Skip to main content
sharethis

ไพโรจน์ พลเพชร - อังคณา นีละไพจิตร – สมบุญ สีคำดอกแค - พะเยาว์ อัคฮาด – บุญส่ง ชเลธร - บวร ยสินทร - วีระ สมความคิด - ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที - ชำนาญ จันทร์เรือง - บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ เป็น 121 ผู้สมัครกรรมการสิทธิฯ ชุดใหม่ ขณะที่ 'อมรา พงศาพิชญ์' ห่วงกระบวนการสรรหา เพราะยังไม่ชัดเจนว่า กสม. จะถูกยุบรวมกับองค์กรอื่นหรือไม่

15 มิ.ย. 2558 - วันนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เปิดเผยรายชื่อผู้สมัครเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำนวน 121 ราย ประกอบด้วย

1.นายวัส ติงสมิตร 2.นายบรรจง นะแส 3.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี 4.นางจรวยพร ธรณินทร์ 5.นางสาวชัชสรัญ กตัญญูคุณานนท์ 6. พล.อ.ชนินทร์ จันทรโชติ 7. นางสาวเมธาวี ธารดำรง 8.พันเอกปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ 9. ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม 10. พญ.สุรางค์ เลิศคชาธาร

11. นายชาติชาย สุทธิกลม 12. นายนิทัศน์ ภู่วัฒนกุล 13. นายธารีพันธ์ ทีปะศิริ 14. พล.อ.ธนศักดิ์ สุทธิเทศ 15. นายวีระ สมความคิด 16. นายบวร ยสินทร17. ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล18. นางทิวาพร เสกตระกูล 19. นางสาวนันท์นภัส กาญจนเลขา 20. นายสิทธิพร เศาภายน

21. นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ 22. นางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง 23. นางสุภนิจ รัตนกาญจน์ 24. นายธีรพันธ์ นาทีกาญจนลาภ 25. นายบุญส่ง ชเลธร 26. นายจำลอง รัตนโกเศศ 27. รศ.วันทนา จันทพันธ์ 28. นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ 29. นายบำเพ็ญ สรรพศรี 30. นายวรินทร์ อัฐนาค

31. นางจิตราภา สุนทรพิพิธ 32. รศ.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ 33. นางสมบุญ สีคำดอกแค 34. นายสงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์ 35. นายณัฐเมศร์ เรืองพิชัยพร 36. นายอับดุลอซิซ ตาเดอินทร์ 37. นายกิติภูมิ มัทธุจัด 38. พล.ต.อ.อำนาจ อันอาตม์งาม 39. พล.ต.เจริญ สุดโสภา 40. นางภรณี ลีนุตพงษ์

41. รศ.นพ.ศุภชัย ถนอมทรัพย์ 42. นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม 43. ผศ. วิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ 44. ดร.ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล 45. ผศ.ดร.สุดจิต เจนนพกาญจน์ 46. ว่าที่ ร.ต.สุวุฒิ สุกิจจากร 47. ดร.ฐิติเชฏธุ์ นุชนาฏ 48. นายยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที 49. นายเกษม จันทร์น้อย 50. นางฆริศา ไซอ่ำเอี่ยม

51. นายศรีสุวรรณ จรรยา 52. นายชัยยนต์ จันทร์สว่าง 53. นายนฤทธิ์ ทองโคกสี 54. นายสมเกียรติ รอดเจริญ 55. นายสุวัฒน์ เทพอารักษ์ 56. นายอนุวัติ เตียวตระกูล 57. นายภูวดล เทพวันดี 58. นายสุพจน์ เวชมุข 59. นายเสด็จ เขียวแดง 60. ผศ.ดร.ยศศักดิ์ โกไศยกานนท์

61. พล.ต.ต. กิจพิณิฐ อุสาโห 62. นายไพโรจน์ พลเพชร 63. นายสุทธิศักดิ์ ภัทรมานะวงศ์ 64. นางอังคณา นีละไพจิตร 65. นายสามารถ ภู่ไพบูลย์ 66. นายวิลาส เตโช 67. นางสุพัฒตรา ลิมปะพันธุ์ 68. นายสมโชค จันทร์ทอง 69. นางสาวสุนีย์ ไชยธวัช 70. ดร.วิโรจะโน ชูชาติประเสริฐผล

71. นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย 72. นายชำนาญ จันทร์เรือง 73. คุณทิพย์พาพร ตันติสุนทร 74. นายไพฑูรย์ สว่างกมล 75. พล.ต.หญิง พูลศรี เปาวรักษ์ 76. พ.ต.ท.หญิง ฐิชาลักษณ์ ณรงค์วิทย์ 77. นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล 78. นางพะเยาว์ อัคฮาด 79. นายเทพสิทธิ์ ประวาหะนาวิน 80. นายวันชัย รุจนวงศ์

81. ร.ต.ต.วรยศ ปักษานนท์ 82. นายสิระ เจนจาคะ 83. นายอิทธิกร ขำเดช 84. นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ 85. นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม 86. นายโกวิทย์ บุรพธานินทร์ 87. นายพิทยา จินาวัฒน์ 88. นายเพิ่มศักดิ์ มาราภิรมย์ 89. พล.อ.ภูดิศ ทัตติยโชติ 90. ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิต

91. พล.ท.วิภพ กิวานนท์ 92. นายคมเทพ ประภายนต์ 93. นายสมคิด ศริ 94. นางสาวเสาวนิตย์ ยโสธร 95. รศ.ดร. จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย 96. นายวิชกรพุฒิ รัตนวิเชียร 97. นางสาวศุภมาศ พยัฆวิเชียร 98. นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ 99. นายพงศ์จรัส รวยร่ำ 100. ศ.ดร. วิบูลย์ แช่มชื่น

101. พล.ต.ดร.เจนวิทย์ ยามะรัตน์ 102. นายสมศักดิ์ รังสิโอภาส 103. นายวิวัฒน์ เจริญพาณิชย์ศิริ 104. นางสาวสุกัญญา บุญประเสริฐ 105. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ 106. นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล 107. นายสุชาติ เวโรจน์ 108. นางเอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ 109. นายสุรจิต ชิรเวทย์ 110. พทญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี

111. นายเสกสรร ประเสริฐ 112. นายอัษฎางค์ เชี่ยวธาดา 113. นางจอมศิริ แซ่ลิ้ม 114. ดร.สมเกียรติ บุญรอด 115. ดร.นิภาพร พุทธพงษ์ 116. นางสาวธนาภรณ์ ไชยนันทน์ 117. ดร.บัณฑิต ตั้งประเสริฐ 118. นายพงษ์สิน ตุลย์ฐิตนันท์ 119. นายวิละ อุดม 120. นายสนัน จารุไพบูลย์ 121. รศ.มยุนา ศรีสุภนันต์

 

ประธาน กสม. ห่วงกระบวนการสรรหาชุดใหม่ ไม่เป็นไปตามหลักการปารีส

อนึ่งในวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เผยแพร่ใบแถลงข่าวหัวข้อ “ข้อห่วงใยต่อการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่” ระบุว่า “ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวแสดงความกังวลและห่วงใยต่อกระบวนการการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบกับพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จะไม่สอดคล้องกับหลักการปารีส ซึ่งเป็นหลักการของสหประชาชาติเกี่ยวกับสถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงมีข้อกังวลหลักๆ 3 ประการ ดังนี้”

“1) ความชัดเจนของสถานะองค์กรที่จะไม่มีการควบรวมกับองค์กรอื่นหรือไม่ ซึ่งต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่จะบังคับใช้ในอนาคต

2) ความชัดเจนเรื่องระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของผู้เข้ารับการสรรหา ทั้งนี้ ตามหลักการปารีสระบุว่า “การแต่งตั้งสมาชิกจึงต้องเกิดจากการดำเนินการอย่างเป็นทางการ โดยมีการกำหนดระยะเวลาของการปฏิบัติงานตามอาณัติที่ชัดเจน” แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับร่าง ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ที่กำลังดำเนินการสรรหาอยู่ขณะนี้ ว่าจะมีวาระการทำงาน 6 ปี ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 หรือไม่

3) คุณสมบัติของบุคคลผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ หลักการปารีสระบุว่า “กระบวนการสรรหาต้องมีหลักประกันที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า สถาบันจะเป็นผู้แทนที่หลากหลายของพลังทางสังคมหรือภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน”

ใบแถลงข่าวระบุด้วยว่า “แต่การสรรหาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดให้ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (ไม่มี) ประธานศาลปกครองสูงสุด (ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง) บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก (นายเพ็ง เพ็งนิติ) บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก (นายเฉลิมชัย วสีนนท์) รวม 5 ท่าน เป็นกรรมการสรรหาฯ ซึ่งไม่มีผู้แทนของภาคประชาสังคม”

“อย่างไรก็ตาม ขอเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าควรมีการทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาให้มีความหลากหลายทางวิชาชีพ การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคประชาสังคม อีกทั้งการประเมินคุณสมบัติของผู้สมัครที่เหมาะสม รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา คุณสมบัติของ กสม. ที่มีประสบการณ์การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน และนำไปสู่การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป ซึ่งจะเป็นไปตามหลักการปารีส ทั้งนี้ ขอให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้โปรดให้ความชัดเจนต่อข้อห่วงใยดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าหากมีความชัดเจนจะทำให้มีผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาสมัครเข้ารับการสรรหาเพิ่มมากขึ้น” ใบแถลงข่าวของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติระบุ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net