Skip to main content
sharethis

4 พ.ย.2556 หลังสภาผู้แทนราษฏรผ่าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในวาระ 3 เมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เคลื่อนไหวคัดค้าน ร่างฯ ฉบับเหมาเข่ง สุดซอย หรือ set zero ดังกล่าวจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเด็นที่จะนิรโทษฯรวมเอาคดีที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริต และที่สำคัญคือคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก นอกจากการเคลื่อนไหวบนท้องถนนเพื่อแสดงจุดยืนแล้ว ในโซเชียลเน็ตเวิร์กก็ไม่แพ้กัน มีการใช้รูปโปรไฟล์หรือโพสต์รูปในเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมแสดงการคัดค้าน ซึ่งมีลักษณะที่เป็นรูปแบบเดียวกันคือรูปสี่เหลี่ยมสีดำมีข้อความด้านในสีขาวว่า “คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม” ภาพนี้ยังปรากฏอยู่บนป้ายโฆษณาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ด้วย

ภาพป้ายคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ภาพโดย Prainn Rakthai

อย่างไรก็ตามเนื่องจากในโซเชียลเน็ตเวิร์กมักพบวัฒนธรรมหนึ่งที่สำคัญคือการล้อเลียน(parody)กับกระแส และภาพสี่เหลี่ยมจตุรัสสีดำ (ซึ่งบางคนเรียก “แผ่นรองแก้ว”) นี่ก็ถูกหยิบขึ้นมาเป็นมีม พร้อมข้อความการคัดค้านต่างๆที่ผุดขึ้นมามากมายในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งประชาไทได้รวบรวมไว้บางส่วนดังนี้

ภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ "อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป” 

โดยผู้ที่คัดค้าน ร่างฯ ฉบับนี้ ซึ่งเน้นประเด็น เรื่องการคัดค้านการปราบปรามหรือสลายการชุมนุม โดยเฟซบุ๊กแฟนเพจ "อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป” พร้อมกล่าวด้วยว่า “ของพวก สามเสน มีแค่สามบรรทัดบน ของพวก สามแสน ต้องมีสองบรรรทัดล่าง" รวมทั้งมีการทำป้ายโดยมีข้อความตามชื่อแฟนเพจตัวเองด้วย

ผู้ใช้ชื่อเฟซบุ๊กว่า "Ratthapol Supasopon" ขึ้นรูปประจำตัวหรือรูปโปรไฟล์ว่า "สนับสนุน พ.ร.บ.นิรโทากรรมฉบับนิติราษฏร์ ดำเนินคดีคนสั่งฆ่าประชาชน เอาทักษิณกลับมาพิจารณาคดี ปล่อยประชาชน ปล่อยนักโทษการเมือง ปล่อยนักโทษคดี 112”

Thanathip Suntorntip Gorlph “ค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคืนความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิตทุกฝ่าย พาผู้บงการมารับผิด(ย้อนถึงปี2497เลยก็ดีนะ)"

นอกจากนี้ เฟซบุ๊กแฟนเพจนี้ยังนำกระแสของดาราดังอย่างบอย ปกรณ์ มาล้อเลียนกับมีมดังกล่าว โดยใช้ข้อความว่า “อยากดูคลิปหลุด บอยปกรณ์” ด้วย 

 

 

เพจอย่าง “วิวาทะ” ซึ่งเป็นเพจที่รวมโควทประเด็นต่างๆ ก็มีการนำเอามีมนี้มาล้อเลียน ด้วยการนำเอาโควทคำพูดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ว่า "Unfortunately, some people died " (หรือ"โชคร้ายที่มีประชาชนเสียชีวิต") ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์ในรายการ BBC World News ทางสถานีโทรทัศน์บีบีซีของอังกฤษ เมื่อวันที่  10 ธ.ค.55 มาโพสต์ รวมทั้งคำว่า “ค.ว.ย.” ซึ่งหมายถึง คิด วิเคราะห์ และ แยกแยะ ด้วย

 

รวมไปถึงการใช้คำว่า “คัดค้านอะไรยังไม่ได้คิดขึ้นป้ายไว้ก่อนกลัวตกเทรนด์” และ “กูไม่รู้กูอยากอินเทรนด์”

เฟซบุ๊กชื่อ “กู ชื่อ เบิร์ด” มีการล้อเลียนโดยการเขียนข้อความในภาพผิดว่า “คัดค้าน พ.ร.บ.ทิรโนษกรรม” และ ใส่คำว่า “ค้าน” ไว้จำนวนมากในป้าย 

“ป้ายจราจรกำลังไว้ทุกข์” ของ Joey Senchanthichai

รวมทั้ง “คัดค้านการต่อรองราคาศิลปิน” “รับสมัครนางแบบสาวสวย” “คัดค้านการใช้ฟองน้ำดันนม” “คัดค้านการขึ้นคานของเธอ” “ขอคัดค้านก๋วยเตี๋ยวใส่ถั่วงอก” “คัดค้านการไปทำงานวันจันทร์” “อาร์เซน่อลจะเป็นแชมป์พรีเมียลีก” “ผัวด่ามาหาพี่” "ต่อต้านอะไรต่อต้านได้ แต่สาวแว่นต่อต้านไม่ได้" “รับทำ พ.ร.บ.ประกันรถยนต์” “คัดค้านอีกลำยอง หยุดทำร้ายวันเฉลิม” "คัดค้านการเซนเซอร์หนัง AV, คัดค้านการเป็นหนุ่มซิง, คัดค้านการทำป้ายดำคัดค้าน, สนับสนุนเสรีกัญชาเพื่อประชาธิปไตย, รักคนอ่าน, รับทำ พ.ร.บ.รถยนต์, นิรโทษกรรมให้ความโสดของตัวเอง และ “สนับสนุน พ.ร.บ.ขึ้นเงินเดือน” เป็นต้น

โดยเมื่อบ่ายวันที่ 4 พ.ย. แอปพลิเคชัน Molome แอปแชร์ภาพ ซึ่งพัฒนาโดยคนไทย ได้เพิ่มกรอบรูปลักษณะเดียวกันเข้ามาให้โหลดไปเล่นด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สำหรับผู้ที่สนใจสร้างมีมหรือป้ายข้อความของตัวเองสามารถเข้าไปทำได้ที่ http://text.patinya.com/ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำได้สะดวก

 

ทั้งนี้คำว่า มีม(meme) หรือ mimeme หมายถึงการทำตามกัน และเมื่อใช้อธิบายพฤติกรรมในอินเทอร์เน็ตหมยถึงสิ่งที่เผยแพร่อย่างแพร่หลายไปทั่วอินเทอร์เน็ต สามารถเป็นได้ทั้งรูปภาพ วิดีโอ ชื่อ คำพูด วลี หรือประโยคต่างๆ เป็นต้น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net