Skip to main content
sharethis
ยังต้องจับตาภาคอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลเดือนมกราคม 2559 พบการจ้างงานชะลอตัวร้อยละ -1.85 , การว่างงานขยายตัวร้อยละ 82.65 , การเลิกจ้างขยายตัวร้อยละ 150.85 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2558
 
 
5 มี.ค. 2559 ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานวิเคราะห์ข้อมูลการจ้างงาน [1] การเลิกจ้าง [2] และการว่างงาน [3] ของแรงงานในระบบประกันสังคม จำแนก 5 รายอุตสาหกรรม ณ เดือนมกราคม 2559 ซึ่งเป็นประเภทกิจการที่มีความสำคัญต่อการส่งออก หรือมีการจ้างงานในสัดส่วนที่สูง มีสถานะดังนี้
 
1. สิ่งทอ การจ้างงานชะลอตัวร้อยละ -3.54 , การว่างงานชะลอตัวร้อยละ -8.70, การเลิกจ้างชะลอตัวร้อยละ -25.17
2. เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ การจ้างงานชะลอตัวร้อยละ -1.85 , การว่างงานขยายตัวร้อยละ 82.65 , การเลิกจ้างขยายตัวร้อยละ 150.85
3. เครื่องใช้ไฟฟ้า การจ้างงานขยายตัวร้อยละ 6.11 , การว่างงานขยายตัวร้อยละ 60.11 , การเลิกจ้างขยายตัวร้อยละ 105.45
4. ยานยนต์ การจ้างงานชะลอตัวร้อยละ -3.41 , การว่างงานขยายตัวร้อยละ 17.40 , การเลิกจ้างขยายตัวร้อยละ 139.34
5. เครื่องประดับ การจ้างงานขยายตัวร้อยละ 2.43 , การว่างงานขยายตัวร้อยละ 1.64 , การเลิกจ้างขยายตัวร้อยละ 18.18
 
_______
 
[1] การจ้างงาน = ผู้ประกันตน มาตรา 33 ในระบบประกันสังคม
 
[2] การเลิกจ้าง = ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ประเภทเลิกจ้าง (R3) ในระบบประกันสังคม
 
[3] การว่างงาน = ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานทั้งหมด (R1-R3) ในระบบประกันสังคมประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ ลาออก (R1) สิ้นสุดสัญญาจ้าง (R2) และเลิกจ้าง (R3)
 
ข้อมูลการจ้างงาน การเลิกจ้าง และการว่างงาน ของแรงงานในระบบประกันสังคม จำแนก 5 รายอุตสาหกรรม ณ เดือนมกราคม 2559
 
อุตสาหกรรมสิ่งทอ มีการจ้างงานจำนวน 154,295 คน มีผู้ว่างงาน จำนวน 1,699 คน มีผู้ที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 675 คน จากข้อมูล ณ มกราคม 2559 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว (ธันวาคม 2558) พบว่า การจ้างงาน ในอุตสาหกรรมสิ่งทอมีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -1.28 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีที่แล้ว (มกราคม 2558) พบว่า การจ้างงานมีอัตราการชะลอตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ -3.54 อย่างไรก็ตาม กลุ่มสิ่งทอที่ผลิตสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องภายในประเทศจะขยายตัวได้ ส่วนการส่งออก คาดว่าจะหดตัวจากผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เนื่องจากเวียดนามซึ่งเป็นตลาดหลักนำเข้าผ้าผืนจากไทยลดลง
 
ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้าง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -5.33 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (มกราคม 2558) มีอัตราการชะลอตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ -25.17 ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้างชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และผู้ว่างงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็น ร้อยละ -9.82 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (มกราคม 2558) มีอัตราการชะลอตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ -8.70
 
อุตสาหกรรมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ มีการจ้างงานจำนวน 403,744 คน ผู้ว่างงานจำนวน 5,799 ผู้ที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 2,644 คน จากข้อมูล ณ มกราคม 2559 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว (ธันวาคม 2558) พบว่าการจ้างงาน ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -1.23 และเมื่อเทียบข้อมูลเดือนเดียวกันกับปีที่แล้ว (มกราคม 2558) พบว่า การจ้างงานมีอัตราการชะลอตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ -1.85 เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักทุกตลาดปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD Semiconductor Monolithic IC และ Other IC เนื่องจากความต้องการคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊คในตลาดโลกลดลง
 
ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้าง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -8.73 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (มกราคม 2558) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 150.85 และผู้ว่างงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -9.36 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (มกราคม 2558) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 82.65
 
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการจ้างงานจำนวน 119,147 คน มีผู้ว่างงานจำนวน 1,172 คน ผู้ที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 415 คน จากข้อมูล ณ มกราคม 2559 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว (ธันวาคม 2558) พบว่า การจ้างงาน ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีอัตราการขยายตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ 0.17 และเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (มกราคม 2558) พบว่า การจ้างงานมีอัตราการขยายตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 6.11 เนื่องจากตลาดในประเทศ และการส่งออกไปตลาดหลักเริ่มมีการฟื้นตัวบ้าง
 
ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้าง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการขยายตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ 1.72 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (มกราคม 2558) มีอัตราการขยายตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 105.45 ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้างมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 เนื่องจากเครื่องรับโทรทัศน์มีผู้ผลิตบางรายย้ายฐานการผลิตไปประเทศกลุ่มอาเซียน (เวียดนาม) และผู้ว่างงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็น ร้อยละ -10.74 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (มกราคม 2558) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 60.11 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12
 
อุตสาหกรรมยานยนต์ มีการจ้างงานจำนวน 235,127 คน ผู้ว่างงานจำนวน 2,200 คน ผู้ที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 438 คน จากข้อมูล ณ มกราคม 2559 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว (ธันวาคม 2558) พบว่า การจ้างงาน ในอุตสาหกรรมยานยนต์ชะลอตัวจากเดือนก่อน (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -0.43 และเมื่อเทียบข้อมูลเดียวกันกับปีที่แล้ว (มกราคม 2558) พบว่า การจ้างงานมีอัตราการชะลอตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ -3.41 เป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 เนื่องจากการส่งออกชะลอตัวในประเทศแถบโอเชียเนียแอฟริกา ยุโรป รวมทั้งอมิรกากลางและอเมริกาใต้
 
ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้าง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -10.43 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (มกราคม 2558) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 139.34 และผู้ว่างงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็น ร้อยละ -14.10 แต่เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (มกราคม 2558) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 17.40
 
อุตสาหกรรมเครื่องประดับ มีการจ้างงานจำนวน 72,102 คน ผู้ว่างงานจำนวน 866 คน ผู้ที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 312 คน จากข้อมูล ณ มกราคม 2559 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว (ธันวาคม 2558) พบว่า การจ้างงาน ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับมีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -1.11 และเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (มกราคม 2558) พบว่า การจ้างงานมีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 2.43 เนื่องจากภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ภาคผลิตและการจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดหลัก ทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการผลิตเพื่อสต๊อกสินค้าทดแทนการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา แนวโน้มการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่า จะขยายตัวโดยมีผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
 
ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้าง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -34.86 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (มกราคม 2558) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 18.18 และผู้ว่างงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2559 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -25.02 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (มกราคม 2558) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 1.64
 
สรุปภาวะเศรษฐกิจแรงงานเดือนมกราคม 2559
 
 
 
ในด้านสถานการณ์จ้างงานจากข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2559 มีลูกจ้างที่มีนายจ้างในระบบประกันสังคม (ม.33) จำนวน 10,314,551 คน มีอัตราการขยายตัว 3.10% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือนมกราคม 2558) ซึ่งมีจำนวน 10,004,515 คน แต่หากพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลง (YoY) ของเดือนมกราคม 2559 เทียบกับเดือนธันวาคม 2558 โดยในเดือนมกราคม 2559 มีอัตราการขยายตัว (%YoY) อยู่ 3.10% ชะลอตัวจากเดือนธันวาคม 2558 (%YoY) ซึ่งอยู่ที่ 3.61 สถานการณ์การ จ้างงานขยายตัวมากกว่า 1% จึงถือว่าสถานการณ์การจ้างงานอยู่ในภาวะปกติ
 
ในด้านสถานการณ์ว่างงาน (ผู้ว่างงาน หมายถึง ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม : SSO) จากข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2559 มีผู้ว่างงานจำนวน 114,150 คน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (เดือนมกราคม 2558) มีจำนวน 95,909 คน แสดงว่าผู้ว่างงานมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัว (%YoY) อยู่ที่ 19.02% ซึ่งตัวเลขเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2558 เทียบกับเดือนธันวาคม 2557 (%YoY) ซึ่งอยู่ที่ 15.67% แต่ว่าหากเทียบระหว่างเดือนมกราคม 2559 กับเดือนธันวาคม 2558 (%MoM) ชะลอตัวลดลงจากเดือนที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 0.24% มาอยู่ที่ -7.60%
 
ในด้านสถานการณ์เลิกจ้าง (ผู้ถูกเลิกจ้าง หมายถึง ผู้ถูกเลิกจ้างที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากกรมการจัดหางาน) จากข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2559 มีผู้ถูกเลิกจ้างในระบบประกันสังคมจำนวน 9,218 คน (มีอัตราชะลอตัว อยู่ที่ 18.03%) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (มกราคม 2558) มีจำนวน 7,810 คน ดังนั้น ณ เดือนมกราคม 2559 สถานการณ์เลิกจ้างยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าตัวเลขการเลิกจ้างเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาขยายตัว (MoM) อยู่ที่ 31.05 (ดูแผนภาพที่ 4 และตารางที่ 2) อย่างไรก็ตามถือว่าการเลิกจ้างอยู่ที่ 18.03% ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 3 ปี ในช่วงเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ ซึ่งอยู่ที่ 41.01% (ใช้ฐานข้อมูลปี 2548–2551) ทั้งนี้กระทรวงแรงงานได้สั่งการให้ส่วนราชการในพื้นที่ทุกจังหวัดติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านแรงงาน โดยให้มีการรายงานเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านแรงงานทุกเดือน โดยจับตาแนวโน้มและสัญญาณตัวเลขการเลิกกิจการ การเลิกโรงงานและความเคลื่อนไหวของการจ้างงานของธุรกิจทุกขนาดในพื้นที่จังหวัดอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันปัญหาและสามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือแก้ไขได้ทันท่วงที
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net