มิติมุมมองสตรีนิยมกับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พ.ศ.2555 (3)

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

การปรากฏตัวของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พ.ศ.2555 น่าจะเป็นที่น่าชื่นชมยินดีของทุกฝ่ายโดยเฉพาะ นักสตรีนิยมทั้งสายวิชาการและสายเคลื่อนไหวด้านกิจกรรมอย่างเป็นขบวนการเดียวกัน แต่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกลับไม่เป็นอย่างนั้น สื่อมวลชนบางฉบับตั้งคำถามเกี่ยวกับเบื้องหลังหรือนัยซ่อนเร้นของโครงการนี้ เช่น เนชั่นสุดสัปดาห์ในรายงานพิเศษจั่วหัวว่า “กองทุน 7.7 พันล้าน กองทุนสตรีประชานิยมใหม่” (เนชั่นสุดสัปดาห์ปีที่ 20 ฉบับที่ 1030 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555, น.8-9) การที่มีข้อความว่า “ประชานิยมใหม่” ห้อยท้ายอยู่ในทัศนะผู้เขียน บ่งบอกถึงคำถามว่าโครงการนี้เป็นเครื่องมือในการ “ซื้อใจ-ซื้อเสียงคนจน” หรือเปล่า? โครงการนี้เป็นเครื่องมือของการเมืองแบบรัฐอุปถัมภ์หรือเปล่า? โครงการนี้เป็นไปในลักษณะความสัมพันธ์ต่างตอบแทนหรือเปล่า? โครงการนี้เป็นเครื่องมือในการจัดตั้ง, จัดการให้เกิดฐานทางการเมืองที่เป็นรูปธรรมกล่าวคือ มีการลงทะเบียน มีสมาชิก มีการจัดตั้งกรรมการการบริหารสั่งการอย่างเป็นระบบหรือเปล่าและสัมพันธ์กับ ชมรมเสียงสตรี ที่เริ่มทำงานกับประธานกลุ่มสตรีแม่บ้านแต่ละชุมชน ตาบล อาเภอและจังหวัดในทั่วประเทศและต่างประเทศมาตั้งแต่ พ.ศ.2552 เป็นองค์กรเครือข่ายที่มีการขยายตัว เปิดตัวเพิ่มเติมในจังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคอิสานในช่วงรัฐบาลพรรคเพื่อไทย .....ก้าวที่คึกคักของ “เสียงสตรี” ขยายการจัดตั้ง-สร้างแกนนำ, ในเพิ่งอ้าง, น.9) หรือเปล่า? เป็นต้น นอกจากนั้นบทความในเนชั่นสุดสัปดาห์ฉบับที่อ้างถึงก็บอกไว้ด้วยว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พ.ศ.2555 จะต้องถูกตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อย ๆ “ตั้งแต่ฝ่ายค้าน นักวิชาการ สื่อมวลชนไปจนถึงสังคมทั่วไป ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องของการตั้งกองทุน จะหนีไม่พ้นคำถามเรื่องความโปร่งใส วาระซ่อนเร้นและผลประโยชน์ทับซ้อน” ในทัศนะส่วนตัวของผมฝ่ายถามก็มีสิทธิ์ที่จะถาม ฝ่ายที่คิดและนำนโยบายพัฒนาสตรีมาแปรเป็นการปฏิบัติก็มีหน้าที่ต้องตอบ

ผมคิดว่าทัศนะสตรีนิยมต่อการพัฒนาโดยไม่มี “สตรี” ในความหมายของเพศ/เพศภาวะที่ได้กล่าวไปบ้างบางส่วนสำคัญมาก เนื่องจากมีการวิเคราะห์วิพากษ์ที่มีน้าหนักและมีมูล ไม่เช่นนั้นในระดับสากลก็ดี ในระดับประเทศหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยภายใต้การนำของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ (แม้จะคลุมเครืออยู่ว่าเป็นนายกฯ ตัวจริงหรือเปล่า) ต้องทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา ก็ถือว่าการตั้งคำถามของนักสตรีนิยมโดยใช้มิติมุมมองสตรีนิยมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายแน่ แต่จะมีวาระซ่อนเร้นหรือไม่โปร่งใสและที่อาจสำคัญกว่านั้นคือ เป็นการพัฒนาสตรีในความหมายที่นักสตรีนิยมทั้งในระดับสากลและในประเทศไทยคิดว่าเป็นหรือไม่ อย่างไร?

พูดอีกอย่างหนึ่งคือ นักสตรีนิยมและนักวิชาการผู้สนใจเรื่องการพัฒนาจะต้องตั้งคำถามที่มีความหนักแน่นทางวิชาการ โดยเฉพาะนักสตรีนิยมก็จะต้องยืนยันว่าในมิติมุมมองสตรีนิยมนั้นมีประเด็นทางวิชาการอะไรที่ยกมาตั้งเป็นคำถาม ส่วนฝ่ายตอบก็ต้องตอบให้ตรงประเด็นที่ถูกถามด้วย หากเป็นเช่นนี้ก็จะเกิดประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย อนึ่งการออกมาปฏิเสธว่า การพัฒนาก็ดี การพัฒนาสตรีก็ดี กองทุนบทบาทสตรี พ.ศ.2555 “ไม่ใช่การเมือง” “ไม่เกี่ยวกับการเมือง” นั้น ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่ามันเป็นเรื่องการเมืองหรือเกี่ยวข้องกับการเมืองรวมทั้งการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อย่างแยกไม่ออก ดังที่ผมได้เขียนถึงไปแล้วบางส่วนในคราวที่แล้วและยังจะต้องเขียนถึงอีก

ต่อไปนี้เป็นข้อสังเกตเชิงคำถามของผมต่อ “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พ.ศ.2555” เพื่อขอความกระจ่างจากนักสตรีนิยมฝ่ายตั้งคำถามและนักสตรีนิยมที่ทำงานหรือสนับสนุนกองทุนฯ นี้อย่างคน “วงนอก” เพราะไม่รู้ “วงใน” จริง ๆ

การพัฒนาก็ดี การพัฒนาสตรีก็ดีมีเพียงมิติทางเศรษฐกิจเท่านั้นหรือ?

ผมคาดเดาได้ว่าคำตอบที่ออกมาจากทั้งสองฝ่ายก็คงตรงกันว่าไม่ใช่ ต้องมีหลายมิติกว่านั้น เช่น การเมือง กฎหมาย สังคม-วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่ทั้งหมดนี้ต้องมีการถกเถียงทำความเข้าใจว่า มิติเหล่านั้นคืออะไร เพราะนักวิชาการและนักวิชาการสตรีนิยมมองการเมือง กฎหมาย สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมต่างไปจากคนอื่น

วิธีการคืออะไร? ก็คาดเดาได้ว่า คำตอบคงออกมาเหมือนกันว่า “การมีส่วนร่วมของผู้หญิง” ดังปรากฏให้เห็นในรูปภาพประกอบบทความที่อ้างถึงข้างบนซึ่งมีรูปนายกฯ หญิงยิ่งลักษณ์ ยืนอยู่พร้อมกับกลุ่มผู้หญิงที่มาสนับสนุนชูป้ายข้อความว่า “เครือข่ายสตรี 4 ภาค กองทุนพัฒนาสตรีสนับสนุนนโยบายกองทุนพัฒนาสตรีแต่จะให้ดีกับผู้หญิงต้องมีส่วนร่วม.....” (ข้อความบรรทัดล่างหายไป) แต่ก็เห็นได้ชัดว่า วิธีการคือ “การมีส่วนร่วมของผู้หญิง”! ฟังดูดีและง่ายดี.....แต่.....

ทั้งการมีส่วนร่วม (participation) และสตรี (women) เป็นมโนทัศน์ที่ในทัศนะของนักประชาธิปไตยและนักสตรีนิยมถือว่ามีปัญหาที่ต้องตั้งคำถามมากมายหลายคำถามต่อทั้ง “สองสิ่ง” นี้ เอาง่าย ๆ แค่ว่าการมีส่วนร่วมคืออะไร สามารถเกิดในเงื่อนไขไหน รูปแบบของการมีส่วนร่วมคืออะไร การมีส่วนร่วมเพื่อวัตถุประสงค์อะไร มีส่วนร่วมในระดับไหน การมีส่วนร่วมสามารถนำไปสู่การบรรลุผลในระดับไหน เช่นการมีส่วนร่วมในการวางนโยบายพัฒนาสตรี การมีส่วนร่วมในการจัดการกองทุนฯ ในฐานะผู้บริหารจัดการ ผู้ตัดสินใจว่าใครมีสิทธิหรือสมควรได้กู้ หรือเป็นผู้ไปกู้ยืมกองทุนฯ การมีส่วนร่วมในฐานะผู้ตรวจสอบ ประเมินผล อย่างนี้เป็นต้น .....ที่เขียนมาทั้งหมดนี้นำไปสู่ข้อสรุปอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลยว่า การมีส่วนร่วมเมื่อมองจากทฤษฎีประชาธิปไตยที่มีประเด็นเจาะจงซึ่งเรียกว่า “การมีส่วนร่วมในประชาธิปไตย” หรือ “Participatory democracy” รวมทั้งมีปัญหาที่เรียกกันว่า “ปัญหาต่าง ๆ ของการมีส่วนร่วม” (problems of participation) โปรดดูรายละเอียดในงานของ ฟิลิปป์ส์, แอนน์ (Phillips Anne, Engendering Democracy, 1997: 38-46) หรือ คอร์ริน, คริส (Corrin, Chris) ในงานชื่อ Feminist Perspectives on Politics, 1999) โดยเฉพาะบทที่ 8 ทั้งบทเรื่อง Political participation, representation and resistance (หน้า 173-193) เป็นต้น

ในทัศนะของ คอร์ริน (Corrin , เพิ่งอ้าง) เธอนิยาม การมีส่วนร่วม หรือ “participation” ไว้ สั้น ๆ แต่ได้สาระสำคัญโดยผู้เขียนขอถอดความว่าเธอหมายถึง

“การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายความถึง เข้าไปมีส่วนร่วม (taking part) ในการเมือง ในขณะ ที่คาว่าการเมืองพูดถึง หรือบรรยายถึงทั้งกิจกรรม และการศึกษา กิจกรรมนั้น (the study of that activity) ดังนั้นการมีส่วนร่วมจึงสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตัดผ่านขอบเขตที่หลากหลายของการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในทุกระดับที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้การมีส่วนร่วมของนักสตรีนิยม สามารถทำได้ข้ามแง่มุมหรือมิติต่าง ๆ ที่แตกต่างแปรผันของการเมืองตั้งแต่เรื่องการรณรงค์ การกดดัน ผลักดัน (lobbying) การดำเนินการปรับเปลี่ยนทัศนคติ การทำวิจัยไปจนกระทั่งถึงการสอน การเรียนรู้ และพูดถึงชีวิตต่าง ๆ ของผู้หญิงกับหนทางต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงสู่สภาวะที่ดีกว่าซึ่งสามารถบรรลุได้” (Corrin, เพิ่งอ้าง, น.244)

จากนิยามข้างบนเราอาจตั้งเป็นข้อสังเกตต่าง ๆ ได้ว่า

(1) การมีส่วนร่วมในที่นี้หมายถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ดังนั้นเมื่อใช้คาว่า “การมีส่วนร่วม” จึงมิได้มีความหมายลอย ๆ ห้วน ๆแต่หมายถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation) อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ แม้จะมีการใช้วาทศิลป์อธิบายว่า “การพัฒนาไม่เกี่ยวกับการเมือง” ก็ฟังไม่ขึ้นตามนิยามชุดนี้

(2) การเมืองไม่ได้มีความหมายแต่เพียงกิจกรรม หรือ ปฏิบัติการต่าง ๆ เท่านั้น แต่รวมถึงการศึกษา กิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมืองที่มีมากมายหลายมิติ พูดอีกอย่างหนึ่งคือเป็นการเมืองที่หลากหลาย แตกต่างและเคลื่อนไหวหรือมีพลวัตอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง ดังนั้น “การเมืองเมื่อวานนี้” กับ “การเมืองวันนี้” ก็อาจไม่เหมือนกัน ยิ่งไปกว่านั้นการเมืองยังมีหลายระดับ เช่น การเมืองในครัวเรือนการเมืองในครอบครัว การเมืองในหมู่บ้าน-ชุมชน ขึ้นไปถึงการเมืองระดับชาติและนานาชาติ ด้วยเหตุนี้การมีส่วนร่วมทางการเมืองในทัศนะสตรีนิยมจึงหมายถึง ทั้งการเคลื่อนไหวทำกิจกรรมหรือปฏิบัติการเชิงผลักดันหรือต่อต้านขัดขืนก็ได้ และการศึกษา เรียนรู้ ค้นคว้า วิจัย ในทุกระดับ เช่นในระดับรากหญ้าก็ได้ หรือในระดับองค์การระหว่างประเทศ เช่น UN. ก็ได้ พูดอีกอย่างหนึ่งคือ นักสตรีนิยมสายปฏิบัติการก็ดี นักสตรีนิยมสายวิชาการก็ดี ต้อง “ศึกษา” ดังนั้นข้อเสนอแนะให้ยกเลิกหลักสูตรโครงการสตรีศึกษาจึงเป็นอะไรที่น่าเป็นห่วง

(3) การมีส่วนร่วมของนักสตรีนิยมมีเป้าหมายเดียวกันคือ การพูดถึง บรรยายถึง อธิบายถึง ชีวิตทางสังคมต่าง ๆ (social lives) ของผู้หญิงที่เป็นมา เป็นอยู่และกาลังเปลี่ยนแปลงเพื่อแสวงหาหนทางทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้หญิงให้ไปสู่สภาวะที่ดีกว่าเดิมอย่างเป็นไปได้ด้วย โดยผ่านปฏิบัติการที่แตกต่างหลากหลาย ที่ผู้เขียนอยากยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง เช่น การปรับเปลี่ยนทัศนคติก็ดี หรือนักสตรีนิยมบางสายใช้คาว่า “การยกระดับจิตสานึก” (consciousness raising) ก็ดี หรือบางสายใช้คาว่า “การถอดรื้อวาทกรรมชุดชายเป็นใหญ่” ก็ดี และชื่อ (วิธีการ) อื่น ๆ ก็ดี

อย่างไรก็ตามเนื่องจากพื้นที่และเวลามีจากัดจึงต้องสรุปเชิงเสนอแนะว่า คาว่า “การมีส่วนร่วม” ก็เป็นหัวข้อ/ประเด็นที่นักสตรีนิยมจะต้องถกเถียงกันบนฐานของทั้งทฤษฎีสตรีนิยม งานศึกษาวิจัยและประสบการณ์ จะใช้ไปเรื่อย ๆ แบบไม่มีการวิพากษ์คงไม่ได้ เช่นเดียวกับมโนทัศน์สำคัญเรื่อง “ผู้หญิง” ที่คนทั่วไปคิดว่าเป็นอะไรที่ง่าย ๆ ซึ่งอยากจะพูดอยากจะใช้ก็ใช้ได้เลยนั้น นักสตรีนิยมบอกว่าไม่ได้

สตรี/ผู้หญิง ในทัศนะของผู้เขียนเชื่อว่าคาว่า “สตรี” ก็ดี “ผู้หญิง” ก็ดีที่ปรากฏอยู่ในชื่อของกองทุนฯ มีความหมายตามการใช้ของ “คนทั่วไป” ซึ่งไม่เห็นความจำเป็นจะต้องตั้งคำถามว่า “สตรี” คือใคร “ผู้หญิง” คือใคร เอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ในการจัดประเภทว่า ใครเป็น “ผู้หญิง” หรือ “สตรี” ใครไม่ใช่ คำตอบคำชี้แจงก็น่าจะออกมาตรงไปตรงมาว่า “ไม่มีตาหรือยังไง.....แค่มองดูก็รู้ว่าใครเป็นผู้หญิง ใครเป็นผู้ชาย” ตรงนี้จะมีปัญหากับนักสตรีนิยมสายวิชาการที่บอกว่า การจัดประเภทผู้หญิง/ผู้ชายแบบนี้ใช้เพศสรีระ หรือเอา “ร่างกาย-อวัยวะ” เป็นตัวตัดสิน ถ้าดูตามระเบียบของการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฯ ว่ามีสองประเภทคือ สมาชิกประเภทบุคคลธรรมดาได้แก่ สตรีผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป .....หรือเป็นผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน.....” ก็จะเห็นได้ว่าความเป็น “สตรี” หรือ “ผู้หญิง” ต้องเป็นไปตามเอกสารของทางราชการ ซึ่งก็เป็นการจัดประเภท บนฐานของสรีระร่างกาย-อวัยวะต่าง ๆ (เช่น มีนม มีมดลูก.....) ตรงนี้ก็ถือว่าเป็น “การประกอบสร้างทางสังคม” โดยใช้กฎหมาย บางคำตอบก็อาจบอกว่า “เป็นผู้หญิงตามธรรมชาติ” บ้างก็อาจประชดแดกดันว่า “ยุ่งยากขนาดนี้ตัดปัญหาเลยไหม.....ให้แพทย์พิสูจน์เพศเลยดีไหม?” ตรงนี้ก็อีกเหมือนกัน นักสตรีนิยมถือว่า “เป็นการกระกอบสร้างความเป็นเพศทางสังคม” โดยใช้ “ชีววิทยา” ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือประเภทองค์กรสตรี ได้แก่ มูลนิธิหรือสมาคม ก็คงใช้เกณฑ์เดียวกันคือ สมาชิกต้องมีเพศสรีระ (sex) จึงจะเป็นสมาชิกได้

อย่าเพิ่งโกรธ.....เพราะประเด็นของนักสตรีนิยมที่น่าสนใจ น่าฟัง น่าทำความเข้าใจคือ พวกเธอเสนอให้มองความเป็นหญิง ความเป็นชาย และความเป็นเพศอื่น ๆ โดยใช้แนวคิดหรือมโนทัศน์เรื่อง “เพศภาวะ” หรือ “เพศสภาพ” ซึ่งแปลมาจากภาษาอังกฤษว่า “gender”

แน่นอนอีกเหมือนกันว่า “คนหรือผู้หญิงรากหญ้า” ย่อมไม่สนใจประเด็นนี้และพวกเธอก็จะไม่เข้ามาถกเถียงด้วย แต่ในบทความนี้ผมต้องการตั้งคำถามว่าคนรากหญ้า/ผู้หญิงรากหญ้าที่เราไม่เข้าใจนั้นพวกเธอคิดอย่างไร และนักสตรีนิยมมีประเด็นสำคัญอะไรนักหนาที่ผู้หญิงรากหญ้าไม่สนใจ เช่น เรื่องของ “เพศ” “เพศสภาพ” หรือ “เพศภาวะ” ผมสนใจว่าคนทำงานด้านพัฒนาสตรีให้กับรัฐสนใจหรือเข้าใจไหม ถ้าไม่สนใจเพราะอะไร ถ้าไม่เข้าใจเพราะอะไร หรือสนใจและเข้าใจแต่ไม่มีพลังอานาจพอที่จะผลักดันเนื่องจากมีวาระซ่อนเร้นหรือผลประโยชน์ทับซ้อน ฯลฯ ไม่เช่นนั้นแล้วคนตั้งคำถามกับคนตอบคำถามก็ยากที่จะพูดกันรู้เรื่อง

ผมขอยืนยันอีกครั้งว่าประเด็นต่าง ๆ ที่พูดมา เช่น การมีส่วนร่วมก็ดี เพศ/เพศภาวะ/เพศสภาพ เป็นประเด็นของนักสตรีนิยมสายวิชาการไม่ว่าจะมองจากมุมมองโครงสร้างนิยมและหลังโครงสร้างนิยมหรือหลังทันสมัยนิยมล้วนแต่เป็นศัพท์แสง ภาษามโนทัศน์/แนวคิดที่ใช้กันอยู่ในหมู่นักสตรีนิยมสายวิชาการ นักวิชาการสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์ที่ไม่ใส่ใจในเรื่องนี้ก็ไม่อยากฟัง ไม่อยากรับรู้ และไม่อยากเข้าใจ ดังนั้นถ้าจะไปกะเกณฑ์ให้นักการเมือง แม้กระทั่งนักการเมืองผู้มีเพศ (sex) เป็นหญิง และนักเคลื่อนไหวเข้ามาร่วมถกเถียงด้วยคงยาก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนักสตรีนิยมไม่ว่าจะเลือกทำงานให้กับรัฐ หรือเลือกที่จะอยู่นอกรัฐจะต้องพูดจาถกเถียงกันเอง ถ้าเห็นด้วยว่าในทัศนะสตรีนิยมมีเพศ/เพศภาวะ (เพศสภาพ) อยู่ในวิธีคิดจริงและใช้กันอย่างเป็นอาวุธสำคัญในการ “เพิ่มอานาจ” ให้กับผู้หญิงที่ถูกระบุตามความเชื่อทั่วไปวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) หรือกฎหมายของรัฐว่าเป็น “ผู้หญิง” ก็มีหน้าที่ที่จะนาอาวุธนี้ไปใช้ให้ได้ผลในการกำหนดนโยบายและการดำเนินการตามนโยบายนั้น ไม่เช่นนั้นจะเรียกตนเองว่าเป็น “นักสตรีนิยม” คงทาไม่ได้อย่างเต็มปากเต็มคามากนัก มิหนาซ้านักวิชาการด้านอื่น ๆ เช่น รัฐศาสตร์เธอก็ยิ่งมีเหตุผลมากขึ้นในการเสนอให้ยุบหลักสูตรสตรีศึกษา ศูนย์สตรีศึกษาทุกแห่งในประเทศไทย น่าสังเกตว่านักวิชาการชายรุ่นใหม่ ๆ กลับไม่ออกมาเสนออย่างนั้น

ความสำคัญของมโนทัศน์เพศ (sex) และเพศภาวะ/เพศสภาพ (gender) ต่อการวิเคราะห์วิพากษ์ของนักสตรีนิยม

ถ้า “อุปสงค์” และ “อุปทาน” (demand-supply) คือมโนทัศน์หลักของนักเศรษฐศาสตร์เพศ (sex) /เพศภาวะ (gender) ก็คือมโนทัศน์/แนวคิดหลักของนักสตรีนิยม ถ้า “อานาจอธิปไตย” และ “การแยกอานาจการตรวจสอบ-ถ่วงดุลอานาจ” เป็นมโนทัศน์หลักของนักรัฐศาสตร์ นักสตรีนิยมก็มีความเห็นพ้องต้องกันว่า “เพศภาวะ” คือมโนทัศน์หลักของพวกเธอ ดังนั้นอุปสงค์-อุปทานก็ดีอานาจอธิปไตยก็ดีจะต้องวิเคราะห์โดยใช้มิติมุมมองทางเพศ/เพศภาวะเข้ามาจับจึงจะมองเห็นประเด็นสตรีนิยม แต่นักสตรีนิยมก็ไม่ได้ใช้เพศ/เพศภาวะอย่างเดียวหากใช้ร่วมกับมโนทัศน์เรื่อง “ชนชั้น” (class) “เชื้อชาติ/ชาติพันธุ์” (race/ethnicity) อายุสภาวะทางร่างกาย/จิตใจ (พิการ/ไม่พิการ) และอื่น ๆ เข้ามา “จับ” ร่วมด้วย

ถ้าเท่าที่เขียนมาข้างบนหากยังไม่เข้าใจก็ขอยกตัวอย่างแถมอีกนิดก็ได้ “การพัฒนา” ก็ต้องเอา “มิติหญิง-ชาย” ในความหมายของเพศ/เพศภาวะเข้ามาจับร่วมกับ “ชนชั้น” และอื่น ๆ ที่ว่าไปแล้ว ถ้าพูดถึง “การมีส่วนร่วม” ก็ต้องถามว่า “ใครมีส่วนร่วม” ถ้าตอบว่า “ผู้หญิง” นักสตรีนิยมก็จะไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น จะต้องถามต่อว่า “ผู้หญิง” ในฐานะที่เป็น “เพศสรีระ” หรือ “เพศทางชีววิทยา” ถ้าคำตอบออกมาว่า “ผู้หญิงก็คือผู้หญิง” นักสตรีนิยมก็จะตอบว่า “คุณไม่เข้าใจ ไม่ใช่สักแต่ว่าเป็นผู้หญิงอย่างที่ว่าก็ใช้ได้แล้ว” เพราะ.....

ถือกันว่านักสตรีนิยมในตะวันตกซึ่งในหมู่นักสตรีนิยมเรียกว่า เป็นนักสตรีนิยมคลื่นลูกที่สองต่างจากนักสตรีนิยมคลื่นลูกที่หนึ่ง (คือนักสตรีนิยม “คลื่นลูกเก่า” ที่ออกมาต่อสู้เคลื่อนไหวในอเมริกาและอังกฤษเมื่อคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้าในประเด็นสิทธิของผู้หญิงในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส่วนนักสตรีนิยมคลื่นลูกที่สอง คือรุ่นคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบที่ร่วมอยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาปัญญาชนในการต่อต้านสงครามเวียดนาม หรือสงครามอินโดจีน และแยกตัวออกมาจากขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านสงครามที่ว่านั้น เพราะพวกเธอถูกกดขี่โดยนักเคลื่อนไหวต่อต้านสงครามที่เป็นผู้ชาย.....เอาล่ะ! สิ่งที่ทำให้เธอต่างไปคือ การนำเอามโนทัศน์เรื่อง เพศ (sex) ในทางสรีระในทางชีววิทยา หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ หน่อยคือ “ความเป็นหญิง-เป็นชาย” ที่เรามองเห็นจากร่างกายอวัยวะต่าง ๆ ที่ “วิทยาศาสตร์” สายชีววิทยา (biology) บอกเราว่าเป็น “ผู้หญิง”เช่น มีมดลูกเป็นต้น นั้นต่างและเป็นคนละเรื่องกับ “ความเป็นผู้หญิง-ผู้ชาย” ในความหมายที่เป็นสิ่งประกอบสร้างทางสังคม ที่สังคมมอบให้หรือ “กำหนดนิยาม” ให้กับร่างกายของผู้หญิง กระบวนการนี้เป็นกระบวนการทางสังคม (-วัฒนธรรม) ที่สตรีนิยมคลื่นลูกที่สองนำเสนอออกมานี้เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “a social construction premised upon the female body” ตรงนี้นักสตรีนิยมที่โต้เถียงกันมีการบ้านที่จะต้องไปศึกษาทำความเข้าใจวิธีคิดที่เรียกว่า “การประกอบสร้างทางสังคม” หรือ “social constructionism) เมื่อจับประเด็นได้แล้วก็จะเข้าใจว่านักสตรีนิยมคลื่นลูกที่สองเมื่อพูดถึง “ผู้หญิง” ในความหมายของพวกเธอก็จะเข้าใจได้ทันทีว่าคือ “gender” หรือ “เพศภาวะ/เพศสภาพ” ไม่ใช่เพศที่มาจากกาย (sexed body) แต่เป็นเพศที่สังคมประกอบสร้างขึ้นมาโดยอาศัยกาย (body) เป็นฐานหนึ่งและเป็นฐานสำคัญที่สุดของการจัดประเภทผู้คน (categorization) ออกเป็น “เพศ” เพียงสองเพศเท่านั้น ซึ่งสาหรับนักสตรีนิยมคลื่นลูกที่สองแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องเพราะ

(1) การเอาเพศสรีระหรือ “sexed body” นั้นมาใช้กำหนดนิยม “ผู้หญิง” ทำให้เกิดมายาคติ อคติว่าผู้หญิงต้องทำหน้าที่เมีย แม่เท่านั้น ผู้หญิงต้องอ่อนแอกว่าผู้ชาย เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง และนำไปสู่สถานภาพและบทบาทที่ไม่เท่าเทียมกัน

(2) การเอาเพศสรีระ หรือ “sexed body” มาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดประเภทผู้คนทำให้เกิดการโยงใยไปอ้าง “วิทยาศาสตร์” โดยเฉพาะชีววิทยาทำให้เกิดการตัดสิน สถานภาพและบทบาททางสังคมบนฐานของเพศทางชีววิทยา (social roles based on biological sex) ซึ่งทำให้ “ความเป็นเพศ” ตลอดจน สถานภาพและบทบาทซึ่งเป็น “สิ่งประกอบสร้างทางสังคม” มามัด “ผู้หญิงเอาไว้นั้น ขัดแย้งกับ “สถานภาพและบทบาททางชีววิทยา” ซึ่งนักสตรีนิยมรุ่นปัจจุบันเห็นว่าไม่ถูกต้องเพราะนอกจากมีลักษณะเป็น “สารัตถะนิยมทางชีววิทยา” (biological (essentialism) แล้วยังเน้นวิธีคิดแบบ “แบ่งเป็นเพียงสองขั้ว” (dichotomy binaries) เท่านั้น ซึ่งใช้ไม่ได้และเป็นอันตรายในการทำความเข้าใจกับ “ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง” ในสังคม

(3) การคิดว่า “ผู้หญิง” คือ “ผู้หญิง” ในแบบ “sexed body” หรือเพศสรีระจึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง/การพัฒนา “ผู้หญิง” สุดท้ายแล้ววิธีคิดแบบนี้ทำให้เกิดสภาวะ “การรักษาสภาพเดิม ๆ” หรือ “status quo” เอาไว้เป็นต้น

วันนี้ขอหยุดเพียงเท่านี้ก่อน เรื่องที่จะนำเสนอให้มีการถกเถียงในหมู่นักสตรีนิยมยังมีต่ออย่างแน่นอน

22 มีนาคม 2555

__________________________________

หมายเหตุ:

  • * บทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาใด ๆ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท