Skip to main content
sharethis

 

หมายเหตุประเพทไทย สัปดาห์นี้พบกับ อรรถ บุนนาค และพิธีกรรับเชิญ รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มาคุยกันถึงเรื่องรูปแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้างของไทยในยุคหลังการอภิวัฒน์สยาม หรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

อาคารและสิ่งปลูกสร้างสมัยที่คณะราษฎรอยู่ในอำนาจทางการเมืองระหว่าง พ.ศ.2475-2490 เป็นรูปแบบ art deco ของตะวันตกซึ่งรับอิทธิพลจากยุคอุตสาหกรรม โดยจะลดทอนรายละเอียดของลวดลายประดับ เน้นลายเส้นและรูปทรงเรขาคณิตในการออกแบบ และเน้นให้เห็นถึงเนื้อแท้ของวัสดุ เช่น กระจก เหล็ก คอนกรีต โดยก่อนหน้านี้สถาปัตยกรรมแบบ art deco ในสยามเริ่มมีตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 6  เช่น อาคารพาณิชย์บนถนนเยาวราช และศาลาเฉลิมกรุงที่สร้างสมัยรัชกาลที่ 7

สิ่งที่เป็นสัญญะในสถาปัตยกรรมสมัยคณะราษฎร ได้แก่ รัฐธรรมนูญ และหลัก 6 ประการ ซึ่งเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่เป็นส่วนหนึ่งของอาคารและสิ่งปลูกสร้างในยุคนั้น นอกจากนั้นหลังคาของอาคารสมัยคณะราษฎรที่มีลักษณะแบนราบ ก็เป็นการสะท้อนถึงความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันของมนุษย์อีกด้วย สถาปัตยกรรมยุคคณะราษฎรที่สำคัญที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน เช่น ตึกโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ อาคารศาลฎีกา ศาลากลางหลังเก่า จ.อยุธยา และกลุ่มอาคารของคณะราษฎรใน จ.ลพบุรี


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net