ถอดบทเรียนจากการลงพื้นที่ค่ายสานสัมพันธ์สู่ชุมชน ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา

ถอดบทเรียนจากการลงพื้นที่ค่ายสานสัมพันธ์สู่ชุมชน ของชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอ.ปัตตานี ณ ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา
 
 
ตำบลปากบาง อันเป็นว่าที่สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรทั้งทางบกที่เป็นพื้นที่เษตรกรรมและทางทะเลที่เปรียบเสมือนเป็นตู้กับข้าวของคนในพืนที่ และคนบริเวณใกล้เคียงคือ ปาตานี เช่น การทำประมงพื้นบ้าน(ประมงชายฝั่ง) การปลูกยางพารา ทำนา ฯลฯ ส่วนรายละเอียดโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เป็นโรงไฟฟ้าขนาด 2200 เมกาวัตต์ กินเนื้อที่ทั้งหมด 2960 ไร่ พร้อมท่าเรือข่นส่งถ่านหินที่ยื่นออกไปในทะเลมีความยาว 3 กิโลเมตร และจะมีการเผ่าถ่านหินถึงวันละ 23 ล้านกิโลกรัม พื้นที่รัศมีความร้อนจากโรงไฟฟ้าไกลถึง 5 กิโลเมตร และตัวโรงไฟฟ้าห่างจากเขตแดนปัตตานี 2-3 กิโลเมตร
 
การลงพื้นที่ของนักศึกในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการลงพื้นที่สำรวจ คือ 1.ให้นักศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านของคนในพื้นที่ 2.เรียนรู้และรับฟังปัญหาผลกระทบของการเข้ามาของโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเรือข่นส่งถ่านหินจากกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อให้ตอบโจทย์การเรียนรู้และรับฟังปัญหาได้ทั่วถึงซึ่งได้แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
 
1.กลุ่มศึกษาป่าชายเลน ได้ไปงมหอยนางรม
2.กลุ่มศึกษาประมงชายฝั่ง ไปศึกษาการหาหอยเสียบ วางอวนลอยดักปลากระบอก
3.กลุ่มศึกษาชุมชนชาวประมงปากบาง แม่น้ำเทพา
4.กลุ่มศึกษาชุมชนชาวปากบางพระพุทธ ม.7 ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา ได้ศึกษาการแปรรูปปลาแห้ง
5.กลุ่มศึกษาประมงทะเล โดยได้ออกเรือกับชาวประมงไปสำรวจทะเลที่ตั้งโครงการท่าเรือสำหรับโรงไฟฟ้า และที่เรือขุดเจาะดินของ กฟผ.ที่ไม่ได้รับอนุญาต ได้ขุดเจาะทำลายปะการัง และแหล่งทำมาหากินของชาวประมง
 
ผลจากการลงพื้นที่สำรวจสอบถามของกลุ่มนักศึกษาส่วนใหญ่ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าชาวบ้านส่วนใหญไม่เห็นด้วยกับการมาของโรงไฟฟ้าแต่มีส่วนน้อยที่จะออกมาแสดงพลังคัดค้าน และมีชาวบ้านบางส่วนที่เห็นด้วยกับการมาของโรงไฟฟ้าโดยหลงเชื่อคำโฆษณาว่าถ่านหินสะอาด และชาวบ้านส่วนใหญ่กังวลกับปัญหามลพิษที่ตามมากับโรงไฟฟ้า เพราะเล็งเห็นกรณีตัวอย่าง เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดระยอง ที่ชาวบ้านส่วนใหญป่วยด้วยโรคมะเร็ง บทสรุปนักศึกษาทั้งหมดที่ไปลงพื้นที่สำรวจโหวตเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งในการมาของโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเรือข่นส่งถ่านหิน
 
การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เราไม่ได้จะขัดขวางการพัฒนาแต่เราอยากอยู่บนวัฒนธรรมและสิ่งดีงามที่มีมาแต่บรรพบุรุษ จะเป็นอย่างไรถ้าอนาคตข้างหน้า สงขลา เทพา จะนะ ปาตานี แผ่นดินที่มีจิตรวิญญานถูกทับถมด้วยปูนซีเมน ปล่องท่อ และหมอกควัน ทำไม!แผ่นดินที่เราร่วมกันรักษาจะต้องมีคนมาเอาไปเพียงเพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย? แล้วทำไมต้องให้คนยากคนจนต้องเป็นคนเสียสละ?
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท