'สาละวินวอชต์' เผยความคืบหน้าเขื่อนสาละวินในพม่า

เครือข่ายสาละวินวอชต์เผยรายงานความคืบหน้าเขื่อนสาละวินในพม่าซึ่งทั้งหมดอยู่ในพื้นที่รัฐชาติพันธุ์ตั้งแต่รัฐฉาน รัฐคะยา ลงมาถึงรัฐกะเหรี่ยง พรมแดนไทยตั้งแต่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก โดยเขื่อนสาละวินทั้ง 7 โครงการเป็นการลงทุน/รับซื้อไฟฟ้าโดยไทยและจีน
 
 
13 มี.ค. 2559 เครือข่ายสาละวินวอชต์ Salween Watch Coalition เผยรายงานความคืบหน้าเขื่อนสาละวินในพม่าซึ่งทั้งหมดอยู่ในพื้นที่รัฐชาติพันธุ์ ตั้งแต่รัฐฉาน รัฐคะยา ลงมาถึงรัฐกะเหรี่ยง พรมแดนไทยตั้งแต่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก โดยเขื่อนสาละวินทั้ง 7 โครงการเป็นการลงทุน/รับซื้อไฟฟ้าโดยไทย (กฟผ. และเอกชน) และจีน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 

รายงานสถานการณ์เขื่อนสาละวินในพม่า

โดย เครือข่ายสาละวินวอชต์ Salween Watch Coalition

มีนาคม 2559

แม่น้ำสาละวิน สายน้ำที่ส่วนใหญ่ของลำน้ำยังคงไหลอย่างอิสระจากต้นกำเนิดที่เทือก เขาหิมาลัย สู่ทิเบต และมณฑลยูนนานของจีน สาละวินไหลขนานกับแม่น้ำโขงและแม่น้ำแยงซีเกียง ในบริเวณ “สามแม่น้ำไหลเคียง” ซึ่งยูเนสโกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จากนั้นสาละวินไหลข้ามพรมแดนเข้าสู่ทางตอนเหนือของรัฐฉาน พม่า  ผ่านใจกลางของรัฐฉาน ลงสู่รัฐคะยา หรือคะเรนนี ไหลเป็นเส้นพรมแดนระหว่างรัฐกะเหรี่ยง และอ.แม่สะเรียง และอ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จากนั้นไหลกลับเข้าพม่า ลงสู่รัฐมอญ และไหลออกทะเลที่เมืองเมาะลำไย หรือมะละแหม่ง รัฐมอญ รวมความยาวทั้งสิ้น 2,800 กิโลเมตร

สาละ วิน คือสายน้ำอันเป็นบ้านของชาติพันธุ์ต่างๆ มากมาย และยังเป็นแหล่งทรัพยาธรรมชาติที่สำคัญ มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อนที่ยังถูกมนุษย์รบกวนน้อยหากเทียบกับ แม่น้ำหลักสายอื่น ๆ

หลาย ทศวรรษที่ผ่านมามีความพยายามที่จะสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าบน แม่น้ำสาละวินตลอดลุ่มน้ำ แต่ในพม่านั้นกลับมีการคัดค้านมาโดยตลอดเนื่องจากการสู้รบระหว่าง กองกำลังชาติพันธุ์กับกองทัพพม่า และผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน

ต้น เดือนมีนาคม 2559 หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทมส์ ลงข่าวว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลทหารของไทย ได้เยือนพม่าและหารือกับรัฐบาลพม่าในการสร้างความร่วมมือด้านพลังงานและ พัฒนาโครงการเขื่อนเมืองโต๋น ในรัฐฉาน ซึ่งจะมีกำลังผลิตเป็นสิบเท่าของเขื่อนภูมิพล

รายงาน ชิ้นนี้รวบรวมสถานการณ์ล่าสุดของโครงการพัฒนาบนแม่น้ำสาละวินในพม่า เท่าที่ข้อมูลสามารถสืบค้นได้ ดังนี้

ตารางสรุปข้อมูลเขื่อนบน แม่น้ำสาละวินในพม่าและพรมแดนไทย-พม่า

ชื่อโครงการ

กำลังผลิตติดตั้ง เมกะวัตต์

ผู้ลงทุน

สถานะของโครงการ

1 เขื่อนฮัตจี

1360 MW

กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล

กระทรวงพลังงานไฟฟ้า (พม่า)

Sinohydro (จีน)

International Group of Entrepreners Co. (พม่า)

 

EIAแล้วเสร็จ

การศึกษาผลกระทบ เพิ่มเติมแล้วเสร็จ (ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี)

2 เขื่อนสาละวินชายแดนไทย-พม่า (ดา-กวิน)

729 MW

กฟผ.

ศึกษาความเป็นไปได้

3 เขื่อนสาละวินชายแดนไทย-พม่า (เวยจี)

4,540 MW

กฟผ.

ศึกษาความเป็นไป ได้

4 เขื่อนยวาติ๊ด

4500 MW

(หรือ 600 MW)

China Datang Corporation  

United Hydropower Developing co.

Shwe Taung Hydropower Co.Ltd

 

MOU เพื่อศึกษาโครงการ

5 เขื่อนเมืองโต๋น (มายตง) เดิมเรียกเขื่อนท่าซาง

7110 MW

China Three Gorges

Sinohydro

China Southern Power Grid

International Group of Entrepreneurs

กฟผ.อินเตอร์ เนชั่นแนล

 

ทำการศึกษาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม EIA โดยบริษัทที่ปรึกษาออสเตรเลีย Snowy Mountain Engineering Corporation

6 เขื่อนกุ๋นโหลง  

1400 MW

กระทรวงพลังงาน ไฟฟ้าพม่า

Hanergy Holdimng Group

Asia World (Gold water Resources)

การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดย Hydro China

7 เขื่อนหนองผา

1,200 MW

Hydrochina

IGE

กระทรวงพลังงานไฟฟ้า (พม่า)

MOU เพื่อพัฒนาโครงการ

 

อ่านเพิ่มเติมในรายงาน http://www.internationalrivers.org/files/attached-files/salween_factsheet_2016.pdf

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท