Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

เรื่องราวของนักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชน สมบัติ บุญงามอนงค์ ฉายาหนูหริ่ง หรือ บก.ลายจุด ซึ่งในขณะนี้ได้อยู่ในความสนใจของสื่อต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันสมบัติเรียกได้ว่า ถูกรังแกโดยรัฐไทย ที่นำโดยเผด็จการทหารแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ซึ่งนั่นทำให้สมบัติต้องเผชิญกับ 5 ข้อกล่าวหา รวมถึงข้อหาการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112

พล.อ.ประยุทธ์ เอง ตั้งสมมติฐานว่า กิจกรรมล่าสุดที่สมบัติทำ คือ การขายข้าวนั้น ก็มาจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยสมมติฐานที่ว่า อดีตนายกรัฐมนตรี นายทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้สนับสนุนด้านเงินทุนให้กับสมบัติ ด้วยพล๊อตความคิดความเชื่อแบบนี้ ถือเป็นบุคลิกของรัฐบาลชุดนี้ ที่เกี่ยวเนื่อง (หวังว่าจะไม่ได้ตั้งใจ) กับบุคลิกของเผด็จการฟาสซิสต์ตามที่ได้เคยอธิบายไว้ที่นี่แต่อย่างไรก็ตาม ก็ควรจะชี้ให้เห็นว่า สมบัติเองก็เป็นเจ้าของรายการโทรทัศน์ในช่องทีวีสันติภาพ ซึ่งใช้เป็นช่องทีวีของ นปช ซึ่งก็เคยเชื่อมต่อกับทักษิณ

แต่ทำไมแนวคิดเรื่องการขายข้าวจึงถูกโจมตี? สิ่งที่สมบัติทำ คือ การซื้อข้าวโดยตรงจากเกษตรกร นำมาแพ็คโดยใช้สถานที่เล็กๆ ภายใต้ยี่ห้อ “ลายจุด” เสร็จแล้วก็ขาย สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นการขัดขืนต่อสถานการณ์ปัจจุบัน คือ การซื้อข้าวจากเกษตรกรตัน 15,000 บาท เหมือนกับที่โครงการประกันราคาข้าวในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำ แล้วนำมาทำในรูปแบบของธุรกิจเพื่อสังคมที่ตัดออกพ่อค้าคนกลาง เช่น โรงสีข้าว และระบบราชการ (กระทรวงเกษตร ฯลฯ) ออกไปโดยปริยาย และการขายตรงสู่ผู้บริโภค

ในขณะเดียวกัน คนส่งข้าวก็จะได้ค่าส่งถุงละ 15 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาตลาดโดยทั่วไป ราคาซื้อข้าวที่สูงกว่าราคาตลาด รวมกับค่าจัดส่งต่อถุงที่สูงกว่าตลาดเช่นกัน จึงเป็นสองปัจจัย ที่ทำให้ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งก็เป็นกิจกรรมการค้าที่คล้ายคลึงกับสินค้ายี่ห้อดอยคำ ภายใต้โครงการหลวงมากกว่าที่เป็นแบบทุนนิยมสมบูรณ์แบบ

พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้เหน็บแนมว่า ข้าวลายจุดซื้อข้าวจากเกษตรกรทั้งหมด และบริหารจัดการระบบสินค้าเกษตรของประเทศไปเลย แต่คำถามคือ ทำไมจะทำไม่ได้ล่ะ ทำไมข้าวไทยจึงไม่ทำเป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่ใช้การตลาดขายตรงกับลูกค้า?

มันก็คงจะมีคนอยู่สองกลุ่มหลักๆ ที่จะไม่ชอบแนวคิดนี้แน่ๆ คือ พวกเจ้าของโรงสีและไซโล ที่มีสมาคมของตัวเอง และก็เป็นพ่อค้าคนกลางมาแต่ในอดีต ซึ่งคนสองกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่มีโอกาสอันน้อยนิดในการได้รับการจ้างงานในช่วงที่ไทยเป็นประเทศสยาม นอกเหนือจากการเป็นลูกจ้างของรัฐ อันนี้รวมถึงการค้าข้าวด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง เราก็ยังมีความความจำเป็นที่จะต้องใช้บริการของพวกเขา นอกเสียจากว่าแทนที่รัฐบาลจะจ่ายให้กับโรงสีและไซโลข้าว ก็นำเงินส่วนนั้นมาจ้างให้สมาคมเกษตรกรทำแทน  

ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ที่อาจจะไม่พอใจกับแนวคิดนี้ ก็คือ ข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่นที่สร้างรายได้จากการตรวจสอบ กำกับดูแล และการเพิ่มเทปสีแดงให้กับการเคลื่อนไหว และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าว แต่นี่ก็ไม่ใช่หนึ่งในปัญหาที่เผด็จการทหารพยายามที่จะแก้อยู่หรือ?

แต่ มีคำถามเกี่ยวเรื่องความเชี่ยวชาญด้านการตลาดของสมาคมเกษตรกร คำตอบ คือ สมาคมเกษตรกรสามารถที่จะจ้างผู้ประกอบการธุรกิจค้าข้าวในประเทศและต่างประเทศที่รู้ว่าพวกเขากำลังทำอะไรและต้องทำอะไรในธุรกิจนี้ อธิบายง่ายๆ ก็คือ  แรงงานจ้างผู้จัดการ แทนที่จะเป็นผู้จัดการจ้างแรงงาน

สุดท้าย คุณจะค่อยๆ เห็นความสมบูรณ์ของรูปแบบเศรษฐกิจแนวใหม่ ในอดีตชาวนา คือชนชั้นล่างสุดของระบบห่วงโซ่อาหาร ที่ทั้งยากจน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทย-ลาวที่ทำการเกษตรแถบพื้นที่ชายขอบ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาทุกประเภท เช่น ดินเค็ม และการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเกินปริมาณที่กำหนด ซึ่งในรูปแบบนี้ การสั่งการจะทำโดยรัฐ แต่ถ้าเกษตรกรทำงานร่วมกัน และใช้ระบบประชาธิปไตยในการเลือกผู้นำของสมาคมเกษตรกร ซึ่งหลายที่ทำอยู่แล้ว เป็นผู้ที่จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโดยตรง ให้มาทำหน้าในการประสานงาน ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงระดับบริษัท ซึ่งเป็นการตัดบทบาทรัฐออกไป นั่นหมายถึงคุณมีพื้นฐานของระบบประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ

บางคนอาจกล่าวว่านี่เป็นรูปแบบของลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่อันที่จริงแล้ว มันไม่ใช่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เพราะลิทธิคอมมิวนิสต์จะมีระบบสั่งการผ่านระบบราชการส่วนกลาง จัดหา จัดการ ตามความต้องการและดำเนินงานโดยตรง โดยคณะกรรมการทั้งหมดที่ดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ ผ่านรัฐบาลพรรคเดียว อันที่จริง รัฐไทยก็ได้ควบคุมการจัดหาหรือจัดส่งข้าวอยู่ ซึ่งนั่นก็คือไทยอยู่ระบอบสังคมนิยม - เศรษฐกิจแบบออกคำสั่ง – ซึ่งบางครั้งก็ได้หยิบยืมรูปแบบของรัฐบาลเผด็จการมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา แต่โดยรวมแล้ว เศรษฐกิจไทยเองก็มีธุรกิจจากภาคเอกชนที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราเรียกระบบเศรษฐกิจแบบนี้ว่าเป็น “เศรษฐกิจแบบไฮบริด” และการแนะนำระบบประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจให้เป็นอีกระบบหนึ่ง ก็ไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบของเศรษฐกิจไทยจากการเป็นระบบเศรษฐกิจแบบไฮบริดในชั่วข้ามคืน

บทบาทที่สมบัติได้สร้างให้ตัวเองในฐานะผู้ประกอบการทางสังคมถือได้ว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังคงผู้จัดการที่ต้องจ้างพนักงาน และแนวคิดนี้ก็มีขนาดเล็กเกินไป ซึ่งเป็นเหตุผลที่พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด มีข้อเสนอแนะให้สมบัติคิดการใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงก็ถือว่ายอดเยี่ยม เห็นได้ชัดว่าไม่มีทางลัดสำหรับการแก้ไขปัญหาข้าวในประเทศไทย ภาคการเกษตรเองก็ฝากคำถามทางสังคมการเมือง และชาติพันธุ์ถึงคนไทยทุกคน แต่พันเอกสรรเสริญควรจะให้คำแนะนำแก่พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจผ่านการตัดพ่อค้าคนกลางออกจากระบบเศรษฐกิจนี้ การตัดระบบราชการที่ไม่จำเป็นออกทันที

เกษตรกรและสมาคมที่เป็นตัวแทนของพวกเขา ควรที่จะจ้างสมบัติ ซึ่งเป็นคนที่มีความสามารถที่จะนำทีมผู้บริหาร และร่วมงานกันในการที่จะเจรจาต่อรองกับระบบราชการ และการสร้างแผนธุรกิจ จากนั้นการจัดการจ้างงานของสมาคม จะรับผิดชอบต่อสมาคม ซึ่งจะกลายเป็นคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร ผู้บริหารระดับสูงนี้ได้รับเงินกู้ยืมจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  และพันธมิตรทางธุรกิจที่มั่นคง ผ่านขั้นตอนนี้ สมาคมเกษตรกรสามารถควบคุมดูแลการสี การจัดเก็บ การตลาด และการขายข้าวของพวกเขา ที่อาจใช้การทางแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการขายในจำนวนมากก เช่น เว็บไซท์ขายของออนไลน์อาลีบาบา

ข้อผิดพลาดที่เกิด จะทำผู้จัดการถูกไล่ออก และทุกอย่างก็จะดำเนินไปอย่างผิดปกติ ดังนั้น มันอาจจะต้องมีกฎระเบียบบางอย่าง และแน่นอนว่ามันควรจะมีองค์กรอิสระที่จะมาตรวจสอบ และระบบการประกันภัยพิบัติของรัฐ เข้ามาช่วยสนับสนุน แต่ในพูดกันตามจริงแล้ว ในเกมนี้ ก็ไม่มีอะไรจะต้องเสีย จากการกองทัพจะให้การสนับสนุนวิธีการที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถที่จัดการกับชีวิตและอนาคตของตัวเขาเอง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net