกาสในการเรียนรู้นอกห้องเรียนมาก่อนอยู่แล้ว\" ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเปิดเผยว่า สมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและใช้โปรแกรมเสริมต่างๆ ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถเพิ่มศักยภาพให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ไมล์กล่าวว่า เด็กนักเรียนมี \"ความกระตือรือร้นสูง\" ในการใช้สมาร์ทโฟน แต่ก็มีบางโรงเรียนที่รู้สึกว่าพวกเขาต้องการควบคุมการศึกษาของเด็กๆ และการใช้เครื่องมือเหล่านี้จะทำให้การควบคุมของพวกเขาสูญเสียไป ผู้เชี่ยวชาญรายอื่นๆกลัวว่าอังกฤษจะล้าหลังประเทศคู่แข่ง เช่นอินเดียและฝรั่งเศส เว้นแต่เด็กๆ จะสามารถใช้สมาร์ทโฟนหรือเครื่องมือสื่อสารที่ใกล้เคัยงกันได้ แต่พวกเขาก็ยอมรับว่าโรงเรียนควรมีมาตรการในการป้องกันไม่ให้มีการใช้เครื่องมือไปในทางที่ไม่เหมาะสม เช่นการถ่ายรูปขณะยังเรียนหนังสือในห้องเรียน เมื่อไม่นานมานี้ ไมเคิล โกฟ รัฐมนตรีศึกษาธิการของอังกฤษยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในการศึกษานั้น กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ไมเคิลกล่าวในการปราศรัยว่า เทคโนโลยีมีพลังในการเปลี่ยนรูปแบบของความแม่นตรงและอำนาจในการวัดผล มีความสามารถในการสร้างฐานข้อมูลได้มากขึ้น เพื่อที่จะทราบว่าโรงเรียนของพวกเรา ครูอาจารย์ของพวกเรา และระบบทั้งหมดของเราทำงานเป็นอย่างไร แต่ทางรัฐบาลอังกฤษก็ยังไม่ได้ประกาศแผนนโบบายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน ในงานแลกเปลี่ยนนโยบายล่าสุดที่จัดโดยกลุ่มมันสมองของฝ่ายปีกขวาสรุปว่าการใช้เทคโนโลยียังไม่มีปรากฏอย่างกว้างขวาง และสร้างความหวาดกลัวให้กับบางกลุ่มที่ยังไม่มีนโยบายชัดเจนในเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้รัฐบาลอังกฤษก็ยุบหน่วยงาน Becta ที่เป็นหน่วยงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการศึกษาไป ไม่นานนักหลังจากที่เข้ามามีอำนาจ ซึ่งจากผลสำรวจของ Becta ระบุว่าในช่วงระหว่างปี 1997 ถึง 2007 พรรคแรงงานใช้งบประมาณ 5 ล้านปอนด์ (ราว 247 ล้านบาท) ในการพัฒนาเทคโนโลยีในโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า นักเรียนทุกคนจะเรียนผ่านเครื่องมือสื่อสารพกพา มีบางส่วนในแคลิฟอร์เนียได้ใช้เครื่องมือสื่อสารพกพาแทนตำราเรียนเป็นเล่มแล้ว เรย์ บากเกอร์ หัวหน้าสมาคมผู้ผลิตเครื่องมือการศึกษาของอังกฤษเปิดเผยว่าเทคโนโลยีที่เด็กนักเรียนจำนวนมากถือกันอยู่ตอนนี้มีพลังมากกว่าเครื่องมือของโรงเรียนเองเสียอีก เขายังได้ขอร้องให้โรงเรียนยกเลิกการห้ามใช้สมาร์ทโฟนอีกด้วย วาเลรี ทอมป์สัน บอกว่าอังกฤษกำลังล้าหลังส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาลยังไม่มีทิศทางแน่ชัดว่าจะให้โรงเรียนใช้เทคโนโลยีอย่างไร วาเลรีเป็นผู้อำนวยการมูลนิธิ e-Learning ซึ่งเป็นหน่วยงานการกุศลที่มุ่งเน้นการเสริมเครื่องมือให้กับเด็กที่ด้อยโอกาสทั้งในบ้านและที่โรงเรียน \"พวกเรา (อังกฤษ) เคยเป็นผู้นำด้านการใช้เทคโนโลยีในการศึกษามาก่อน แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้ว\" วาเลรีกล่าว \"รัฐบาลดูจะไม่สนใจในเรื่องนี้เลย\" วาเลรีเสนอว่า โรงเรียนควรซื้อคอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ทโฟน ให้กับนักเรียนที่ยากจน โดยใช้งบประมาณจากกองทุน pupil premium ซึ่งเป็นกองทุนอาหารกลางวันฟรีของรัฐบาล พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีรายได้พอก็ควรซื้อสมาร์ทโฟนมาให้เด็กๆ ใช้ สมาคมผู้ให้คำปรึกษาด้านการใช้คอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอน ที่มีทั้งครู นักเทคโนโลยี และผู้กำหนดนโยบาย กล่าวว่าในโรงเรียนจำนวนมาก นักเรียนส่วนใหญ่มีสมารืทโฟนใช้ และอ้างถึงงานวิจัยว่าเครื่องมือชิ้นนี้มีผลกระทบอย่างมากกับการเรียนรู้ของนักเรียน ผลการวิจัยอีกชุดหนึ่งโดย Becta ในปี 2008 พบว่าสมาร์ทโฟนช่วยให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลและสะท้อนสิ่งที่พวกเขาได้เรียนนอกห้องเรียนได้ งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งโดย Futurelab ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรม ระบุว่า สมาร์ทโฟนสามารถช่วยพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่มได้ อย่างไรก็ตาม รัสเซล ฮอบบี้ ผู้จัดการสมาคมครูใหญ่ของอังกฤษบอกว่า การเรียนรู้ที่จะจัดผ่านทางสมาร์นโฟนอาจไม่ได้น่าตื่นเต้นไปเสียทั้งหมด และน่าจะเป็นเรื่องการตัดสินใจของตัวโรงเรียนเองในการจะใช้หรือไม่ใช้นโยบายด้านการสั่งห้ามอุปกรณ์เหล่านี้ ทางรัฐบาลอังกฤษบอกว่าจะแถลงถึงแผนการณ์การใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนก่อนช่วงคริสต์มาสนี้ ด้านกระทรวงศึกษาธิการบอกว่าแม้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่สามารถทดแทนการสอนที่ดีได้แต่ทางกระทรวงก็เชื่อว่าประสิทธิภาพของมันจะช่วยเพื่มมาตรฐานการเรียนการสอนได้ \"การใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการเรียนการสอนกำลังพัฒนาไปอย่างฉับไว ดังนั้นพวกเราจึงพัฒนากลยุทธของพวกเราโดยทำงานใกล้ชิดกับอุตสาหกรรม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท