Skip to main content
sharethis

 

 

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ พบกับ ‘คำ ผกา’ และ ‘อรรถ บุนนาค’คุยกันถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมชนบทไทยที่สะท้อนผ่านคน 3 รุ่นในนวนิยายเรื่อง ‘สุดแค้นแสนรัก’ ซึ่งประพันธ์โดย ‘จุฬามณี’ และถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง

นวนิยายดังกล่าว สะท้อนภาพความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางที่ส่งผลต่อสภาพสังคมไทย  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) ที่ริเริ่มในยุคเผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้สร้างชนชั้นกลางในเมือง และนำไปสู่การล้มอำนาจเผด็จการถนอม-ประภาสในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่บรรยากาศประชาธิปไตยเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะยุติลงในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

นโยบาย ‘เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า’ ของรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในปี 2531 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยกลับเข้าสู่ประชาธิปไตยอีกครั้งเป็นเวลาสั้นๆ ก่อนถูกคณะ รสช.ทำรัฐประหารในเดือน ก.พ.2534 ช่วงดังกล่าวเป็นยุคที่เศรษฐกิจไทยเติบโตและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้สังคมชนบทเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ เป็นช่วงเวลาที่ ‘แย้ม’ ตัวละครรุ่นที่ 1 ได้สร้างสถานภาพทางเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่ และเป็นรากฐานให้กับตัวละครในรุ่นที่ 2 และ 3 ซึ่งเป็นรุ่นลูกและหลาน เลื่อนสถานะเข้าสู่ชนชั้นกลาง

ยุค ‘คิดใหม่ ทำใหม่’ ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ในช่วงเวลาแห่งประชาธิปไตยอีกครั้งในปี 2544 ก่อนจะจบลงด้วยการรัฐประหารในเดือน ก.ย.2549 เป็นช่วงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ไปสู่ชนบท และเกิดการเปลี่ยนแปลงในชนบทอย่างกว้างขวางอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตัวละครรุ่นที่ 3 มีวิถีชีวิตและความฝันแบบชนชั้นกลางเต็มรูปแบบดังเช่นชนชั้นกลางทั่วไปในสังคมไทย

คลิกไลค์เพื่อติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของรายการได้ที่ facebook.com/maihetpraphetthai

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net