Skip to main content
sharethis

ประชาไทสัมภาษณ์ น.พ.นิรัดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ถึงการทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีการร้องเรียนว่าการบังคับใช้ประมวล กฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าข่ายละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

ทั้งนี้ประชาไทพูดคุยเฉพาะหลักการทำงานของ “อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง” ในส่วนที่เปิดเผยต่อสาธารณะได้ เนื่องจากทุกกรณีที่เกี่ยวข้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและบางกรณีอยู่ ระหว่างการประสานงานของอนุกรรมการฯ เพื่อขอข้อเท็จจริงจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

 

ช่วงนี้มีการตรวจสอบการใช้มาตรา 112 ไป 2-3 กรณี มีข้อสังเกตอย่างไรเกี่ยวกับการใช้มาตรา 112 ซึ่งเกี่ยวพันกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน

อนุกรรมการที่รับผิดชอบการศึกษาการร้องเรียนกรณีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็คืออนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งผมเป็นประธานอยู่ เราเองได้รับเรื่องร้องเรียนในกรณีของการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมืองด้วยการบังคับใช้มาตรา 112 เท่าที่จำได้มี 3 กรณีแรกคือคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขที่ทำวารสาร เรดพาวเวอร์ กรณีที่สองคือ อ.สมศักดิ์ เจียมธรสกุล จากการเขียนยทความในเว็บไซต์ และกรณีที่ 3 ก็คือกรณีของอาจารย์สุรพศ ทวีศักดิ์ ก็ถือเป็นอำนาจหน้าที่ที่เราต้องไปตรวจสอบตามหน้าที่ในรัฐธรรมนูญ ว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร

การละเมิดนั้นเป็นการละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ได้เกี่ยวข้องกับ สถาบันแต่อย่างไร เราถือเป็นหน้าที่ของอนุกรรมการฯ ที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริง เราไม่มีการตั้งธงว่าจะแก้ไขหรือไม่แก้ไขหรือจะยกเลิก

ประการที่สองต้องยอมรับว่าการบังคับใช้มาตรา 112 ได้ปรากฏต่อเวทีโลกในการประชุมที่เจนีวา ขององค์การสหประชาชาติในกิจกรรมที่เรียกว่าการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และมีการตั้งประเด็นเรื่องการบังคับใช้มาตรา 112 ร่วมกับการใช้พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ว่ามีสถิติการบังคับใช้กฎหมายทั้งสองมาตราทำให้คนถูกละเมิดด้วยการบังคับใช้ กฎหมายทั้งสองมาตราค่อนข้างเยอะในสองสามปีที่ผ่านมา

ขณะนั้นตัวแทนไทย ท่านสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ท่านเป็นประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนอยู่ด้วย ก็เป็นเวทีที่รัฐบาลไทยต้องตอบทั้งในส่วนของการบังคับใช้มาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และหลังจากนั้นต้องมีการติดตามว่าผลที่เราได้ชี้แจงไว้เมื่อเดือนตุลาคมปี ที่แล้ว เราต้องชี้แจงเขาต่อในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ว่าสิ่งเหล่านี้มีข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างไรบ้าง นี่คือการทำงานระดับชาติที่เชื่อมโยงกับระดับโลกด้วย ซึ่งกรรมการสิทธินั้นทำงานนี้โดยมีอำนาจหน้าที่ต่อกรณีดังกล่าว 3 ประการคือ

หนึ่ง อำนาจหน้าที่ในการหาข้อเท็จจริงจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องว่ามีสิ่งที่กิดขึ้นเข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชนจริงหรือไม่

สอง การมองเรื่องนโยบายของการบังคับใช้กฎหมายมาตรานี้มีปัญหาเกิดขึ้นอย่างไรและ จะให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไร

ประการที่สามคือ หน้าที่ในการประสานหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการบังคับใช้กฎ หมายทั้งวสองส่วน ทั้งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ว่าการบังคับใช้กฎหมายนั้นมีสิ่งที่ต้องได้รับการทบทวนหรือปฏิบัติให้สอด คล้องกับหลักการสิทธิมนุษชนสากลอย่างไรบ้างเพราะประเทศไทยนั้นได้ลงนาม ผูกพันตนตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง นี่คือพันธะผูกพันที่ต่อเนื่องมาถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและต่อ เนื่องมาถึงอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิมทางการเมือง ที่รับผิดชอบเรื่องนี้อยู่

 

คนที่คิดว่าตนเองได้ผลกระทบจากการบังคับช้มาตรา 112 ต้องร้องเข้ามายัง กสม. เพราะกสม. ไม่มีอำนาจลงไปตรวจสอบเองใช่ไหม

ไม่ใช่ทั้งหมด ก็มีทั้งสองส่วนคือ อาจจะมีผู้ร้องมาก็ได้ ส่วนที่สองถ้าไม่มีผู้ร้องแต่เราพบว่ามีการละเมิดเราอาจจะเป็นผู้ลงมือไปสอบ แต่ความเซนซิทีฟต่างกันคือบางกรณีที่ผู้ถูกละเมิดเขาไม่ร้องมาแล้วลงไปตรวจ สอบ บางครั้งต้องยอมรับว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของความรุนแรงใน พื้นที่ คนที่เขาร้องมาเขาไม่อยากเปิดเผยชื่อเพราะอาจจะกระทบต่อชีวิต สวัสดิภาพความปลอดภัย ความเป็นอยู่ บางคนก็ไม่กล้าร้องมา หรือร้องมาแต่ไม่อยากปรากฏชื่อ ฉะนั้นก็ต้องมองทั้งกระบวนการ คือไม่จำเป็นต้องมีคนร้อง แต่การมีคนร้องเข้ามานั้นก็หมายความว่าเราสามารถที่จะหาข้อมูลหรือผู้มีส่วน ได้เสียมาซักถามได้ แต่ถ้าไม่มีคนร้องเราอาจจะต้องไปดูตามความเหมาะสมกับพื้นที่ด้วย คือการตรวจสอบเราไม่ควรจะไปกระทบต่อผู้ถูกละเมิดจากอำนาจและอิทธิพล เป็นสิ่งที่เราต้องคิดเผื่อคนที่ถูกละเมิดด้วย

 

เรื่องการบังคับใช้ 112 มีปัญหาเช่นนี้ไหม เรื่องการเกรงกลัวอิทธิพล หรือกระแสสังคมที่มีลักษณะที่ชี้ผิดชี้ถูกต่อคนที่ถูกฟ้องร้อง มีผลกระทบต่อการทำงานบ้างไหม

เท่าที่ทำมา ผมยังไม่เคยเจอนะครับ เพียงแต่ว่าในประเด็น 112 เราพบสภาพสังคมไทยขณะนี้มีปัญหา คือสภาพสังคมที่มีความคิดเห็นต่างๆ กันทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยผมถือว่เปนเรื่องปกติ แต่ที่เป็นเรื่องไม่ปกติและที่เรากังวลคือการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยทำให้ เกิดความเป็นฝักฝ่ายเป็นพวกกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นคือการเผชิญหน้ากัน การกล่าวหากัน เช่น กรณีของคนที่แตะ 112 กลายเป็นผู้ที่ต้องการล้มสถาบัน นั่นคือการกล่าวหากันและสรุปเลย นี่เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยสบายใจและไม่อยากให้สังคมไทยถลำลึกและไปสู่ความขัด แย้งที่นำไปสู่ความรุนแรง

เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาต่อความเห็นที่แตกต่างกันซึ่งเป็นเรื่องปกติใน สังคมในระบอบประชาธิปไตยก็ควรเป็นการแก้ไขแบบอารยะ คือการไม่ให้คนตีกัน ไม่ให้คนทะเลาะกัน ก็คือต้องรับฟังความคิดเห็น แล้วเมื่อฟังแล้ว ก็ต้องมาดูว่าความเห็นใดอันไหนเป็นเรื่องถูกต้องเหมาะสม และสำคัญที่สุดคือว่าความเห็นที่ต่างนั้น อะไรที่จะทำไปสู่การแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำซาก

ผมคิดว่า ‘อะไร’ มันสำคัญกว่า ‘อย่างไร’ ถ้าเรามัวแต่ถามว่าทำไมถึงออกมาแสดงความเห็น เราต้องยอมรับกติกาก่อนว่าในสังคมประชาธิปไตย ใครที่ออกมาแสดงความคิดเห็นอบ่างตรงไปตรงมา ตามหลักวิชาการ ไม่เข้าข่ายเรื่องการดูถูกละเมิดคนอื่น ผมคิดว่าเราต้องฟัง แต่เอาความคิดต่างตรงนั้นมาคิดว่าแล้วอะไรทำให้เกิดความเห็นต่างเหล่านั้น แล้วความเห็นต่างเหล่านั้นจริงๆ แล้วมีข้อสรุปในการเอามาทบทวนแก้ไขไม่ให้มีการละเมิด ไม่ให้มีการกระทำผิดขึ้นอีกได้ไหม หรือจริงๆ แล้วไม่มีมูลเลย เราก็จะได้รู้กัน

เราต้องยอมรับความเป็นเหตุเป็นผล องค์ความรู้ในการตัดสินปัญหา ไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกหรือความเห็น

 

กรณีที่มีการร้องเรียน ล่าสุดคือกรณีของสุรพศ ทวีศักดิ์ ที่ถูกบุคคลหนึ่งร้องทุกข์กล่าวโทษ และพบว่าบุคคลนั้นได้ฟ้องร้องลักษณะเดียวกันหลายคดี ทางอนุกรรมการฯ มีข้อสังเกตอย่างไรต่อการใช้กฎหมายลักษณะนี้

ผมคิดว่าเป็นกรณีตัวอย่างหนึ่งที่มีผู้ไปร้องเรียนและแจ้งความต่อสถานี ตำรวจภูธรเมืองร้อยเอ็ด แจ้งความเอาผิดกับอาจารย์สุรพศ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในหลายๆ กรณี ซึ่งอาจารย์สุรพศอาจจะเป็นกรณีที่พิเศษขึ้นมาหน่อยหนึ่งคือเป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัย สิ่งที่อาจารย์เน้นและร้องมาก็คือสิทธิเสรีภาพในการแสดงควาเมห็นทางวิชาการ ซึ่งไม่ใช่ว่าอาจารย์เพิ่งจะมาแสดงความเห็นตอนนี้แต่เป็นมาตลอดอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีคนเห็นต่างและมองว่าสิ่งที่อาจารย์นำเสนอไปขัดกับ มาตรา 112 แล้วเผอิญการใช้กฎหมายในมาตรา 112 นั้น ใครก็ไปแจ้งความได้ ตรงนี้เราต้องไปศึกษาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีข้อเท็จจริงอย่างไรบ้างแล้วข้อ เท็จจริงในการบังคับใช้กฎหมายนี้ในกรณีอาจารย์สุรพศ เมื่อมาซักถามต่างๆ แล้วพบว่า ที่ร้อยเอ็ดมีสถิติการร้องเรียนมาตรา 112 ที่ค่อนข้างสูงพอสมควร จึงต้องมาดูว่าการกล่าวหากันด้วยมาตรา 112 มีข้อเท็จจริงในมุมมองของผู้ร้องและผู้ถูกร้องอย่างไรบ้างซึ่งสังคมควรจะได้ มารับรู้ข้อมูลตรงนี้มากกว่าจะมาบอกว่าคนที่ต้องการแก้ไขมาตรา 112 เป็นคนที่ต้องการจะล้มสถาบัน หรืออีกคนหนึ่งรักสถาบัน นั่เนป็นแค่การมองที่ปลายเหตุ แต่ต้นเหตุต้องมาดูก่อนว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไรบ้าง

 

วันนี้ที่ทางอนุกรรมการฯ จะไปเยี่ยมปณิธาน พฤกษาเกษมสุขซึ่งพ่อของเขาถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 และร้องขอสิทธิประกันตัวมาเจ็ดครั้งแล้ว กรรมการสิทธิ์มีแนวทางการดำเนินงานอย่างไรต่อกรณีนี้

กรณีคุณสมยศนั้นเป็นกรณีแรกๆ ที่เรารับเข้ามาตรวจสอบ และผมก็ได้ไปเยี่ยมที่เรือนจำ ครั้งสุดท้ายก็คือเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และทราบว่าเขามีปัญหาสุขภาพด้วยจึงไปตรวจเยี่ยมพร้อมกับคนอื่นๆ ที่ถูกคดีข้อหามาตรา 112 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ผมคิดว่ากรณีลูกชายคุณสมยศออกมาแสดงการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยการอด ข่าวเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เขาทำได้ ในฐานะที่ผมเป็นกรรมการสิทธิซึ่งผมเองให้ความสนใจและไม่ได้มองว่าเราทำ หน้าที่แค่ตรวจสอบเพื่อเอาข้อมูลแต่เรามีหน้าที่ต้องติดตามดูว่าคุณสมยศเขา ได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้ต้องหาที่มีสิทธิในการได้รับการประกันตัว สิทธิในกระบวนการยุติธรรมอะไรบ้าง

การที่ลูกชายคุณสมยศออกมาอดข้าวเพื่อให้เห็นสิทธิการประกันตัว ก็เป็นหน้าที่ที่ผมต้องไปฟังเหตุผลจากลูกชายคุณสมยศ และส่วนที่สองคือในฐานะที่เป็นหมอ เห็นคนทำอะไรที่มีโอกาสเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ ผมก็ถือโอกาสไปช่วยูและแนะนำไม่ให้เขาเปนอันตรายจากการเคลื่อนไหวแบบนี้

 

มาตรา 112 นั้นปฏิเสธได้ยากว่าเกี่ยวพันกับความขัดแย้งในสังคมไทยมายาวนานพอสมควร ขณะที่กรรมการสิทธิ์เองก็ถูกคาดหวังในสองส่วนคือ คาดหวังเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชน และคาดหวังความเป็นกลาง กรรมการสิทธิ์พบขอจำกัดอะไรในการทำงานหรือไม่

เป็นเรื่องของอนุฯ ชุดผมที่รับงานมารับผิดชอบ คือผมคิดว่าความเห็นต่าง ในสังคมประบอบประชาธิปไตยเราต้องรู้ว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เรามีวิธีจัดการความเห็นต่างที่เป็นเรื่องของความขัดแย้งอย่างไรบ้าง ผมคิดว่าสังคมไทยขณะนี้ต้องยอมรับว่าเราต้องตรงเข้าไปที่ปัญหาเพื่อแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งเพื่อหามุมมองให้ถูกต้อง แต่ถ้าเราปล่อยไว้มันก็เหมือนเป็นฝีที่เป็นหนอง สักวันหนองมันก็ต้องระเบิดออกมา เพราะฉะนั้น ประเด็นเรื่องการบังคับใช้มาตรา 112 ก็เช่นเดียวกัน ผมคิดว่าถ้าเรายอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วหาว่าปัญหานั้นเกิดจากอะไร จากอะไรนั้นเราก็ค้นคว้าหาข้อมูลแล้วเอามาดำเนินการตามวิถีทางในระบอบ ประชาธิปไตย เช่น ขณะนี้ มีความเห็นของนิติราษฎร์ออกมาเป็นความเห็นทางวิชาการ ผมก็ไม่ได้จะบอกว่าผมเห็นด้วย แต่ความคิดเห็นของผมเป็นอย่างไรนั้น ผมก็มีหน้าที่ต้องตรวจหาข้อเท็จจริง เช่นเดียวกันมีคณะกรรมการออกมารณรงค์มาตรา 112 เขาก็ทำหน้าที่ในฐานะภาคประชาสังคมในการเคลื่อนไหวถ้าเขาคิดว่ากฎหมายนี้มี ปัญหา ก็เป็นเรื่องของสิทธิของประชาชนเที่เขาจะทำได้ แต่ทุกอย่างต้องอยู่ในกรอบนั่นหมายความว่าถ้าเขาเสนอต่อสภาแล้วสภาบอกไม่รับ รัฐบาลบอกว่าไม่เสนอกฎหมายนี้เรื่องก็จบ แต่มันก็ทำให้เห็นความงดงามของตัวอย่างในสังคมว่าการแสดงความคิดเห็นต่างๆ มันเกิดขึ้นได้ ถ้าอยู่ในประเด็นที่ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและไม่เป็นการทำลายประโยชน์ สาธารณะ ก็เป็นไปตามครรลองคือระบบรัฐสภาและรัฐบาลที่มารับผิดชอบ ถ้าทำได้ เราก็เป็นตัวอย่างการจัดการความเห็นต่างที่เกิดขึ้นในสังคม ถ้าสังคมเอากรณีนี้เป็นตัวอย่างได้ สังคมไทยก็จะมีบทเรียนของการจัดการความเห็นต่างที่เกิดขึ้นในสังคม สังคมไทยจะได้มีบทเรียนและมีแนวคิดในการทำงานว่าความเห็นต่างขัดแย้งกันนั้น สังคมไทยจัดการได้ ไม่จำเป็นต้องกล่าวหา หรือเผชิญหน้ากัน ไม่จำเป็นต้องเป็นความรุนแรงลุกลามจนเกิดการกระทบกระทั่งกัน 

 

คุยกับหมอนิรันดร์ เมื่อ ม. 112 ถึงมืออนุกรรมการสิทธิ์

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net