จอห์น เดรเปอร์ : การลดระดับเรื่องการจัดการการบินทหาร คือ สัญญาณเตือน

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ติด “ธงแดง” ให้กับประเทศไทยเกี่ยวกับข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยที่กรมการบินพลเรือนไม่สามารถแก้ไขปัญหา “ข้อบกพร่องที่มีนัยยะสำคัญต่อความปลอดภัย” (Significant Safety Concerns: SSC) ได้ภายในกำหนดเวลา 90 วัน ซึ่งทาง ICAO ได้ส่งคำเตือนมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ICAO เป็นหน่วยงานสหประชาชาติที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยทางอากาศในโลก กำลังการเดินอากาศและความมีประสิทธิภาพ การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาเศรษฐกิจของการขนส่งทางอากาศ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบซ้ำจะมีทุกๆ สี่เดือน
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคม พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง  ยอมรับเมื่อวันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน ว่านี่ตัวเองล้มเหลวในการปรับโครงสร้างการบิน นอกจากนี้ พล.อ.อประจินยังได้กล่าวอีกว่า อาจจะเป็นความเข้าใจผิดในการสื่อสารระหว่างตัวเองกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ผู้ซึ่งได้รายงานตนว่า ICAO จะไม่เผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบนี้ ซึ่งนั่นหมายความว่า ไม่เพียงแค่การปฏิเสธไม่รับรู้การทำงานของ ICAO แต่ยังเป็นการสบประมาทระบบการทำงานนั้นอีกด้วย
 
สิ่งที่กระทรวงคมนาคมของไทยล้มเหลวในการปฏิรูป คือ ระบบการทำงานที่เหมาะสมในการให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยของกรมการบินพลเรือนของ (DCA) ที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลกผู้ประกอบการและการดำเนินงานของสายการบิน ปัญหาหลัก คือ ปัญหาการขาดแคลนพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมที่จะสามารถดูแลและจัดการกับการทำงานของสายการบินใหม่ ดังนั้นกระทรวงคมนาคมยอมรับว่าไม่มีความสามารถในการจัดการกับระบบการรับสมัครพนักงานเพื่อมาทำหน้าที่กำกับดูแลความปลอดภัย
 
จากข้อมูลของสำนักข่าวเนชั่น ดูเหมือนว่ารายงานนี้มีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ "สายการบินที่ลงทะเบียนกับไทย มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับการสูญเสียความนิยม มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงขึ้น และมีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากผู้ให้บริการจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ผู้ให้บริการไทยยังจะต้องเผชิญกับค่าเช่าเครื่องบินในอัตราที่สูงขึ้น การปฏิบัติตามข้อตกลงที่เข้มงวดมากขึ้น และเบี้ยประกันที่จะถีบตัวสูงขึ้นมาก อุตสาหกรรมการบินนี้มีแนวโน้มที่จะมีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากผู้ให้บริการจากต่างประเทศ ที่อาจจะเปิดตัวเส้นทางใหม่ที่จะจับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้โดยสารที่เดินทางไปและกลับประเทศไทย สายการบินของไทยยังอาจสูญเสียบุคลากรให้กับองค์กรต่างประเทศดังกล่าวที่กำลังต้องการกำลังคนเพิ่มในการทำงานตัวเอง"
 
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ชี้แจงต่อกรณีการให้ธงแดงของ ICAO ว่า "ความกังวลด้านความปลอดภัยที่สำคัญ ไม่ได้หมายความว่า การบริการเดินอากาศ สายการบิน (ผู้ปฏิบัติการ) เครื่องบิน มีข้อบกพร่อง แต่มันหมายถึง การที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเพียงพอในการกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยตามมาตรฐานของ ICAO”
 
คำชี้แจงนี้ ดูเหมือนจะโยนความรับผิดชอบทั้งหมดไปที่รัฐบาลทหาร ซึ่งมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองแบบเผด็จการ และขณะนี้ก็ควบคุมทุกพื้นที่ของประเทศไทยอยู่แล้ว ผลจากการที่การไร้ความสามารถในการปรับปรุงระบบการจัดการสายการบิน ปัจจุบัน เกาหลี จีน และญี่ปุ่น ได้วางข้อจำกัดในเที่ยวบินใหม่ของไทย ในขณะที่สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป ได้มีการตรวจสอบที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์สูงสุดจากสถานการณ์นี้ สถานทูตสหรัฐในกรุงเทพฯได้เสนอที่จะเป็นสื่อกลางในการไกล่เกลี่ยระหว่างสายการบินพลเรือนสหรัฐและไทย
นอกเหนือจากประเทศไทย มีอีกเพียง 12 ประเทศ ที่มีได้ธงแดงของ ICAO นั่นคือ แองโกลา บอตสวานา จิบูตี เอริเทรี จอร์เจีย เฮติ คาซัคสถาน เลบานอน มาลาวี เนปาล เซียร์ราลีโอน และอุรุกวัย ดังรายละเอียดที่เสนอที่นี่ นอกจากเนปาลแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทาง ICAO ได้ แม้ว่าในภาพรวมประเทศจะไม่ได้ดีเท่าที่แนวโน้มควรจะเป็น แต่ก็เป็นที่น่าสนใจที่จะเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ ในแง่ของทำเลที่ตั้งของประเทศ ประเภทของรัฐบาล ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ระดับของเสรีภาพ ระดับของเสรีภาพสื่อมวลชน และดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
 
 
1 หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ ดัชนีประชาธิปไตย (2014) 2 สัมประสิทธิ์จินี หรือสัมประสิทธิ์การกระจายรายได้ (ล่าสุด) 3 รายงานเสรีภาพสื่อโลก – องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (2015), มาตรวัดเราจะใช้ของลิเคิร์ท (Likert Scale) ซึ่งใช้เกณฑ์ 5 ระดับแทน 5 ความหมายคือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด 4 ตัวชี้วัดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ล่าสุด) 5 ใช้เส้นกึ่งกลาง หรือถ้าเป็นไปไม่ได้ ดูวิธีการ คลิกเพื่อดูตารางที่ใหญ่ขึ้น 
 
มองที่ประเทศอื่นๆ เช่น ในทวีปแอฟริกา ใช้ระบอบการปกครองแบบไฮบริด ซึ่งเป็นส่วนผสมของระบอบประชาธิปไตยและเผด็จการเบ็ดเสร็จ ซึ่งมีความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ในระดับปานกลาง (แม้ว่าความไม่เท่าเทียมกันของความมั่งคั่งอาจมีภาพที่แตกต่างกัน) ซึ่งมีส่วนที่ให้ความเป็นอิสระและการมีเสรีภาพสื่อมวลชน และมีการพัฒนาอยู่ในระดับต่ำ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความผิดปกติอยู่บางประการ ที่ไม่เหมือนกับประเทศแอฟริกา เพราะมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับสูง แต่มีสิทธิเสรีภาพอยู่ในระดับต่ำ เพราะประเทศถูกปกครองโดยเผด็จการ (ตามมาตรา 44) ดังนั้น ตามข้อมูลปัจจุบัน ประเทศจึงอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
 
ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่า แม้ประเทศสมาชิกอาเซียนที่จัดได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับต่ำ คือ ลาวและพม่า ก็ยังมีความสามารถในการทำงานภาคการบิน การไร้ประสิทธิภาพของกองทัพไทยในการใช้ระบบการคัดเลือกคนเข้าทำงานที่มีประสิทธิภาพให้ได้ภายในสามเดือน จึงอาจจะเป็นเพราะความเป็นจริงมันที่ว่า ไทยมีปัญหาเรื่องสิทธิ เสรีภาพอยู่ในระดับต่ำ และระบอบการปกครองเผด็จการโดยทหาร ที่น่าตกตะลึง เมื่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคม พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ได้กล่าวถึงเรื่อง “ความเข้าใจผิด” ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการสื่อสารระหว่างตนและนายอาคม ก็สะท้อนให้เห็นถึงความไร้ศักยภาพในการจัดการเรื่องบุคลากร ยกเว้นเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขันและที่ปัญหาเกี่ยวข้องกับกองทัพโดยตรง เช่น กรณีล่าสุดเกี่ยวกับประเด็นการค้ามนุษย์ ทั้งหมดทั้งมวลนั้น เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมากขึ้น เพราะไทยยังยังต้องพึ่งพาภาคการบินในการนำเข้าการท่องเที่ยว ในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยการบิน ซึ่งไทยไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ตามมาตรฐานจะมีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งอาจจะลดลงในปี 2558-2559 ซึ่ง ณ เวลานี้ เรื่องการท่องเที่ยวเป็นสิ่งเดียวที่ช่วยพยุงไม่ให้เศรษฐกิจ เข้าสู่ภาวะถดถอย
 
การขาดความสามารถในแง่ของกาหาผู้จัดการที่มีคุณภาพ บวกกับระบบการปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอ หรือการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ปฏิบัติงานระดับล่างในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งเกิดขึ้นโดยทั่วไปในระบบทหาร แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยเหตุผลนี้ จึงอาจอธิบายได้ว่าทำไมกองทัพไทยจึงไม่สามารถที่จะจัดการระบบการทำงานที่ซับซ้อนหรือดำเนินการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ เช่น การชลประทาน ประเด็นที่สำคัญต่อพัฒนาการเกษตร และประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท