Skip to main content
sharethis

ส่งท้ายปี ทีมประชาไท รวบรวมคมคำเด็ดๆประจำปีที่กลายเป็นวลีและประโยคฮิตทั้งในสังคมออฟไลน์และออ นไลน์ ย้อนความทรงจำที่มาที่ไป และแรงกระเพื่อมจากถ้อยคำ ซึ่งหลายคำกลายเป็นผลสะเทือนต่อคนพูดเอง ขณะที่อีกหลายถ้อยคำ ก่อให้เกิดการอภิปรายอย่างหลากหลาย แต่ที่แน่ๆ ล้วนถูกพูดขึ้นมาในจังหวะร้อนและสะท้อนความสนใจของสังคมไทยในสถานการณ์ที่ ช่วยก่อกำเนิดถ้อยคำเหล่านี้ขึ้นมา

0 0 0

สำหรับ Quotes of The year ประจำปีนี้ ประชาไทขอยกให้กับวลี/ประโยคเหล่านี้

 

“ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต พูดแล้วจะร้องไห้”

(ร่วมบันทึกวาทะแรงๆ โดย รุ้งรวี ศิริธรรมไพบูลย์)

 

ส่งท้ายปี Quotes of the Year 5: “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต” และ “...ผมรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดือนที่ เราพูดอะไรไม่ฉลาดมากไปหรือเปล่า..”
ภาพจากมติชนออนไลน์

ไม่ แน่ใจว่าวลี/ประโยค แห่งปีนี้ จะเป็น “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต พูดแล้วจะร้องไห้” หรือ “ผู้นำโง่ พวกเราจะตายกันหมด”กันแน่ เพราะประโยคเต็มๆ นั้นก็คือ

“ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้…น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว…ผู้นำโง่ เพราะพวกเราจะตายกันหมด”

ข้อ ความดังกล่าวนี้เป็นที่ฮือฮาและวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในสังคมออนไลน์และการ รายงานข่าวของสื่อมวลชน จากกรณีเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา โดยเป็นข้อความที่เกิดขึ้นจากการส่งข้อความผ่านเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่ชื่อ ว่าทวิตเตอร์ของ “หนูดี วนิษา เรซ” บุคคลผู้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยด้วยโปรไฟล์ สาวสวยผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ เจ้าของอัจฉริยะสร้างได้ จบปริญญาโทด้านวิทยาการทางสมอง จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และพรีเซ็นเตอร์ซุปไก่สกัดตราแบรนด์

เหตุที่ข้อความนี้กลายเป็นที่ ฮือฮาวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก คงไม่ใช่ด้วยตัวข้อความ สาระสำคัญ ความเป็นเหตุเป็นผล หรือความหลักแหลม อะไรทั้งสิ้น แต่มันกลับอยู่ที่องค์ประกอบ ‘รอบๆ’ ข้อความประการหนึ่งก็ด้วยเพราะตัวของผู้โพสต์ข้อความนี้เอง ที่มี ‘ภาพลักษณ์’ ความเป็นผู้หญิงฉลาดหลักแหลม ด้วยโปรไฟล์สาขาวิชาและสถาบันการศึกษาที่จบมา อีกทั้งภาพลักษณ์ในด้านบุคลิกภาพของเธอก็ยังเป็นผู้หญิงที่สวย มีบุคลิกภาพที่ดี พูดจาดี มีทัศคติที่ดี สวยงาม ต่อสังคม ไม่ปรากฏว่าในชีวิตนี้เคยว่าร้าย หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงในสื่อ หรือแม้กระทั่งเคยมีความคิดเห็นในเชิงการเมืองออกมาก่อน

ความ ‘ขัดกัน’ ของคำว่า “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต” จากผู้หญิงที่มีภาพลักษณ์ที่ “ไม่แรง” (ตลอดทั้งชีวิตที่ผ่านมา) เสริมส่งด้วยการเป็นผู้หญิงที่ได้รับการยอมรับว่าฉลาดหลักแหลม ด้วยโปรไฟล์ทางการศึกษา อีกทั้งด้วยสภาพแวดล้อมทางการเมืองในช่วงเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของผู้นำประเทศ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างหนัก ประกอบกับ การส่อนัยของข้อความดังกล่าวที่ว่า “ผู้นำโง่ พวกเราจะตายกันหมด” จึงทำให้ข้อความดังกล่าวเป็นที่นิยมชมชอบ ได้รับการเชื่อมั่นนับถือ สนับสนุน (จากคนกลุ่มหนึ่ง) แม้เธอจะออกมาอธิบายในภายหลังว่าข้อความดังกล่าวไม่ได้มีส่วนพาดพิงถึงตัว ผู้นำประเทศแต่อย่างใดก็ตาม

หากเปรียบกันง่ายๆ ให้เห็นภาพ ก็คงเปรียบเสมือน นางเอกละครน้ำเน่าหลังข่าว ที่มีภาพลักษณ์ “ผู้ดี” แสนดี ไม่เคยว่าร้าย คิดร้าย หรือทำร้ายใคร และอาจจะโดนทำร้ายจากนางอิจฉามาตลอดทั้งเรื่อง แต่ก็ไม่เคยตอบโต้ ได้แต่ก้มหน้ารับกรรม ยอมโดนทำร้ายเรื่อยมา ด้วยว่าผู้ดีนั้นคงไม่ใช้กำลังเข้าห้ำหั่นคนอื่น เพราะนั่นมันไม่ใช่วิสัยของผู้ดี แต่จู่ๆ วันหนึ่งด้วยความเหลืออดเหลือทนหรืออะไรก็มิทราบได้ นางเอกของเราก็เดินไปจิกหัวนางอิจฉามาตบ ทั้งๆ ที่วันนั้นนางอิจฉาอาจจะยืนสวยๆ อยู่ยังไม่ได้ทำอะไร แต่ด้วยความเป็นผู้ดี เป็นนางเอก คนดูก็ย่อมออกแรงเชียร์ ด้วยเพราะว่านางเอกผู้แสนดี ไม่เคยทำอะไร “แรงๆ” อย่างนี้มาก่อน คงต้องเหลืออดจริงๆ ถึงได้กระทำการที่ไม่ใช่วิสัยของผู้ดีนี้ แต่ถึงอย่างไรก็เป็นที่รับได้ และถือว่าถูกต้อง เพราะเธอเป็น “นางเอก” ของคนดู

ตบมันเลย...อย่างนั้นแหละ ตบมัน!!!

ความ โด่งดังของประโยคนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การนำมาเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองเท่านั้น แต่มันยังถูกนำไปใช้ในการ ‘เล่นมุก’ ต่างๆ ในสังคมออนไลน์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น

“ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้...กลัวขึ้นคานก็กลัว แต่กลัวที่สุด...ก็กลัวได้สามีเป็นแอบ(เกย์) นี่แหละ”

“ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตครับ พูดแล้วจะร้องไห้ … น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว ไม่มีคนเล่น google+ ด้วย”

“ขอ พูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตครับ พูดแล้วอยากร้องไห้.....น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว...คนที่มือไม่พายยังเอาปากราน้ำ เพราะ พวกเราจะตายกันหมด”

“ขอ พูดอะไรแรง ๆ สักครั้งในชีวิต พูดแล้วจะร้องไห้ วินโดวส์จะมี troubleshooter ไว้ทำค-ยอะไรในเมื่อไม่เคยช่วยแก้ปัญหาเหี้ยอะไรตูไม่ได้เลย”

ซึ่งแน่นอนว่าการเล่นคำ เล่นประโยคนี้ ซึ่งมาจากข้อความทวิตเตอร์ของหนูดี มีมาก่อนการเล่น “จนกระทั่งโดยธนูปักที่เข่า” เสียอีก

 

0 0 0 0 0 0

 

 

“...ผมรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดือนที่ เราพูดอะไรไม่ฉลาดมากไปหรือเปล่า..”

ข้อความจาก facebook ID : Sasin Chalermlarp ของศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผืนป่าตะวันตก ซึ่งโด่งดังในฐานะนักวิชาการเรื่องน้ำผู้อธิบายเรื่องยากๆ ออกมาให้ฟังเข้าใจง่าย และน่าติดตาม จาก “คลิปวิดีโอวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม” ซึ่งเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตในช่วงเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ ปี 2554 ขณะที่มวลน้ำขนาดใหญ่จ่อทะลักเข้าท่วมกรุงเทพฯ ภาวการณ์ต่างๆ ก่อให้เกิดวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อนักวิชาการด้านการจัดการน้ำ ข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งความไม่เชื่อมั่นในการบริหารจัดการปัญหาของรัฐบาล

ส่งท้ายปี Quotes of the Year 5: “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต” และ “...ผมรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดือนที่ เราพูดอะไรไม่ฉลาดมากไปหรือเปล่า..”

คลิปวิดีโอวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม โดย ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบ

การ นำเสนอข้อมูลของ “ศศิน” ทำให้นักอนุรักษ์กลายเป็นนักวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมรุ่นใหม่ที่ออกมา วิพากษ์การทำงานของรัฐบาลได้ถึงใจผู้ชม ท่ามกลางข้อมูล สถิติ การคำนวณทางวิชาการ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาที่โถมกระหน่ำไปมาในหน้าสื่อมวลชนอย่างท่วมท้น ไม่แพ้กระแสน้ำ

ส่งท้ายปี Quotes of the Year 5: “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต” และ “...ผมรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดือนที่ เราพูดอะไรไม่ฉลาดมากไปหรือเปล่า..”

ข้อความฉบับเต็มที่โพสใน เฟซบุ๊ก Sasin Chalermlarp ที่เขียนเผยแพร่เมื่อวันที่ วันที่ 16 พ.ย.54
มีคนคลิกไลค์ 2,442 others และมีคนนำไปเผยแพร่ต่ออีกกว่า 562 shares

ภาย หลังจากที่มีการโพสข้อความยอมรับความผิดพลาดในการวิเคราะห์ข้อมูลของศศิน หลังเล็งเห็นผลสำเร็จในการป้องกันน้ำรุกเข้าท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน จากที่เคยคาดการณ์ว่ากรุงเทพฯ จะไม่รอดพ้นจากการเป็นเมืองนองน้ำ ด้านหนึ่งทำให้เขาได้รับความชื่นชมในฐานะคนจริงที่กล้ายอมรับในความผิดพลาด ของตัวเอง อีกด้านหนึ่งเขาถูกมองว่าหันมายอมรับการทำงานของรัฐบาลและศูนย์ปฏิบัติการ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ในการป้องกันน้ำท่วม

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการโพสข้อความดังกล่าว นักวิเคราะห์คนดังได้เขียนชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเพิ่มเติม ดังนี้

1) ไม่ได้ยอมรับฝีมือสกัดน้ำ ศปภ. ตามที่คนโพสต์ โพสต์ ครับ ผมยอมรับว่าคนทำงานหน้างาน ซึ่งหมายถึงวิศวกร และคนทำงานอื่นๆ ของกรมชล "รู้" ว่าข้อมูลน้ำมีมาอย่างไร เคารพและให้เกียรติมาตลอด และยอมรับความเป็นมืออาชีพของการระบายน้ำใน กทม. จากคนทำงานหน้างานเช่นกัน ส่วนจะมาจากผู้บริหารอย่างไร ผมไม่เคยรู้ เวลาพูดถึงก็พูดแต่ว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้เขาเต็มที่ที่สุดแล้วส่วนผู้ บริหารจะมีส่วนมา "หน้างาน" หรือ ในห้องวอร์รูมอย่างเข้มข้นก็คือส่วนนั้น และ สิ่งที่วิเคราะห์พลาด นั่นคือ ส่วนที่การจัดการน้ำของเขาที่เปลี่ยนยุทธวิธี ทางฝั่งตะวันออก และสิ่งที่ผมบอกอธิบายเรื่องราวหลายอย่างที่มีความนัยต้องตีความอยู่มากขอ ให้อ่านอย่างพิจารณาดีๆ ด้วยครับ

2) ผมยอมรับ "วิธีการ" ที่เขาทำมาว่าได้ผลส่วนหนึ่งและยอมรับว่า พี่นายช่างใหญ่ ก็มีเจตนารักษากรุงเทพฯ ชั้นในอย่างจริงจังแน่วแน่จริง ตามภารกิจที่ได้รับมา และตามความจริง ตามกรอบคิดและสถานการณ์ที่เขาทำงานและประเมินกันอยู่ แต่ไม่ได้บอกว่า วิธีการนั้น "ดีที่สุด" ที่จะป้องกัน กทม. และ สุวรรณภูมิ ในด้านที่จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงกว่าปกติ ต่อที่อื่นๆ และจะมีวิธีการที่ทำงานกับคนที่ดีกว่านี้ได้มาก

3) ประเด็นที่ต้องออกมา เพื่อ "เตือนภัย" ให้ ตระหนัก ไม่ให้ ตระหนก เตือนในระดับที่ผมว่าคนตระหนัก แล้ว และพยายามที่สุดแล้วที่จะบอกให้ดูข้อมูลข่าวสาร อย่างมีนัยยะว่า จะท่วมเมื่อน้ำท่วมผ่านการสกัดใดๆมาด้วยเหตุผลใด ใน clip หรือ ทีวี ผมก็ทำงานส่วนนี้ต่อใน fb เป็นหลักครับจะมีเสียงออกตามวิทยุทีวีนั่นก็เพื่อเตือนภัย แลกเปลี่ยนให้คนได้คิดตามว่ามันมีเหตุผลที่จะท่วมหรือไม่ท่วมอย่างไร ต้องเฝ้าดูอะไร เท่าที่ดูๆ ก็เน้นตะวันตกที่วิกฤติมาถึงบัดนี้ ถือว่าเป็นสื่อทางเลือกที่คนเลือกตามเอง และเมื่อมีคนโพสต์ต่อ หรือนำไปแปลงเป็นสื่อสาธารณะหลักอื่นอื่นๆ นั่นก็อยู่นอกเหนือที่ผมรับรู้แล้ว ส่วนเรื่องเวลา ถ้านับจากวันที่ 11 ตุลามา เราก็อยู่ในภาวะ น้ำท่วม ที่ยันกันไว้ เป็นเดือน ครับ ผมบอกเสมอว่า น้ำทั้งหมดระบายหมด ต้องมีสามเดือน แต่ เอาแบบครึ่งหนึ่งพออยู่ได้ปกติ ก็ต้องมีหลังลอยกระทง ไปตามสภาพของพื้นที่แต่ละที่ครับ ตอนนี้ก็ผ่านมาเดือนกว่า ถ้าปล่อยท่วมกทม. แต่กลางเดือนที่แล้วก็ครบเดือนนานแล้วครับ

ทั้งนี้ มหาวิกฤติอุทกภัยในปีที่ผ่านมา เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2554 จนถึงปัจจุบัน จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “นกเตน (NOCK–TEN)” ร่องมรสุมกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย และปัญหาในการจัดการน้ำทำให้น้ำจากพื้นที่ภาคเหนือไหลบ่าลงสู่ภาคกลาง จากสรุปสถานการณ์สาธารณภัย โดยศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉิน กรมป้องกันสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ล่าสุด (10 ธ.ค.2554) พบว่ามีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 4,086,138 ครัวเรือน 13,595,192 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,329 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 96,833 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะไดรับความเสียหาย 11.20 ล้านไร่ มีผู้เสียชีวิต 680 ราย (44 จังหวัด) สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย)

พื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 65 จังหวัด 684 อำเภอ 4,920 ตำบล 43,636 หมู่บ้าน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานีชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรีนครปฐม ปทุมธานี นนทบุรีเลย อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร สกลนคร ยโสธร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎรธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง สตูล สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net