Skip to main content
sharethis

แม้งานวิจัยหลายชิ้นจะพบว่าการทำงานในส่วนที่ต่างกันของสมองมีผลต่อทัศนคติทางการเมืองว่าจะเอียงไปในทางอนุรักษ์นิยมหรือเสรีนิยม แต่นักวิจัยก็เตือนว่าผลอาจเป็นไปในทางย้อนกลับคือการมีทัศนคติทางการเมืองไปกระตุ้นการทำงานของสมอง ขณะเดียวกันก็ชี้ว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์มีผลไม่แพ้เรื่องสภาพแวดล้อม สมอง และพันธุกรรม 18 ธ.ค. 2011 - เว็บไซต์ Livescience รายงานว่า ผลสำรวจล่าสุดจากนักจิตวิทยาและนักประสาทวิทยาพบว่าปัจจัยด้านสมองมีส่วนต่อทัศนคติทางการเมืองของคนที่เป็นเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม รวมถึงการเลือกสนับสนุนพรรคการเมืองอย่างเดโมแครทและริพับลิกันในสหรัฐฯ ด้วย \จากการพิสูจน์แสดงให้เห้นแนวโน้มว่า ส่วนการทำงานของสมองมีความเกี่ยวข้องเชิงชีววิทยาต่อทัศนคติทางการเมือง\" ดาเรน ชรีเบอร์ ศาตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกล่าว ทีมนักวิจัยบอกว่า อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางการเมืองได้นอกเหนือไปจากส่วนการทำงานของสมองที่มากหรือน้อยแตกต่างกัน เช่น ปัจจัยด้านประสบการณ์ที่มีส่วนอย่างมากในการสร้างอัตลักษณ์ทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดชีวิต หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผ่านฤดูกาลเลือกตั้งเพียงครั้งเดียว ขณะเดียวกันก็มีบางคนที่มีทัศนคติทางการเมืองแบบตายตัว การแบ่งขั้วเช่นนี้อาจเป็นการเน้นย้ำถึงความแตกต่างในเชิงชีววิทยาที่มีผลต่อการมองโลก ซึ่งเหตุการณ์และประสบการณ์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ \"โดยทั่วไปแล้ว คนที่มีความคิดแบบกลางๆ จะสามารถเปลี่ยนข้างไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่งได้ แต่ผมไม่เคยเห็นฝ่ายซ้ายสุดขั้วคนไหนกลายเป็นฝ่ายขวา\" มาร์โก เอียโคโบนี ศจ. ด้านจิตเวชและชีวพฤติกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกล่าว ทัศนคติทางการเมืองเชิงปริมาณ จากผลสำรวจของ Gallup แสดงให้เห็นว่าจำนวนตัวเลขร้อยละของผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็นเสรีนิยม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net