Skip to main content
sharethis

กฎหมายไต้หวันฉบับใหม่ ให้ผู้ถูกดำเนินคดีสามารถยื่นขอให้ศาลพิจารณาว่าจะต้องถูกควบคุมตัวต่อไปหรือสามารถประกันตัวได้ ขณะที่มีบทลงโทษหน่วยงานที่ควบคุมตัวผู้ต้องหา แต่ไม่ทำเรื่องส่งฟ้องศาลตามความต้องการของผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่อาจมีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี

9 ก.ค. 2557 - สถานีวิทยุสากลไต้หวัน หรือ RTI ของสาธารณรัฐจีน รายงานว่า กฎหมายการควบคุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวนฉบับใหม่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. ศกนี้เป็นต้นไป โดยได้ขยายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น จากเดิมมีเพียงผู้ต้องหาคดีอาญาสามารถแสดงความจำนงให้มีการส่งฟ้องศาลภายในเวลา 24 ชม.หลังถูกควบคุมตัว ในอนาคตยังรวมถึงชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยอยู่ในไต้หวันอย่างผิดกฏหมาย ทหารที่ถูกลงโทษเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบวินัย ผู้ป่วยโรคจิตหรือผู้ติดเชื้อโรคระบาดที่ถูกกักบริเวณภายหลังถูกควบคุมตัวสามารถยื่นขอให้ศาลพิจารณาว่าจะต้องถูกควบคุมตัวไว้ต่อไปหรือสามารถประกันตัวได้

นายไล่หาวหมิ่น ประธานสภาตุลาการ สาธารณรัฐจีนแถลงว่า ประชาชนที่ถูกหน่วยงานใดๆ ก็ตามนอกเหนือจากศาลจับกุมหรือควบคุมตัว ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ต้องหาคดีอาญาหรือผู้อื่นซึ่งเป็นบุคคลที่สาม ล้วนสามารถยื่นขอให้ส่งฟ้องศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาในทันที นี่เป็นกลไกด้านตุลาการที่ประเทศชาติมีไว้เพื่อเป็นช่องทางช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ประชาชน การยื่นขอให้ศาลเข้ามาเป็นผู้พิจารณาคดีนั้นสามารถใช้วิธีแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือคำพูดปากเปล่าก็ได้ ศาลจะไม่คิดค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น โดยหากหน่วยงานที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาไม่ทำเรื่องส่งฟ้องศาลตามความต้องการของผู้ต้องหาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net