กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอ ครม.พิจารณาร่างความตกลงสร้างรถไฟทางคู่ ความร่วมมือไทย-จีน

14 พ.ย. 2557 - เมื่อวานนี้สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ รายว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างความตกลงโครงการก่อสร้างรถไฟทาง คู่ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างไทยกับสาธารณะรัฐประชาชนจีน วงเงินกว่า 400,000 ล้านบาท

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงผลการหารือกับสาธารณะรัฐประชาชนจีนถึงแนวทางความร่วมมือโครงการก่อ สร้างรถไฟทางคู่ของไทย ว่า รัฐบาลจีนยังมีความสนใจจะเข้ามาร่วมลงทุนในการพัฒนารถไฟทางคู่ของไทย โดยประธานาธิบดีของจีน เร่งรัดให้ไทยมีการพัฒนารถไฟทางคู่โดยเร็ว ให้มีการก่อสร้างเป็นเส้นทางสายไหม ที่จะเชื่อมเส้นทางของจีน เส้นทางหนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด และเก่งค่อย-กรุงเทพ ด้วยรางขนาดมาตรฐาน ในส่วนของไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ยืนยันกับทางรัฐบาลจีน ทั้งกับนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีของจีนว่า จะเดินหน้าพัฒนาเส้นทางรถไฟอย่างแน่นอน ซึ่งเบื้องต้นจะมีการพิจารณาการลงนามความร่วมมือ หรือ MOU ที่เคยมีมาในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึง 2 แนวทาง คือ จะมีการยกเลิก MOU ฉบับเดิม ที่มีการหารือด้วยการนำสินค้าเกษตร ทั้งยางพารา และข้าวไปแลก ส่วนแนวทางที่ 2 ยังคงใช้ความร่วมมือเดิม แต่จะมีการปรับเงื่อนไขให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ส่วนแนวทางในการดำเนินงาน กระทรวงคมนาคมจะนำเสนอกรอบความร่วมมือเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะ รัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า หลังจากได้รับหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จะจัดทำ MOU เพื่อเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เพื่อให้เกิดความรอบคอบของกฎหมาย จากนั้นจะเตรียมร่าง MOU ที่เห็นชอบด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย เฉพาะเรื่องรถไฟจะไปลงนามที่สาธารณรัฐประชาชนจีน คาดว่าจะลงนามความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนได้ภายในเดือนธันวาคมนี้

สำหรับเส้นทางรถไฟจะมีการก่อสร้างเส้นทางหนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด และช่วงเก่งค่อย-กรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อยุทธศาสตร์ของจีน เส้นทางสายไหมของจีนทางบก กับเครือข่ายการเชื่อมโยงประเทศ และกลุ่มประชาคมอาเซียนมาบรรจบที่เวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และหนองคาย รวมระยะทางประมาณ 867 กิโลเมตร วงเงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 400,000 ล้านบาท โดยเส้นทางดังกล่าวจะเป็นความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐ จะมีผลปฏิบัติร่วมกันตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ผ่านคณะทำงานร่วมกันระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อทำการสำรวจออกแบบพร้อมประมาณราคาร่วมกัน สำหรับแนวทางการลงทุน จะหาข้อสรุปถึงความเหมาะสมอีกครั้ง แต่รัฐบาลจีนจะเป็นผู้หาแหล่งเงินทุน โดยรัฐบาลจะเข้าไปร่วมทุน อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการพัฒนาระบบขนส่งทางรางแล้ว รัฐบาลไทยมีโครงการที่จะพัฒนาท่าอากาศยาน ท่าเรือ ซึ่งรัฐบาลมีแนวทางที่ตกลงความร่วมมือในหลายโครงการ ระหว่างญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป ส่วนการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ รัฐบาลมีแผนดำเนินงานในปี 2559

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท