Skip to main content
sharethis

ในยุครัฐบาล คสช. การแสดงออกทางการเมืองถูกจำกัดมาก การจัดกิจกรรมรวมตัวเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือการชุมนุมสาธารณะถูกห้ามโดยเด็ดขาด ส่วนงานเสวนาทางวิชาการ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมในมหาวิทยาลัยก็ถูกห้ามด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่นกัน บางครั้งการพยายามแทรกแซงหรือปิดกั้นก็มาแบบแยบยลโดยเจ้าหน้าที่รัฐไม่ออกหน้า เพื่อให้สังคมไม่รู้สึกถึงความพยายามปิดกั้นเหล่านี้

นับถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีกิจกรรมที่ถูกปิดกั้น-แทรกแซง นับได้อย่างน้อย 111 ครั้ง แบ่งเป็นกิจกรรมสาธารณะ 38 ครั้ง และกิจกรรมลักษณะนั่งโต๊ะเสวนา 73 ครั้ง

แม้นักกิจกรรมจะหาวิธีแสดงออกโดยใช้ "กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์" แทน เช่น การอ่านหนังสือ, การกินแซนวิช แต่กิจกรรมต่างๆ ก็ยังถูกห้ามในนามของความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของรัฐ เมื่อการแสดงออกในเรื่องต่างๆ ทำไม่ได้สังคมจึงตกอยู่ในสภาวะที่เงียบงัน ประชาชนเหมือนถูกปิดตาเอาไว้โดยไม่รู้ว่าคนที่ปิดนั้นเป็นใคร และทำได้อย่างไร ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้จึงเหลือเพียงสิ่งที่รัฐเชื่อว่าดีและอนุญาตให้นำเสนอได้เท่านั้น

วีดีโอนี้ เป็นผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการ "อาสาสมัครเยาวชนผลิตสื่อวิดีโอ ส่งเสริมเสรีภาพออนไลน์" โดยประชาไท ทำงานร่วมกับ ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โดย ไอลอว์ วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเด็นสิทธิเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต และสื่อสารเรื่องเสรีภาพการแสดงออกในสังคมไทย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net