Skip to main content
sharethis

 

18 ม.ค.56 โครงการรณรงค์เพื่อแรงงาน (องค์กรพัฒนาเอกชน) ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยรายชื่อแนบท้าย 381 รายทั้งชาวไทยและต่างประเทศ  เรียกร้องให้รัฐบาลผลักดันการปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักโทษการเมืองคนหนึ่ง ซึ่งกำลังจะถูกพิพากษาในวันที่ 23 ม.ค. 56

ทั้งนี้ รายชื่อดังกล่าวประกอบด้วย รายชื่อองค์กร 110 แห่ง รายชื่อบุคคล 271 คน ซึ่งมีผู้ประสงค์ไม่ออกสื่อ 262 คน และส่วนที่เปิดเผยอีก 119 คน

โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานระบุวัตถุประสงค์ของการล่ารายชื่อในจดหมายเปิดผนึกครั้งนี้ว่าต้องการกระตุ้นให้รัฐบาลและศาลเร่งแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิพลเมืองของกระบวนการยุติธรรมไทย  และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปรวมถึงองค์กรสหภาพแรงงานมีส่วนร่วมในการรณรงค์ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย โดยตระหนักถึงปัญหาความไม่ยุติธรรมที่กระทำกับประชาชนที่คัดค้านการทำรัฐประหารและเรียกร้องยุบสภาเมื่อปี 2553  ซึ่งเป็นช่วงของความขัดแย้งทางการเมือง  ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางสร้างประชาธิปไตยในสังคมมากขึ้น

การพิพากษาคดีสมยศจะมีขึ้นในวันที่ 23 มกราคม 2556 ณ ศาลอาญา รัชดา กรุงเทพฯ เราขอยืนยันว่าสมยศไม่สมควรถูกจับ  สิทธิในการแสดงออกไม่ว่าเขาจะมีความคิดเห็นทางการเมืองเป็นเช่นไรควรได้รับการปกป้องโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อตกลงสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ผูกมัดประเทศไทย  ไม่ว่าทั้งสองบทความที่เป็นข้อกล่าวหาจับกุมสมยศถูกมองว่าเป็นการทำผิดกฎหมายอาญา แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยอย่างมาก สิ่งที่ควรทำมากกว่าการล่าแม่มดกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง คือ การประกันให้มีพื้นที่เปิดรับการถกเถียงแลกเปลี่ยนประเด็นการเมืองและประเด็นผลประโยชน์ของประชาชน เพราะจะช่วยลดความตึงเครียดในสังคมและนำไปสู่การหาทางออกให้แก่สังคม” ส่วนหนึ่งของจดหมายเปิดผนึก

 

000000000000

จดหมายเปิดผนึก

 

เรียน

ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

สำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล

ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต

กรุงเทพฯ 10300

 

วันที่  17  มกราคม  พ.ศ. 2556

 

เรื่อง      กระบวนการยุติธรรมไทยละเมิดสิทธิของสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักปกป้องสิทธิ

มนุษยชนและบรรณาธิการ

 

           พวกเราที่ลงชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคลและองค์กรภาคประชาชนในประเทศไทยและทั่วโลก เขียนถึงท่านอีกครั้งเพื่อกระตุ้นเตือนท่านให้เคารพหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลและปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก ด้วยการหยุดกระบวนการยุติธรรมที่ละเมิดนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และปล่อยตัวเขาโดยไม่มีเงื่อนไขและโดยเร็วที่สุด  สมยศผู้เป็นบิดาของบุตรและธิดาสองคนถูกคุมขังมาเป็นเวลา 21 เดือนติดต่อกันด้วยข้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการตีพิมพ์บทความเสียดสีการเมือง 2 บทลงในวารสารที่เขาเป็นบรรณาธิการ

           คณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้วยการกักขังตามอำเภอใจ พิจารณาแล้วว่า การคุมขังสมยศเป็นการกระทำตามอำเภอใจและละเมิดกฎหมายสากล จึงขอเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขา  ทั้งนักวิชาการ นักกิจกรรม ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเพื่อนร่วมงานของสมยศได้เรียกร้องท่านให้ปล่อยตัวเขาหลายครั้ง  เราจึงยังคงต้องการตอกย้ำว่า การที่ศาลปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวถึง 12 ครั้งล่าสุดเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการสันนิษฐานว่าจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์  รัฐบาลจึงควรเคารพสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิในการประกันตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลว่าด้วยการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

           เสียงคัดค้านการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปในทางที่ผิดในประเทศดังขึ้นทุกๆ วันและการจัดการคดีสมยศถือว่าเป็นบททดสอบรัฐบาลว่าเคารพหลักนิติรัฐและหลักการประชาธิปไตยหรือไม่

           การพิพากษาคดีสมยศจะมีขึ้นในวันที่ 23 มกราคม 2556 ณ ศาลอาญา รัชดา กรุงเทพฯ เราขอยืนยันว่าสมยศไม่สมควรถูกจับ  สิทธิในการแสดงออกไม่ว่าเขาจะมีความคิดเห็นทางการเมืองเป็นเช่นไรควรได้รับการปกป้องโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อตกลงสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ผูกมัดประเทศไทย  ไม่ว่าทั้งสองบทความที่เป็นข้อกล่าวหาจับกุมสมยศถูกมองว่าเป็นการทำผิดกฎหมายอาญา แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยอย่างมาก สิ่งที่ควรทำมากกว่าการล่าแม่มดกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง คือ การประกันให้มีพื้นที่เปิดรับการถกเถียงแลกเปลี่ยนประเด็นการเมืองและประเด็นผลประโยชน์ของประชาชน เพราะจะช่วยลดความตึงเครียดในสังคมและนำไปสู่การหาทางออกให้แก่สังคม

           การทำให้ข้อความทางการเมืองเป็นเรื่องผิดกฎหมายอาญาและการดำเนินคดีกับบรรณาธิการไม่เป็นการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน  บ่อยครั้งประเทศไทยแสดงตัวในเวทีสากล โดยเฉพาะเป็นประเทศที่ต้องการที่นั่งในสภาความมั่นคงของสหประชาชาติและเป็นสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนด้วย  ครั้งหนึ่งประเทศไทยอ้างว่าเป็นประชาธิปไตยและเป็นหนึ่งในประเทศแถบอาเซียนที่ก้าวหน้าที่สุด แต่การใช้กฎหมายไปในทางที่ผิด จับกุมพลเมืองอย่างสมยศได้บั่นทอนความน่าเชื่อถือของประเทศไทย และบั่นทอนความพยายามที่จะแยกตัวเองออกจากรัฐอำนาจนิยมในภูมิภาคนี้

           เรายังหวังว่ารัฐบาลจะตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนและสามารถที่จะหยุดยั้งความอยุติธรรมที่กระทำต่อประชาชนได้  ด้วยเหตุนี้เราขอให้ท่านและฝ่ายบริหาร รวมทั้งกลไกรัฐทั้งหมดหามาตรการที่เหมาะสมที่จะหยุดการคุมขังสมยศโดยทันที และให้เขาสามารถใช้สิทธิพื้นฐานได้โดยปราศจากการถูกแก้แค้นหรือถูกโต้ตอบกลับไปจนถึงระดับศาล

          ขอขอบคุณท่านที่พิจารณาข้อเรียกร้องของเราอย่างจริงจัง เราหวังว่าจะได้รับการตอบกลับจากท่านและท่านจะแสดงความเคารพเสรีภาพในการแสดงออก

 

                                                                                    ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

 

รายชื่อองค์กรและบุคคลที่สนับสนุนการปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข

 

  1. โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย  Thai Labour Campaign (TLC), Thailand
  2. สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์เครื่องหนังแห่งประเทศไทย
  3. สหภาพแรงงานกิจการปั่นทอพิพัฒน์สัมพันธ์
  4. องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย
  5. นายบรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย
  6. กลุ่มออมทรัพย์พัฒนาชุมชนคนงาน
  7. กลุ่มสหภาพแรงงานเคมีภัณฑ์
  8. สหภาพแรงงานทิมเครื่องหนัง
  9. สหภาพแรงงานประชาธิปไตย
  10. สหภาพแรงงานเหล็กและโลหะ
  11. สหภาพแรงงาน เอม เอส พี
  12. กลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ
  13. กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนคนงานกิ่งแก้ว
  14. กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนคนงานคู่สร้าง
  15. สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า
  16. สหภาพแรงงานมอลลิเก้เฮลท์แคร์
  17. องค์กรเลี้ยวซ้าย ประเทศไทย
  18. กลุ่มสมานฉันท์แรงงาน ประเทศเกาหลีใต้  Workers Solidarity All Together (South Korea)
  19. ศูนย์ทรัพยากรแรงงาน Sedane ประเทศอินโดนีเซีย  Sedane Labour Resource Center( LIPS)
  20. กลุ่มเพื่อนหญิง ประเทศมาเลเซีย  Friends of Women (PSWS)
  21. เครือข่ายประชาชนผู้ถูกกดขี่ ประเทศมาเลเซีย  Oppressed People Network / Jaringan Rakyat Tertindas (JERIT)
  22. พรรคสังคมนิยมแห่งมาเลเซีย  Socialist Party of Malaysia (PSM: Parti Sosialis Malaysia)
  23. เครือข่ายปฏิบัติการชุมชน ประเทศมาเลเซีย   Community Action Network (CAN)
  24. กลุ่มชาวมาเลเซียสนับสนุนประชาธิปไตยในประเทศไทย   Malaysia Support Group for Democracy in Thailand
  25. กลุ่มพันธมิตรรณรงค์ฐานค่าจ้างแห่งเอเชีย สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย   Asia Floor Wage Alliance-SEA office
  26. องค์การรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด  Clean Cloths Campaign (CCC)
  27. โครงการรณรงค์ปล่อยตัวสมยศ   Free Somyot Campaign
  28. องค์กรสังคมเพื่อแรงงานและการพัฒนา ประเทศอินเดีย   Society for Labour and Development (SLD) ,India
  29. สหภาพแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ประเทศอินเดีย   Garment and Allied Workers Union (GAWU) ,India
  30. องค์กรสมานฉันท์ประชาชน ประเทศฝรั่งเศส   Peuples Solidaires, France
  31. Law life, Bangladesh
  32. The Resilience Space, United Kingdom
  33. Just Solutions Network, United Kingdom
  34. กลุ่มพันธมิตรชาวไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ประเทศสหรัฐอเมริกา The Thai Alliance for Human Rights, USA
  35. สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ  ประเทศญี่ปุ่น Labornet Japan International Division, Japan
  36. เครือข่ายพุทธศาสนิกชนระหว่างประเทศ  International Network of Engaged Buddhists (INEB)
  37. โครงการปฏิบัติการเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย  Action for People's Democracy in Thailand (ACT4DEM)
  38. เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112  The Network of Family Member and People Affected by the Article 112., Thailand
  39. สมาพันธ์สหภาพแรงงานแห่งประเทศอินโดนีเชีย   Confederation of Congress of Indonesian Unions Alliance (KASBI),  Indonesia
  40. องค์กรประชาชนชาวกัมพูชาสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน ประเทศกัมพูชา  Cambodian League for the Promotion & Defense of Human Rights (LICADHO), Cambodia
  41. สมาคมประชาธิปไตยเสรีของเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ ประเทศกัมพูชา  Independent Democracy of Informal Economy Association (IDEA), Cambodia
  42. องค์กรสมานฉันท์ไร้พรมแดนแห่งยุโรป ประเทศฝรั่งเศส   Europe solidaire sans frontières (ESSF), France
  43. สหภาพแรงงานเฟิร์ส ประเทศนิวซีแลนด์   FIRST Union, New Zealand.
  44. พรรคแรงงานอะวามี ประเทศปากีสถาน   Awami Workers Party, Pakistan
  45. ศูนย์ศึกษาแรงงานและสังคม ประเทศเนปาล   Center for Labour and Social Studies CLASS-Nepal
  46. เครือข่ายปฏิบัติการชาวมุสลิมในเอเชีย ประเทศอินโดนีเซีย   Asian Muslim Action Network (AMAN), Indonesia
  47. Yayasan Transformasi Lepra Indonesia
  48. Yamakindo, Indonesia
  49. แนวร่วมองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสากล แห่งอินโดนีเซีย   Indonesia's NGO Coalition for International Human Rights Advocacy (HRWG) 
  50. Persatuan Kesedaran Komuniti Selangor (EMPOWER), Malaysia
  51. คณะกรรมการเวียดนามเพื่อสิทธิมนุษยชน   Vietnam Committee for Human Rights
  52. องค์กรปฏิบัติการเพื่อประชาธิปไตย ประเทศเวียดนาม   Quê Me: Action for Democracy in Vietnam
  53. องค์กรตรวจสอบโลกาภิวัตน์ ฮ่องกง   Globalisation Monitor, Hong Kong
  54. เครือข่ายแรงงานจีน, ฮ่องกง    China Labour Net, Hong Kong
  55. เครือข่ายแรงงานออสเตรเลียและเอเชีย ประเทศออสเตรเลีย   Australia Asia Worker Links (AAWL), Australia
  56. กลุ่มแนวหน้าประชาชนต่อสู้  ประเทศอินโดนีเซีย   People Struggle Front  (FPR) Indonesia
  57. สหพันธ์แรงงานชาวอินโดนีเซีย   Indonesian Workers Union Federation (FSBI) , Indonesia
  58. สหพันธ์แรงงานอิสระ ประเทศอินโดนีเซีย   Federation of Independent Trade Union, Indonesia (GSBI), Indonesia
  59. กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซนเซอร์ ประเทศไทย   Freedom Against Censorship Thailand (FACT)
  60. สหพันธ์แรงงานเนปาล   General Federation of Nepalese Trade Unions (GEFONT), Nepal
  61. Labour Behind the Label (CCC UK)
  62. Collectif Ethique sur l'étiquette (CCC France).
  63. ศูนย์ศึกษาแรงงาน นิวเดลี ประเทศอินเดีย  Center for Workers Education, New Delhi
  64. เครือข่ายสมานฉันท์แรงงานเอเชียแปซิฟิก   Asia Pacific Workers Solidarity Link (APWSL)
  65. ศูนย์ทรัพยากรแรงงาน ประเทศมาเลย์เซีย   Labor Resource Center (LRC) ,Malaysia
  66. กลุ่ม 24 มิถุนายนเพื่อประชาธิปไตย ประเทศไทย   24 June Democracy Group, Thailand
  67. องค์กรสังคมนิยมทางเลือก ประเทศออสเตรเลีย   Socialist Alternative, Australia
  68. MARUAH, Singapore
  69. ศูนย์สตรีดาบินดู  ประเทศศรีลังกา   Dabindu Women Center, Sri Lanka
  70. สหภาพแรงงานอิสระแห่งชาติ ประเทศศรีลังกา   National Free Trade Union, Sri Lanka
  71. องค์กรเกาหลีเพื่อความสมานฉันท์ระหว่างประเทศ  Korean House for International Solidarity, Korea
  72. สหภาพแรงงานก้าวหน้า ประเทศศรีลังกา   Progress Union, Sri Lanka
  73. Comité du Forum Social Lémanique, Genève
  74. สภาแรงงานแห่งชาติอินเดีย   Indian National Trade Union Congress
  75. สหพันธ์แรงงานปากีสถาน   Pakistan Labour Federation, Pakistan
  76. สถาบันนโยบายก้าวหน้า ประเทศเกาหลีใต้   The Progressive Policy Institute, South Korea
  77. พรรครวมพลังก้าวหน้า ประเทศเกาหลีใต้    The Unified Progressive Party ,South Korea
  78.  Schone Kleren Campagne  (Dutch CCC)
  79.  Federación Setem (Spanish CCC)
  80. TIE-Netherlands
  81. Elmer Labog, Kilusang Mayo Uno, Philippines
  82. สมาพันธ์แรงงานเกาหลี  ประเทศเกาหลีใต้    Korean Confederation of Trade Union, South Korea
  83. องค์กรพันธมิตรประชาชนชาติพันธุ์ ประเทศอินโดนีเซีย   Aliansi Masyarakat Adat Nusantara (AMAN)- indigenous Peoples Alliance of the Archipelago, Indonesia
  84. ศูนย์ช่วยเหลือแรงงาน ประเทศฟิลิปปินส์   Workers Assistance Center, Inc, Philippines
  85. องค์กรสมานฉันท์แรงงานคาไวท์ ประเทศฟิลิปปินส์   Solidarity of Cavite Workers (SCW), Philippines
  86. LEADER, Inc., Philippines
  87. เครือข่ายการศึกษาและบริการด้านแรงงาน ฮ่องกง  Labour Education and Service Network, Hong Kong
  88. กลุ่มปฏิบัติการแรงงานจีน, ฮ่องกง   Labour China Action, Hong Kong
  89. RUMPUN, Indonesia
  90. สหภาพแรงงานการบินพลเรือนตุรกี   Turkish Civil Aviation Union (Hava-Is), Turkey
  91. สมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์   FNV ( Netherlands Trade Union Confederation)
  92. องค์กรรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด  ประเทศนอร์เวย์   Clean Clothes Campaign- Norway
  93. องค์กรรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Clean Clothes Campaign- Switzerland 
  94. สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมแสง ประเทศบัลแกเรีย   Light Industry Workers Federation PODKREPA, Bulgaria, Europe
  95.  องค์กรรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด  ประเทศเดนมาร์ก   Clean Clothes Campaign- Denmark
  96.  องค์กรพันธมิตรนักสังคมนิยม ประเทศออสเตรเลีย   Socialist Alliance,Australia
  97. สมาคมการศึกษาและข้อมูลด้านแรงงานไต้หวัน   Taiwan Labor Information & Education Association (TLIEA), Taiwan
  98. Korean Federation of Public Services and Transportation Workers' Unions (KPTU)
  99. International Catholic movement for Intellectual and Cultural Affairs (Pax Romana),Geneva
  100. People's Communication Centre (Pusat Komas), Malaysia
  101. Community Residents Association for Selangor and Federal Territories (PERMAS), Malaysia
  102. Center for Independent Journalism (CIJ), Malaysia
  103. achACT – Actions Consommateurs Travailleurs (Belgium CCC)
  104. Cardijn Community International
  105. สมาพันธ์แรงงานฮ่องกง   Hong Kong Confederation  of Trade Union
  106. International Federation of Workers' Education Association (IFWEA), South Africa
  107. PROJEK DIALOG ( DIALOGUE PROJEC), Malaysia
  108. องค์กรเสียงของประชาชนชาวมาเลย์เซีย  Voices of Malaysian People ( SUARAM), Malaysia
  109. Front Line Defenders
  110. Islamic Renaissance Front
  111. นายพรมมา  ภูมิพันธ์  หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์เครื่องหนังแห่งประเทศไทย
  112. นางสาวสุธิลา ลืนคำ
  113. นางสาวศรีไพร นนท์ทรี
  114. นายบุณมี วันดี
  115. นางสาวพนม บาลี
  116. นางสาวคำผอง คำพิทูรย์
  117. นางสาวณัฐปภัทร แก้วทอง
  118. นางสาวลักษมี สุวรรรภักดี
  119. นางสาวเยาวภา ดอนเส

 

 

สำเนาถึง

 

นายประชา พรหมนอก

รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม

ชั้น 22 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค

ถนนแจ้งวัฒนะ  ปากเกร็ด

นนทบุรี 11120

โทรศัพท์  02 1416435  โทรสาร 02 1439883

E-mail: om@moj.go.th , secretary@moij.go.th

 

ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ

เลขที่ 443 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท

เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์  02 203 5000 # 15018

โทรสาร  02 643 5320, 02 643 5309

อีเมล์ : minister@mfa.go.th, thaiinfo@mfa.go.th, permsec@mfa.go.th

 

นายจุลสิงห์  วสันตสิงห์
อัยการสูงสุด สำนักงานอัยการสูงสุด

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เลขที่ 120 ม.3

ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง

เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์  02 1421436  โทรสาร 02 2143 9457, 02 143 9197

E-mail: ag@ago.go.th  oag@ago.go.th

 

นายไพโรจน์ วายุภาพ

ประธานศาลฎีกา

ศาลฎีกา เลขที่ 6 ถนนราชดำเนินใน

แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร

กรุงเทพมหานคร 10200

โทร. 0-2221-3161-70 # 1265  โทรสาร  02 2266005

 

นายทวี ประจวบลาภ

อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา

อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก

แขวงจอมพล เขตจตุจักร

กรุงเทพฯ 10900

โทรศัพท์  0 2 541 2284 – 90

โทรสาร 02 541 2273

 

ศ.อมรา พงษ์ศาพิชญ์

ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

120 ม.3  ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา
๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 6-7

ถ. แจ้งวัฒนะ  เขตหลักสี่  กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์  02 1413800, 02 141 3900  โทรสาร  02 141 3900

อีเมล์ : amara@nhrc.or.th, interhr@nhrc.or.th, help@nhrc.or.th

 

นายธานี ทองภักดี

เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ

ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

H.E. Mr. Thani Thongphakdi

Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary

Permanent Representative

Permanent Mission of Thailand to the United Nations Office and other international organizations in Geneva, Rue Gustave Moynier 5

1202 Geneva, Switzerland

Fax: +41 22 715 10 00 , +41 22 715 10 02

Email: mission.thailand@ties.itu.int

 

นายนรชิต สิงหเสนี

เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ

ณ นครนิวยอร์ก

H.E. Mr. Norachit Sinhaseni

Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary

Permanent Representative

Permanent Mission of Thailand to the United Nations in New York

351 East 52nd Street

New York, N.Y. 10022, USA

Fax: +1 212 688 3029

E-mail: thailand@un.int

 

ดร.เสรี นนทสูติ

ผู้แทนไทยในคณะทางานยกร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

Email: sernon@gmail.com

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net