Skip to main content
sharethis

 

นับจากรัฐประหารถึงสิ้นปี 2558 มีผู้ถูกจับกุมและตั้งข้อหาด้วยมาตรา 112 รวมอย่างน้อย 61 คน  โดยจากการ ติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชน ( iLaw ) พบว่าหลังการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  มีผู้ป่วยจิตเภท  (Schizophrenia) ถูกดำเนินคดีมาตรา112 อย่างน้อย 6 ราย  ซึ่งเท่ากับ 1 ใน 5 ของจำนวนคดีหมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ทั้งหมด 30 คดี ที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้ความช่วยทางคดีหลังการรัฐประหาร  จนถึงปัจจุบัน  และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ใครคือผู้ป่วยจิตเภท

พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ กล่าวถึงโรคจิตเภท หรือ Schizophrenia ไว้ในวารสารเพื่อนรักษ์สุขภาพจิต ฉบับ ก.ค.   - ก.ย. 2558 ว่าหมายถึง กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิด ผู้ป่วยจะมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง  

ในขณะที่เกณฑ์การวินิจฉัยของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ฉบับที่ 5 (DMS V) ระบุว่า ผู้ที่เป็นโรคจิตเภท จะมี  อาการหลงผิด อาการประสาทหลอน พูดจาสับสนมาก  มักเปลี่ยนเรื่องจนฟังไม่เข้าใจ  พฤติกรรมเรื่อยเปื่อย วุ่นวาย หรือมีท่าทางแปลก ๆ และมีอาการด้านลบ เช่น อารมณ์เฉยเมย ไม่ค่อยพูด หรือเฉื่อยชา ประกอบกัน อย่างน้อยสองอาการขึ้นไป นานหนึ่งเดือน แต่หากมีอาการหลงผิดที่แปลกประหลาด หรือหูแว่วเพียงอาการเดียว ก็ถือว่าเข้าเกณฑ์โรคจิตเภท   

คดีนโยบาย   

“...คณะรักษาความสงบแห่งชาติจะยึดมั่นในความจงรักภักดี และจะปกป้อง เทิดทูน ดํารงรักษาไว้ ซึ่งสถาบัน พระมหากษัตริย์ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวไทย และทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทั้งปวง"

ส่วนหนึ่งจากประกาศ คสช. ฉบับที่ 1/2557 เรื่อง การควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อเย็นวันที่ 22  พฤษภาคม 2557 ระบุชัดถึงเจตนารมณ์ของการทำรัฐประหาร  หลังจากนั้นไม่ถึงเดือน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ออกคำสั่ง สตช. ที่ 311/2557  เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มี ลักษณะไม่เหมาะสมและส่งผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ คำสั่ง สตช. ดังกล่าวมีเนื้อหาแต่งตั้ง  คณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสาร และคณะกรรมการบังคับใช้กฎหมายขึ้น เพื่อตรวจสอบพิจารณาข้อมูล  ข่าวสาร และติดตามเฝ้าระวังข้อมูลความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในแทบทุกช่องทางการสื่อสารของ ประชาชน เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมาย  

ต่อมา 10 พฤศจิกายน 2557 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีคำสั่ง สตช. ที่ 602/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงาน ติดตาม เร่งรัด ตรวจสอบ การดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในชั้นพนักงานสอบสวน เพื่อตั้งคณะทำงาน ที่มาบริหารจัดการคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งมีอำนาจในการกำหนดแนวทาง การดำเนินคดี และติดตาม เร่งรัด ตรวจสอบการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในชั้น  พนักงานสอบสวนให้ต่อเนื่องและรวดเร็ว  

ทั้งสองคำสั่งนี้ เป็นคำสั่งที่ประกอบกับคำสั่ง สตช. ที่ 122/2553 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพ และคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ให้มีคณะกรรมการสำหรับพิจารณาสำนวนการสอบสวน และมีความเห็นเพื่อให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มีความเห็น หรือสั่ง การอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับคดี

หมายความว่าตามคำสั่ง สตช. พนักงานสอบสวนไม่ได้มีอำนาจในการสั่งคดีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 112 โดยตรง แต่จะต้องผ่านคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ ผบ.ตร. อีกถึงสองชั้น รวมถึงถูกเร่งให้ทำคดีมากยิ่งขึ้นหลังการรัฐประหารเป็นต้นมา

 

(อ่านเพิ่มเติมรายงานนี้จนจบได้ที่: ‘คนบ้า’ ในกระบวนการยุติธรรมไทย การดำเนินคดี ม.112 กับผู้ป่วยจิตเภท)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net