TCIJ: ย้อนดู ‘พืชทางเลือก’ ตามใบสั่งรัฐบาล ‘สบู่ดำ-หญ้าเนเปียร์-หมามุ่ย’ ไปไม่ถึงฝัน

รายงานพิเศษจาก TCIJ ชวนย้อนไปดูชะตากรรมของ ‘สบู่ดำ-หญ้าเนเปียร์-หมามุ่ย’ ที่เคยถูกจับตาว่าน่าจะเป็นพืชแก้จนให้เกษตรกรไทย แต่ท้ายสุดก็เป็น ‘ฝันค้าง’ ไม่สามารถปลูกแพร่ หลาย และไม่มีตลาดรองรับได้จริง
 
21 มี.ค. 2559 เว็บไซต์ TCIJ รายงานว่าผลผลิตทางการเกษตรของไทยหลายอย่าง ที่ส่งออกติดอันดับต้นของโลก ทำรายได้เข้าประเทศมหาศาล ต้องเผชิญวิกฤตหลายด้านในรอบกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งปัญหาการแข่งขันจากประเทศผู้ผลิตอื่น ปัญหาการเมืองในประเทศที่ส่งผลโดยตรงต่อนโยบาย และปัญหาภัยพิบัติต่างๆ เมื่อมีวิกฤตใดเกิดขึ้น รัฐบาลไทยมักมีคำสั่งทั้งที่ผ่านหน่วยราชการและผ่านสื่อ ให้เกษตรกรงดเว้นการปลูกพืชชนิดนั้นนี้ และหันมาปลูกพืชชนิดใหม่ ๆ โดยเฉพาะในรัฐบาลคสช.อย่างที่เป็นข่าวอยู่บ่อย TCIJ ชวนย้อนไปดูชะตากรรมของ ‘สบู่ดำ-หญ้าเนเปียร์-หมามุ่ย’ ที่เคยถูกจับตาว่าน่าจะเป็นพืชแก้จนให้เกษตรกรไทย แต่ท้ายสุดก็เป็น ‘ฝันค้าง’ ไม่สามารถปลูกแพร่ หลาย และไม่มีตลาดรองรับได้จริง
 
สบู่ดำ
 
 
ที่มาภาพ: วิกิพีเดีย
 
ช่วงปี 2555 ขณะที่วิกฤตพลังงานกำลังคุกรุ่น ราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พืชพลังงานใหม่ ๆ ถูกปลุกมากระแสว่าจะเป็นทางรอดของประเทศกสิกรรมอย่างไทย โดยครั้งนั้น พืชนอกสายตาที่ถูกหยิบยกมาให้ความหวังครั้งใหม่กับเกษตรกรก็คือ 'สบู่ดำ' ซึ่งในคราวนั้นยักษ์ใหญ่ยานยนต์อย่าง โตโยต้า, อีซูซุ รวมทั้งบริษัทด้านพลังงาน ปตท. และหน่วยงานของรัฐอย่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ได้ลงทุนทำการวิจัยอย่างเป็นล่ำเป็นสันเลยทีเดียว โดยข้อมูลจาก สวทช. ระบุว่าในการวิจัยคิดค้นและพัฒนาพลังงานทดแทนจากพืชสบู่ดำนั้นจะใช้ระยะเวลาศึกษาวิจัย 3 ปี ใช้งบประมาณถึง 300 ล้านบาท
 
แม้ในการทดลองนำร่องถือว่าสบู่ดำสามารถเป็นทางเลือกได้จริง ๆ แต่กระนั้น การปลูกสบู่ดำอย่างแพร่หลายก็เป็นแค่ฝันค้าง แม้ในตอนนั้นจะมีพ่อค้าหัวใสนำเมล็ดพันธุ์สบู่ดำไปขายให้เกษตรกรถึงขั้นมีการการันตีรับซื้อบ้าง แต่ก็พบว่าเป็นช่วงระยะเวลาเพียงชั่ววูบ เมื่อเกษตรกรปลูกแล้วไม่คุ้มทุน ขาดการส่งเสริมจากภาครัฐ โดยเฉพาะโรงงานแปรรูปสบู่ดำให้เป็นพลังงานนั้นก็มีไม่กี่แห่ง และไม่ได้กระจายตัวไปในพื้นที่ที่เกษตรกรมีศักยภาพในการปลูกสบู่ดำในปริมาณมากพอที่จะเรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมได้
 
การโฆษณาปลูกสบู่ดำเกินจริงในช่วงปี 2558 ที่ผ่านมา ในแถบจังหวัดภาคอีสานได้มีขบวนการหลอกลวงชาวบ้านให้สมัครเป็นสมาชิกปลูกสบู่ดำ อ้างว่ามีเงินทุนสนับสนุนจากประเทศเบลเยี่ยมโดยจะรับซื้อผลผลิตเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบทำไบโอดีเซล จนมีผู้หลงเชื่อจ่ายเงินค่าสมัครเป็นจำนวนมาก 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท