Skip to main content
sharethis

มีหลายคนพูดว่า เพลงสตริง (ใช้คำนี้จะดูโบราณไปไหม?) ในบ้านเรามีเรื่องราววนเวียนอยู่มี่พล็อต ฉันรักเธอ เธอไม่รักฉัน ฉันเสียใจ อกหัก ร้องไห้ อะไรประมาณนั้น เหมือนๆ กับที่มิวสิค วิดีโอเพลงอกหักทั้งหลายชอบเดินตากฝน หรืออาบน้ำฝักบัวทั้งๆ ที่ใส่เสื้อผ้าอยู่ แต่จากปากคำนักแต่งเพลงทั้งหลายก็จะบอกว่า เรื่องราวความรัก การอกหัก แอบรัก ไม่สมหวังในความรักด้วยเหตุนานาประการ มันเป็นเรื่อง ‘ทั่วไป’ ที่คนเราเคยผ่านประสบการณืนั้นมา และสามารถมีอารมณ์ร่วม (กับเพลง) ได้ง่ายที่สุด

แต่เพลงส่วนมากตาม ท้องตลาดในวัฒนธรรมสมัยนิยมก็มีแต่เรื่องราวความรักแบบ ‘เพศตรงข้าม’ (Heterosexual) เสียเป็นส่วนใหญ่ ในขณที่กลุ่มคนรักเพศเดียวกันนั้นไม่ค่อยจะมีเพลงแทนตัวสำหรับตัวเองอย่าง แท้จริง (ถ้าเป็นเพลงที่ช้ำคำพูดแบบ ‘ฉัน’ กับ ‘เธอ’ ก็ยังพอสมาทานเรื่องราวตัวเองเข้าสู่บทเพลงนั้นได้บ้าง แต่ถ้าเพลงใดบ่งบอกเพศอย่างชัดเจน เช่น มีคำว่าผู้ชายในฝัน ผู้หญิงในฝัน ฉันจะปเนผู้ชายของเธอ เธอจะเป็นผู้หญิงของฉัน การสมาทานอารมณ์ของกลุ่มคนรักเพศเดียวกันในเพลงนั้นๆ ก็คงหายไปหลายเปอร์เซ็นต์) แต่จะว่าไป เรื่องราวของคนที่เป็นคนรักเพศเดียวกันก็มีปรากฏให้เห็นอยู่เนืองๆ ในเพลงสมัยนิยม

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพลง ‘ประเทือง’ ของไท ธนาวุฒิ ถือเป็นเพลงฮิตที่ลูกเด็กเล็กแดง พี่ป้า น้าอา หรือแม้กระทั่งยายตารู้จักกันทั้งประเทศ ด้วยลูกเล่นของการเล่าเรื่องที่แปลกออกไปจากเนื้อหาเพลงร่วมสมัย (ซึ่งก่อนหน้านั้นอาจเคยมีเพลง ‘เกลียดตุ๊ด’ ของวง ซีเปีย ที่โด่งดังและเป็นที่พูดถึงตั้งแต่หน้าปกอัลบั้มไปจนถึงเนื้อหาของเพลง แต่เพลงนั้นก็ยังถือว่าไม่ ‘แมส’ พอ) โดยเพลงนี้มีเนื้อหากล่าวถึงเพื่อนชายสมัยเด็กที่ชื่อ ‘ประเทือง’ ซึ่งต่อมากลายเป็น ‘สาวประเภทสอง’ ที่แปลงเพศมาแล้ว หน้าตาสะสวยจนจำไม่ได้ แต่พอมองดีๆ นั่นคือ ‘ไอ้ประเทือง’ เพื่อนผู้ชายสมัยเด็ก

เรื่องราว ของสาวประเภทสองหรือ Transexual นั้น ปรากฏขึ้นในบทเพลงร่วมสมัย ซึ่งอาจจะไม่ใช่ครั้งแรก แต่ในฐานะเพลงป๊อปกระแสหลัก มันก็สื่อถึงเรื่องราวในสังคมที่เกิดขึ้นได้ว่า ในสังคมนั้นมีสาวประเภทสองที่แปลงเพศแล้วมากมาย และสวยงามจนดูไม่ออกว่าเป็นชายมาก่อน แต่เพลงนี้ก็ไม่ได้เล่า ‘เรื่อง’ ของคนรักเพศเดียวกันแต่อย่างใด มีเพียงเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง ที่มีสาวประเภทสองเป็นหัวข้อในการเล่าเรื่องเท่านั้นเอง

จากนั้นก็ดู เหมือนว่าเราจะไม่ค่อยได้ยินเรื่องราวของคนรักเพศเดียวกันในบทเพลงสักเท่า ไหร่ ตามมาด้วยเพลง ‘ความลับ’ ของมัม ลาโคนิค ซึ่งเนื้อเพลงถ่ายทอดชีวิตรักในแบบคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งหากมองที่ ‘เพศ’ ของตัวนักร้องผู้ถ่ายทอดเพลงนี้ก็พอบอกได้ และไม่มีอะไรที่ฮือฮามากนัก

ความ น่าสนใจอยู่ที่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเพลง 3 เพลง ปล่อยออกมาในเวลาไล่เลี่ยกัน 2 เพลงนั้นเป็นเพลงสตริง ร้องโดย ‘ผู้ชาย’ (Straight) เนื้อหาของเพลงนั้นกลางๆ ไม่ระบุเพศ แต่ที่ฮือฮาคือมิวสิค วิดีโอนั้น กลับถ่ายทอดเรื่องราวของรักของเกย์ (Gaymen) ส่วนอีกหนึ่งเพลงเป็นเพลงลูกทุ่ง ยังไม่มีมิวสิค วิดีโอ ที่เป็นเรื่องราวออกมาให้ดู แต่เนื้อหานั้นพูดถึง ‘เกย์’ โดยตรง

ประชาไทบันเทิง: เปิดเผยแต่ปกปิด- เรื่องราวของเกย์ในเพลงร่วมสมัย

เพลง แรกชื่อเพลง ‘secret love’ (ความรักความลับ) แค่ชื่อเพลงก็บอกใบ้อะไรบางอย่าง เหมือนเพลง ‘ความลับ’ ของมัม ลาโคนิค และเนื้อเพลงก็มีความหมายไม่ค่อยจะต่างกัน แต่ความน่าสนใจอยู่ที่มิวสิค วิดีโอ ที่เล่าเรื่องราวความรัก 3 รูปแบบ คือหนึ่งสาวสวยกับรักแบบ one night stand, เด็กหนุ่มวัยมัธยมกับสาวสวยวัยมหาวิทยาลัย, และสุดท้ายที่น่าสนใจคือ เกย์หนุ่ม 2 คน ซึ่งมีเรื่องราวอยู่ว่า อีกหนึ่งเกย์หนุ่มนั้นต้องตกลงปลงใจแต่งงานกับ ‘สาว’ อีกคน (ทั้งๆ ที่ทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน) ยังความเสียใจและเจ็บช้ำมาให้อีกเกย์หนุ่มอีกคน ที่ถูกคนรักของตัวเองมองเหมือนไม่เคยรู้จักกัน (เวลาอยู่กับผู้หญิงคนนั้น)

เพลง ต่อมาคือเพลง ‘นาที’ เพลงช้าสุดซึ้งของหนุ่มหล่อ ว่าน ธนกฤต เนื้อหาของเพลงนั้นไม่ระบุเพศ ว่าด้วยการจากลาอันเจ็บปวดของคนที่ต้องสูญเสียคนรักคนหนึ่งไป แต่ความน่าสนใจอยูที่มิวสิค วิดีโอ ที่เล่าเรื่องชายหนุ่มสองคน ที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เด็ก โดยหนุ่มคนหนึ่ง (Gaymen) นั้นแอบรักเพื่อนหนุ่มตัวเองอีกคนที่เป็นผู้ชาย (Straight) โดยที่อีกฝ่ายไม่เคยเอะใจ รู้ตัวมาก่อน และก็คงไม่มีวันได้ล่วงรู้ เมื่อเขาต้องเสียชีวิตลง

เพลง สุดท้าย ที่ถึงแม้จะเป็นเพลงลูกทุ่งได้ได้รับความสนใจจากวัฒนธรรมวลชนกระแสหลักไม่ แพ้กัน เห็นได้จากการแชร์ในเฟซบุ๊ก ซึ่งก็คือเพลง ‘ผัวข้อยเป็นเมียเขา’ ของสาวเสียงพิณ จินตหรา พูนลาภ (หลายเสียงบอกว่าเพลงนี่แหละ จะเป็นเพลงฮิตแห่งปี) โดยความน่าสนใจของเพลงนี้อยูที่เนื้อเพลงล้วนๆ โดยมีเนื้อหา ราวกับว่ามาจากปากคำของผู้หญิงคนหนึ่งที่มีสามีเป็น ‘ผู้ชาย’ ดูภายนอกอย่างไรก็ปเนผู้ชายไม่เคยระแวดระวังหรือต้องสงสัยอะไรเลย แต่แล้วสามีผู้ชายของเธอนั้นกับนอกใจแอบไปมี ‘ผัว’ โดยนำเสนอในท่วงทำนองสนุกสนาน

มี คนบอกว่าอะไรที่ดังจริง และดังในระดับทุกหย่อมหญ้ารู้จัก ดูได้จากว่านักร้องลูกทุ่ง หรือเพลงลูกทุ่งทั้งหลายจับมาเล่าไว้ในเพลงของตัวเองหรือยัง เพราะเพลงลูกทุ่งถือเป็นวัฒนธรรมที่กว้างขวาง ลงลึกสู่ประชาชนทุกระดับชั้นมากที่สุด เช่น ก่อนหน้านี้ คำว่า ‘ริงโทน’ อาจสร้างความงงงวยให้แก่ชาวบ้าน ชนชั้นล่าง (ไมได้มีนัยดูถูกดูหมิ่นะคะ) ผู้ห่างไกลเทคโนโลยี แต่เพลงลูกท่งก็สามารถสร้างความเข้าใจให้แก่ชนชั้นล่างได้ ด้วยเพลง มิวสิค วิดีโอที่นำเสนอเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ ริงโทน เสียงเรียกเข้าที่กระหน่ำกันมาเป็นชุดอยู่พักหนึ่ง หากคิดสมอ้างเอาตามนี้ ก็เท่ากับว่าคำว่า ‘เกย์’ นั้นเป็น ‘สิ่ง’ ที่ ‘ฮิต’ มากพอที่จะถูกหยิบยกมาพูดถึงได้ในเพลงลุกทุ่งแล้ว (ซึ่งแต่ก่อนอาจจะรู้จักเพียงคำว่า กะเทย ตุ๊ด สาวประเภทสอง) แม้ในตัวเพลงจะได้ได้มีคำว่า ‘เกย์’ ปรากฏออกมา แต่ด้วยการบรรยายภาพ ‘ผัว’ ที่แอบไปมี ‘ผัว’ ในเพลงนี้ที่กล่าวว่า ‘มีท่าทางแมนๆ สมชายชาตรี มีกล้ามบึกบึน มีหนวดมีเครา เคร่งขรึม’ (ซึ่งแน่ละ...คนในสังคมเมืองอาจจะบอกว่า แบบนี้ก็เรียกว่าตุ๊ดได้!) ซึ่ง Stereotype นี้นั้นแตกต่างจากภาพ ‘กะเทย’ หรือ ‘ตุ๊ด’ หรือ ‘สาวประเภทสอง’ ที่เคยรู้จัก ว่าต้องมีลักษณะเหมือนผู้หญิง ความน่าสนใจตรงนี้คือการเปิดให้เห็นถึงความหลากหลายทางเพศใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมสมัยใหม่ โดยเพลงลูกทุ่งที่เพลงลูกทุ่งเองก็มี Stereotype ว่าเป็นเพลงสำหรับอีกชนชั้นหนึ่ง ที่อาจตามเรื่องแบบนี้ไม่ค่อยทัน

ความน่าสนใจทั้งหมดจาก 3 เพลงที่เพิ่งได้ยินได้ฟังกันในเวลาไล่เลี่ยกันนี้ คือเรื่องราวที่ส่งผ่านทั้งมิวสิค วิดีโอ (เพลงความลับความรักและเพลงนาที) หรือเนื้อหาในบทเพลง (ผัวข้อเป็นเมียเขา) ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจมากๆ ที่นักร้องชาย เลือกนำเสนอบทเพลงของตัวเองผ่านเรื่องราวความรักในแบบเกย์ หรือเพลงลูกทุ่งที่พูดถึงเรื่องเกย์อย่างเปิดเผย เป็นเพลงๆ หนึ่งเลยทีเดียว จนทำให้คิดไปว่าสังคมนี้ ‘เปิดเผย’ (ยอมรับ ?) เรื่องราวของคนรักเพศเดียวกันมากขึ้น ไกลขึ้น ลึกซึ้งขึ้น แต่เมื่อหันหลับมาดูในเนื้อหาในการพูดถึงนั้น (ทั้งเนื้อเพลงและมิวสิค วิดีโอ) กลับเห็นว่า เรื่องราวความรักของคนรักเพศเดียวกันก็ยังเป็นเรื่องราวที่ต้อง ‘ปกปิด’ โดยเฉพาะในเพลง ‘ความรักความลับ’ ที่นอกจากจะต้องปกปิดจากสังคมแล้ว เกย์หนุ่มอีกคนยังต้องปกปิดรสนิยมทางเพศของตัวเองโดยการแต่งงาน หรือมีแฟน (ที่ออกหน้าออกตา) เป็นผู้หญิงอีกด้วย ไม่ต่างกันกับเรื่องราวที่เล่าในบทเพลง ‘ผัวข้อยเป็นเมียเขา’ ของจินตหรา พูนลาภ

หรือเกย์ในสังคมไทยยังเป็นเรื่องที่เปิดเผยแต่ปกปิด...

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net