Skip to main content
sharethis

หมายเหตุประเพทไทย สัปดาห์นี้ ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ กับแขกรับเชิญ ธีราภา ไพโรหกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ พูดถึงประเด็นที่ว่าไม่มีคนธรรมดา ไม่มีท้องถิ่น อยู่ในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งประวัติศาสตร์นิพนธ์มักเน้นเรื่องเล่าแบบรวมศูนย์อยู่ที่เมืองหลวง หรือชนชั้นสูง แบ่งยุคประวัติศาสตร์ตามเมืองหลวงของอาณาจักร ในขณะที่เรื่องราวของคนธรรมดา หรือท้องถิ่นในวิชาประวัติศาสตร์ของชั้นเรียนประถม-มัธยม มักจะขับเน้นเรื่องราวจากท้องถิ่นที่ไปด้วยกันได้ดีกับประวัติศาสตร์แห่งชาติ เช่น ชาวบ้านบางระจัน ท้าวสุรนารี หรือท้าวเทพกษัตรี-ท้าวศรีสุนทร

ธีราภา ยังยกตัวอย่างการนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑ์ Museum of London ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเน้นนำเสนอเรื่องราวของชีวิตผู้คนธรรมดาในยุคสมัยต่างๆ ของลอนดอน ซึ่งวิธีการแบ่งส่วนจัดแสดงเช่นนี้อาจจะใกล้เคียงกับการนำเสนอของมิวเซียมสยาม ที่มีเรื่องราวของผู้คนธรรมดาในสังคมไทย

ทั้งนี้ในภูมิภาคของประเทศก็มีการเรียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอยู่บ้างในวิชา "ท้องถิ่นศึกษา" อย่างไรก็ตามในตำราเรียนก็มักจะผูกเรื่องของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไปกับประวัติศาสตร์แห่งชาติ และเลี่ยงการนำเสนอเรื่องความขัดแย้งระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นในช่วงผนวกเข้าสู่รัฐชาติสมัยใหม่

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่

https://www.facebook.com/maihetpraphetthai หรือ

https://www.youtube.com/playlist?list=PLyjd9jzMpO2Xby4FyxWMwY8auIFY01eVQ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net