Skip to main content
sharethis

ญาติผู้ตาย 3 ใน 5 ศพกรงปินัง ร้องขอความช่วยเหลือทาง กม. ต่อองค์กรด้านสิทธิ์ ระบุผู้ตายทั้ง 3 ไม่ได้เป็นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ หลังศาลสั่งผู้เสียชีวิตโดยเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่ พร้อมระบุน่าเชื่อว่าฝ่าย จนท.ไม่อาจแยกแยะได้ว่าใครเป็นใคร

27 ส.ค. 56 ศาลจังหวัดยะลามีคำสั่งในคดีชันสูตรพลิกศพ คดีหมายเลขดาที่ ช.7/2555 ตามคำร้องของพนักงานอัยการจังหวัดยะลา ที่ขอให้ศาลจังหวัดยะลาไต่สวนการตายของ นายสะกือรี จะปะกียา ผู้ตายที่ 1 นายอิสมาแอล แปเตาะ ผู้ตายที่ 2 นายตัซกีรี ยะยอ ผู้ตายที่ 3 นายลุกมัน ดือราแม ผู้ตายที่ 4 และนายซัมรี ดือราแม ผู้ตายที่ 5 เนื่องจากเหตุการณ์เมื่อวัน 19 เม.ย. 55 ขณะเจ้าหน้าที่ตารวจและทหารสนธิกำลังปฏิบัติการในพื้นที่ หมู่ที่ 6 บ้านสะเอะ ตาบลสะเอะ อาเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา และได้ใช้อาวุธปืนยิงเสียชีวิต ซึ่งศาลมีคาสั่งโดยสรุปว่า จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานต่างๆ ได้ความว่า ตามที่เกิดเหตุผู้ตายที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 อยู่กลุ่มกับผู้ตายที่ 1 และที่ 3 และบุคคลอื่นที่หลบหนีไปได้ ในภาวะเช่นนี้ น่าเชื่อว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่ไม่อาจแยกแยะได้ว่าใครเป็นใคร ดังนั้นไม่ว่าผู้ตายที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหรือไม่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติย่อมสามารถอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ และมีคำสั่งว่านายสะกือรือ จะปะกียา ผู้ตายที่ 1 และนายอิสมาน แปเตาะ ตายโดยการกระทำของ ด.ต.ปรีชา หนูนุ่ม นายตัซกีรี ยะยอ ตายโดยการกระทำของ ส.ต.อ.วิรุจ ติ๊ปปาละ นายลุกมัน ดือราแม ตายโดยการกระทำของ จ.ส.ต.กฤษณกรณ์ เกือเจ นายซัมรี ดือราแม ตายโดยการกระทาของ ร.ต.ต.สุธน นราพงษ์ ขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่

คดีนี้บิดามารดาของผู้เสียชีวิต 3 ราย ได้แก่นายอิสมาแอล แปเตาะ ผู้ตายที่ 2 นายลุกมัน ดือราแม ผู้ตายที่ 4 และนายซัมรี ดือราแม ผู้ตายที่ 5 ได้ร้องเรียนว่าผู้ตายทั้งสาม ไม่ได้เป็นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบตามที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่กล่าวหา โดยร้องขอความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน

นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดยะลา ในฐานะทนายความที่ได้ให้ความช่วยเหลือคดีแก่ญาติผู้ตายทั้งสามดังกล่าวข้างต้น ให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีหลังจากฟังคำสั่งศาลว่า “ตามคำร้องศาลมีคำสั่งถึงเหตุผลและพฤติการณ์ที่ตายไว้ แต่ไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ขณะเข้าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กล่าวคือการวางแผนเข้าปิดล้อม การแสดงตนเพื่อให้คนร้ายมอบตัว หรือการสกัดกั้นไม่ให้คนร้ายหลบหนี หรือการวิธีการที่สามารถไม่ให้เกิดการสูญเสียถึงชีวิต การใช้ความระมัดระวังในการใช้อาวุธ ตามที่มีการไต่สวนในชั้นพิจารณา ทั้งนี้เพราะกระบวนการไต่สวนการตายเป็นกระบวนการเพื่อนำข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ปรากฏในสานวนคดี เพื่อส่งต่อแก่พนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนพิจารณาสั่งคดีว่าสมควรเสนอฟ้องผู้ที่ทำให้เกิดความตายหรือไม่”

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net